เพื่อนๆ มาแชร์ วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ กัน ครับ

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) เป็นภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 60-80 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด โรคนี้ถูกค้นพบโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ อาลอยส์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ใน พ.ศ. 2499 จึงได้ตั้งชื่อโรคนี้ตามชื่อของท่าน

          อาการสมองเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์จะเป็นมากขึ้นและใช้เวลาการดำเนินโรคหลายปี อาการในระยะแรก จะมีการสูญเสียความจำ ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยแยกความแตกต่างจากภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติของผู้สูงอายุได้ โดยการประเมินสภาพร่างกาย ตรวจทางระบบประสาทวิทยา  ทำแบบทดสอบด้านจิตใจ ตรวจเลือด ฉายภาพรังสีของสมองและตรวจเนื้อเยื่อสมองทางจุลทรรศน์ เมื่อการดำเนินโรคไประยะหนึ่ง  ผู้ป่วยจะมีอารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น สับสัน หงุดหงิด ก้าวร้าว  ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน สูญเสียความสามารถในการสื่อภาษา สูญเสียการรับความรู้สึก เพิกเฉยต่อสิ่งรอบข้าง อาการในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายและถึงกับสูญเสียชีวิตในที่สุด ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หลังจากสังเกตพบอาการแสดงของโรคอัลไซเมอร์ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ 4-20 ปี (เฉลี่ย 8 ปี) ขึ้นกับอายุ และสุขภาพของผู้ป่วย

          สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ มี 3 สมมติฐานในการอธิบาย 
สมมติฐานแรกเชื่อว่าเกิดจากสารสื่อประสาทแอซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ลดลง  
สมมติฐานที่สองเชื่อว่ามีการสะสมของ  แอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta) ที่จับตัวกันเป็น แอมีลอย์ดพลาก (Amyloid plaques) 
 ระหว่างเซลล์ประสาทขัดขวางการส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาท  

สมมติฐานที่สาม เชื่อว่า  มีความผิดปกติของโปรทีนเทา (Tau protein) ทำให้เกิดนิวโรไฟบริลาลีแทงเกิล (Neurofibrillary tangles)สะสมในตัวเซลล์ประสาท ทำลาย ระบบการขนส่งภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ประสาทตาย     
          
          ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์  มีแต่การให้ยาเพื่อชะลออาการเท่านั้น ความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากว่า 65 ปีและจะพบอัตราการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปี จะพบอัตราการเป็นโรคอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 50  สมาคมโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Association) ได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ โดยต้องได้รับการประเมินด้านร่างกายและการประเมินทางจิตประสาท และสิ่งหนึ่งที่จะยืนยันการตรวจวินิจฉัยได้แม่นยำ คือการตัดชิ้นเนื้อจากสมองมาตรวจทางจุลพยาธิวิทยาหรือการตรวจจากการผ่าศพเท่านั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของการดำเนินโรค ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ดูแลด้านร่างกายและจิตใจ ดูแลการพบแพทย์ตามนัด รวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยต้องใส่ใจดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่