ขออนุญาตออกตัวก่อนว่าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง แต่ก็ติดตามการเมืองมาหลายปี
นั่งอ่านหลายท่านแสดงความเห็น ก็มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ
ตอนนี้เห็นวิกฤตการเมืองในบ้านเรา ก็อยากแสดงความเห็นในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่อยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า
และเพื่อช่วยคิดช่วยแชร์หาทางออกในวิกฤตการเมืองและนี่ก็เป็นกระทู้แรกที่ตั้งในพันทิประบบใหม่ครับ
โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับสภาประชาชนและการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม
แต่หากจะมีการปฏิรูปการเมืองจริงๆ ต้องแก้ปัญหาที่ระบบของการเมือง ไม่ใช่แก้ปัญหาที่ตัวประชาชน
โดยปัญหาหลักตอนนี้คือ ฝ่ายที่แพ้เลือกตั้งไม่ยอมรับ เสียงข้างมาก ซึ่งเป็นหลักมาตรฐานของระบอบประชาธิปไตย
และผู้ที่ชนะเลือกตั้ง หรือเสียงข้างมาก ใช้เสียงข้างมากนั้นในทางที่ไม่เหมาะสมในบางครั้ง
จึงเสนอความคิดการปฏิรูปการเมืองในรูปแบบใหม่ เผื่อนำไปสู่ทางออกของวิกฤตประเทศได้
๑.เพิ่มระบบสภาผู้แทนราษฏรขึ้นอีก ๑ สภา เป็นสภาคู่ขนาน ในที่นี้เรียกว่า สภารอง โดยที่ สภาผู้แทนราษฏรเดิมและวุฒิสภาเดิมยังคงมีอยู่ โดยสภาเดิมในที่นี้ขอเรียกว่า สภาหลัก
๒.กำหนด สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบใหม่ โดยเพิ่ม รองสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (รสส.) เข้ามาในระบบแบบแบ่งเขต ทำให้จะมีผู้แทน ๒ แบบคือ สส. และ รสส.
๓.วิธีการได้มาซึ่ง สส. และ รสส. แบบแบ่งเขต ใช้การเลือกตั้งระบบเดิม เพียงแต่ว่า รสส.จะมาจาก ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ได้คะแนนเป็นอันดับ ๒ ของเขตนั้นๆ (ระบบเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว)
๔.ดังนั้นจะมีตัวแทนประชาชนทั้งหมดคือ สมาชิกวุฒิสภา ๑๕๐ คน (สว.แบบเดิม), สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขต ๓๗๕ คน แบบสัดส่วน ๑๒๕ คน (สส.แบบเดิม), และ รองสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขต ๓๗๕ คน (รสส.) แบบใหม่
๕.สภาผู้แทนราษฏรหลักคือสภาผู้แทนราษฏรเดิม ทำหน้าที่เดิมตาม รธน., สภารอง รสส.(สภาผู้แทนราษฏรใหม่) ทำให้หน้าในการโหวตรับรอง,คัดค้าน ร่างกฏหมายหรือ พรบ.อื่นๆ ที่ออกโดย สภาผู้แทนราษฏรหลักเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการโหวตแต่งตั้ง, ถอดถอน นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี หรือเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล และไม่มีอำนาจบริหารอื่น
๖.ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบด้วยวิถีทางรัฐสภาจะมี สภาผู้แทนราษฏรหลัก, สภาผู้แทนราษฏรรอง และวุฒิสภา
สมมติตัวอย่างที่มาของ รองสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (รสส.)
