เขียนยาวหน่อยแต่อยากให้เพื่อนคนไทยได้อ่านจบ

กระทู้สนทนา
เขียนยาวหน่อยแต่อยากให้เพื่อนคนไทยได้อ่านจบ ทำไมอยากให้อ่าน?
เพราะถ้าเราต่างอ้างถึงแนวทางตนคือประชาธิปไตย
สิ่งสำคัญที่สุดที่เราไม่น่าปฏิเสธคือการรับฟังความคิดเห็นหรือการถกเถียงกัน
นี่คือความคิดเห็นของผู้เขียนตั้งใจเขียนเพื่อชี้ให้เห็นความคิดที่อาจต่างจากพวกคุณ
ซึ่งผู้เขียนขอยืนยันว่ารับฟัง และจะฟังความคิดเห็นของคุณอย่างตั้งใจเช่นเดียวกัน

สิ่งที่เป็นหลักและความสวยงามเชิงอุดมการณ์ของประชาธิปไตย แต่คนไทยหลายคนอาจไม่เข้าใจมัน

การตัดสินใจของคุณกรณ์ในครั้งนี้เป็นแนวทางที่คล้ายกับ ชาร์ล เดอ โกล
(Charles de Gaulle)รัฐบุรุษของฝรั่งเศส (ประเทศที่เราลอกรัฐธรรมนูญเขามาทั้งดุ้นนั่นละ)

คือการตัดสินใจลาออกจากประธานคณะรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (20 มกราคม 1946)
ทั้งที่ขณะนั้นมีอำนาจ และได้รับความนิยมอยู่เต็มที่ แต่เมื่อไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองต่างๆในเรื่องรัฐธรรมนูญ
ที่ให้อำนาจรัฐสภามากจนเกินไป(เรื่องนี้ก็ใกล้เคียงไทยอีก)

และออกมาเล่นการเมืองข้างถนน พยายามสร้างความเข้าใจถึงความเลวร้ายของระบบนั้น
จนเกิดสุนทรพจน์อมตะ เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.1946 ลองจับประเด็นดู ที่น่าสนใจก็ 3-4 เรื่องคือ

1.การใช้กติกาที่เฉียบขาดและการโฆษณาชวนเชื่อ
2.หลักการประชาธิปไตยคือความคิดเห็น(+ถกเถียง=จุดร่วม) และความคิดเห็น(=หลักการ)
นำไปเป็นข้อกฎหมาย(กติกา) (เรื่องนี้พี่ไทยอยู่ห่างไกลมาก)
3.ที่มาของ 2 สภาควรแตกต่าง
4.การแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล

http://123ne.blogspot.com/2012/03/blog-post_24.html

หากจับประเด็นดีๆจะเห็นได้ว่าแนวทางการตัดสินใจของ เดอร์โกล อาจคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ฝรั่งเศสไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญอีกเลย ตั้งแต่การเลือกลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองแทนที่จะรั้งอำนาจ มาลงการเมืองข้างถนนเพื่อให้เจ้าของอธิปไตยคือประชาชนได้เข้าใจถึงความเลวร้ายของระบอบเผด็จการ(ขอเรียกว่าในรูปแบบประชาธิปไตย) ดูไม่ต่างจากการให้อำนาจรัฐสภามากเกินไปจนใช้เสียงข้างมากลากไปได้ทุกเรื่องเลย

และถ้าย้อนไปนิดกลับไปมองต้นทางที่ไปครอบงำแนวคิดของประชาชนและนักการเมืองฝรั่งเศสอย่างเยอรมัน มีคำถามเพื่อให้คิดต่อได้ว่าประเทศที่เป็นเผด็จการก็เริ่มมาจากการเลือกตั้ง ยึดกติกา เสียงข้างมาก แต่เสียงข้างมากนั้นก็ไปเปลี่ยนกติกาเพื่อให้สิ่งที่ตนต้องการนั้นได้โดยไม่สนว่าจะถูกต้องหรือ การไม่คำนึงถึงจุดร่วมนั่นเอง(นี่หรือความชอบธรรม)

