credit : bangkokbiznews.com
------
สุดยอดแพทย์ไทย สร้างเครื่องมือช่วยวินิจฉันโรคทางสมอง "แผนที่สมองของคนเอเชีย" ครั้งแรกในอาเซียน ทำให้การรักษาโรค แม่นยำมากขึ้น
แพทย์ไทยสร้าง "แผนที่สมองของคนเอเชีย" ครั้งแรกในอาเซียน เป้าหมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยวินิจฉัยโรคทางสมอง ทั้งอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน เพิ่มความแม่นยำและรวดเร็ว ปูทางสู่การป้องกัน-รักษาที่ดีขึ้น
รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ประธานราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า วิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวไกลทำให้คนมีอายุยืน จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น อุบัติการณ์โรคทางสมองก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โรคทางสมองมีหลายโรค เช่น โรคออทิสติก พาร์กินสันและอัลไซเมอร์ ที่ยากต่อการตรวจวินิจฉัยและไม่อาจตรวจพบได้ด้วยการฉายรังสี
คุณหมอและคณะวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำงานวิจัยและพัฒนา "แผนที่สมองของคนเอเชีย" ได้งบสนับสนุนจากรัฐบาล 60 ล้านบาท ในการจัดทำแผนที่สมองของคนไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยอาการทางสมอง โดยจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยแยกโรคพาร์กินสันชนิดเกิดช้า ออกจากโรคพาร์กินสันชนิดเกิดเร็วเนื่องจากพันธุกรรมได้
ทั้งยังช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่ต้น จึงช่วยรักษาคนไข้ได้ถูกวิธีและชะลออาการของโรคได้ หรือแม้แต่ไข้สมองอักเสบที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคเพียง 40% ซึ่งเดิมทีนั้น เมืองไทยใช้แผนที่สมองของตะวันตก แต่ด้วยรูปร่างและขนาดของสมองระหว่างคนตะวันตกและคนเชียมีลักษณะที่แตกต่างกัน จึงทำให้ผลที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดได้สูง
ทีมวิจัยทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คนจากทุกสาขาอาชีพ โดยแบ่งตามระดับอายุ ผ่านการตรวจร่างกายและตรวจด้านจิตวิทยามาแล้ว ซึ่ง 1,000 คนที่ได้มานั้นจะได้แผนที่สมองเพียง 10 แผนที่เท่านั้น ซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคทางสมองได้ชัดเจน แม้ว่าการสแกนสมองด้วยเครื่อง MRI จะช่วยได้ แต่ก็สามารถวินิจฉัยได้เพียง 80-90%
แผนที่สมองที่จัดทำขึ้นใช้ Ingenia MR เป็นเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กกำลังสูงระบบดิจิตอลความเร็วสูง เครื่องแรกที่พัฒนานำร่องโดยฟิลิปส์ อาศัยการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล พร้อมเคเบิลใยแก้วนำแสง ช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลตลอดกระบวนการสแกนของเอ็มอาร์ไอ ปรับปรุงอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนให้ดีขึ้นถึงร้อยละ 40 จึงให้ภาพที่คมชัดในเวลาที่สั้นกว่า
"แต่พอมีแผนที่สมอง จะสามารถวินิจฉัยได้ถึงระดับโมเลกุล ดูได้ถึงน้ำในสมอง จึงทำให้ส่งคนไข้ไปทำการรักษาได้ทันท่วงที รวดเร็ว เช่น เด็กออทิสติกที่มักอยู่ไม่สุข เข้าเครื่องตรวจ MRI แล้ว พบว่าสมองก็ปกติดี แต่พอนำมาเทียบกับแผนที่สมองแล้ว พบว่าสมองมีเส้นใยสมองโยงใยผิดปกติ เป็นต้น" คุณหมอกล่าว
ผลการวิจัยเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาคำตอบของโรคทางสมอง ซึ่งนอกจากควรป้องกันและปกป้องสมองแล้ว รศ.พญ.จิรพร แนะวิธีชะลอการเสื่อมของสมองด้วยการฝึกสมอง เช่น เล่นเกมครอสเวิร์ด เกมไพ่นกกระจอก เพื่อให้สมองใช้การได้อย่างดีตลอดชีวิต
