แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์
เรื่อง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ กรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔ ซึ่งเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และมีผู้ร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น คณะนิติราษฎร์พิจารณาแล้ว มีความเห็นต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนี้
- ๑. -
ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญนั้น เป็นองค์กรของรัฐที่จัดอยู่ในหมวดศาล ซึ่งหมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกับศาลอื่น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องใดนั้นย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถก่อตั้งอำนาจของตนขึ้นด้วยตัวเองได้ ในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลรัฐธรรมนูญต้องสำรวจตรวจสอบในเบื้องต้นเสียก่อนว่าคดีที่มีผู้ร้องมานั้นอยู่ในเขตอำนาจที่ตนจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาพิพากษาคดีในเรื่องนั้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น หากต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเช่นนั้น ย่อมจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเสียก่อน หลักการดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดการดุลและคานอำนาจตามหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ศาลรัฐธรรมนูญหาได้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตนไปตามหลักการข้างต้นไม่ แต่กลับอ้างอิงหลักการคุ้มครองเสียงข้างน้อยและหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง และใช้การอ้างอิงที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนดังกล่าวนั้นไปเชื่อมโยงกับ “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผ่านบทบัญญัติมาตรา ๖๘ ซึ่งไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า สาระสาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน การแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นการใช้อำนาจโดยตรง การใช้อำนาจโดยผู้แทน และการใช้อำนาจผ่านองค์กรของรัฐซึ่งมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน อย่างไรก็ตามประชาชนประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากซึ่งมีเจตจำนงทางการเมืองและความคิดเห็นตลอดจนผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป การค้นหาเจตจำนงของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อยุติโดยความเห็นพ้องต้องกันของทุกคนโดยเอกฉันท์ในทุกเรื่องย่อมเป็นไปไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อยุติ นั่นคือ การถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน อย่างไรก็ตาม ระบอบประชาธิปไตยต้องคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย เพื่อให้ข้อยุติที่ได้จากเสียงข้างมากนั้นเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล ทั้งนี้ การคุ้มครองเสียงข้างน้อยหมายถึงการเปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยได้แสดงความคิดเห็นโน้มน้าวใจให้บุคคลอื่นเห็นด้วยกับตน เพื่อที่ความเห็นของเสียงข้างน้อยที่มีเหตุมีผลจะได้มีโอกาสในการเป็นเสียงข้างมากในวันใดวันหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียงข้างมากจะต้องยอมตามเสียงข้างน้อยตลอดเวลา
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่สร้างหลักประกันให้เสียงข้างน้อยได้ใช้เป็นช่องทางในการตรวจสอบเสียงข้างมาก แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญจะต้องช่วยสนับสนุนให้เสียงข้างน้อยบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการเสมอ ตามหลักของการจัดโครงสร้างองค์กรของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีฐานะเป็น “ผู้แทน” ของเสียงข้างน้อย แต่ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “คนกลาง” ซึ่งมีหน้าที่ต้องคุ้มครองเจตจำนงของเสียงข้างมากและประกันเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ทั้งนี้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติมอบอำนาจไว้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์คำวินิจฉัยนี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้พรรณนาหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การตรวจสอบถ่วงดุล และการคุ้มครองเสียงน้อยอย่างยืดยาว และสรุปอย่างง่าย ๆ โดยนัยว่าเสียงข้างน้อย “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” โดยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงใดมาสนับสนุนว่าในขณะนี้ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลเสียงข้างมากหรือไม่คุ้มครองเสียงข้างน้อยจน “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” อย่างไร กล่าวโดยจำเพาะเจาะจงกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ หากเสียงข้างมากได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งแล้วเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย เสียงข้างน้อยก็ยังคงมีโอกาสในการรณรงค์ในการเลือกตั้งเพื่อให้ตนเป็นเสียงข้างมากและกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความต้องการของตนที่ต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยได้ ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บังคับว่าสมาชิกวุฒิสภาจะต้องมาจากการเลือกตั้งในรูปแบบที่ฝ่ายเสียงข้างมากได้ดำเนินการแก้ไขไปตลอดกาล
นอกจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสมควรต้องตระหนักและสำนึกว่าการออกแบบโครงสร้างของสถาบันการเมืองว่าจะมีลักษณะอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของประชาชนและองค์กรทางการเมืองที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย หาใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะกำหนดโครงสร้างของสถาบันการเมืองให้เป็นไปตามทัศนะของตนไม่
ในคำวินิจฉัยนี้ ที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง “หลักนิติธรรม” อย่างเลื่อนลอยเพื่อสร้างอำนาจให้ตนเองเข้าควบคุมขัดขวางเสียงข้างมากจนทำให้ความต้องการของเสียงข้างน้อยบรรลุผล จึงมิใช่การปรับใช้ “หลักนิติธรรม” เพื่อคุ้มครองเสียงข้างน้อย แต่เป็นการช่วยเหลือเสียงข้างน้อย จนมีผลทำลายเจตจำนงของเสียงข้างมาก รังแกเสียงข้างมาก เบียดขับให้เสียงข้างมาก “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” และสถาปนา “เผด็จการของเสียงข้างน้อย” ขึ้นในที่สุด
- ๒. -
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้าง “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผ่านมาตรา ๖๘ นั้น หากพิจารณาจากถ้อยคำของบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แล้ว เห็นได้ว่า มาตรา ๖๘ เป็นกรณีที่
มีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หากมีผู้ทราบเรื่องดังกล่าว ผู้นั้นสามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว เหตุแห่งการเสนอคำร้องตามมาตรา ๖๘ จึงต้องเป็นกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพกระทำการ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้เป็น
กรณีที่รัฐสภาใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรผู้ทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มิใช่กรณีที่ “บุคคล” หรือ “พรรคการเมือง” ใช้ “สิทธิและเสรีภาพ” ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้แต่อย่างใด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ วรรคสอง กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หมายความว่า บุคคลต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดก่อน ภายหลังอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีมูล อัยการสูงสุดจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ไม่ได้มีการยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุด แต่เป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องไว้พิจารณาทั้ง ๆ ที่ตามข้อเท็จจริง ผู้ร้องไม่ได้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูข้อมูลเพิ่มเติมกระทู้ที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 68 http://ppantip.com/topic/31275751
ในคำวินิจฉัยนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตำหนิว่า รัฐสภาได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนการขั้นตอน แต่เมื่อพิจารณาการรับคำร้องในคดีนี้ของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญเองต่างหากที่ไม่เคารพกระบวนการขั้นตอนก่อนการยื่นคำร้องดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา ๖๘ อีกทั้งคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพกระทาการของบุคคลอันเป็นวัตถุแห่งคดีตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แต่ประการใด
ด้วยเหตุผลทั้งปวงที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าศาลรัฐธรรมนูญจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญสถาปนาอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวไว้ จึงเป็นการขยายแดนอำนาจออกไปจนศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทาลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง ก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด ความร้ายแรงดังกล่าวย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลใด ๆ ในทางกฎหมาย
- ๓. -
นอกจากจะปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว ในการดำเนินกระบวนพิจารณายังปรากฏความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะของตุลาการผู้พิจารณาคดีอีกด้วย กล่าวคือ ในชั้นของการรับคำร้องไว้พิจารณานั้น นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการผู้หนึ่งที่นั่งพิจารณาคดียังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีย่อมต้องถือว่านายทวีเกียรติไม่ได้เป็นตุลาการในองค์คณะที่รับคำร้องคดีนี้ไว้พิจารณา เมื่อนายทวีเกียรติไม่ได้เป็นตุลาการในองค์คณะที่รับคำร้องไว้ จึงย่อมไม่สามารถร่วมวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ได้เริ่มต้นไปแล้วก่อนที่ตนจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ การออกเสียงลงในคะแนนในประเด็นแห่งคดีของนายทวีเกียรติจึงไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหากยอมให้ตุลาการที่ไม่ได้เป็นองค์คณะในชั้นรับคำร้องไว้พิจารณา ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะในชั้นวินิจฉัยคดี กรณีอาจส่งผลให้มติในคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
นอกจากจะปรากฏปัญหาความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะที่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว ยังปรากฏว่าตุลาการอีกสามคน คือ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้เคยอภิปรายในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการสรรหา และแสดงทัศนะที่เป็นปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้งต่อการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงถือได้ว่า นายจรัญ ภักดีธนากุลมีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นกลาง นายจรัญ ภักดีธนากุลจึงไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการวินิจฉัยคดีนี้ได้ โดยสามัญสานึกของความเป็นตุลาการ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ นายจรัญ ภักดีธนากุลย่อมต้องถอนตัวออกจากการเข้าร่วมเป็นองค์คณะ ดังที่ได้กระทำมาแล้วในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ ๑๘-๒๒/๒๕๕๕
โดยเหตุที่นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ลงมติเป็นเสียงข้างมาก ๕ ต่อ ๔ เสียงในประเด็นที่ว่าเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๘ วรรค ๑ ดังนั้น หาก ๕ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนี้ได้จึงย่อมทำให้มติเสียงข้างมากดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นเสียงข้างน้อยคือ ๓ ต่อ ๔ เสียง
(มีต่อ)
แถลงการณ์นิติราษฎร์ เรื่องคำวินิจฉัยศาลรธน.กรณีแก้ไขรธน.เรื่องที่มาสว. ฉบับเอกสาร
เรื่อง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ กรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๒๔๑ วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา ๑๑๓ และมาตรา ๑๑๔ ซึ่งเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และมีผู้ร้องมายังศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการกระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น คณะนิติราษฎร์พิจารณาแล้ว มีความเห็นต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนี้
- ๑. -
ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญนั้น เป็นองค์กรของรัฐที่จัดอยู่ในหมวดศาล ซึ่งหมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกับศาลอื่น ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องใดนั้นย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถก่อตั้งอำนาจของตนขึ้นด้วยตัวเองได้ ในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลรัฐธรรมนูญต้องสำรวจตรวจสอบในเบื้องต้นเสียก่อนว่าคดีที่มีผู้ร้องมานั้นอยู่ในเขตอำนาจที่ตนจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาพิพากษาคดีในเรื่องนั้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น หากต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเช่นนั้น ย่อมจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเสียก่อน หลักการดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดการดุลและคานอำนาจตามหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ศาลรัฐธรรมนูญหาได้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตนไปตามหลักการข้างต้นไม่ แต่กลับอ้างอิงหลักการคุ้มครองเสียงข้างน้อยและหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง และใช้การอ้างอิงที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนดังกล่าวนั้นไปเชื่อมโยงกับ “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผ่านบทบัญญัติมาตรา ๖๘ ซึ่งไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
