หลังคำตัดสินของศาลโลก
ศึกนอกมีเค้าความเบาใจ แต่เมื่อม็อบราชดำเนิน ประกาศเดินหน้าชน ไล่รัฐบาลลูกเดียว...นี่ก็คือศึกใน ทำให้หนาวๆร้อนๆ
ในยามป่วยไข้...ผมก็มักหาหนังสืออ่าน หวังลมๆแล้งๆ ธรรมะจากหนังสือบางเล่ม จะเป็นยารักษา
หนังสือชื่อ สายธารแห่งปัญญา (สำนักพิมพ์ ก.ไก่ )บุญศักดิ์ แสงระวี แปลจาก“ภาษิตรากผัก” ของจีน ราวปี 2533 ไปแพร่หลายในญี่ปุ่น
วังซิ่นหมิน ปัญญาชนสมัยราชวงศ์ซ่ง เคยเขียนไว้
“คนเราถ้ากินรากผักได้ จะทำอะไรก็สำเร็จ” แสดงนัยว่า
อันรากผักนั้น ทั้งแข็งทั้งมีกากกระด้าง มีแต่การเคี้ยวจนแหลกเท่านั้น
จึง
จะสามารถซาบซึ้งในรสชาติรากผักหนึ่ง หรือคำสอนหนึ่ง ใน “สายธารแห่งปัญญา” เล่านิทานสองเรื่อง
นิทานเรื่องแรก มีหนอนชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า “ไว่” มันเป็นหนอนที่แปลก มีกายอยู่เพียงหนึ่ง แต่มีปากอยู่สองปาก
สองปากนี้ ในยามปกติ มันอยู่กันได้อย่างกลมเกลียว แต่เมื่อมีของกินดีๆ มันจะเริ่มกัดกันเอง เพื่อแย่งอาหารนั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่ยอมลดราวาศอกให้กันเลย กัดกันไปๆ เลือดก็ไหลโซม ไม่นานปากนั้นก็เน่า
ในที่สุด สองปากนั้นก็ไม่ขยับเขยื้อน “เจ้าไว่” ตายแล้ว มันตายโดยไม่มีโอกาสลิ้มรสอาหารที่มันอยากกินแม้แต่สักคำ
นิทานเรื่องที่สอง...
บนสะพานต้นไม้ พาดข้ามลำธารหมู่บ้านอิน คนตัดฟืนเดินมาทางตะวันออก ชาวประมงเดินมาทางตะวันตก เผชิญหน้ากันกลางสะพาน
คนตัดฟืนมีน้ำใจ ถอยหลังไปหัวสะพาน เปิดทางให้ชาวประมงข้ามก่อน
เวลาต่อมา บนสะพานเดียวกัน ทางตะวันออกมี
ชายขายของเดินมา ทางตะวันตกมี
คนฆ่าหมูเดินมา เจอหน้ากันกลางสะพาน คนขายของ
ไม่ยอมหลีกทางให้คนฆ่าหมู คนฆ่าหมูก็ไม่ยอมหลีกทางให้คนขายของ
ทั้งสองปั้นสีหน้าเข้าใส่กัน ยืนเผชิญหน้ากัน จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน ไม่มีใครกลับถึงบ้านได้
เล่านิทานสองเรื่องนี้แล้ว
ภาษิตรากผัก จึงมีคำถาม เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ หากประสงค์จะอยู่เย็นเป็นสุข ควรจะทำอย่างไรดี?
ถามเอง ภาษิตรากผักก็ตอบเสียเอง...จงจำไว้ว่า
เมื่อเดินไปในทางแคบ ควรจะผ่อนปรนเว้นที่ให้คนอื่นเขา...สักก้าวหนึ่ง
มีอาหารรสโอชา ก็ปันให้คนอื่นเขาลองชิมบ้าง สักสามส่วน คำโบราณกล่าวไว้ว่า
ถอยหนึ่งก้าว ทะเลกว้าง ฟ้าไกล หมายความว่า เมื่อรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ตามควรแก่กรณี จะทำให้จิตใจเบิกบานปลอดโปร่ง
นึกถึงจิตใจ คนคู่แรกกลางสะพานต้นไม้...
คนตัดฟืนยอมให้ชาวประมง ทั้งสองกลับถึงบ้านอาบน้ำ พักผ่อน หลับนอนได้ตามสบาย...
ไม่เครียด ไม่เหนื่อย
คนคู่ที่สอง คนขายของ คนฆ่าหมู
ไม่ยอมถอยหลัง เปิดทางให้กัน...ยืนจ้องหน้ากันตั้งแต่บ่ายถึงค่ำ...
จิตใจแบกของหนัก แบกทั้งความทุกข์ ทั้งเครียด
หากสถานการณ์บีบคั้น เป็นเช่นสองปากเจ้าหนอนไว่...กัดกันไป แย่งอาหารกันไป ปากก็เจ็บจนเน่า...สุดท้าย...เจ้าหนอนไว่ก็ตาย โดยที่ไม่ได้อาหารเข้าปาก
ใครที่อยากสมัครใจจะเล่นบทเจ้าหนอนไว่... ก็เชิญกัดกันไป...
ส่วนใครจะรักเล่นบทคนตัดฟืน...ยอมถอยให้ก่อน...นึกถึงคำ ถอยหนึ่งก้าว ทะเลกว้าง ฟ้าไกล...ทางออกงดงามสดใสของบ้านเมือง อยู่กับคนตัดฟืนคนนี้เอง.
กิเลน ประลองเชิง
ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/column/pol/chuckthong/382520
.......................................................................................................................................................................................
