เกริ่นนิดหน่อย.........(อยากให้อ่านให้จบก่อนนะครับ อย่าอ่านแต่หัวกระทู้แล้วตอบเลยจะเข้าใจผิดเอา)
ผมเองแต่ก่อนก็เคยอยู่สิงสถิตตักตวงความรู้จากกูรูห้องราชดำเนินมานาน ตั้งแต่ปฏิวัติ 2549 ก่อนจะมีเสื้อแดงเสียอีก.....แต่พอหลังจากปฏิวัติมาแล้วห้องราชดำเนินก็เปลี่ยนไปทีละน้อยจนกระทั่งเหล่าผู้รู้ต่างๆ ทะยอยหนีจากกันไปกันหมดเหลืออยู่ก็ไม่มาก จากแต่ก่อนความรู้เกี่ยวกับข้อพิพาททางการเมืองระหว่างประเทศ ข้อกฏหมาย และประวัติของการเมืองต่างๆที่เดิมห้องราชดำเนินสมัยก่อนสามารถหาอ่านได้ไม่ยาก แต่พอมายุคนี้สมัยนี้มีแต่ด่าทอกัน และแบ่งแยกใครล้ม ฉันทับ... ไม่คำว่าสุภาพบุรุษอีกต่อไป ใครเชียร์ฝ่ายไหนก็จะหาแต่ข้อผิดพลาดของฝ่ายตรงข้ามแล้วเอามาขยายความให้เกินจริงจนทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันไปต่างๆนาๆ ใครไม่เชื่อตามที่ฝ่ายตัวเองบอกก็ถือว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามเสมอ....
ผมในฐานะประชาชนตัวเล็กๆที่รักสงบ ไม่เคยด่าใครไม่เคยกล่าวให้ร้ายใคร และอดีตมีโอกาสได้ไปพบปะประชาชนจากหลากหลายจังหวัดบางก็เชียร์แดง บ้างก็เชียร์เหลือง ปนๆกันไป...แปลกที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็รักประเทศ แต่ต่างฝ่ายก็ต่างกล่าวหาว่าอีกฝ่ายไม่รักประเทศ....แปลกดี..ผมไปบรรยายให้องค์การบริหารส่วนตำบลให้หลายจังหวัด..เรื่อง "การจัดการความขัดแย้ง" มีความเห็นแปลกๆอยากจะนำเสนอ.....ไม่ทราบท่านๆพอจะเห็นว่าแนวทางที่จะกล่าวต่อไปนี้พอจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดครับ....
วิธีการจัดการความลำบากใจต่อการจัดสรรรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ
เนื่องด้วยในระบบเดิมๆที่ประเทศไทยเราใช้อยู่นั้นวิธีการได้มาซึ่งรัฐมนตรีในการบริหารกระทรวงต่างๆนั้นทำได้โดยการ “คัดเลือก” จากนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว..ซึ่งหรือก็คือการที่แต่ละกลุ่มก้อนการเมืองได้มีการจัดสรรผู้เหมาะสมโดยวัดจากฐานเสียงของแต่ละกลุ่มก้อนต่างๆซึ่งจะนำไปสู่การต่อรองทางการเมือง...
“เลือกรัฐมนตรีจากจำนวน สส. ที่แต่ละกลุ่มก้อน” ไม่ใช่ เลือกตามความสามารถและความเหมาะสม ที่ควรจะเป็น การที่ประเทศไทยจะพัฒนาได้นั่นความจริงแล้วจะต้องพึ่งการ “กึ๋น” หรือฝีมือในการบริหารงานของรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงซึ่งบางกระทรวงก็ต้องการคนที่งานเป็นมากกว่าคนที่เป็นตัวแทนอำนาจของกลุ่มก้อนการเมือง ต้องการรัฐมนตรีที่มีความสามารถในการบริหารกระทรวงต่างๆได้อย่างเหมาะสม โดยมีอาศัยทั้งบู๊และบุ๋น หากแต่ว่าปัจจุบันการจัดสรรตำแหน่งมักจะให้ความสำคัญตามฐานเสียงของกลุ่มก้อนการเมืองมากกว่าการคำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับตัวบุคคลอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต..เช่นเป็น ภรรยาของนักการเมืองเก่าที่ชอบปลูกต้นไม้ก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยกรและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น...หากแต่ นายกฯ เองก็ไม่มีสิทธิในการเลือกมากนักเพราะนั้นเป็นฐานอำนาจที่ต้องรวบรวมพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อที่จะทำให้ได้เสียงในการเสนอชื่อเป็นนายกจากพรรคตัวเองและพรรคร่วมรัฐบาล..นั่นเอง
ดังนั้นผมถือซะว่านี้คือ “ความลำบากใจของผู้นำ” ในการคัดสรรผู้ที่เหมาะสมเข้ามาบริหารแต่ละกระทรวง..และมันคือรากฐานของการทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้จำนวน สส. มากที่สุดเพื่อจะได้อำนาจในการเสนอชื่อ รัฐมนตรีเพื่อเข้าไปบริหาร “ถอนทุน” โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการบริหารผิดพลาด เพราะแม้จะบริหารผิดพลาดก็ยังมีเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมเพียงต่อต่อการยกมือ “ไว้วางใจ” จากการตรวจสอบจากฝ่ายค้านในการเสนออธิปรายไม่ไว้วางใจ..
