ไม่มีสุขทางใจใด ที่ปลอดอิทธิพลจากสภาพร่างกาย
ไม่มีสุขทางร่างกาย ที่ไม่ได้มีความเป็นสาเหตุเริ่มจากจิตหรือใจ
และแม้จะระบุไม่ได้ชัด ก็แต่ในสภาพไร้เดียงสาวัยทารก ที่สัญชาตญาณกับจิต รวมเป็นหนึ่ง เป็นปฐมบทของชีวิต
เพราะ ยิ่งเติบโตขึ้น คุณจะรู้ได้ชัดเองว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวนั้น มีจริง และจริงเช่นไร
ก็อยู่ที่ เราจะเลือกสไตล์แบบไหนให้เป็นผู้บงการ แล้วโลกก็จะแปรเปลี่ยนไปตามอานิสงค์ปฏิบัตินิยมแบบนั้น
เหนืออื่นใด เมื่อคนเราใกล้ตาย หรือ เจ็บป่วยอย่างถึงที่สุด
คุณจะพบความจริงอย่างหนึ่ง ว่า ตรงนั้น คือ การหวนคืนคุณูปการของร่างกาย ยามที่ไม่อาจพึ่งพาร่างกายได้อย่างปกติ หรืออีกต่อไป
ใจใดๆ ก็ไม่อาจมีอำนาจเหนือร่างกายที่อ่อนโรยได้ แม้จะปากแข็งว่าไปตามค่านิยมทางศีลธรรมว่า เขาจากไปอย่างสงบ
แต่แท้จริงแล้ว ใจย่อมต้องจำนนต่อร่างกายที่ไม่อาจคงอยู่ เพราะ โลกแห่งความจริง คือ โลกคู่ขนานเดียว ของร่างกายสะท้อนจิต
ดังนั้น การเข้าถึงปัจจุบันในระดับพื้นฐาน จึงไม่ง่ายแต่เป็นปกติธรรมดายิ่ง ของ ปฏิสัมพันธ์อันดำรงอยู่ในโลกคู่ขนานของร่างกายกับจิต
โลกของร่างกาย คือ แบบจำลองที่เป็นจริง อย่างเดียวกับโลกจริงภายนอก ปรากฏในธรรมชาติ หรือ ลูกโลกใบนี้
มันคือ การย่อส่วนให้เล็กลงมา เป็นระบบพลังงานที่สร้างอิสระการเคลื่อนไหว ที่มีจิตรับรู้อาณาจักรร่างกาย
และสามารถยกระดับ การรับรู้โลกนอกร่างกาย ไปได้ไกลแสนไกลเท่าที่ใจเองสามารถเปิดตัวมันเองรับรู้ ..สาดส่องถึง
ว่าไปแล้ว เราไม่อาจแยกกล่าวได้เลยในความเป็นจริง ระหว่าง บทบาทของร่างกายกับจิต/ใจ
ไม่ว่าในทิศทางที่เป็น ความสุข หรือละไว้ในฐานที่เข้าใจต่อ ความทุกข์ ที่บางคนอาจบอกว่า เป็นสุขน้อย
หรือแม้จะมองจาก ฐานคิดแบบพุทธฯว่า ชีวิตคือทุกข์ และวิถีแห่งศาสนา ก็คือ หาทางดับสภาวะนั้น อย่างถึงที่สุด ก็ตาม..
แต่มุมมองในเชิงรุก ก็จะมุ่งไปในทิศทางรังสรร ความสุขที่เป็นจริง
บนสถานะของร่างกายที่ยังทรงพลังพอ ต่อการสร้างความหมายของการดำรงอยู่อย่างไร ..มากกว่า..
เพราะ ชีวิตรวมหมู่ มันเป็นเช่นนั้น แต่ชีวิตในฐานะปัจเจก ก็คงมีวาระแปรเปลี่ยนไปตามวันวัยอายุขัย
สุขทางกาย กับ สุขทางใจ
ไม่มีสุขทางร่างกาย ที่ไม่ได้มีความเป็นสาเหตุเริ่มจากจิตหรือใจ
และแม้จะระบุไม่ได้ชัด ก็แต่ในสภาพไร้เดียงสาวัยทารก ที่สัญชาตญาณกับจิต รวมเป็นหนึ่ง เป็นปฐมบทของชีวิต
เพราะ ยิ่งเติบโตขึ้น คุณจะรู้ได้ชัดเองว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวนั้น มีจริง และจริงเช่นไร
ก็อยู่ที่ เราจะเลือกสไตล์แบบไหนให้เป็นผู้บงการ แล้วโลกก็จะแปรเปลี่ยนไปตามอานิสงค์ปฏิบัตินิยมแบบนั้น
เหนืออื่นใด เมื่อคนเราใกล้ตาย หรือ เจ็บป่วยอย่างถึงที่สุด
คุณจะพบความจริงอย่างหนึ่ง ว่า ตรงนั้น คือ การหวนคืนคุณูปการของร่างกาย ยามที่ไม่อาจพึ่งพาร่างกายได้อย่างปกติ หรืออีกต่อไป
ใจใดๆ ก็ไม่อาจมีอำนาจเหนือร่างกายที่อ่อนโรยได้ แม้จะปากแข็งว่าไปตามค่านิยมทางศีลธรรมว่า เขาจากไปอย่างสงบ
แต่แท้จริงแล้ว ใจย่อมต้องจำนนต่อร่างกายที่ไม่อาจคงอยู่ เพราะ โลกแห่งความจริง คือ โลกคู่ขนานเดียว ของร่างกายสะท้อนจิต
ดังนั้น การเข้าถึงปัจจุบันในระดับพื้นฐาน จึงไม่ง่ายแต่เป็นปกติธรรมดายิ่ง ของ ปฏิสัมพันธ์อันดำรงอยู่ในโลกคู่ขนานของร่างกายกับจิต
โลกของร่างกาย คือ แบบจำลองที่เป็นจริง อย่างเดียวกับโลกจริงภายนอก ปรากฏในธรรมชาติ หรือ ลูกโลกใบนี้
มันคือ การย่อส่วนให้เล็กลงมา เป็นระบบพลังงานที่สร้างอิสระการเคลื่อนไหว ที่มีจิตรับรู้อาณาจักรร่างกาย
และสามารถยกระดับ การรับรู้โลกนอกร่างกาย ไปได้ไกลแสนไกลเท่าที่ใจเองสามารถเปิดตัวมันเองรับรู้ ..สาดส่องถึง
ว่าไปแล้ว เราไม่อาจแยกกล่าวได้เลยในความเป็นจริง ระหว่าง บทบาทของร่างกายกับจิต/ใจ
ไม่ว่าในทิศทางที่เป็น ความสุข หรือละไว้ในฐานที่เข้าใจต่อ ความทุกข์ ที่บางคนอาจบอกว่า เป็นสุขน้อย
หรือแม้จะมองจาก ฐานคิดแบบพุทธฯว่า ชีวิตคือทุกข์ และวิถีแห่งศาสนา ก็คือ หาทางดับสภาวะนั้น อย่างถึงที่สุด ก็ตาม..
แต่มุมมองในเชิงรุก ก็จะมุ่งไปในทิศทางรังสรร ความสุขที่เป็นจริง
บนสถานะของร่างกายที่ยังทรงพลังพอ ต่อการสร้างความหมายของการดำรงอยู่อย่างไร ..มากกว่า..
เพราะ ชีวิตรวมหมู่ มันเป็นเช่นนั้น แต่ชีวิตในฐานะปัจเจก ก็คงมีวาระแปรเปลี่ยนไปตามวันวัยอายุขัย