"บริโภคนิยม vs วัตถุนิยม"
วัตถุนิยม หมายถึงการกินอาหารเพราะติดในรสอร่อย ต้องการเครื่องปรับอากาศ เพราะมันให้ความเย็น หรือต้องการรถเบนซ์ เพราะไปไหนมาไหนสบาย ไม่เหนื่อย นี่เป็นความสุขอันเนื่องจากประสาททั้งห้า แต่บริโภคนิยมลึกกว่านั้น จุดหมายของการบริโภคมิใช่ความสุขทางประสาททั้งห้าเท่านั้น แต่ต้องการมากกว่านั้น คือ เมื่อได้บริโภคแล้ว คุณรู้สึกว่าคุณได้เป็นอะไรบางอย่าง
ความสุขจากการกินโค้กหรือสตาร์บั๊คส์ มิได้อยู่ที่รสอร่อยหรือกลิ่นหอมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะมันให้ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนทันสมัย มีรสนิยม คนไม่ได้กินแมคโดนัลด์เพราะต้องการความอร่อยมากเท่ากับอยากเป็นคนภูมิฐาน หรือรู้สึกเท่ บริษัทแมคโดนัลด์เขายอมรับว่าผลิตแมคโดนัลด์ ไม่ใช่เพื่อขายสารอาหาร แต่เขาต้องการขายภาพลักษณ์ ถ้าคนไปกินแมคโดนัลด์แสดงว่าเป็นคนทันสมัย ยืดอกเวลาสมาคมกับผู้คนได้
ตรงนี้ที่มันสนองสิ่งที่ลึกซึ้ง คือสนองความต้องการมี “ภาวะชีวิตใหม่” ที่น่าปรารถนา ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ภวตัณหา” คือ ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณได้เป็นอะไรบางอย่างที่พึงปรารถนา คุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณค่า คุณใส่ไนกี้ไม่ใช่เพราะไนกี้มันนิ่มเท้า แต่เพราะมันทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นอะไรบางอย่างที่น่าปรารถนา เช่น เป็นผู้ชนะ คนจำนวนมากปรารถนาที่จะมีรถเบนซ์ขับ ไม่ใช่เพราะว่ารถเบนซ์ขับนิ่ม หรือปลอดภัย แต่เพราะมันทำให้คุณรู้สึกมีหน้ามีตา มีความภูมิฐาน ทำให้คุณภูมิใจและมั่นใจในตนเอง ตรงนี้เป็นเรื่องจิตใจ
เคยมีการสอบถามความเห็นนักเรียนนักศึกษาเกือบร้อยละ ๙๐ บอกว่าชอบสินค้ายี่ห้อดัง เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ “ใช้แล้วมั่นใจ” นี่ก็เหมือนกับที่สาวญี่ปุ่นคนหนึ่งบอกว่าที่ถือกระเป๋าหลุยส์วิตตอง ใส่สร้อยบุลการีและสวมนาฬิกากุชชี่ก็เพราะว่า “ใช้แล้วมันสบายใจ แล้วก็รู้สึกเชื่อมั่นในตนเองด้วย” จะเห็นได้ว่า ความภูมิใจในตนเองเดี๋ยวนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าได้ทำอะไร แต่อยู่ที่ว่ามีอะไรมากกว่า เพราะการ “มี” ทำให้เขาได้ “เป็น” อะไรบางอย่าง
บริโภคนิยมนับวันจะมีแรงดึงดูดตรงนี้ และนี่คือจุดที่ทำให้บริโภคนิยมต่างจากวัตถุนิยม เพราะวัตถุนิยมโดยทั่วไปแล้ว หมายถึงความต้องการวัตถุเพื่อสนองตอบอายตนะทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย พูดอย่างพุทธคือ ตอบสนอง “กามตัณหา” ซึ่งเป็นเรื่องความอร่อย ความสะดวกสบายหรือรสชาติจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
คนสมัยใหม่เข้าหาบริโภคนิยมเพื่อต้องการเป็นคนใหม่ที่เขาคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา คือ ต้องการภาวะชีวิตใหม่ อันนี้เป็นการตอบสนองทางจิตใจซึ่งเป็นอายตนะที่หก เห็นได้ว่าบริโภคนิยมไม่ใช่เรื่องของวัตถุล้วน ๆ แต่มีมิติทางจิตใจซึ่งทำให้มัน มีแรงดึงดูดต่อผู้คนมาก
พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/posts/270738036286854