สมมติเขตเลือกตั้งแห่งหนึ่งมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๒๕๐,๐๐๐ คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๐๐,๐๐๐ คน คิดเป็น ๘๐% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
มีผู้เลือกพรรค พท. ๑๐๐,๐๐๐ คน คิดเป็น ๕๐% ของผู้มาใช้สิทธิ, เลือกพรรค ปชป. ๘๐,๐๐๐ คน คิดเป็น ๔๐% ของผู้มาใช้สิทธิ และเลือกพรรคอื่นๆ ๒๐,๐๐๐ คน
ตัวแทนประชาชนจากเขตนี้ คือ สส.พรรค พท. ๑ คน และ รสส.พรรค ปชป. ๑ คน เพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ๑๘๐,๐๐๐ คน หรือคิดเป็น ๙๐% ของผู้มาใช้สิทธิเขตนี้ (แทนประชาชนส่วนมาก)
ดังนั้นในเขตที่สูสีกันมากๆ จะได้ทั้งตัวแทน สส.และ รสส. เป็นตัวแทนของประชาชนส่วนมากในแต่ละเขต นั่นหมายถึง ประชาชนส่วนมาก(ไม่ใช่เสียงข้างมาก)ได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองนั่นเอง
ข้อดีที่ได้เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งระบบนี้
๑.ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ไม่เป็นเพียงผู้ได้เสียงอันดับ ๑ เท่านั้น เพราะเสียงของประชาชนของตัวแทนผู้ที่ได้อันดับ ๒ ก็มีค่าและมีอำนาจหน้าทีในรัฐสภา
๒.ลดและแก้ปัญหา การผูกขาดทางการเมืองของพรรคที่ชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้พรรคที่เป็นรองในเขตนั้น มีโอกาสได้เป็นตัวแทนในสภา ถึงแม้เป็นสภารอง โดยเฉพาะการผูกขาดเรืองพื้นที่ อีสาน เหนือ ใต้ รสส. อาจมีพรรคอื่นแซม
๓.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ทั้งในแง่คะแนนการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมของตัวแทนที่เป็น รสส. ในสภารอง ถึงแม้พรรคที่ตนเองชื่นชอบจะเป็นรองในเขตนั้น แต่ก็ยินดีไปเลือกตั้ง เพราะมีโอกาสได้เป็น รสส. เข้าสู่ระบบสภารอง
๔.ให้โอกาสพรรคการเมืองขนาดเล็ก ได้มีตัวแทนเข้าสู่รัฐสภามากขึ้น แม้อาจเป็นสภารอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่และทำผลงานให้ประชาชนชื่นชอบและมีโอกาสได้รับเลือกเป็น สส. ในสภาหลักในการเลือกตั้งครั้งหน้าต่อไป ทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กเข็มแข็งและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
๕.ให้โอกาสนักการเมืองหน้าใหม่ที่มีความสามารถ ได้มีโอกาสทางการเมืองมากขึ้น จากการเข้าสู่การเป็น รสส. ถึงแม้จะเข้าแข่งในเขตที่มีนักการเมืองเจ้าถิ่นได้เป็น สส. ก็ตาม ทำให้มีผู้มีความรู้ความสามารถ สนใจเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น ลดการผูกขาดของผู้มีอิทธิพลทางการเมืองหน้าเดิมๆ
๖.แก้ปัญหาการถกเถียงกันระหว่างประชาชน ของคำว่า เสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย ซึ่งในความเป็นจริง เสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยในแต่ละเขต ต่างกันน้อยมาก ตามตัวอย่างที่ยกมา และต่อไปจะมีแต่คำว่า เสียงส่วนมากทางการเมือง
๗.ประชาชนอุ่นใจมากขึ้น ไม่ต้องห่วงว่านักการเมืองจะใช้อำนาจเด็ดขาดเสียงข้างมากผ่านกฏหมายที่ไม่ชอบธรรม เพราะมีการตรวจสอบด้วยระบบสภารองที่ละเอียดขึ้น
๘.ประชาชนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ เพราะเสียงที่เคยเป็นเสียงข้างน้อย จากคะแนนการเลือกตั้งได้อันดับ ๒ จะไม่สูญเปล่า ทำให้มีการยอมรับผลทางการเมืองมากขึ้น
๙.อื่นๆ คิดยังไม่ออก ท่านอื่นโปรดช่วยกันคิดและมีส่วนร่วม
ฝากนักวิชาการ ฝ่ายการเมือง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยนำความเห็นเล็กๆของประชาชนคนหนึ่งไปพิจารณาและขยายผลในรายละเอียด ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร
ผมเข้าใจว่าหากทำตามความเห็นนี้ จะต้องมีการแก้ รธน.
แต่การแก้ รธน. ดีกว่าการฉีก รธน. ไม่ใช่หรือ?
ปล.
๑.ผมไม่เห็นด้วยกับ พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ของพรรค พท.
๒.ผมไม่เห็นด้วยกับ สภาประชาชนของคุณสุเทพ และวิธีการเล่นการเมืองนอกสภาของพรรค ปชป.