จะเป็นไปได้มั๊ยว่าเราจะเปลี่ยนแปลง “ความลำบากใจ” ตรงนี้โดย
1. ให้นายกเสนอ “กลุ่มบุคคลที่เหมาะสม” แทนที่จะเป็นตัวแทนจากกลุ่มอำนาจและแต่ละกลุ่มอำนาจเองก็สามารถเสนอคนที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมได้แต่ไม่ใช่เสนอเพียงแค่คนเดียวแต่อาจจะเสนอได้หลายคนโดยให้มีการแข่งขันโดยดูจากคุณสมบัติของแต่ละบุคคล เช่น กลุ่ม ก. เสนอชื่อผู้แข่งขันชิงตำแหน่ง รัฐมนตรีได้ 3 คน
2. นายกไม่มีสิทธิเลือกว่าใครเหมาะสมที่สุดแต่ละเลือกได้แค่เสนอ “ผู้ท้าชิง” จำนวนนึง เท่านั้น..แต่สิทธิในการเลือกว่าเป็นใครนั้นตกอยู่กับ ข้อ 3, หรือ ข้อ 4
3. ให้อำนาจในการคัดเลือก รัฐสภา(ส่วนนึง) + เสียงจากประชาชนทั้งประเทศ นั่นก็คือให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการบริหารทางตรง อีกครั้ง.. นั่นก็คือนอกจากเลือก สส. แล้ว ยังต้องตัดสินใจเลือกรัฐมนตรีอีกด้วย...
4. หรือ เสนอให้ฝ่ายค้าน + รัฐสภา พิจารณาตัวเลือกจากฝั่งรัฐบาล โดยให้ฝ่ายค้านได้มีโอกาสในการคัดกรองรัฐมนตรีได้ส่วนนึงด้วย ไม่ใช่ระบบ Win take all เหมือนแต่ก่อนที่ไม่ให้อำนาจฝ่ายค้านในการบริหารเลย ทำได้เพียงตรวจสอบจากการเสนอ “ไม่ไว้วางใจ” เพียงอย่างเดียว
ประโยชน์ของวิธีการนี้จะทำให้น่าจะได้คณะรัฐมนตรีที่มาจากเสียงส่วนใหญ่จริงๆ หรือได้มากจะทั้งวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้ามรวมกัน ดังนั้นหากมีการปฏิบัติภารกิจที่ผิดพลาดในภายหลังก็จะไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวหาก..อีกทางก็คือมันจะเป็นการคานอำนาจไม่ให้รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จจนเกินไปและยังทำให้ฝ่ายค้านเองมีที่ยืนและยังมีสิทธิในการคัดสรรรัฐมนตรีที่เหมาะสมอีกด้วย...
เปรียบให้ฟังง่ายๆ กับการจัดการทีมฟุตบอล ประชาชนเป็นคนคัดเลือกผู้จัดการทีมและทีมงาน ส่วนการเลือกนักเตะแต่ละคนว่าใครควรจะอยู่ตำแหน่งไหนนั้นไม่ใช่ให้ผู้จัดการทีมเลือกแต่เพียงอย่างเดียว..แต่กลับให้บอร์ดบริหารทั้งบอร์ดหรือแม้แต่ผู้ท้าชิงที่พลาดหวังกับตำแหน่งบริหารมาเป็นคนช่วยเลือก โดยให้ผู้จัดการทีมเสนอนักเตะที่เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งนั่นเอง....
