นักวิชาการอิสระชาวอเมริกัน แสดงความกังวลว่าสถานการณ์ในเมืองไทยอาจบานปลายไปสู่สงครามกลางเมืองได้หากไม่มีการพิจารณาต้นตอความขัดแย้งที่มาจากการรวมศูนย์อำนาจ
3 ม.ค. 2557 เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการอิสระชาวอเมริกันเขียนบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยลงเว็บไซต์บางกอกโพสท์ แสดงความเป็นห่วงกลัวว่าสถานการณ์ในเมืองไทยกำลังดำเนินไปในลักษณะคล้ายสงครามกลางเมือง โดยสเตร็คฟัส เสนอว่าในเวลานี้ควรมีการถอยกลับออกมาจากการถกเถียงในเรื่องการปฏิรูปและการเลือกตั้งก่อน และให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าต้นเหตุของวิกฤติในครั้งนี้เกิดจากอะไรและจะมีหนทางแก้ไขอย่างสันติวิธีได้อย่างไร
สเตร็คฟัสกล่าวในบทความว่าประเทศไทยในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 พยายามสร้าง "เอกภาพ" ด้วยการรวมชาติแบบรวมศูนย์อำนาจจากแนวความคิดของชนชั้นนำในกรุงเทพฯ มีการเชื่อมต่อประเทศเข้าด้วยกันด้วยถนนหนทาง ทางรถไฟ รวมถึงระบอบการบริหารส่วนข้าราชการ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างความเชื่อที่เรียกว่า "ความเป็นไทย" เพื่อเป็นการรวมศูนย์และหลอมรวมอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ มีการยับยั้งความขัดแย้งทางศาสนา ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยภาคกลางถูกลดระดับให้กลายเป็นภาษาถิ่น (dialects) โดยในโรงเรียนมีการสอนแค่ภาษาไทยกลางและมีการสอนประวัติศาสตร์ฉบับเดียวคือฉบับที่ว่า "คนเชื้อชาติไทยภายใต้พระมหากษัตริย์หลายประองค์ที่ทรงปรีชาสามารถ"
สเตร็คฟัสกล่าวอีกว่าในกลุ่มนักวิชาการไทยมีการถกเถียงในเรื่องนี้โดยนักวิชาการจำนวนมากบอกว่านโยบายดังกล่าวเป็นการโต้ตอบลัทธิการล่าอาณานิคมของตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันก็มีการล่าอาณานิคมภายในประเทศเสียเองโดยกระทำกับคนที่อยู่ในเขตรอบนอก
บทความของสเตร็คฟัสระบุว่า ในปี 2475 ประเทศไทยกลายเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) มีช่วงเวลาให้ถกเถียงกันเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลและระบบจัดการรัฐไม่มากนัก รัฐ "สยาม" ทำให้มีการเปิดพื้นที่สำหรับคนหลากหลายเชื้อชาติ, วัฒนธรรม, ภาษา, ศาสนา และความแตกต่างด้านแนวคิดทางการเมืองในระดับหนึ่ง ทำให้กลุ่มที่แตกต่างอยู่ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามกองทัพที่จัดตั้งตัวเองเป็นผู้พิทักษ์ระบอบกษัตริย์ที่ถูฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในช่วงราวปี 2500 - 2510 ก็ทำให้การถกเถียงจบลงด้วยประเทศ "ไทย" ที่มีนิยามความเป็นไทยแบบแคบๆ ได้รับชัยชนะ
สเตร็คฟัสกล่าวอีกว่า การรวมชาติแบบรวมศูนย์อำนาจประสบความสำเร็จในหลายแง่ โดยสามารถยับยั้งการขยายอาณานิคมตะวันตกได้ระดับหนึ่งและทำให้ประเทศไทย "พัฒนา" มากขึ้น แต่การให้ความสำคัญกับเมืองหลวงมาเป็นอันดับแรกทำให้การพัฒนาดังกล่าวถูกรวบรวมไปสู่กรุงเทพฯ ซึ่งในแง่การบริหารแล้วถือว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจอย่างมาก และภายใต้การปกครองแบบรวมศูนย์เช่นนี้ทำให้ผู้ประท้วงจากชนบทต้องเดินทางไกลหลายร้อยกิโลเมตรเพื่อกดดันรัฐเท่าที่พวกเขาทำได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการประท้วงที่ยืดเยื้อยาวนาน คณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาแก้ปัญหาก็จะหายไปเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลที่อ่อนแอยุบสภา
อ่านต่อที่
