อยากให้ทุกคนอ่านงานวิจัยของ คุณ สิริพรรณ นกสวน เกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554

อยากให้คนที่ไปชุมนุมได้อ่านจริงๆ หรือไม่ว่าใครก็ตาม
เกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: ศึกษาบทบาทพรรคการเมือง และพฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
http://prachatai.com/journal/2013/12/50586

โดยเนื้อหาในส่วนหนึ่ง

คำถามที่ใช้ในการวิจัยข้อหนึ่งคือ "ท่านรู้สึกว่าการรับเงิน ผลประโยชน์ หรือ ค่าตอบแทน เป็นสิ่งผูกมัดให้ท่านต้องเลือกผู้สมัครหรือไม่?" ผลทั้งประเทศ ตอบ ต้องเลือก 10.1% ที่เหลือ ตอบไม่ต้องเลือก การที่คนใต้ตอบต้องเลือก ย่อมไม่ได้แปลว่า มีการซื้อเสียงมากที่สุดในภาคใต้ อาจตีความได้เพียงว่าคนใต้ หากรับผลประโยชน์มา ก็จะตอบแทนด้วยการลงคะแนนให้ ใน%สูงกว่าภาคอื่น ส่วนภาคใดจะมีการซื้อเสียงสูงที่สุดและได้ผลมากที่สุด ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่งานวิจัยชิ้นนี้จะตอบได้

หากนำผลคะแนนเลือกตั้งมาวิเคราะห์ประกอบแล้ว จะเห็นว่า ในภาคใต้ พรรคที่มาเป็นอันดับหนึ่งในทุกเขต ชนะพรรคอันดับ 2 ด้วยคะแนนล้นหลาม เกิน 10,000 เสียง บางเขตชนะกันเกิน 80,000 คะแนน (ยกเว้นใน 4 จังหวัดที่มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การแข่งขันจะสูสี) การชนะขาดเกิดขึ้นในภาคเหนือทุกเขตเลือกตั้ง ยกเว้นเขต 2 อุตรดิตถ์ และ 97 เขต ต่อ 29 เขต ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การชนะกันด้วยคะแนนเสียงจำนวนมากเช่นนี้ ชี้ว่าเงินและการซื้อเสียงไม่น่าจะเป็นปัจจัยหลักในชัยชนะ ด้วยเหตุผลเบื้องต้น 2 ข้อ คือ หนึ่ง คะแนนที่ทิ้งห่างกันมาก บ่งบอกว่าประชาชนเลือกเพราะชอบผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น ซื้อเสียงหรือไม่ประชาชนจำนวนมากก็เลือกอยู่แล้ว และสอง นักการเมืองย่อมคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อประกันชัยชนะ แต่จะไม่ทุ่มซื้อคะแนนส่วนเกินจำนวนมาก

ขณะเดียวกันงานวิจัยมิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีการซื้อเสียง ข้อค้นพบในหลายพื้นที่คือ มีการใช้เงินจำนวนมาก แต่ผู้สมัครที่ใช้เงินมหาศาลกลับไม่ชนะ การศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ พรรคการเมือง นโยบาย และความต้องการตอบสนองผลประโยชน์และความคาดหวังของตน ในขณะที่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หัวคะแนน และการซื้อขายเสียงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยลง และมีความซับซ้อนมากขึ้น

ส่วนในประเด็นว่า คนจบการศึกษาสูงกว่า ป.ตรีเลือกพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น พบว่า ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ประชากรกลุ่มนี้เลือกพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย (พลังประชาชนขณะนั้น) การตัดสินใจเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปของประชากรกลุ่มนี้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 น่าจะเป็นผลจากมุมมองที่มีต่อปรากฎการณ์ชุมนุม เมษา พฤษภา 2553

http://www.tdw.polsci.chula.ac.th/?q=Elected_members_of_parliament
เป็นลิงก์ดาวน์โหลดอานวิจัย

อยากอ่านให้จบแล้วลองวิเคราะห์ดูนะครับ เดี๋ยวนี้รากหญ้าชนบท เขามีจุดยืน มีความคิดของตัวเองมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
อยากอ่านให้จบไม่ใช่ อ่านพวกข้อความที่แชร์กัน สองสามบรรทัด แบบนั้นผมไม่เคยสนไม่มีข้อมูลอะไรมารองรับเลย
หางานวิจัยแบบนี้ได้ยาก ต้องลงมือ ลงแรงจริงๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่