วิธีการคัดสรรแบบนี้แปลงมาจากการคิดแนว Games Theory วิธีแบ่งเค้ก ระหว่างพี่น้อง 2 คน..นั่นก็คือ มีเค้กอยู่ 1 ก้อนทำอย่างไรจะแบ่งเค้กให้เท่ากันที่สุด...วิธีง่ายๆ ก็คือ เป้ายิงฉุบใครชนะได้เป็นคนตัดเค้กแบ่ง...แต่คนแพ้จะเป็นคนเลือกว่าจะเอาชิ้นไหน.... ทำให้คนชนะเองก็ไม่กล้าจะแบ่งให้เค้กชิ้นใดชิ้นนึงมีปริมาณมากกว่าอีกชิ้นเพราะเค้าไม่ได้เป็นคนเลือกก่อนนั่นเอง ผู้แพ้เองก็ยังมีสิทธิเลือกเอาเค้กตามที่ผู้ชนะแบ่งมาให้ไม่ใช่เป็นการับเค้กส่วนที่เหลือจากผู้ชนะ
วิธีการนี้จะประสบความสำเร็จได้หากได้มีการเอาไปใช้จริงซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองไทยไปได้ดีขึ้นและแต่ละกลุ่มก้อนการเมืองจะได้ไม่ต้องคิดถึงแต่ “ปริมาณ” สส. แต่เพียงอย่างเดียว...หากแต่ละกลุ่มก้อนการเมืองจะต้องเฟ้นหานักเตะ(สส.)ที่ดีๆ และมีฝีมือในการเสนอเป็น “ผู้ท้าชิง” และมีแนวโน้มที่จะเกิดการแข่งขันเรื่องของคุณภาพของบุคคลแทนที่จะแข่งขันกันแต่เพียงทำให้ได้ สส. มากที่สุดเท่าที่ทำได้และนั่นจะทำให้การเมืองไทยได้มีการพัฒนาไปอีกขั้นนึง คือการสู้กันที่ตัวแทนมากกว่าแข่งการหว่านเงินเหมือนในอดีต.....
ไม่ทราบว่าถ้าการใช้เราดึงเอาอำนาจในการเลือก รมต. ออกมา แล้วให้แค่นายกฯ เสนอแต่ผู้ท้าชิงตำแหน่ง...แล้วให้
1. รัฐสภา
2. ฝ่ายค้าน
3. ประชาชน
ในการโหวตเลือก รมต. เอง.... จะแก้ไขปัญหารูปแบบการเมืองแบบเน้น "จำนวน" เหมือนเดิมได้หรือไม่ครับ...
ปล. เข้าใจว่าวิธีการนี้จำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อนถึงจะทำได้...
==ข้อเสนอหลังการเลือกตั้ง......ลดอำนาจนายกฯ==
ผมเองแต่ก่อนก็เคยอยู่สิงสถิตตักตวงความรู้จากกูรูห้องราชดำเนินมานาน ตั้งแต่ปฏิวัติ 2549 ก่อนจะมีเสื้อแดงเสียอีก.....แต่พอหลังจากปฏิวัติมาแล้วห้องราชดำเนินก็เปลี่ยนไปทีละน้อยจนกระทั่งเหล่าผู้รู้ต่างๆ ทะยอยหนีจากกันไปกันหมดเหลืออยู่ก็ไม่มาก จากแต่ก่อนความรู้เกี่ยวกับข้อพิพาททางการเมืองระหว่างประเทศ ข้อกฏหมาย และประวัติของการเมืองต่างๆที่เดิมห้องราชดำเนินสมัยก่อนสามารถหาอ่านได้ไม่ยาก แต่พอมายุคนี้สมัยนี้มีแต่ด่าทอกัน และแบ่งแยกใครล้ม ฉันทับ... ไม่คำว่าสุภาพบุรุษอีกต่อไป ใครเชียร์ฝ่ายไหนก็จะหาแต่ข้อผิดพลาดของฝ่ายตรงข้ามแล้วเอามาขยายความให้เกินจริงจนทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันไปต่างๆนาๆ ใครไม่เชื่อตามที่ฝ่ายตัวเองบอกก็ถือว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามเสมอ....
ผมในฐานะประชาชนตัวเล็กๆที่รักสงบ ไม่เคยด่าใครไม่เคยกล่าวให้ร้ายใคร และอดีตมีโอกาสได้ไปพบปะประชาชนจากหลากหลายจังหวัดบางก็เชียร์แดง บ้างก็เชียร์เหลือง ปนๆกันไป...แปลกที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็รักประเทศ แต่ต่างฝ่ายก็ต่างกล่าวหาว่าอีกฝ่ายไม่รักประเทศ....แปลกดี..ผมไปบรรยายให้องค์การบริหารส่วนตำบลให้หลายจังหวัด..เรื่อง "การจัดการความขัดแย้ง" มีความเห็นแปลกๆอยากจะนำเสนอ.....ไม่ทราบท่านๆพอจะเห็นว่าแนวทางที่จะกล่าวต่อไปนี้พอจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดครับ....