อ่านแล้วลองพิจารณาดูกันนะครับว่าใครคือ
คนตัดฟืน ใช่ตรงตามที่เจ้าของคอลัมถ์นั่นคิดไว้หรือเปล่า... (ถ้าอคติไม่บังตา)
ก้าว...ของคนตัดฟืน
ในยามป่วยไข้...ผมก็มักหาหนังสืออ่าน หวังลมๆแล้งๆ ธรรมะจากหนังสือบางเล่ม จะเป็นยารักษา
หนังสือชื่อ สายธารแห่งปัญญา (สำนักพิมพ์ ก.ไก่ )บุญศักดิ์ แสงระวี แปลจาก“ภาษิตรากผัก” ของจีน ราวปี 2533 ไปแพร่หลายในญี่ปุ่น
วังซิ่นหมิน ปัญญาชนสมัยราชวงศ์ซ่ง เคยเขียนไว้ “คนเราถ้ากินรากผักได้ จะทำอะไรก็สำเร็จ” แสดงนัยว่า อันรากผักนั้น ทั้งแข็งทั้งมีกากกระด้าง มีแต่การเคี้ยวจนแหลกเท่านั้น
จึงจะสามารถซาบซึ้งในรสชาติรากผักหนึ่ง หรือคำสอนหนึ่ง ใน “สายธารแห่งปัญญา” เล่านิทานสองเรื่อง
นิทานเรื่องแรก มีหนอนชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า “ไว่” มันเป็นหนอนที่แปลก มีกายอยู่เพียงหนึ่ง แต่มีปากอยู่สองปาก
สองปากนี้ ในยามปกติ มันอยู่กันได้อย่างกลมเกลียว แต่เมื่อมีของกินดีๆ มันจะเริ่มกัดกันเอง เพื่อแย่งอาหารนั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่ยอมลดราวาศอกให้กันเลย กัดกันไปๆ เลือดก็ไหลโซม ไม่นานปากนั้นก็เน่า
ในที่สุด สองปากนั้นก็ไม่ขยับเขยื้อน “เจ้าไว่” ตายแล้ว มันตายโดยไม่มีโอกาสลิ้มรสอาหารที่มันอยากกินแม้แต่สักคำ
นิทานเรื่องที่สอง...บนสะพานต้นไม้ พาดข้ามลำธารหมู่บ้านอิน คนตัดฟืนเดินมาทางตะวันออก ชาวประมงเดินมาทางตะวันตก เผชิญหน้ากันกลางสะพาน
คนตัดฟืนมีน้ำใจ ถอยหลังไปหัวสะพาน เปิดทางให้ชาวประมงข้ามก่อน
เวลาต่อมา บนสะพานเดียวกัน ทางตะวันออกมีชายขายของเดินมา ทางตะวันตกมีคนฆ่าหมูเดินมา เจอหน้ากันกลางสะพาน คนขายของไม่ยอมหลีกทางให้คนฆ่าหมู คนฆ่าหมูก็ไม่ยอมหลีกทางให้คนขายของ
ทั้งสองปั้นสีหน้าเข้าใส่กัน ยืนเผชิญหน้ากัน จนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน ไม่มีใครกลับถึงบ้านได้
เล่านิทานสองเรื่องนี้แล้ว ภาษิตรากผัก จึงมีคำถาม เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ หากประสงค์จะอยู่เย็นเป็นสุข ควรจะทำอย่างไรดี?
ถามเอง ภาษิตรากผักก็ตอบเสียเอง...จงจำไว้ว่า เมื่อเดินไปในทางแคบ ควรจะผ่อนปรนเว้นที่ให้คนอื่นเขา...สักก้าวหนึ่ง
มีอาหารรสโอชา ก็ปันให้คนอื่นเขาลองชิมบ้าง สักสามส่วน คำโบราณกล่าวไว้ว่า ถอยหนึ่งก้าว ทะเลกว้าง ฟ้าไกล หมายความว่า เมื่อรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ตามควรแก่กรณี จะทำให้จิตใจเบิกบานปลอดโปร่ง
นึกถึงจิตใจ คนคู่แรกกลางสะพานต้นไม้...คนตัดฟืนยอมให้ชาวประมง ทั้งสองกลับถึงบ้านอาบน้ำ พักผ่อน หลับนอนได้ตามสบาย...ไม่เครียด ไม่เหนื่อย
คนคู่ที่สอง คนขายของ คนฆ่าหมู ไม่ยอมถอยหลัง เปิดทางให้กัน...ยืนจ้องหน้ากันตั้งแต่บ่ายถึงค่ำ...จิตใจแบกของหนัก แบกทั้งความทุกข์ ทั้งเครียด
หากสถานการณ์บีบคั้น เป็นเช่นสองปากเจ้าหนอนไว่...กัดกันไป แย่งอาหารกันไป ปากก็เจ็บจนเน่า...สุดท้าย...เจ้าหนอนไว่ก็ตาย โดยที่ไม่ได้อาหารเข้าปาก
ใครที่อยากสมัครใจจะเล่นบทเจ้าหนอนไว่... ก็เชิญกัดกันไป...
ส่วนใครจะรักเล่นบทคนตัดฟืน...ยอมถอยให้ก่อน...นึกถึงคำ ถอยหนึ่งก้าว ทะเลกว้าง ฟ้าไกล...ทางออกงดงามสดใสของบ้านเมือง อยู่กับคนตัดฟืนคนนี้เอง.
กิเลน ประลองเชิง
ไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/column/pol/chuckthong/382520
.......................................................................................................................................................................................
อ่านแล้วลองพิจารณาดูกันนะครับว่าใครคือ คนตัดฟืน ใช่ตรงตามที่เจ้าของคอลัมถ์นั่นคิดไว้หรือเปล่า... (ถ้าอคติไม่บังตา)