credit : thanonline.com
------
ธุรกิจค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น จัดได้ว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของเอเชียหรือจะของโลกเลยก็ว่าได้ ด้วยจำนวนสาขาที่มีอยู่มากกว่าแสนแห่ง และมูลค่าเงินหมุนเวียนที่ประเมินไม่ได้ แต่ในทุกๆ ปียังมีร้านค้าปลีกทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทย ได้จัดทริปเดินทางไปศึกษาดูงานธุรกิจค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นต้นแบบของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเมืองไทย และยังเป็นประเทศที่มีสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีสาขามากกว่า 1.6 หมื่นแห่งทั่วประเทศ
++ ปรับตัวรับสังคมผู้สูงวัย
นายคัตสึฮิโตะ อิเคดะ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจค้าปลีก ประเทศญี่ปุ่น เล่าให้ฟังว่า ธุรกิจค้าปลีกญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ถือเป็นร้านที่มีการเติบโตมากที่สุด โดยปัจจัยหลักเกิดจากการพัฒนาและปรับปรุงตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ที่พบว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เลือกซื้อสินค้าที่เหมาะกับชีวิตประจำวันมากขึ้น
หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องปรับตัวตาม ขณะที่เซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ จำกัด ก็ปรับตัวด้วยการพัฒนาสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ และคนโสดมากขึ้น ด้วยการสรรหาใหม่ๆ และปรับสินค้าให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ เช่น การเพิ่มสินค้าประเภทข้าวกล่องพร้อมรับประทาน (ready to eat), อาหารแช่แข็ง (โฟร์เซนส์) , ผัก , ผลไม้ ขนาดเล็ก สำหรับรับประทาน 1 คน เป็นต้น
ขณะเดียวกันยังพบว่า ร้านเซเว่น ในแต่ละทำเล จะมีสินค้าแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าในย่านนั้นๆ เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์การค้าใจกลางเมืองโตเกียว ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานออฟฟิศ สินค้าภายในร้านจะเน้นจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน ซุป กาแฟ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเริ่มถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบในเมืองไทย เช่นร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาปาร์ค เวนเจอร์ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ร้านเซเว่น สาขานี้จึงมีรูปแบบพรีเมียมและเน้นจำหน่ายสินค้าเกรดเอ ซึ่งประสบความสำเร็จและมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นในย่านสาทรในเร็วๆ นี้
"ปัจจุบันเซเว่นในญี่ปุ่นมีลูกค้าหลักเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปราว 22% ซึ่งมียอดการใช้จ่ายคิดเป็นสัดส่วน 45% ของลูกค้าทั้งหมด และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทำให้บริษัทมุ่งเน้นนำเสนอสินค้าและบริการที่ครบวงจร ทั้งสะดวก รวดเร็ว เช่น มีที่นั่งสำหรับรับประทานอาหารในร้าน , มีตู้ ATM ฯลฯ และยังคัดสรรสินค้าใหม่ๆ หมุนเวียนกันเข้ามาเฉลี่ย 60-70 รายการต่อสัปดาห์ด้วย"
อย่างไรก็ดี แม้ปัจจุบันธุรกิจร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นโดยเฉพาะโตเกียวจะหนาแน่น แต่เชื่อว่ายังไม่ถึงจุดอิ่มตัว เพราะยังมีสินค้าและบริการอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถรองรับกับความต้องการของชาวญี่ปุ่นได้ ส่งผลให้เซเว่น ยังต้องเดินหน้าขยายสาขาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปีนี้จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 1.5 พันแห่ง ขณะที่ปีก่อนขยายสาขาทั้งหมด 1.3 พันแห่ง
ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นมีสาขามากกว่า 5 หมื่นแห่ง จาก 8 ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่ เซเว่นอีเลฟเว่นเป็นผู้นำธุรกิจมีสาขา 1.6 หมื่นแห่ง มากเป็นอันดับ 1 รองลงมาได้แก่ ลอว์สัน (Lawson) 1.1 หมื่นแห่ง แฟมิลี่ มาร์ท (Family Mart) 1 หมื่นแห่ง และSun US 7 พันแห่ง ฯลฯ
++ ชูแนวคิดประหยัดพลังงาน
ด้านนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า กลยุทธ์การบริหารงานของเซเว่นอีเลฟเว่น ญี่ปุ่น เป็นระบบ Tanpin Kanri (ภาษาญี่ปุ่น) หรือ Item by Item Management โดยเน้นเจาะลึกในรายละเอียดของแต่ละร้านค้า แต่ละสินค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถรองรับลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
ถือเป็นต้นแบบของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเมืองไทย ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมือนกัน แต่ฐานลูกค้าใหญ่ของเซเว่นในไทยยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนทำงาน และครอบครัวเป็นหลัก โดยปัจจุบันเซเว่นในไทยมีสาขาราว 7.3 พันแห่ง โดย 45% เป็นสาขาของบริษัทเอง ส่วนอีก 55% เป็นของแฟรนไชส์