และถ้ามองให้ลึกลงไปก็จะเห็นว่าปัจจัยเกิดจาก 2 สิ่งคือ ระบบ และบุคคล ระบบไหนที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ขณะนั้นๆ บุคคลที่ถือฐานะผู้นำ"ตัดสินใจ"ต่อกรณีที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในแนวทางไหน? ผู้เขียนคิดว่า เดอร์โก ตัดสินใจในแนวทางตามวิถีทางประชาธิปไตยคือการแสวงหาจุดร่วม สร้างความเข้าใจนั่นเอง

ที่ผู้เขียนสังเกตุและค่อนข้างมั่นใจอีกกรณีของทหารหัวใจประชาธิปไตยผู้นี้คือกรณีรัฐประหารในแอลจีเรีย เดอร์โก เลือกที่จะเจรจาแสวงหาจุดร่วมแทนที่จะใช้กำลัง และทำประชามติ ทำให้แอลจีเรียได้รับการปลดแอก จนทำให้ทหารกลุ่มที่มีผลประโยชน์ในแอลจีเรียไม่พอใจจะก่อการยึดอำนาจเดอร์โก นายทหารหัวใจปชต.ที่ชื่อเดอร์โกผู้นี้กลับเลือกแถลงการณ์ต่อประชาชนให้เดินเท้าและรถยนต์ไปรวมตัวกันที่สนามบินเพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยทำให้การรัฐประหารครั้งนั้นไม่สำเร็จ

สิ่งที่กรณ์เลือกมีองค์ประกอบที่ใกล้เคียง คือเลือกที่จะสละตำแหน่งเพื่อมาทำความเข้าใจและต่อสู้ร่วมกับเจ้าของอธิปไตย

องค์ประกอบที่เหมือนคือสิ่งที่ต่อต้านเชิงระบบคือการให้อำนาจรัฐสภามาเกินไปเหมือนกัน ส่วนบุคคล,คณะ ก็ชี้ให้เห็นแล้วใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ว่าเรื่องการออกกฎหมายเพื่อตนเอง แก้กฎหมายเพื่อพยายามเพิ่มอำนาจให้ตนเอง

กติกาเหล่านั้นจะถือว่าถูกต้องได้หรือ? และนี่คือการรับฟังเสียงส่วนน้อยหรือไม่?
ความรับผิดชอบของผู้นำตามแนวทางประชาธิปไตยคืออะไร?

วันนี้ไม่มีคำตอบเหล่านี้จากฟากบริหารเลย การโฆษณาชวนเชื่อต่อแนวทางเหล่านั้นก็ทำให้วิธีคิดนั้นถูกบิดเบือนจากแนวทางประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น จึงเห็นได้ชัดว่า วันนี้อ้างกติกาจนไม่สนว่ามันถูกต้องหรือไม่ จนไม่สนว่าแท้จริงที่มาของกติกามันคืออะไร(จุดร่วม) จนแยกแยะไม่ได้ ว่ากรณีใดคือสิ่งที่จำเป็นต้องยอมรับร่วมกัน(หลักการ) กรณีใดเสียงส่วนน้อยต้องยอมรับ(วิธีการ) กรณีใดเสียงส่วนใหญ่ต้องรับฟัง(ข้อสงสัยต่อหลักการ)

ในเมื่อกติกานั้นมาจากจุดร่วม จุดร่วมคือสิ่งที่เสียงส่วนมากและส่วนน้อยยอมรับร่วมกันได้ สิ่งนั้นก็คือหลักการที่เรายอมรับร่วมกัน ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

หลักการต้องไม่ยืดหยุ่น แต่วันนี้รัฐกลับเป็นผู้ที่จะเริ่มขัดหลักการเสียเอง พยายามเปลี่ยนหลักการโดยไม่แสวงหาจุดร่วมแน่นอนมันจะส่งผลให้ระบบเสียหาย ผลกระทบต่อเนื่องก็ตามมา นอกจากนั้นยังขัดหลักการปกครองตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยในเรื่องความ"รับผิดชอบ" แต่กลับพยายามโยนความผิดให้กับผลที่เกิดจากการกระทำนั้นๆให้ประชาชน (การยุบสภาไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อกรณีเช่นนี้ตามความคิดของผู้เขียน)

แนวทางที่ควรจะเป็นคืออะไรในมุมมองผู้เขียน?