เนื่องด้วยในระบบเดิมๆที่ประเทศไทยเราใช้อยู่นั้นวิธีการได้มาซึ่งรัฐมนตรีในการบริหารกระทรวงต่างๆนั้นทำได้โดยการ “คัดเลือก” จากนายกรัฐมนตรีเพียงผู้เดียว..ซึ่งหรือก็คือการที่แต่ละกลุ่มก้อนการเมืองได้มีการจัดสรรผู้เหมาะสมโดยวัดจากฐานเสียงของแต่ละกลุ่มก้อนต่างๆซึ่งจะนำไปสู่การต่อรองทางการเมือง...
“เลือกรัฐมนตรีจากจำนวน สส. ที่แต่ละกลุ่มก้อน” ไม่ใช่ เลือกตามความสามารถและความเหมาะสม ที่ควรจะเป็น การที่ประเทศไทยจะพัฒนาได้นั่นความจริงแล้วจะต้องพึ่งการ “กึ๋น” หรือฝีมือในการบริหารงานของรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงซึ่งบางกระทรวงก็ต้องการคนที่งานเป็นมากกว่าคนที่เป็นตัวแทนอำนาจของกลุ่มก้อนการเมือง ต้องการรัฐมนตรีที่มีความสามารถในการบริหารกระทรวงต่างๆได้อย่างเหมาะสม โดยมีอาศัยทั้งบู๊และบุ๋น หากแต่ว่าปัจจุบันการจัดสรรตำแหน่งมักจะให้ความสำคัญตามฐานเสียงของกลุ่มก้อนการเมืองมากกว่าการคำนึงถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับตัวบุคคลอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต..เช่นเป็น ภรรยาของนักการเมืองเก่าที่ชอบปลูกต้นไม้ก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยกรและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น...หากแต่ นายกฯ เองก็ไม่มีสิทธิในการเลือกมากนักเพราะนั้นเป็นฐานอำนาจที่ต้องรวบรวมพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อที่จะทำให้ได้เสียงในการเสนอชื่อเป็นนายกจากพรรคตัวเองและพรรคร่วมรัฐบาล..นั่นเอง
ดังนั้นผมถือซะว่านี้คือ “ความลำบากใจของผู้นำ” ในการคัดสรรผู้ที่เหมาะสมเข้ามาบริหารแต่ละกระทรวง..และมันคือรากฐานของการทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้จำนวน สส. มากที่สุดเพื่อจะได้อำนาจในการเสนอชื่อ รัฐมนตรีเพื่อเข้าไปบริหาร “ถอนทุน” โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการบริหารผิดพลาด เพราะแม้จะบริหารผิดพลาดก็ยังมีเสียงสนับสนุนจากพรรคร่วมเพียงต่อต่อการยกมือ “ไว้วางใจ” จากการตรวจสอบจากฝ่ายค้านในการเสนออธิปรายไม่ไว้วางใจ..
จะเป็นไปได้มั๊ยว่าเราจะเปลี่ยนแปลง “ความลำบากใจ” ตรงนี้โดย
1. ให้นายกเสนอ “กลุ่มบุคคลที่เหมาะสม” แทนที่จะเป็นตัวแทนจากกลุ่มอำนาจและแต่ละกลุ่มอำนาจเองก็สามารถเสนอคนที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสมได้แต่ไม่ใช่เสนอเพียงแค่คนเดียวแต่อาจจะเสนอได้หลายคนโดยให้มีการแข่งขันโดยดูจากคุณสมบัติของแต่ละบุคคล เช่น กลุ่ม ก. เสนอชื่อผู้แข่งขันชิงตำแหน่ง รัฐมนตรีได้ 3 คน
2. นายกไม่มีสิทธิเลือกว่าใครเหมาะสมที่สุดแต่ละเลือกได้แค่เสนอ “ผู้ท้าชิง” จำนวนนึง เท่านั้น..แต่สิทธิในการเลือกว่าเป็นใครนั้นตกอยู่กับ ข้อ 3, หรือ ข้อ 4
3. ให้อำนาจในการคัดเลือก รัฐสภา(ส่วนนึง) + เสียงจากประชาชนทั้งประเทศ นั่นก็คือให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการบริหารทางตรง อีกครั้ง.. นั่นก็คือนอกจากเลือก สส. แล้ว ยังต้องตัดสินใจเลือกรัฐมนตรีอีกด้วย...