อย่างไรก็ดีเป้าหมายต่อไปของเซเว่น คือการมุ่งเน้นการทำโครงการประหยัดพลังงานโดยเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ ภายในร้านเซเว่น ตลอดจนระบบไฟฟ้าภายในร้านเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยมีร้านสาขาต้นแบบตั้งอยู่ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ซึ่งมีพื้นที่ราว 300 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภายในร้านจะใช้หลอดไฟ LED, กระจก 2 ชั้นกันความร้อนจากภายนอก , ระบบโซลาร์เซลล์ ฯลฯ ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าจะสามารถประหยัดพลังงานได้ราว 50% ขณะที่ร้านสาขาอื่นๆ ได้ทยอยปรับปรุงวัสดุภายในร้านเช่นกัน
++ เดินหน้า 7 Go Green
โดยโครงการร้านประหยัดพลังงานถือเป็น 1 ในโครงการ 7 Go Green ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยยังมีโครงการลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 จากโครงการบริจาคถุงพลาสติกเหลือใช้ในสำนักงาน , โครงการถุงพลาสติกย่อยสลายด้วยแสงอาทิตย์ โดยเริ่มจากร้านเซเว่น ที่ตั้งอยู่ในแหล่งกว่า 300 สาขา อาทิ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพีพี เกาะพงัน เป็นต้น, โครงการทำดีเพื่อแผ่นดิน ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน และล่าสุดโครงการคิดถุ๊ง คิดถุง
โครงการ Green logistic ด้วยการลดใช้ไฟฟ้าและใช้หลอด LED ตลอดจนรณรงค์ปิดไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้งาน สามารถช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 940,000 กิโลวัตต์ต่อปี และโครงการ "Green Product" (อยู่ระหว่างดำเนินการ) เพื่อเพิ่มชนิดของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาจำหน่ายในร้านเซเว่นกว่า 30 รายการ อาทิ สินค้าฉลากคาร์บอน (สตรอเบอร์รี่อบแห้ง ดอยคำ, น้ำมันปาล์มขวด ตราหยก , น้ำตาลแร่ธรรมชาติ ตรามิตรผลโกลด์ ) ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ข้าวหอมมะลิ 100% , ไก่ย่างเทอริยากิ)
เส้นทางของเซเว่นอีเลฟเว่น ยังคงเดินหน้าและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีวันสิ้นสุด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,895 วันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เอกซเรย์ 7-11 ญี่ปุ่นต้นแบบร้านสะดวกซื้อไทย
------
ธุรกิจค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น จัดได้ว่าเป็น "พี่ใหญ่" ของเอเชียหรือจะของโลกเลยก็ว่าได้ ด้วยจำนวนสาขาที่มีอยู่มากกว่าแสนแห่ง และมูลค่าเงินหมุนเวียนที่ประเมินไม่ได้ แต่ในทุกๆ ปียังมีร้านค้าปลีกทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทย ได้จัดทริปเดินทางไปศึกษาดูงานธุรกิจค้าปลีกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นต้นแบบของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเมืองไทย และยังเป็นประเทศที่มีสาขาเซเว่นอีเลฟเว่นมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีสาขามากกว่า 1.6 หมื่นแห่งทั่วประเทศ
++ ปรับตัวรับสังคมผู้สูงวัย
นายคัตสึฮิโตะ อิเคดะ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจค้าปลีก ประเทศญี่ปุ่น เล่าให้ฟังว่า ธุรกิจค้าปลีกญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ถือเป็นร้านที่มีการเติบโตมากที่สุด โดยปัจจัยหลักเกิดจากการพัฒนาและปรับปรุงตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ที่พบว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เลือกซื้อสินค้าที่เหมาะกับชีวิตประจำวันมากขึ้น
หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องปรับตัวตาม ขณะที่เซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้งส์ จำกัด ก็ปรับตัวด้วยการพัฒนาสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ และคนโสดมากขึ้น ด้วยการสรรหาใหม่ๆ และปรับสินค้าให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ เช่น การเพิ่มสินค้าประเภทข้าวกล่องพร้อมรับประทาน (ready to eat), อาหารแช่แข็ง (โฟร์เซนส์) , ผัก , ผลไม้ ขนาดเล็ก สำหรับรับประทาน 1 คน เป็นต้น
ขณะเดียวกันยังพบว่า ร้านเซเว่น ในแต่ละทำเล จะมีสินค้าแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าในย่านนั้นๆ เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์การค้าใจกลางเมืองโตเกียว ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานออฟฟิศ สินค้าภายในร้านจะเน้นจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน ซุป กาแฟ เป็นต้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเริ่มถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบในเมืองไทย เช่นร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาปาร์ค เวนเจอร์ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ร้านเซเว่น สาขานี้จึงมีรูปแบบพรีเมียมและเน้นจำหน่ายสินค้าเกรดเอ ซึ่งประสบความสำเร็จและมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นในย่านสาทรในเร็วๆ นี้
