เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ สื่อจีนรายงาน (29 ก.ค.) วารสารเนเจอร์ยกจีนครองแชมป์พัฒนาการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันการศึกษาจีนครองอันดับเกือบครึ่งผัง
วันพุธ (27 ก.ค.) “วารสารเนเจอร์” (Nature) วารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก เปิดผลการจัดอันดับ “ เนเจอร์ อินเด็กซ์ 2016 ไรซิ่ง สตาร์” (Nature Index 2016 Rising Stars) ซึ่งเป็นดัชนีจัดอันดับคุณภาพการวิจัยของสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก โดยได้จัดให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพัฒนาการในการทำวิจัยมากที่สุด ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
ดัชนีฯได้เผยรายชื่อสถาบันการศึกษาที่มีพัฒนาการด้านการวิจัยมากที่สุดจำนวน 100 แห่ง โดยมีสถาบันจากแดนมังกรติดอันดับมากถึง 40 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ มีสถาบันการศึกษาที่มีการขยายตัวด้านการวิจัยมากกว่าร้อยละ 50 มากถึง 24 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยครุศาสตร์แห่งภาคตะวันออก (East China Normal University) มีการขยายตัวด้านงานวิจัยสูงเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2555
รายงานระบุว่า สถาบันที่ทำคะแนนได้สูงเป็นอันดับหนึ่งคือ สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) โดยมีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยหนันจิงทำคะแนนไล่หลังมาตามลำดับ
ทั้งนี้ ในภาพรวม สหรัฐฯ ยังคงครองอันดับประเทศที่มีบทความตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำมากเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าการขยายตัวด้านงานวิจัยจะเทียบกับจีนไม่ได้ก็ตาม โดยมีสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯที่ติดอันดับในดัชนีฯเพียง 11 แห่งเท่านั้น
นายเดวิด สวินแบงคส์ (David Swinbanks) ผู้ก่อตั้งดัชนีเนเจอร์ ระบุว่า นโยบายของสถาบันการศึกษาจีน ในการผลักดันการตีพิมพ์บทความในวารสารชั้นนำของโลก เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2548 นอกจากนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ที่เดินทางจากต่างประเทศกลับบ้านเกิด ก็มีส่วนในการเพิ่มจำนวนการตีพิมพ์บทความ
รายงานระบุว่า จีนทุ่มทุนราว 1.4 ล้านล้านหยวน หรือราว 7 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 2.1 เปอร์เซ็นต์ของตัวเลขจีดีพี ไปกับการพัฒนาการวิจัยในปี 2558 โดยมีนักวิจัยซึ่งทำงานเต็มเวลามากถึง 3.7 ล้านคน
ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวได้จัดอันดับสถาบันการศึกษา โดยพิจารณาจากการตีพิมพ์บทความด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences), เคมี, ชีววิทยาศาสตร์ (life sciences), โลกและสิ่งแวดล้อม ของนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่างๆนับ 8,000 แห่ง ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกจำนวน 68 ฉบับ ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึง 2558
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9590000075489
วารสารดังยกจีนครองแชมป์งานวิจัยวิทยาศาสตร์ “พัฒนาการก้าวกระโดดอันดับหนึ่งโลก” กวาดอันดับเกือบครึ่งผัง
วันพุธ (27 ก.ค.) “วารสารเนเจอร์” (Nature) วารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก เปิดผลการจัดอันดับ “ เนเจอร์ อินเด็กซ์ 2016 ไรซิ่ง สตาร์” (Nature Index 2016 Rising Stars) ซึ่งเป็นดัชนีจัดอันดับคุณภาพการวิจัยของสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก โดยได้จัดให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพัฒนาการในการทำวิจัยมากที่สุด ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
ดัชนีฯได้เผยรายชื่อสถาบันการศึกษาที่มีพัฒนาการด้านการวิจัยมากที่สุดจำนวน 100 แห่ง โดยมีสถาบันจากแดนมังกรติดอันดับมากถึง 40 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ มีสถาบันการศึกษาที่มีการขยายตัวด้านการวิจัยมากกว่าร้อยละ 50 มากถึง 24 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยครุศาสตร์แห่งภาคตะวันออก (East China Normal University) มีการขยายตัวด้านงานวิจัยสูงเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2555
รายงานระบุว่า สถาบันที่ทำคะแนนได้สูงเป็นอันดับหนึ่งคือ สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) โดยมีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยหนันจิงทำคะแนนไล่หลังมาตามลำดับ
ทั้งนี้ ในภาพรวม สหรัฐฯ ยังคงครองอันดับประเทศที่มีบทความตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำมากเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าการขยายตัวด้านงานวิจัยจะเทียบกับจีนไม่ได้ก็ตาม โดยมีสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯที่ติดอันดับในดัชนีฯเพียง 11 แห่งเท่านั้น
นายเดวิด สวินแบงคส์ (David Swinbanks) ผู้ก่อตั้งดัชนีเนเจอร์ ระบุว่า นโยบายของสถาบันการศึกษาจีน ในการผลักดันการตีพิมพ์บทความในวารสารชั้นนำของโลก เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2548 นอกจากนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ที่เดินทางจากต่างประเทศกลับบ้านเกิด ก็มีส่วนในการเพิ่มจำนวนการตีพิมพ์บทความ
รายงานระบุว่า จีนทุ่มทุนราว 1.4 ล้านล้านหยวน หรือราว 7 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 2.1 เปอร์เซ็นต์ของตัวเลขจีดีพี ไปกับการพัฒนาการวิจัยในปี 2558 โดยมีนักวิจัยซึ่งทำงานเต็มเวลามากถึง 3.7 ล้านคน
ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวได้จัดอันดับสถาบันการศึกษา โดยพิจารณาจากการตีพิมพ์บทความด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences), เคมี, ชีววิทยาศาสตร์ (life sciences), โลกและสิ่งแวดล้อม ของนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่างๆนับ 8,000 แห่ง ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกจำนวน 68 ฉบับ ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึง 2558
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9590000075489