วอลสตรีทเจอร์นัลเสนอบทบรรณาธิการ วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ทำประเทศไทยไร้ขื่อแป

กระทู้สนทนา



หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม 2556 เสนอบทบรรณาธิการ เรื่อง "Thailand's disloyal opposition" (พรรคฝ่ายค้านที่ใช้เล่ห์เพทุบายของประเทศไทย) ตั้งคำถามว่า "ฤาประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมือง?" การตัดสินใจของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะบอยคอตการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ทำให้การต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองรอยัลลิสต์นี้ กับผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แทบไม่มีข้อยุติ

แกนนำการประท้วง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ ที่จะจองล้างนางสาวยิ่งลักษณ์จนกว่าเธอจะตาย หรือลาออก อีกทั้งเขายังสั่งให้ผู้สนับสนุนขัดขวางการรับสมัครผู้ลงเลือกตั้งด้วย เมื่อตระหนักว่าตนเองจะแพ้เลือกตั้งแทบจะแน่นอน พรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดสินใจแสวงหาอำนาจด้วยการทำให้ประเทศมีสภาพปกครองไม่ได้ พฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นการใช้เล่ห์กระเท่ห์

"ขณะที่คนเหล่านี้พูดพอเป็นพิธีถึงการปฏิรูประบบให้เป็นประชาธิปไตย ในหลายครั้ง พวกเขาเรียกร้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์แต่งตั้งผู้นำคนใหม่ และให้ประชาธิปไตยหลีกทางแก่ชนชั้นปกครอง" วอลสตรีทเจอร์นัล กล่าว

บทบรรณาธิการชิ้นนี้ ชี้ว่า ประเทศไทยเคยเดินบนเส้นทางนั้นมาแล้ว ครั้งหลังสุดคือ การรัฐประหารเมื่อปี 2549 ซึ่งส่งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นครองอำนาจ กองทัพบีบบังคับให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่สถานการณ์เลวร้ายลง ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในชนบทยิ่งต่อต้านพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้น แล้วผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตรก็ชนะเลือกตั้งต่อไปอีก

นายสุเทพกล่าวหายิ่งลักษณ์ และพี่ชายของเธอ ว่า ทำให้ประเทศมีการคอรัปชั่นหนักขึ้น มีหลักฐานน้อยนิดที่สนับสนุนข้อโจมตีนี้ พรรคประชาธิปัตย์เองไม่เคยห่างหายจากข้อกล่าวหาในเรื่องความฉ้อฉล นายสุเทพลาออกเมื่อปี 2538 หลังจากถูกโจมตีว่าแจกจ่ายที่ดินสปก.ให้แก่พันธมิตร ซึ่งทำให้รัฐบาลนั้นล้มครืน

จนถึงขณะนี้ ประชากรชนบทที่สนับสนุนทักษิณยังคงเก็บงำ แต่พวกเขารู้สึกคับแค้น เมื่อถึงคราวคับขัน พวกเขาสามารถระดมมวลชนได้มากกว่า เพื่อออกมาปกป้องผู้แทนที่พวกเขาเลือก

ขณะเดียวกัน กองทัพที่เคยมีเอกภาพก็ดูจะมีความแตกแยกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสาเหตุที่พวกนายพลเลือกยืนดูที่ขอบสนามในรอบนี้ แต่หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้นจริงๆ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดสงครามกลางเมือง

"พรรคประชาธิปัตย์อ้างตนเป็นผู้แทนเจตจำนงของปวงชน แต่ผู้นำพรรคกลับมีท่าทีพร้อมคืนสู่อำนาจ ไม่ว่าเสียงส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนหรือไม่ การมีพรรคฝ่ายค้านเช่นนี้ ประชาธิปไตยของไทยจะยังคงทนทุกข์ต่อไป"

. บทบรรณาธิการกล่าวในที่สุด.ที่มา : Wall Street Journal
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่