'พิชิต' คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย แบ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ชี้หากพรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. 2 ครั้งติดต่อกันพรรคนั้นสิ้นสภาพทันที
นายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วานนี้ (24ธ.ค.) มีการหยิบยกข้อความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาชี้แจงกรณีที่พรรคการเมืองไม่ส่ง ส.ส.ลงเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
"พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค" พรรคไม่ส่ง ส.ส. ต้องสิ้นสภาพพรรคการเมือง
"พรรคการเมือง" มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
๑. คณะบุคคลที่รวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง โดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
๒. เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๓. โดยมุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอื่นอย่างต่อเนื่อง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๔ บัญญัติองค์ประกอบข้างต้นไว้ ซึ่งความน่าสนใจ และต้องช่วยกันคิด และพิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพรรคการเมือง โดยไม่ต้องดูองค์ประกอบที่ ๑ ว่าหน้าตาของคณะบุคคลจะเป็นอย่างไร มีหลักการจริงหรือไม่ในการดำเนินงานทางการเมือง แต่ความจริงควรดูที่องค์ประกอบในข้อที่ ๒ และที่ ๓ ข้างต้นว่า พรรคการเมืองนั้นๆ ได้ดำเนินการตามองค์ประกอบข้อที่ ๒ และที่ ๓ หรือไม่ ซึ่งมีความสำคัญมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามคำกล่าวที่ว่า "พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค" เวลานี้หากพรรคการเมืองไม่มุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. อีกทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๒ บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่วันนี้หากพรรคไม่เลือกคนลงสมัครหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องเลือกพรรค จะทำให้การสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนขาดหายไปหรือไม่
การไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. มีสภาพบังคับทางกฎหมายอย่างไร
พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา ๙๑ พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ด้วยเหตุไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไป ๒ ครั้งติดต่อกัน
กฎหมายข้างต้นเป็นการบัญญัติว่าหากฝ่าฝืน มาตรา ๔ โดยไม่มุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ก็ถือว่าเป็นความผิดแล้วเพียงแต่ไม่ต้องการให้ผิดซ้ำซาก กล่าวคือหากผิดครั้งที่สอง กฎหมายจึงจะถือว่าให้สิ้นสภาพพรรค ดังนั้นในเรื่องนี้กฎหมายไม่ถามหาเหตุผลว่าทำไมไม่ส่ง แม้เหตุผลนั้นจะดีอย่างไรก็ตาม
สรุป คงไม่ต้องไปหาคำตอบของพรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครว่ามีเหตุผลหรือไม่ และเหตุผลจะเป็นจริงรับฟังเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ เพราะกฎหมายไม่ต้องการเหตุผล คำตอบอยู่ที่มาตรา ๙๑ ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง เท่านั้นคือความจริงว่า
"หากไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ๒ ครั้งติดต่อกันพรรคนั้นสิ้นสภาพทันที"
ที่มา :
http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/92176.html
พรรคที่ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกัน สิ้นสภาพทันที
'พิชิต' คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย แบ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ชี้หากพรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. 2 ครั้งติดต่อกันพรรคนั้นสิ้นสภาพทันที
นายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วานนี้ (24ธ.ค.) มีการหยิบยกข้อความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาชี้แจงกรณีที่พรรคการเมืองไม่ส่ง ส.ส.ลงเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
"พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค" พรรคไม่ส่ง ส.ส. ต้องสิ้นสภาพพรรคการเมือง
"พรรคการเมือง" มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
๑. คณะบุคคลที่รวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง โดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
๒. เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๓. โดยมุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอื่นอย่างต่อเนื่อง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๔ บัญญัติองค์ประกอบข้างต้นไว้ ซึ่งความน่าสนใจ และต้องช่วยกันคิด และพิจารณาองค์ประกอบของความเป็นพรรคการเมือง โดยไม่ต้องดูองค์ประกอบที่ ๑ ว่าหน้าตาของคณะบุคคลจะเป็นอย่างไร มีหลักการจริงหรือไม่ในการดำเนินงานทางการเมือง แต่ความจริงควรดูที่องค์ประกอบในข้อที่ ๒ และที่ ๓ ข้างต้นว่า พรรคการเมืองนั้นๆ ได้ดำเนินการตามองค์ประกอบข้อที่ ๒ และที่ ๓ หรือไม่ ซึ่งมีความสำคัญมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามคำกล่าวที่ว่า "พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค" เวลานี้หากพรรคการเมืองไม่มุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. อีกทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๒ บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่วันนี้หากพรรคไม่เลือกคนลงสมัครหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องเลือกพรรค จะทำให้การสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนขาดหายไปหรือไม่
การไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. มีสภาพบังคับทางกฎหมายอย่างไร
พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา ๙๑ พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ด้วยเหตุไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไป ๒ ครั้งติดต่อกัน
กฎหมายข้างต้นเป็นการบัญญัติว่าหากฝ่าฝืน มาตรา ๔ โดยไม่มุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ก็ถือว่าเป็นความผิดแล้วเพียงแต่ไม่ต้องการให้ผิดซ้ำซาก กล่าวคือหากผิดครั้งที่สอง กฎหมายจึงจะถือว่าให้สิ้นสภาพพรรค ดังนั้นในเรื่องนี้กฎหมายไม่ถามหาเหตุผลว่าทำไมไม่ส่ง แม้เหตุผลนั้นจะดีอย่างไรก็ตาม
สรุป คงไม่ต้องไปหาคำตอบของพรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครว่ามีเหตุผลหรือไม่ และเหตุผลจะเป็นจริงรับฟังเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ เพราะกฎหมายไม่ต้องการเหตุผล คำตอบอยู่ที่มาตรา ๙๑ ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง เท่านั้นคือความจริงว่า
"หากไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ๒ ครั้งติดต่อกันพรรคนั้นสิ้นสภาพทันที"
ที่มา : http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/92176.html