"บริโภคนิยม vs วัตถุนิยม"
วัตถุนิยม หมายถึงการกินอาหารเพราะติดในรสอร่อย ต้องการเครื่องปรับอากาศ เพราะมันให้ความเย็น หรือต้องการรถเบนซ์ เพราะไปไหนมาไหนสบาย ไม่เหนื่อย นี่เป็นความสุขอันเนื่องจากประสาททั้งห้า แต่บริโภคนิยมลึกกว่านั้น จุดหมายของการบริโภคมิใช่ความสุขทางประสาททั้งห้าเท่านั้น แต่ต้องการมากกว่านั้น คือ เมื่อได้บริโภคแล้ว คุณรู้สึกว่าคุณได้เป็นอะไรบางอย่าง
ความสุขจากการกินโค้กหรือสตาร์บั๊คส์ มิได้อยู่ที่รสอร่อยหรือกลิ่นหอมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะมันให้ความรู้สึกว่าฉันเป็นคนทันสมัย มีรสนิยม คนไม่ได้กินแมคโดนัลด์เพราะต้องการความอร่อยมากเท่ากับอยากเป็นคนภูมิฐาน หรือรู้สึกเท่ บริษัทแมคโดนัลด์เขายอมรับว่าผลิตแมคโดนัลด์ ไม่ใช่เพื่อขายสารอาหาร แต่เขาต้องการขายภาพลักษณ์ ถ้าคนไปกินแมคโดนัลด์แสดงว่าเป็นคนทันสมัย ยืดอกเวลาสมาคมกับผู้คนได้
ตรงนี้ที่มันสนองสิ่งที่ลึกซึ้ง คือสนองความต้องการมี “ภาวะชีวิตใหม่” ที่น่าปรารถนา ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “ภวตัณหา” คือ ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณได้เป็นอะไรบางอย่างที่พึงปรารถนา คุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณค่า คุณใส่ไนกี้ไม่ใช่เพราะไนกี้มันนิ่มเท้า แต่เพราะมันทำให้คุณรู้สึกว่าเป็นอะไรบางอย่างที่น่าปรารถนา เช่น เป็นผู้ชนะ คนจำนวนมากปรารถนาที่จะมีรถเบนซ์ขับ ไม่ใช่เพราะว่ารถเบนซ์ขับนิ่ม หรือปลอดภัย แต่เพราะมันทำให้คุณรู้สึกมีหน้ามีตา มีความภูมิฐาน ทำให้คุณภูมิใจและมั่นใจในตนเอง ตรงนี้เป็นเรื่องจิตใจ
เคยมีการสอบถามความเห็นนักเรียนนักศึกษาเกือบร้อยละ ๙๐ บอกว่าชอบสินค้ายี่ห้อดัง เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ “ใช้แล้วมั่นใจ” นี่ก็เหมือนกับที่สาวญี่ปุ่นคนหนึ่งบอกว่าที่ถือกระเป๋าหลุยส์วิตตอง ใส่สร้อยบุลการีและสวมนาฬิกากุชชี่ก็เพราะว่า “ใช้แล้วมันสบายใจ แล้วก็รู้สึกเชื่อมั่นในตนเองด้วย” จะเห็นได้ว่า ความภูมิใจในตนเองเดี๋ยวนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าได้ทำอะไร แต่อยู่ที่ว่ามีอะไรมากกว่า เพราะการ “มี” ทำให้เขาได้ “เป็น” อะไรบางอย่าง
บริโภคนิยมนับวันจะมีแรงดึงดูดตรงนี้ และนี่คือจุดที่ทำให้บริโภคนิยมต่างจากวัตถุนิยม เพราะวัตถุนิยมโดยทั่วไปแล้ว หมายถึงความต้องการวัตถุเพื่อสนองตอบอายตนะทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย พูดอย่างพุทธคือ ตอบสนอง “กามตัณหา” ซึ่งเป็นเรื่องความอร่อย ความสะดวกสบายหรือรสชาติจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
คนสมัยใหม่เข้าหาบริโภคนิยมเพื่อต้องการเป็นคนใหม่ที่เขาคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา คือ ต้องการภาวะชีวิตใหม่ อันนี้เป็นการตอบสนองทางจิตใจซึ่งเป็นอายตนะที่หก เห็นได้ว่าบริโภคนิยมไม่ใช่เรื่องของวัตถุล้วน ๆ แต่มีมิติทางจิตใจซึ่งทำให้มัน มีแรงดึงดูดต่อผู้คนมาก
พระไพศาล วิสาโล
https://www.facebook.com/visalo/posts/270738036286854