"การยอมรับเสียงส่วนใหญ่"คือแนวทางตามนโยบายต่างๆที่มีเป้าหมาย, วัตถุประสงค์ในเรื่องความเป็นอยู่ ปากท้องของประชาชน

"แนวทางที่ต้องรับฟัง และต้องแสวงหาจุดร่วมด้วยกัน"คือแนวทางเชิงโครงสร้าง,สิทธิพื่นฐาน,ปัญหาละเอียดอ่อน,หรือการได้มาซึ่งอำนาจ

สาเหตุที่ทำให้ประชาชนออกมา มาจากการที่รัฐบาลพยายามแก้ไขโครงสร้าง ปัญหาละเอียดอ่อน รวมทั้งการได้มาซึ่งอำนาจ โดยที่มิได้มีจุดร่วมกับสียงส่วนน้อยเลย

ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำให้ปัญหาซ้อนปมไปเรื่อยๆ ถ้าจะย้อนเหตุกันจริงๆก็ต้องถามว่าเหตุที่เกิดเริ่มจากทักษิณพยายามสิ่งที่ขัดต่อแนวทางประชาธิปไตยหรือไม่ หากเทียบเคียงกับฝรั่งเศสต้นแบบที่ไปลอกมา ในเรื่องการถ่วงดุล มีความพยายามแสวงหาเพื่ออำนาจจนไม่ไปขัดกับเจตนาของหลักการหรือไม่? และนั่นคือสาเหตุหรือไม่?

วันนี้อำนาจทั้งหมดอยู่ในมือรัฐบาล เป็นเรื่องปกติที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ เช่นเดียวกันในทุกยุคทุกสมัย เพราะนี่คือหลักการที่ควรจะเหนือกว่ากติกา "ผู้นำต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ"

ผู้เขียนมั่นใจว่าหากไม่เกิด 2 สิ่งขึ้นในประเทศไทย
จะไม่เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง และยิ่งเกิดช้ามากเท่าไหร่ ความขัดแย้งความรุนแรงก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ

1.การตัดสินใจให้กลับมาในแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อการแสวงหาจุดร่วม วันนี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้นำจะต้องไม่เดินข้ามความ"รับผิดชอบ"เสียก่อน เพื่อเปิดประตูบานใหญ่ในการแสวงหาจุดร่วมและทางออกให้บ้านเมือง
2.การเจรจาที่ตกผลึก จะต้องมีระบบที่ดี หากบอกว่าประชาธิปไตยเป็นของปวงชน การถกเถียงของประชาชนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะต้องมีการจัดระบบการเจรจาให้ดี ให้ได้ข้อสรุป ให้ได้จุดร่วมที่แท้จริง

การเลือกตั้งในขณะที่ยังไม่เกิดจุดร่วมก่อนนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาแน่นอน เพราะจุดร่วมมันจะต้องเกิดมาก่อนหลักการเสมอ  
ไม่มีจุดร่วมหลักการนั้นก็ไม่ถูกต้อง กติกาจึงเป็นเพียงกรอบที่มีประโยชน์เพียงยับยั้งหรือชลอความรุนแรง/สงครามเท่านั้นเอง

แม้มีการเลือกตั้ง หรือมีปัจจัยบีบให้เกิดความเด็ดขาดให้ยอมรับ ความรุนแรงก็ทวีขึ้นไปเรื่อยๆอยู่ดี เพียงแต่อาจเก็บไว้อยู่ภายในรอวันประทุที่ใกล้จะเกิดขึ้นทุกทีๆ

Minijung

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=660464727337656&set=a.145671072150360.32984.145670862150381&type=1&theater
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่