๓.ผมไม่เห็นด้วยกับการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ประชาชนทุกคนมี ๑ สิทธิ ๑ เสียงเท่ากันหมด
๔.ผมยินดีรับฟังข้อโต้แย้งและความเห็นต่างจากนี้ หากข้อเสนอผมเป็นไปไม่ได้หรือไม่สามารถทำได้
๕.ผมสนับสนุนทหารให้ปฏิบัติหน้าที่ในหน้าที่ของตนเองเท่านั้นและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
๔.ผมสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕.ผมรักในหลวงและรักประเทศไทย ไม่มากไม่น้อยกว่าคนไทยทุกคน
๖.ผมจับตาดูพวกคุณอยู่ นักการเมืองทุกคนโปรดรับทราบไว้ ประชาชนไม่พูด ไม่ใช่ไม่รู้
ร่างสภาประชาชน โดยประชาชน
นั่งอ่านหลายท่านแสดงความเห็น ก็มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ
ตอนนี้เห็นวิกฤตการเมืองในบ้านเรา ก็อยากแสดงความเห็นในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่อยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า
และเพื่อช่วยคิดช่วยแชร์หาทางออกในวิกฤตการเมืองและนี่ก็เป็นกระทู้แรกที่ตั้งในพันทิประบบใหม่ครับ
โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับสภาประชาชนและการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม
แต่หากจะมีการปฏิรูปการเมืองจริงๆ ต้องแก้ปัญหาที่ระบบของการเมือง ไม่ใช่แก้ปัญหาที่ตัวประชาชน
โดยปัญหาหลักตอนนี้คือ ฝ่ายที่แพ้เลือกตั้งไม่ยอมรับ เสียงข้างมาก ซึ่งเป็นหลักมาตรฐานของระบอบประชาธิปไตย
และผู้ที่ชนะเลือกตั้ง หรือเสียงข้างมาก ใช้เสียงข้างมากนั้นในทางที่ไม่เหมาะสมในบางครั้ง
จึงเสนอความคิดการปฏิรูปการเมืองในรูปแบบใหม่ เผื่อนำไปสู่ทางออกของวิกฤตประเทศได้
๑.เพิ่มระบบสภาผู้แทนราษฏรขึ้นอีก ๑ สภา เป็นสภาคู่ขนาน ในที่นี้เรียกว่า สภารอง โดยที่ สภาผู้แทนราษฏรเดิมและวุฒิสภาเดิมยังคงมีอยู่ โดยสภาเดิมในที่นี้ขอเรียกว่า สภาหลัก
๒.กำหนด สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบใหม่ โดยเพิ่ม รองสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (รสส.) เข้ามาในระบบแบบแบ่งเขต ทำให้จะมีผู้แทน ๒ แบบคือ สส. และ รสส.
๓.วิธีการได้มาซึ่ง สส. และ รสส. แบบแบ่งเขต ใช้การเลือกตั้งระบบเดิม เพียงแต่ว่า รสส.จะมาจาก ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ได้คะแนนเป็นอันดับ ๒ ของเขตนั้นๆ (ระบบเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว)
๔.ดังนั้นจะมีตัวแทนประชาชนทั้งหมดคือ สมาชิกวุฒิสภา ๑๕๐ คน (สว.แบบเดิม), สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขต ๓๗๕ คน แบบสัดส่วน ๑๒๕ คน (สส.แบบเดิม), และ รองสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบแบ่งเขต ๓๗๕ คน (รสส.) แบบใหม่
๕.สภาผู้แทนราษฏรหลักคือสภาผู้แทนราษฏรเดิม ทำหน้าที่เดิมตาม รธน., สภารอง รสส.(สภาผู้แทนราษฏรใหม่) ทำให้หน้าในการโหวตรับรอง,คัดค้าน ร่างกฏหมายหรือ พรบ.อื่นๆ ที่ออกโดย สภาผู้แทนราษฏรหลักเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการโหวตแต่งตั้ง, ถอดถอน นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี หรือเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล และไม่มีอำนาจบริหารอื่น
๖.ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบด้วยวิถีทางรัฐสภาจะมี สภาผู้แทนราษฏรหลัก, สภาผู้แทนราษฏรรอง และวุฒิสภา
สมมติตัวอย่างที่มาของ รองสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (รสส.)
