พูดอย่างกะว่า รัฐบาลชุดยิ่งลักษณ์ ที่ได้มาเป็นรัฐบาล เพราะการซื้อเสียง ฟังแล้ว ขอถรุ้ยส์ หลายๆทีเลย
ไปอ่านงานวิจัย ของ ดร. สิริพรรณ นกสวน รัฐศาสตร์ จุฬา เกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
ผมไม่รู้นะคุณเคยอ่านหรือป่าว หรือ คุณอ่านแต่แถลงการณ์ของพวก กปปส ฝ่ายเดียว พูดมาได้ไง รัฐบาลชุดนี้มาจากการซื้อเสียง
นี่คือการพูด แบบ ไม่มีข้อมูลมาสนับสนุน พูดตามความคิดเห็น ของตัวเองทั้งนั้น แล้วมีงานวิจัยอ่าน ไม่ใช่แค่ของอาจารย์ สิริพรรณ ท่านเดียว
ยังมี งานวิจัยของบุคคลอื่น ด้วย กลับไปอ่านซะ ดร. อนันต์ 300 กว่าหน้า
โดยเนื้อหาในส่วนหนึ่ง
คำถามที่ใช้ในการวิจัยข้อหนึ่งคือ "ท่านรู้สึกว่าการรับเงิน ผลประโยชน์ หรือ ค่าตอบแทน เป็นสิ่งผูกมัดให้ท่านต้องเลือกผู้สมัครหรือไม่?" ผลทั้งประเทศ ตอบ ต้องเลือก 10.1% ที่เหลือ ตอบไม่ต้องเลือก การที่คนใต้ตอบต้องเลือก ย่อมไม่ได้แปลว่า มีการซื้อเสียงมากที่สุดในภาคใต้ อาจตีความได้เพียงว่าคนใต้ หากรับผลประโยชน์มา ก็จะตอบแทนด้วยการลงคะแนนให้ ใน%สูงกว่าภาคอื่น ส่วนภาคใดจะมีการซื้อเสียงสูงที่สุดและได้ผลมากที่สุด ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่งานวิจัยชิ้นนี้จะตอบได้
หากนำผลคะแนนเลือกตั้งมาวิเคราะห์ประกอบแล้ว จะเห็นว่า ในภาคใต้ พรรคที่มาเป็นอันดับหนึ่งในทุกเขต ชนะพรรคอันดับ 2 ด้วยคะแนนล้นหลาม เกิน 10,000 เสียง บางเขตชนะกันเกิน 80,000 คะแนน (ยกเว้นใน 4 จังหวัดที่มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การแข่งขันจะสูสี) การชนะขาดเกิดขึ้นในภาคเหนือทุกเขตเลือกตั้ง ยกเว้นเขต 2 อุตรดิตถ์ และ 97 เขต ต่อ 29 เขต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การชนะกันด้วยคะแนนเสียงจำนวนมากเช่นนี้ ชี้ว่าเงินและการซื้อเสียงไม่น่าจะเป็นปัจจัยหลักในชัยชนะ ด้วยเหตุผลเบื้องต้น 2 ข้อ คือ หนึ่ง คะแนนที่ทิ้งห่างกันมาก บ่งบอกว่าประชาชนเลือกเพราะชอบผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น ซื้อเสียงหรือไม่ประชาชนจำนวนมากก็เลือกอยู่แล้ว และสอง นักการเมืองย่อมคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อประกันชัยชนะ แต่จะไม่ทุ่มซื้อคะแนนส่วนเกินจำนวนมาก
ขณะเดียวกันงานวิจัยมิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีการซื้อเสียง ข้อค้นพบในหลายพื้นที่คือ มีการใช้เงินจำนวนมาก แต่ผู้สมัครที่ใช้เงินมหาศาลกลับไม่ชนะ การศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ พรรคการเมือง นโยบาย และความต้องการตอบสนองผลประโยชน์และความคาดหวังของตน ในขณะที่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หัวคะแนน และการซื้อขายเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยลง และมีความซับซ้อนมากขึ้น
ส่วนในประเด็นว่า คนจบการศึกษาสูงกว่า ป.ตรีเลือกพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น พบว่า ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ประชากรกลุ่มนี้เลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย (พลังประชาชนขณะนั้น) การตัดสินใจเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปของประชากรกลุ่มนี้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 น่าจะเป็นผลจากมุมมองที่มีต่อปรากฎการณ์ชุมนุม เมษา พฤษภา 2553
http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/?q=Elected_members_of_parliament
เป็นลิงก์ดาวน์โหลดอานวิจัย
อยากอ่านให้จบแล้วลองวิเคราะห์ดูนะครับ เดี๋ยวนี้รากหญ้าชนบท เขามีจุดยืน มีความคิดของตัวเองมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
อยากอ่านให้จบไม่ใช่ อ่านพวกข้อความที่แชร์กัน สองสามบรรทัด แบบนั้นผมไม่เคยสนไม่มีข้อมูลอะไรมารองรับเลย
หางานวิจัยแบบนี้ได้ยาก ต้องลงมือ ลงแรงจริงๆ
