คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2556 กำหนดให้ กฏหมายอาญา มาตรา 112 ครอบคลุมกษัตริย์ทุกพระองค์
ในอดีต ให้มีความผิดเช่นเดียวกับกษัตริย์องค์ที่ครองราชย์ ดังนั้น การวิจารณ์การเมืองในสมัยสมบูรณาฯ ก็
ให้ระวังถ้อยคำกันด้วย
ส่วนใครที่สอนประวัติศาสตร์ ก็ต้องระวังตัวกันถ้วนหน้า เช่นการพูดถึง พระสนมของกษัตริย์ ความผิดพลาด
ของกษัตริย์ ในการสู้รบ หรือ การปกครองในอดีต พวกนี้ ต้องตัดเนื้อหาของหนังสือออกไป และไม่สามารถ
นำมากล่าวถึงในการสอนในชั้นเรียนได้
เรียน WM โปรดชี้แจงต่อ เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลระบบ ด้วยครับ
คำพิพากษาอย่างย่อ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า "ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้นราชวงศ์ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาล
ปัจจุบัน ประชาชนในประเทศจึงผูกพันกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่เคารพสักการะซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยจึงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ บุคคลใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ ด้วย
เหตุนี้การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิด
ตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่
ยังคงครองราชย์อยู่ ดังจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสม
เด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระอัยกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
หากตีความว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นองค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่น
ประมาท ให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ ดังได้กล่าวในเบื้องต้นมาแล้วว่าประชาชนชาวไทยผูกพันกับ
สถาบันกษัตริย์มาตลอด แม้จะเสด็จสวรรคตไปแล้วประชาชนก็ยังเคารพพสักการะ ยังมีพิธีรำลึกถึงโดยทางราชการ
จัดพิธีวางพวงมาลาทุกปี ดังนั้น หากมีการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตไปแล้วก็ยังกระ
ทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรได้" ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๗๔/๒๕๕๖ (องค์คณะผู้พิพากษา นายศิริชัย วัฒนโยธิน, นายทวีป ตันสวัสดิ์, นายพศวัจณ์ กนกนาก)
จากนี้ไป ใครจะพูดถึงการเมืองการปกครอง ตั้งแต่อดีตกาล ถึง รัชการลที่ 7 ก็ให้ระวังคำพูด เพราะอาจจะเข้าคุกได้
ในอดีต ให้มีความผิดเช่นเดียวกับกษัตริย์องค์ที่ครองราชย์ ดังนั้น การวิจารณ์การเมืองในสมัยสมบูรณาฯ ก็
ให้ระวังถ้อยคำกันด้วย
ส่วนใครที่สอนประวัติศาสตร์ ก็ต้องระวังตัวกันถ้วนหน้า เช่นการพูดถึง พระสนมของกษัตริย์ ความผิดพลาด
ของกษัตริย์ ในการสู้รบ หรือ การปกครองในอดีต พวกนี้ ต้องตัดเนื้อหาของหนังสือออกไป และไม่สามารถ
นำมากล่าวถึงในการสอนในชั้นเรียนได้
เรียน WM โปรดชี้แจงต่อ เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลระบบ ด้วยครับ
คำพิพากษาอย่างย่อ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า "ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้นราชวงศ์ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาล
ปัจจุบัน ประชาชนในประเทศจึงผูกพันกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่เคารพสักการะซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยจึงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ บุคคลใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้ ด้วย
เหตุนี้การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิด
ตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่
ยังคงครองราชย์อยู่ ดังจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสม
เด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระอัยกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
หากตีความว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นองค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่น
ประมาท ให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ ดังได้กล่าวในเบื้องต้นมาแล้วว่าประชาชนชาวไทยผูกพันกับ
สถาบันกษัตริย์มาตลอด แม้จะเสด็จสวรรคตไปแล้วประชาชนก็ยังเคารพพสักการะ ยังมีพิธีรำลึกถึงโดยทางราชการ
จัดพิธีวางพวงมาลาทุกปี ดังนั้น หากมีการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตไปแล้วก็ยังกระ
ทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรได้" ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๗๔/๒๕๕๖ (องค์คณะผู้พิพากษา นายศิริชัย วัฒนโยธิน, นายทวีป ตันสวัสดิ์, นายพศวัจณ์ กนกนาก)