
ผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น เบื้องต้น ผู้สูงอายุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย เปิดห้องเรียนจำลอง สอน 6 วิชา ชะลออัลไซเมอร์ ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ออกกำลังสมอง วิชาพลศึกษาออกกำลังกาย วิชาเทคโนโลยี การใช้อินเตอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่น วิชาคหกรรม สาธิตอาหารสุขภาพ วิชาสุขศึกษา กิจกรรมการผ่อนคลายความเครียด และวิชาดนตรีศึกษา ดนตรีบำบัด เพื่อสร้างสมาธิและความจำ ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกพัฒนาสมอง ให้สมองได้ถูกใช้งาน สุขภาพกายและสุขภาพใจแจ่มใสอยู่เสมอ
“การฝึกสมองในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำแบบทดสอบ ที่ฝึกในเรื่องของความคิด ความจำ การคิดเลข กิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี” พ.ญ นันทิกา ทวิชาติ รองประธานกรรมการและเลขานุการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าว
อัลไซเมอร์ คืออะไร ?
โรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะ ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองทำให้การทำงานของสมองเสื่อมถอยลง ส่งผลถึงการใช้ภาษาการตัดสินใจ อารมณ์และพฤติกรรมไปจนถึงความสามารถ ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ..ข้อมูลสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พศ 2551 - 2552 พบว่าผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีเป็นโรคอัลไซเมอร์ 1 ใน 8 คน และพบมากขึ้นตามอายุ
โดยสัณญาญเตือน โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ จะมีอาการ เช่น หลงลืม ชื่อคน ในครอบครัวหรือคนที่คุ้นเคย หลงลืมสถานที่ต่างๆ ถามข้อมูลเรื่องเดิมซ้ำๆ วางสิ่งของผิดที่ผิดทาง สูญเสียพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน จากที่เคยทำแต่กลับทำไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน การตัดสินใจบกพร่อง
โดยกลุ่มโรคในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และผู้ป่วยที่เคยได้รับความบาดเจ็บที่ศรีษะและสมอง
ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ ไม่มียาที่รักษาให้ผู้ป่วยหายขาด มีเพียงการรักษาเพื่อชะลออาการ ซึ่งครอบครัวคือผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเตรียมพร้อมกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ห้องเรียนผู้สูงอายุ ... ป้องกันอัลไซเมอร์
ผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น เบื้องต้น ผู้สูงอายุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ และมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย เปิดห้องเรียนจำลอง สอน 6 วิชา ชะลออัลไซเมอร์ ได้แก่ วิชาวิทยาศาสตร์ออกกำลังสมอง วิชาพลศึกษาออกกำลังกาย วิชาเทคโนโลยี การใช้อินเตอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่น วิชาคหกรรม สาธิตอาหารสุขภาพ วิชาสุขศึกษา กิจกรรมการผ่อนคลายความเครียด และวิชาดนตรีศึกษา ดนตรีบำบัด เพื่อสร้างสมาธิและความจำ ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกพัฒนาสมอง ให้สมองได้ถูกใช้งาน สุขภาพกายและสุขภาพใจแจ่มใสอยู่เสมอ
“การฝึกสมองในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำแบบทดสอบ ที่ฝึกในเรื่องของความคิด ความจำ การคิดเลข กิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี” พ.ญ นันทิกา ทวิชาติ รองประธานกรรมการและเลขานุการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าว
อัลไซเมอร์ คืออะไร ?
โรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะ ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองทำให้การทำงานของสมองเสื่อมถอยลง ส่งผลถึงการใช้ภาษาการตัดสินใจ อารมณ์และพฤติกรรมไปจนถึงความสามารถ ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ..ข้อมูลสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พศ 2551 - 2552 พบว่าผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีเป็นโรคอัลไซเมอร์ 1 ใน 8 คน และพบมากขึ้นตามอายุ
โดยสัณญาญเตือน โรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ จะมีอาการ เช่น หลงลืม ชื่อคน ในครอบครัวหรือคนที่คุ้นเคย หลงลืมสถานที่ต่างๆ ถามข้อมูลเรื่องเดิมซ้ำๆ วางสิ่งของผิดที่ผิดทาง สูญเสียพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน จากที่เคยทำแต่กลับทำไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน การตัดสินใจบกพร่อง
โดยกลุ่มโรคในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และผู้ป่วยที่เคยได้รับความบาดเจ็บที่ศรีษะและสมอง
ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ ไม่มียาที่รักษาให้ผู้ป่วยหายขาด มีเพียงการรักษาเพื่อชะลออาการ ซึ่งครอบครัวคือผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเตรียมพร้อมกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