คณะนิติราษฎร์เห็นว่า สาระสาคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน การแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นการใช้อำนาจโดยตรง การใช้อำนาจโดยผู้แทน และการใช้อำนาจผ่านองค์กรของรัฐซึ่งมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน อย่างไรก็ตามประชาชนประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากซึ่งมีเจตจำนงทางการเมืองและความคิดเห็นตลอดจนผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป การค้นหาเจตจำนงของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อยุติโดยความเห็นพ้องต้องกันของทุกคนโดยเอกฉันท์ในทุกเรื่องย่อมเป็นไปไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อยุติ นั่นคือ การถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน อย่างไรก็ตาม ระบอบประชาธิปไตยต้องคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย เพื่อให้ข้อยุติที่ได้จากเสียงข้างมากนั้นเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล ทั้งนี้ การคุ้มครองเสียงข้างน้อยหมายถึงการเปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยได้แสดงความคิดเห็นโน้มน้าวใจให้บุคคลอื่นเห็นด้วยกับตน เพื่อที่ความเห็นของเสียงข้างน้อยที่มีเหตุมีผลจะได้มีโอกาสในการเป็นเสียงข้างมากในวันใดวันหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียงข้างมากจะต้องยอมตามเสียงข้างน้อยตลอดเวลา
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่สร้างหลักประกันให้เสียงข้างน้อยได้ใช้เป็นช่องทางในการตรวจสอบเสียงข้างมาก แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญจะต้องช่วยสนับสนุนให้เสียงข้างน้อยบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการเสมอ ตามหลักของการจัดโครงสร้างองค์กรของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีฐานะเป็น “ผู้แทน” ของเสียงข้างน้อย แต่ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “คนกลาง” ซึ่งมีหน้าที่ต้องคุ้มครองเจตจำนงของเสียงข้างมากและประกันเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ทั้งนี้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติมอบอำนาจไว้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิเคราะห์คำวินิจฉัยนี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้พรรณนาหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การตรวจสอบถ่วงดุล และการคุ้มครองเสียงน้อยอย่างยืดยาว และสรุปอย่างง่าย ๆ โดยนัยว่าเสียงข้างน้อย “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” โดยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงใดมาสนับสนุนว่าในขณะนี้ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลเสียงข้างมากหรือไม่คุ้มครองเสียงข้างน้อยจน “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” อย่างไร กล่าวโดยจำเพาะเจาะจงกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ หากเสียงข้างมากได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งแล้วเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย เสียงข้างน้อยก็ยังคงมีโอกาสในการรณรงค์ในการเลือกตั้งเพื่อให้ตนเป็นเสียงข้างมากและกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความต้องการของตนที่ต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยได้ ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บังคับว่าสมาชิกวุฒิสภาจะต้องมาจากการเลือกตั้งในรูปแบบที่ฝ่ายเสียงข้างมากได้ดำเนินการแก้ไขไปตลอดกาล
นอกจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสมควรต้องตระหนักและสำนึกว่าการออกแบบโครงสร้างของสถาบันการเมืองว่าจะมีลักษณะอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของประชาชนและองค์กรทางการเมืองที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย หาใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในอันที่จะกำหนดโครงสร้างของสถาบันการเมืองให้เป็นไปตามทัศนะของตนไม่
ในคำวินิจฉัยนี้ ที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง “หลักนิติธรรม” อย่างเลื่อนลอยเพื่อสร้างอำนาจให้ตนเองเข้าควบคุมขัดขวางเสียงข้างมากจนทำให้ความต้องการของเสียงข้างน้อยบรรลุผล จึงมิใช่การปรับใช้ “หลักนิติธรรม” เพื่อคุ้มครองเสียงข้างน้อย แต่เป็นการช่วยเหลือเสียงข้างน้อย จนมีผลทำลายเจตจำนงของเสียงข้างมาก รังแกเสียงข้างมาก เบียดขับให้เสียงข้างมาก “ไม่มีที่อยู่ที่ยืน” และสถาปนา “เผด็จการของเสียงข้างน้อย” ขึ้นในที่สุด
- ๒. -
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้าง “หลักนิติธรรม” ตามมาตรา ๓ วรรคสองเพื่อสถาปนาอำนาจของตนเองในการตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผ่านมาตรา ๖๘ นั้น หากพิจารณาจากถ้อยคำของบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แล้ว เห็นได้ว่า มาตรา ๖๘ เป็นกรณีที่มีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หากมีผู้ทราบเรื่องดังกล่าว ผู้นั้นสามารถเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว เหตุแห่งการเสนอคำร้องตามมาตรา ๖๘ จึงต้องเป็นกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพกระทำการ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้เป็นกรณีที่รัฐสภาใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรผู้ทรงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มิใช่กรณีที่ “บุคคล” หรือ “พรรคการเมือง” ใช้ “สิทธิและเสรีภาพ” ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้แต่อย่างใด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๘ วรรคสอง กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หมายความว่า บุคคลต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดก่อน ภายหลังอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมีมูล อัยการสูงสุดจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ในคดีนี้ไม่ได้มีการยื่นคำร้องผ่านอัยการสูงสุด แต่เป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องไว้พิจารณาทั้ง ๆ ที่ตามข้อเท็จจริง ผู้ร้องไม่ได้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในคำวินิจฉัยนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ตำหนิว่า รัฐสภาได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนการขั้นตอน แต่เมื่อพิจารณาการรับคำร้องในคดีนี้ของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญเองต่างหากที่ไม่เคารพกระบวนการขั้นตอนก่อนการยื่นคำร้องดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา ๖๘ อีกทั้งคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ได้เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพกระทาการของบุคคลอันเป็นวัตถุแห่งคดีตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๘ แต่ประการใด
ด้วยเหตุผลทั้งปวงที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าศาลรัฐธรรมนูญจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญสถาปนาอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวไว้ จึงเป็นการขยายแดนอำนาจออกไปจนศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทาลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลง ก่อให้เกิดสภาวการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด ความร้ายแรงดังกล่าวย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้เสียเปล่าและไม่มีผลใด ๆ ในทางกฎหมาย
- ๓. -
นอกจากจะปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว ในการดำเนินกระบวนพิจารณายังปรากฏความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะของตุลาการผู้พิจารณาคดีอีกด้วย กล่าวคือ ในชั้นของการรับคำร้องไว้พิจารณานั้น นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ตุลาการผู้หนึ่งที่นั่งพิจารณาคดียังไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีย่อมต้องถือว่านายทวีเกียรติไม่ได้เป็นตุลาการในองค์คณะที่รับคำร้องคดีนี้ไว้พิจารณา เมื่อนายทวีเกียรติไม่ได้เป็นตุลาการในองค์คณะที่รับคำร้องไว้ จึงย่อมไม่สามารถร่วมวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ได้เริ่มต้นไปแล้วก่อนที่ตนจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ การออกเสียงลงในคะแนนในประเด็นแห่งคดีของนายทวีเกียรติจึงไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหากยอมให้ตุลาการที่ไม่ได้เป็นองค์คณะในชั้นรับคำร้องไว้พิจารณา ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะในชั้นวินิจฉัยคดี กรณีอาจส่งผลให้มติในคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
นอกจากจะปรากฏปัญหาความบกพร่องในส่วนที่เกี่ยวกับองค์คณะที่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว ยังปรากฏว่าตุลาการอีกสามคน คือ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้เคยอภิปรายในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๐ (เป็นพิเศษ) วันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ แสดงความคิดเห็นสนับสนุนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการสรรหา และแสดงทัศนะที่เป็นปฏิปักษ์อย่างชัดแจ้งต่อการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยวิธีการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงถือได้ว่า นายจรัญ ภักดีธนากุลมีเหตุซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นกลาง นายจรัญ ภักดีธนากุลจึงไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการวินิจฉัยคดีนี้ได้ โดยสามัญสานึกของความเป็นตุลาการ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ นายจรัญ ภักดีธนากุลย่อมต้องถอนตัวออกจากการเข้าร่วมเป็นองค์คณะ ดังที่ได้กระทำมาแล้วในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ ๑๘-๒๒/๒๕๕๕
โดยเหตุที่นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ได้ลงมติเป็นเสียงข้างมาก ๕ ต่อ ๔ เสียงในประเด็นที่ว่าเนื้อหาของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๘ วรรค ๑ ดังนั้น หาก ๕ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และนายจรัญ ภักดีธนากุล ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนี้ได้จึงย่อมทำให้มติเสียงข้างมากดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นเสียงข้างน้อยคือ ๓ ต่อ ๔ เสียง
(มีต่อ)