สมมติเขตเลือกตั้งแห่งหนึ่งมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๒๕๐,๐๐๐ คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ๒๐๐,๐๐๐ คน คิดเป็น ๘๐% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
มีผู้เลือกพรรค พท. ๑๐๐,๐๐๐ คน คิดเป็น ๕๐% ของผู้มาใช้สิทธิ, เลือกพรรค ปชป. ๘๐,๐๐๐ คน คิดเป็น ๔๐% ของผู้มาใช้สิทธิ และเลือกพรรคอื่นๆ ๒๐,๐๐๐ คน
ตัวแทนประชาชนจากเขตนี้ คือ สส.พรรค พท. ๑ คน และ รสส.พรรค ปชป. ๑ คน เพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ๑๘๐,๐๐๐ คน หรือคิดเป็น ๙๐% ของผู้มาใช้สิทธิเขตนี้ (แทนประชาชนส่วนมาก)
ดังนั้นในเขตที่สูสีกันมากๆ จะได้ทั้งตัวแทน สส.และ รสส. เป็นตัวแทนของประชาชนส่วนมากในแต่ละเขต นั่นหมายถึง ประชาชนส่วนมาก(ไม่ใช่เสียงข้างมาก)ได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองนั่นเอง
ข้อดีที่ได้เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งระบบนี้
๑.ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ไม่เป็นเพียงผู้ได้เสียงอันดับ ๑ เท่านั้น เพราะเสียงของประชาชนของตัวแทนผู้ที่ได้อันดับ ๒ ก็มีค่าและมีอำนาจหน้าทีในรัฐสภา
๒.ลดและแก้ปัญหา การผูกขาดทางการเมืองของพรรคที่ชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้พรรคที่เป็นรองในเขตนั้น มีโอกาสได้เป็นตัวแทนในสภา ถึงแม้เป็นสภารอง โดยเฉพาะการผูกขาดเรืองพื้นที่ อีสาน เหนือ ใต้ รสส. อาจมีพรรคอื่นแซม
๓.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ทั้งในแง่คะแนนการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมของตัวแทนที่เป็น รสส. ในสภารอง ถึงแม้พรรคที่ตนเองชื่นชอบจะเป็นรองในเขตนั้น แต่ก็ยินดีไปเลือกตั้ง เพราะมีโอกาสได้เป็น รสส. เข้าสู่ระบบสภารอง
๔.ให้โอกาสพรรคการเมืองขนาดเล็ก ได้มีตัวแทนเข้าสู่รัฐสภามากขึ้น แม้อาจเป็นสภารอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่และทำผลงานให้ประชาชนชื่นชอบและมีโอกาสได้รับเลือกเป็น สส. ในสภาหลักในการเลือกตั้งครั้งหน้าต่อไป ทำให้พรรคการเมืองขนาดเล็กเข็มแข็งและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
๕.ให้โอกาสนักการเมืองหน้าใหม่ที่มีความสามารถ ได้มีโอกาสทางการเมืองมากขึ้น จากการเข้าสู่การเป็น รสส. ถึงแม้จะเข้าแข่งในเขตที่มีนักการเมืองเจ้าถิ่นได้เป็น สส. ก็ตาม ทำให้มีผู้มีความรู้ความสามารถ สนใจเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น ลดการผูกขาดของผู้มีอิทธิพลทางการเมืองหน้าเดิมๆ
๖.แก้ปัญหาการถกเถียงกันระหว่างประชาชน ของคำว่า เสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย ซึ่งในความเป็นจริง เสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยในแต่ละเขต ต่างกันน้อยมาก ตามตัวอย่างที่ยกมา และต่อไปจะมีแต่คำว่า เสียงส่วนมากทางการเมือง
๗.ประชาชนอุ่นใจมากขึ้น ไม่ต้องห่วงว่านักการเมืองจะใช้อำนาจเด็ดขาดเสียงข้างมากผ่านกฏหมายที่ไม่ชอบธรรม เพราะมีการตรวจสอบด้วยระบบสภารองที่ละเอียดขึ้น
๘.ประชาชนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ เพราะเสียงที่เคยเป็นเสียงข้างน้อย จากคะแนนการเลือกตั้งได้อันดับ ๒ จะไม่สูญเปล่า ทำให้มีการยอมรับผลทางการเมืองมากขึ้น
๙.อื่นๆ คิดยังไม่ออก ท่านอื่นโปรดช่วยกันคิดและมีส่วนร่วม
ฝากนักวิชาการ ฝ่ายการเมือง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยนำความเห็นเล็กๆของประชาชนคนหนึ่งไปพิจารณาและขยายผลในรายละเอียด ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร
ผมเข้าใจว่าหากทำตามความเห็นนี้ จะต้องมีการแก้ รธน.
แต่การแก้ รธน. ดีกว่าการฉีก รธน. ไม่ใช่หรือ?
ปล.
๑.ผมไม่เห็นด้วยกับ พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ของพรรค พท.
๒.ผมไม่เห็นด้วยกับ สภาประชาชนของคุณสุเทพ และวิธีการเล่นการเมืองนอกสภาของพรรค ปชป.
๓.ผมไม่เห็นด้วยกับการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ประชาชนทุกคนมี ๑ สิทธิ ๑ เสียงเท่ากันหมด
๔.ผมยินดีรับฟังข้อโต้แย้งและความเห็นต่างจากนี้ หากข้อเสนอผมเป็นไปไม่ได้หรือไม่สามารถทำได้
๕.ผมสนับสนุนทหารให้ปฏิบัติหน้าที่ในหน้าที่ของตนเองเท่านั้นและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
๔.ผมสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๕.ผมรักในหลวงและรักประเทศไทย ไม่มากไม่น้อยกว่าคนไทยทุกคน
๖.ผมจับตาดูพวกคุณอยู่ นักการเมืองทุกคนโปรดรับทราบไว้ ประชาชนไม่พูด ไม่ใช่ไม่รู้