4. หรือ เสนอให้ฝ่ายค้าน + รัฐสภา พิจารณาตัวเลือกจากฝั่งรัฐบาล โดยให้ฝ่ายค้านได้มีโอกาสในการคัดกรองรัฐมนตรีได้ส่วนนึงด้วย ไม่ใช่ระบบ Win take all เหมือนแต่ก่อนที่ไม่ให้อำนาจฝ่ายค้านในการบริหารเลย ทำได้เพียงตรวจสอบจากการเสนอ “ไม่ไว้วางใจ” เพียงอย่างเดียว
ประโยชน์ของวิธีการนี้จะทำให้น่าจะได้คณะรัฐมนตรีที่มาจากเสียงส่วนใหญ่จริงๆ หรือได้มากจะทั้งวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้ามรวมกัน ดังนั้นหากมีการปฏิบัติภารกิจที่ผิดพลาดในภายหลังก็จะไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวหาก..อีกทางก็คือมันจะเป็นการคานอำนาจไม่ให้รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จจนเกินไปและยังทำให้ฝ่ายค้านเองมีที่ยืนและยังมีสิทธิในการคัดสรรรัฐมนตรีที่เหมาะสมอีกด้วย...
เปรียบให้ฟังง่ายๆ กับการจัดการทีมฟุตบอล ประชาชนเป็นคนคัดเลือกผู้จัดการทีมและทีมงาน ส่วนการเลือกนักเตะแต่ละคนว่าใครควรจะอยู่ตำแหน่งไหนนั้นไม่ใช่ให้ผู้จัดการทีมเลือกแต่เพียงอย่างเดียว..แต่กลับให้บอร์ดบริหารทั้งบอร์ดหรือแม้แต่ผู้ท้าชิงที่พลาดหวังกับตำแหน่งบริหารมาเป็นคนช่วยเลือก โดยให้ผู้จัดการทีมเสนอนักเตะที่เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งนั่นเอง....
วิธีการคัดสรรแบบนี้แปลงมาจากการคิดแนว Games Theory วิธีแบ่งเค้ก ระหว่างพี่น้อง 2 คน..นั่นก็คือ มีเค้กอยู่ 1 ก้อนทำอย่างไรจะแบ่งเค้กให้เท่ากันที่สุด...วิธีง่ายๆ ก็คือ เป้ายิงฉุบใครชนะได้เป็นคนตัดเค้กแบ่ง...แต่คนแพ้จะเป็นคนเลือกว่าจะเอาชิ้นไหน.... ทำให้คนชนะเองก็ไม่กล้าจะแบ่งให้เค้กชิ้นใดชิ้นนึงมีปริมาณมากกว่าอีกชิ้นเพราะเค้าไม่ได้เป็นคนเลือกก่อนนั่นเอง ผู้แพ้เองก็ยังมีสิทธิเลือกเอาเค้กตามที่ผู้ชนะแบ่งมาให้ไม่ใช่เป็นการับเค้กส่วนที่เหลือจากผู้ชนะ
วิธีการนี้จะประสบความสำเร็จได้หากได้มีการเอาไปใช้จริงซึ่งจะสามารถทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองไทยไปได้ดีขึ้นและแต่ละกลุ่มก้อนการเมืองจะได้ไม่ต้องคิดถึงแต่ “ปริมาณ” สส. แต่เพียงอย่างเดียว...หากแต่ละกลุ่มก้อนการเมืองจะต้องเฟ้นหานักเตะ(สส.)ที่ดีๆ และมีฝีมือในการเสนอเป็น “ผู้ท้าชิง” และมีแนวโน้มที่จะเกิดการแข่งขันเรื่องของคุณภาพของบุคคลแทนที่จะแข่งขันกันแต่เพียงทำให้ได้ สส. มากที่สุดเท่าที่ทำได้และนั่นจะทำให้การเมืองไทยได้มีการพัฒนาไปอีกขั้นนึง คือการสู้กันที่ตัวแทนมากกว่าแข่งการหว่านเงินเหมือนในอดีต.....
ไม่ทราบว่าถ้าการใช้เราดึงเอาอำนาจในการเลือก รมต. ออกมา แล้วให้แค่นายกฯ เสนอแต่ผู้ท้าชิงตำแหน่ง...แล้วให้
1. รัฐสภา
2. ฝ่ายค้าน
3. ประชาชน
ในการโหวตเลือก รมต. เอง.... จะแก้ไขปัญหารูปแบบการเมืองแบบเน้น "จำนวน" เหมือนเดิมได้หรือไม่ครับ...
ปล. เข้าใจว่าวิธีการนี้จำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อนถึงจะทำได้...