แผนที่สมอง ฝีมือแพทย์ไทย ครั้งแรกในอาเซียน
------
สุดยอดแพทย์ไทย สร้างเครื่องมือช่วยวินิจฉันโรคทางสมอง "แผนที่สมองของคนเอเชีย" ครั้งแรกในอาเซียน ทำให้การรักษาโรค แม่นยำมากขึ้น
แพทย์ไทยสร้าง "แผนที่สมองของคนเอเชีย" ครั้งแรกในอาเซียน เป้าหมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยวินิจฉัยโรคทางสมอง ทั้งอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน เพิ่มความแม่นยำและรวดเร็ว ปูทางสู่การป้องกัน-รักษาที่ดีขึ้น
รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ประธานราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า วิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวไกลทำให้คนมีอายุยืน จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น อุบัติการณ์โรคทางสมองก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โรคทางสมองมีหลายโรค เช่น โรคออทิสติก พาร์กินสันและอัลไซเมอร์ ที่ยากต่อการตรวจวินิจฉัยและไม่อาจตรวจพบได้ด้วยการฉายรังสี
คุณหมอและคณะวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำงานวิจัยและพัฒนา "แผนที่สมองของคนเอเชีย" ได้งบสนับสนุนจากรัฐบาล 60 ล้านบาท ในการจัดทำแผนที่สมองของคนไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยอาการทางสมอง โดยจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยแยกโรคพาร์กินสันชนิดเกิดช้า ออกจากโรคพาร์กินสันชนิดเกิดเร็วเนื่องจากพันธุกรรมได้
ทั้งยังช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่ต้น จึงช่วยรักษาคนไข้ได้ถูกวิธีและชะลออาการของโรคได้ หรือแม้แต่ไข้สมองอักเสบที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคเพียง 40% ซึ่งเดิมทีนั้น เมืองไทยใช้แผนที่สมองของตะวันตก แต่ด้วยรูปร่างและขนาดของสมองระหว่างคนตะวันตกและคนเชียมีลักษณะที่แตกต่างกัน จึงทำให้ผลที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดได้สูง
ทีมวิจัยทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คนจากทุกสาขาอาชีพ โดยแบ่งตามระดับอายุ ผ่านการตรวจร่างกายและตรวจด้านจิตวิทยามาแล้ว ซึ่ง 1,000 คนที่ได้มานั้นจะได้แผนที่สมองเพียง 10 แผนที่เท่านั้น ซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคทางสมองได้ชัดเจน แม้ว่าการสแกนสมองด้วยเครื่อง MRI จะช่วยได้ แต่ก็สามารถวินิจฉัยได้เพียง 80-90%
แผนที่สมองที่จัดทำขึ้นใช้ Ingenia MR เป็นเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นแม่เหล็กกำลังสูงระบบดิจิตอลความเร็วสูง เครื่องแรกที่พัฒนานำร่องโดยฟิลิปส์ อาศัยการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล พร้อมเคเบิลใยแก้วนำแสง ช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลตลอดกระบวนการสแกนของเอ็มอาร์ไอ ปรับปรุงอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนให้ดีขึ้นถึงร้อยละ 40 จึงให้ภาพที่คมชัดในเวลาที่สั้นกว่า
"แต่พอมีแผนที่สมอง จะสามารถวินิจฉัยได้ถึงระดับโมเลกุล ดูได้ถึงน้ำในสมอง จึงทำให้ส่งคนไข้ไปทำการรักษาได้ทันท่วงที รวดเร็ว เช่น เด็กออทิสติกที่มักอยู่ไม่สุข เข้าเครื่องตรวจ MRI แล้ว พบว่าสมองก็ปกติดี แต่พอนำมาเทียบกับแผนที่สมองแล้ว พบว่าสมองมีเส้นใยสมองโยงใยผิดปกติ เป็นต้น" คุณหมอกล่าว
ผลการวิจัยเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาคำตอบของโรคทางสมอง ซึ่งนอกจากควรป้องกันและปกป้องสมองแล้ว รศ.พญ.จิรพร แนะวิธีชะลอการเสื่อมของสมองด้วยการฝึกสมอง เช่น เล่นเกมครอสเวิร์ด เกมไพ่นกกระจอก เพื่อให้สมองใช้การได้อย่างดีตลอดชีวิต