ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ที่ถูกต้อง ตามหลักวิชา

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ในบรรดาความวิบัติของบ้านเมือง ไม่มีสิ่งใดที่ร้ายไปกว่า สภาพอนาธิปไตย อย่าว่าแต่ประเทศ ชาติเลย แม้แต่ห้องเรียนชั้นประถมสักห้องหนึ่ง ถ้าไม่มีครูประจำชั้น หรือมีเหมือนไม่มี ก็จะเป็นห้อง เรียนอยู่ไม่ได้ ชุมชนทั้งปวงไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ไม่ว่าระดับสูงหรือต่ำ จะต้องมีการปกครองจึงจะตั้งอยู่ ได้ ถ้าไม่มีการปกครองหรือมีเหมือนไม่มี ชุมชนก็แตกสลายเกิดความขัดแย้งกัน ปัญหาประเทศชาติก็ เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีรัฐบาลหรือมีเหมือนไม่มีอย่างเช่นในปัจจุบันนี้ ลองหลับตาดูเถิดจะเห็นได้เองว่า ความหายนะของชาติบ้านเมืองมันเป็นอย่างไร
    วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในห้วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศของเราตกอยู่ใน สภาพ อนาธิปไตย คือมี รัฐบาล (Government) เหมือนไม่มี ประชาชนไม่ยอมรับการปกครองแบบเผด็จการ ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งได้ทำความเสียหายให้แก่บ้านเมืองจนสุดพรรณา แต่ชนชั้นปกครองที่เป็น ผู้แทนของชนส่วนน้อย ทั้งที่เป็นฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านก็ยังไม่รู้สึกตัวเป็นหนทางไปสู่สงครามกลางเมือง (Civil War) ยังมัวเมาอำนาจด้วยการแย่งอำนาจกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ถึงขนาดบ้านเมืองเกิด ปัญหาขั้นร้ายแรงแล้วก็ยังไม่รู้ คือไม่รู้ว่าปัญหาของชาติขณะนี้เกิดจาก “ระบอบเผด็จการ” โดย ประชาชนไม่ยอมรับแล้ว ไม่รู้ว่าสถานการณ์บ้านเมือง ในขณะนี้เป็น “สถานการณ์ปฏิวัติ”  หรือสถานการณ์ที่ประชาชนต้องการเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็น สถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์อย่างที่สุด ถ้ายังไม่รีบสร้าง ประชาธิปไตยให้สำเร็จโดยเร็ว ไม่รู้ว่าการแก้ปัญหาผิดๆ ที่ “ระบบรัฐสภา” เพื่อที่จะรักษาระบอบ เผด็จการเอาไว้ในสถานการณ์เช่นนี้ เป็นการกระทำที่สุ่มเสี่ยงอย่างที่สุด แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน มีความผิดครอบงำสังคมอยู่ 10 ประการ คือ
    1. ไม่รู้จักตนเองว่า บ้านเมืองของเรามีการปกครองอยู่ในระบอบใด
    2. เข้าใจสับสนระหว่าง ระบอบ กับ ระบบ
    3. เข้าใจว่า ระบบรัฐสภา คือ ระบอบประชาธิปไตย
    4. เข้าใจว่า รัฐธรรมนูญ คือ ประชาธิปไตย
    5. ไม่เข้าใจหลักการของ ระบบรัฐสภา กับ ระบบประธานาธิบดี
    6. ไม่ยึดถือหลักการสากลของ ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี และระบบกึ่งประธานาธิบดี
    7. ละเมิดหลักการระบบรัฐสภา ที่เอาระบบประธานาธิบดีเข้ามารวมไว้ในระบบรัฐสภาอีกด้วย เท่ากับว่าระบอบเดียวมีสองระบบ เป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์ระดับโลก
    8. ละเมิดหลักการระบบรัฐสภา ด้วยการทำลายการถือดุลของระบบรัฐสภา
    9. ละเมิดหลักการระบบรัฐสภา ด้วยการทำลายการถือดุลในดุลของศาล
    10. ไม่เข้าใจสถานการณ์ปฏิวัติ และขบวนการปฏิวัติ
    ชมรมประชาธิปไตยแห่งชาติเล็งเห็นว่า ถ้าตราบใดที่วงการต่างๆ ยังมีความเห็นผิดทางการเมือง ครอบงำอยู่เช่นนี้ บ้านเมืองก็จะไม่มีทางออกและไม่อาจหลีกเลี่ยงการเกิดมิคสัญญีกลียุคได้อีกด้วย จึง เห็นควรเสนอ เอกสารทางวิชาการ ว่าด้วยระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความ รู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และเพื่อเป็นทางออกของชาติได้ก่อนที่จะสายเกินแก้ ดังมีรายละเอียด
ต่อไปนี้
    1. เราต้องเข้าใจคำว่า “รัฐสภา” กับคำว่า “ระบบรัฐสภา” มีความหมายไม่เหมือนกัน
    คำว่า “รัฐสภา” มาจากคำอังกฤษว่า “Parliament” เป็นองค์กรอำนาจรัฐในประวัติศาสตร์สมัย ใหม่ เป็นที่แสดงออกของ อำนาจอธิปไตยของประชาชน (Sovereignty of the People) ผ่านทางรัฐสภา โดยเรียกอำนาจนี้ว่า “อำนาจนิติบัญญัติ” (Legislative Power) ด้วยเหตุนี้ รัฐสภาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “สภานิติบัญญัติ” (Legislative Council)
    ส่วนคำว่า “ระบบรัฐสภา” มาจากคำอังกฤษว่า “Parliamentary System” เป็นรูปการปกครอง ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาก่อนในสมัยกลาง เมื่ออังกฤษเปลี่ยนจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 17 แล้ว ก็ยังเอา ระบบรัฐสภา มาใช้ เป็นรูปการปกครองของ “การปกครองแบบประชาธิปไตย” (Democratic Government) ด้วยเพราะ เป็นระบบที่สามารถปรับเข้ากันได้กับประเทศที่รวมกันเป็นรัฐในรูปของ “รัฐเดียว” (Unitary State) โดย เปลี่ยนความสัมพันธ์กันระหว่าง ขุนนางเสนาบดี ขุนนางเจ้าที่ดิน และผู้นำศาสนา ของ “มหาสภา” (The Great Council) ที่กำเนิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 11 ของ “กษัตริย์คานุท” มาเป็นความสัมพันธ์ ระหว่าง อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ แทน
    คำว่า รัฐสภา กับ คำว่า ระบบรัฐสภา จึงมีจินตภาพไม่เหมือนกัน ฉะนั้น จึงไม่สมควรเอาทั้ง 2 คำนี้มาใช้ปะปนกัน โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่