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/50950
เดวิด สเตร็คฟัส ชี้วิกฤติการเมืองจากการรวมศูนย์อำนาจ
3 ม.ค. 2557 เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการอิสระชาวอเมริกันเขียนบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยลงเว็บไซต์บางกอกโพสท์ แสดงความเป็นห่วงกลัวว่าสถานการณ์ในเมืองไทยกำลังดำเนินไปในลักษณะคล้ายสงครามกลางเมือง โดยสเตร็คฟัส เสนอว่าในเวลานี้ควรมีการถอยกลับออกมาจากการถกเถียงในเรื่องการปฏิรูปและการเลือกตั้งก่อน และให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าต้นเหตุของวิกฤติในครั้งนี้เกิดจากอะไรและจะมีหนทางแก้ไขอย่างสันติวิธีได้อย่างไร
สเตร็คฟัสกล่าวในบทความว่าประเทศไทยในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 พยายามสร้าง "เอกภาพ" ด้วยการรวมชาติแบบรวมศูนย์อำนาจจากแนวความคิดของชนชั้นนำในกรุงเทพฯ มีการเชื่อมต่อประเทศเข้าด้วยกันด้วยถนนหนทาง ทางรถไฟ รวมถึงระบอบการบริหารส่วนข้าราชการ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างความเชื่อที่เรียกว่า "ความเป็นไทย" เพื่อเป็นการรวมศูนย์และหลอมรวมอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ มีการยับยั้งความขัดแย้งทางศาสนา ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยภาคกลางถูกลดระดับให้กลายเป็นภาษาถิ่น (dialects) โดยในโรงเรียนมีการสอนแค่ภาษาไทยกลางและมีการสอนประวัติศาสตร์ฉบับเดียวคือฉบับที่ว่า "คนเชื้อชาติไทยภายใต้พระมหากษัตริย์หลายประองค์ที่ทรงปรีชาสามารถ"
สเตร็คฟัสกล่าวอีกว่าในกลุ่มนักวิชาการไทยมีการถกเถียงในเรื่องนี้โดยนักวิชาการจำนวนมากบอกว่านโยบายดังกล่าวเป็นการโต้ตอบลัทธิการล่าอาณานิคมของตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันก็มีการล่าอาณานิคมภายในประเทศเสียเองโดยกระทำกับคนที่อยู่ในเขตรอบนอก
บทความของสเตร็คฟัสระบุว่า ในปี 2475 ประเทศไทยกลายเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) มีช่วงเวลาให้ถกเถียงกันเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลและระบบจัดการรัฐไม่มากนัก รัฐ "สยาม" ทำให้มีการเปิดพื้นที่สำหรับคนหลากหลายเชื้อชาติ, วัฒนธรรม, ภาษา, ศาสนา และความแตกต่างด้านแนวคิดทางการเมืองในระดับหนึ่ง ทำให้กลุ่มที่แตกต่างอยู่ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามกองทัพที่จัดตั้งตัวเองเป็นผู้พิทักษ์ระบอบกษัตริย์ที่ถูฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในช่วงราวปี 2500 - 2510 ก็ทำให้การถกเถียงจบลงด้วยประเทศ "ไทย" ที่มีนิยามความเป็นไทยแบบแคบๆ ได้รับชัยชนะ
สเตร็คฟัสกล่าวอีกว่า การรวมชาติแบบรวมศูนย์อำนาจประสบความสำเร็จในหลายแง่ โดยสามารถยับยั้งการขยายอาณานิคมตะวันตกได้ระดับหนึ่งและทำให้ประเทศไทย "พัฒนา" มากขึ้น แต่การให้ความสำคัญกับเมืองหลวงมาเป็นอันดับแรกทำให้การพัฒนาดังกล่าวถูกรวบรวมไปสู่กรุงเทพฯ ซึ่งในแง่การบริหารแล้วถือว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจอย่างมาก และภายใต้การปกครองแบบรวมศูนย์เช่นนี้ทำให้ผู้ประท้วงจากชนบทต้องเดินทางไกลหลายร้อยกิโลเมตรเพื่อกดดันรัฐเท่าที่พวกเขาทำได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการประท้วงที่ยืดเยื้อยาวนาน คณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาแก้ปัญหาก็จะหายไปเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลที่อ่อนแอยุบสภา
อ่านต่อที่
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/50950