"ปัจจุบันเซเว่นในญี่ปุ่นมีลูกค้าหลักเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปราว 22% ซึ่งมียอดการใช้จ่ายคิดเป็นสัดส่วน 45% ของลูกค้าทั้งหมด และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทำให้บริษัทมุ่งเน้นนำเสนอสินค้าและบริการที่ครบวงจร ทั้งสะดวก รวดเร็ว เช่น มีที่นั่งสำหรับรับประทานอาหารในร้าน , มีตู้ ATM ฯลฯ และยังคัดสรรสินค้าใหม่ๆ หมุนเวียนกันเข้ามาเฉลี่ย 60-70 รายการต่อสัปดาห์ด้วย"
อย่างไรก็ดี แม้ปัจจุบันธุรกิจร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นโดยเฉพาะโตเกียวจะหนาแน่น แต่เชื่อว่ายังไม่ถึงจุดอิ่มตัว เพราะยังมีสินค้าและบริการอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถรองรับกับความต้องการของชาวญี่ปุ่นได้ ส่งผลให้เซเว่น ยังต้องเดินหน้าขยายสาขาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปีนี้จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 1.5 พันแห่ง ขณะที่ปีก่อนขยายสาขาทั้งหมด 1.3 พันแห่ง
ปัจจุบันร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นมีสาขามากกว่า 5 หมื่นแห่ง จาก 8 ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่ เซเว่นอีเลฟเว่นเป็นผู้นำธุรกิจมีสาขา 1.6 หมื่นแห่ง มากเป็นอันดับ 1 รองลงมาได้แก่ ลอว์สัน (Lawson) 1.1 หมื่นแห่ง แฟมิลี่ มาร์ท (Family Mart) 1 หมื่นแห่ง และSun US 7 พันแห่ง ฯลฯ
++ ชูแนวคิดประหยัดพลังงาน
ด้านนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า กลยุทธ์การบริหารงานของเซเว่นอีเลฟเว่น ญี่ปุ่น เป็นระบบ Tanpin Kanri (ภาษาญี่ปุ่น) หรือ Item by Item Management โดยเน้นเจาะลึกในรายละเอียดของแต่ละร้านค้า แต่ละสินค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถรองรับลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
ถือเป็นต้นแบบของร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเมืองไทย ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมือนกัน แต่ฐานลูกค้าใหญ่ของเซเว่นในไทยยังเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ คนทำงาน และครอบครัวเป็นหลัก โดยปัจจุบันเซเว่นในไทยมีสาขาราว 7.3 พันแห่ง โดย 45% เป็นสาขาของบริษัทเอง ส่วนอีก 55% เป็นของแฟรนไชส์
อย่างไรก็ดีเป้าหมายต่อไปของเซเว่น คือการมุ่งเน้นการทำโครงการประหยัดพลังงานโดยเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ ภายในร้านเซเว่น ตลอดจนระบบไฟฟ้าภายในร้านเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยมีร้านสาขาต้นแบบตั้งอยู่ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ซึ่งมีพื้นที่ราว 300 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภายในร้านจะใช้หลอดไฟ LED, กระจก 2 ชั้นกันความร้อนจากภายนอก , ระบบโซลาร์เซลล์ ฯลฯ ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าจะสามารถประหยัดพลังงานได้ราว 50% ขณะที่ร้านสาขาอื่นๆ ได้ทยอยปรับปรุงวัสดุภายในร้านเช่นกัน
++ เดินหน้า 7 Go Green
โดยโครงการร้านประหยัดพลังงานถือเป็น 1 ในโครงการ 7 Go Green ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยยังมีโครงการลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 จากโครงการบริจาคถุงพลาสติกเหลือใช้ในสำนักงาน , โครงการถุงพลาสติกย่อยสลายด้วยแสงอาทิตย์ โดยเริ่มจากร้านเซเว่น ที่ตั้งอยู่ในแหล่งกว่า 300 สาขา อาทิ ภูเก็ต เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพีพี เกาะพงัน เป็นต้น, โครงการทำดีเพื่อแผ่นดิน ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน และล่าสุดโครงการคิดถุ๊ง คิดถุง
โครงการ Green logistic ด้วยการลดใช้ไฟฟ้าและใช้หลอด LED ตลอดจนรณรงค์ปิดไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้งาน สามารถช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 940,000 กิโลวัตต์ต่อปี และโครงการ "Green Product" (อยู่ระหว่างดำเนินการ) เพื่อเพิ่มชนิดของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาจำหน่ายในร้านเซเว่นกว่า 30 รายการ อาทิ สินค้าฉลากคาร์บอน (สตรอเบอร์รี่อบแห้ง ดอยคำ, น้ำมันปาล์มขวด ตราหยก , น้ำตาลแร่ธรรมชาติ ตรามิตรผลโกลด์ ) ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (ข้าวหอมมะลิ 100% , ไก่ย่างเทอริยากิ)
เส้นทางของเซเว่นอีเลฟเว่น ยังคงเดินหน้าและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีวันสิ้นสุด
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,895 วันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556