ไม่รู้ ว่า ดร. อนันต์ อ่านงานวิจัยของ อาจารย์ ดร.สิริพรรณ นกสวน หรือยัง
ไปอ่านงานวิจัย ของ ดร. สิริพรรณ นกสวน รัฐศาสตร์ จุฬา เกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
ผมไม่รู้นะคุณเคยอ่านหรือป่าว หรือ คุณอ่านแต่แถลงการณ์ของพวก กปปส ฝ่ายเดียว พูดมาได้ไง รัฐบาลชุดนี้มาจากการซื้อเสียง
นี่คือการพูด แบบ ไม่มีข้อมูลมาสนับสนุน พูดตามความคิดเห็น ของตัวเองทั้งนั้น แล้วมีงานวิจัยอ่าน ไม่ใช่แค่ของอาจารย์ สิริพรรณ ท่านเดียว
ยังมี งานวิจัยของบุคคลอื่น ด้วย กลับไปอ่านซะ ดร. อนันต์ 300 กว่าหน้า
โดยเนื้อหาในส่วนหนึ่ง
คำถามที่ใช้ในการวิจัยข้อหนึ่งคือ "ท่านรู้สึกว่าการรับเงิน ผลประโยชน์ หรือ ค่าตอบแทน เป็นสิ่งผูกมัดให้ท่านต้องเลือกผู้สมัครหรือไม่?" ผลทั้งประเทศ ตอบ ต้องเลือก 10.1% ที่เหลือ ตอบไม่ต้องเลือก การที่คนใต้ตอบต้องเลือก ย่อมไม่ได้แปลว่า มีการซื้อเสียงมากที่สุดในภาคใต้ อาจตีความได้เพียงว่าคนใต้ หากรับผลประโยชน์มา ก็จะตอบแทนด้วยการลงคะแนนให้ ใน%สูงกว่าภาคอื่น ส่วนภาคใดจะมีการซื้อเสียงสูงที่สุดและได้ผลมากที่สุด ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่งานวิจัยชิ้นนี้จะตอบได้
หากนำผลคะแนนเลือกตั้งมาวิเคราะห์ประกอบแล้ว จะเห็นว่า ในภาคใต้ พรรคที่มาเป็นอันดับหนึ่งในทุกเขต ชนะพรรคอันดับ 2 ด้วยคะแนนล้นหลาม เกิน 10,000 เสียง บางเขตชนะกันเกิน 80,000 คะแนน (ยกเว้นใน 4 จังหวัดที่มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การแข่งขันจะสูสี) การชนะขาดเกิดขึ้นในภาคเหนือทุกเขตเลือกตั้ง ยกเว้นเขต 2 อุตรดิตถ์ และ 97 เขต ต่อ 29 เขต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การชนะกันด้วยคะแนนเสียงจำนวนมากเช่นนี้ ชี้ว่าเงินและการซื้อเสียงไม่น่าจะเป็นปัจจัยหลักในชัยชนะ ด้วยเหตุผลเบื้องต้น 2 ข้อ คือ หนึ่ง คะแนนที่ทิ้งห่างกันมาก บ่งบอกว่าประชาชนเลือกเพราะชอบผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น ซื้อเสียงหรือไม่ประชาชนจำนวนมากก็เลือกอยู่แล้ว และสอง นักการเมืองย่อมคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อประกันชัยชนะ แต่จะไม่ทุ่มซื้อคะแนนส่วนเกินจำนวนมาก
ขณะเดียวกันงานวิจัยมิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีการซื้อเสียง ข้อค้นพบในหลายพื้นที่คือ มีการใช้เงินจำนวนมาก แต่ผู้สมัครที่ใช้เงินมหาศาลกลับไม่ชนะ การศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ พรรคการเมือง นโยบาย และความต้องการตอบสนองผลประโยชน์และความคาดหวังของตน ในขณะที่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หัวคะแนน และการซื้อขายเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยลง และมีความซับซ้อนมากขึ้น
ส่วนในประเด็นว่า คนจบการศึกษาสูงกว่า ป.ตรีเลือกพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น พบว่า ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ประชากรกลุ่มนี้เลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย (พลังประชาชนขณะนั้น) การตัดสินใจเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปของประชากรกลุ่มนี้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 น่าจะเป็นผลจากมุมมองที่มีต่อปรากฎการณ์ชุมนุม เมษา พฤษภา 2553
http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/?q=Elected_members_of_parliament
เป็นลิงก์ดาวน์โหลดอานวิจัย
อยากอ่านให้จบแล้วลองวิเคราะห์ดูนะครับ เดี๋ยวนี้รากหญ้าชนบท เขามีจุดยืน มีความคิดของตัวเองมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
อยากอ่านให้จบไม่ใช่ อ่านพวกข้อความที่แชร์กัน สองสามบรรทัด แบบนั้นผมไม่เคยสนไม่มีข้อมูลอะไรมารองรับเลย
หางานวิจัยแบบนี้ได้ยาก ต้องลงมือ ลงแรงจริงๆ