เงินถุงแดง เงินใช้ในยามฉุกเฉิน เงินของพระมหากษัตริย์ ที่ช่วยให้ไทยไม่เสียเอกราชแก่ ฝรั่งเศล..
เงินที่เรียกกันมาว่า “เงินถุงแดง” นั้นเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์ แล้วทรงเก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์โปรดฯ ให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คำว่า “พระคลังข้างที่” ในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากเงินข้างพระแท่นบรรทมนี้
ในสมัยก่อนโน้นการค้าขายไปมาระหว่างประเทศ อาศัยเรือสำเภา และตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ การค้าขายส่วนใหญ่ของไทยเป็นการติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ก็มีแขกเช่น อินเดีย มะละกา ชวา (เมืองยักกะตรา) แขกมัวร์ ฯลฯ
สำเภาที่ส่งออกไปค้าขายเมืองจีน เมืองแขกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสำเภาของหลวงหรือทางราชการ แต่ไม่ได้ห้ามหวงเอกชน ดังนั้น นอกจากพ่อค้าจีนแล้ว ผู้ใดมีทุนรอนก็แต่งสำเภาออกไปค้าขายได้ ซึ่งส่วนมากเป็นของเจ้านายสูงศักดิ์ หรือของเสนาบดี ขุนทางสูงศักดิ์
ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงกำกับกรมท่า (พาณิชย์และต่างประเทศในปัจจุบัน) ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นหัวแรงสำคัญในการจัดการค้าสำเภาหลวง และยังทรงแต่งสำเภาเป็นส่วนของพระองค์ออกไปด้วย ในส่วนของพระองค์เองนั้น ก็ทรงถวายให้สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงใช้สอยมิให้ขาดแคลนเหมือนเมื่อต้นๆ รัชกาล ซึ่ง
“เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระราชทรัพย์ขัดสน เงินท้องพระคลังจะแจกข้าราชการไม่พอ ต้องลดกึ่งและแบ่ง ๓ แต่ให้ ๒ แทบทุกปี เงินไม่มีต้องเอาผ้าตีให้ก็มีบ้าง มีบัญชีแต่ว่าไปขอยืมเงินในพระบวรราชวังมาแจกเบี้ยหวัด แล้วจึงเก็บเงินค้างใช้คืน เพราะครั้งนั้นพระบวรราชวังค้าสำเภามีกำไรมาก” (จากชุมนุมพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๔)
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงทำให้กิจการค้าขายได้ผลดี ทั้งสำเภาหลวงและในส่วนของพระองค์เอง ปรากฎว่า สมเด็จบรมชนกนาถโปรดปรานอย่างยิ่ง ตรัสเรียกสัพยอกอยู่เสมอว่า “เจ๊สัว” (เจ้าสัว)
ครั้นเมื่อขึ้นแผ่นดินของพระองค์ เพราะทรงพระปรีชาสามารถในการค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว ในรัชกาลนี้จึงปรากฎว่า การค้าขายขยายวงกว้างออกไป และมีการปรับปรุงเก็บภาษีอากรเป็นแบบให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดรับผิดชอบ เพราะการเก็บแบบเดิมนั้นกระจัดกระจายไปตามบรรดาข้าราชการต่างๆ มักขาดหายไปไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับการค้าขายนั้น โปรดฯ ให้ทำสัญญาซื้อขายกับอังกฤษและอเมริกาที่ขอเข้ามาอยู่ จนกระทั่ง ร้อยเอก เฮนี่ เบอร์นี่ (หรือกะปิตันหันตรี บารนี) กลับไปถูกผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์ (หรือสมัยนั้นเรียกว่าเมืองใหม่) ตำหนิเอา
สำหรับเงินถุงแดงข้างพระที่นั้น ก็ยังทรงเก็บไว้ และคงจะเพิ่มมากขึ้นเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ นอกจากเงินในท้องพระคลังหลวง หรือพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นรายได้จากการเก็บภาษีอากรและ จากการค้าขายของหลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จะว่าเงินถุงแดงของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ และยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” จริงๆ ตามที่ทรงมีพระราชปรารภทรงมองเห็นการณ์ไกลเอาไว้นั้น คือเมื่อรบกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒
เงินถุงแดง เงินใช้ในยามฉุกเฉิน เงินของพระมหากษัตริย์ ที่ช่วยให้ไทยไม่เสียเอกราชแก่ ฝรั่งเศล..
เงินที่เรียกกันมาว่า “เงินถุงแดง” นั้นเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า เป็นเงินที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้จากการค้าสำเภาส่วนพระองค์ แล้วทรงเก็บสะสมเอาไว้ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์โปรดฯ ให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ข้างพระแท่นบรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คำว่า “พระคลังข้างที่” ในเวลาต่อมาก็เนื่องมาจากเงินข้างพระแท่นบรรทมนี้
ในสมัยก่อนโน้นการค้าขายไปมาระหว่างประเทศ อาศัยเรือสำเภา และตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ การค้าขายส่วนใหญ่ของไทยเป็นการติดต่อค้าขายกับจีนเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ก็มีแขกเช่น อินเดีย มะละกา ชวา (เมืองยักกะตรา) แขกมัวร์ ฯลฯ
สำเภาที่ส่งออกไปค้าขายเมืองจีน เมืองแขกนั้น ส่วนใหญ่เป็นสำเภาของหลวงหรือทางราชการ แต่ไม่ได้ห้ามหวงเอกชน ดังนั้น นอกจากพ่อค้าจีนแล้ว ผู้ใดมีทุนรอนก็แต่งสำเภาออกไปค้าขายได้ ซึ่งส่วนมากเป็นของเจ้านายสูงศักดิ์ หรือของเสนาบดี ขุนทางสูงศักดิ์
ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงกำกับกรมท่า (พาณิชย์และต่างประเทศในปัจจุบัน) ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นหัวแรงสำคัญในการจัดการค้าสำเภาหลวง และยังทรงแต่งสำเภาเป็นส่วนของพระองค์ออกไปด้วย ในส่วนของพระองค์เองนั้น ก็ทรงถวายให้สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงใช้สอยมิให้ขาดแคลนเหมือนเมื่อต้นๆ รัชกาล ซึ่ง
“เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น พระราชทรัพย์ขัดสน เงินท้องพระคลังจะแจกข้าราชการไม่พอ ต้องลดกึ่งและแบ่ง ๓ แต่ให้ ๒ แทบทุกปี เงินไม่มีต้องเอาผ้าตีให้ก็มีบ้าง มีบัญชีแต่ว่าไปขอยืมเงินในพระบวรราชวังมาแจกเบี้ยหวัด แล้วจึงเก็บเงินค้างใช้คืน เพราะครั้งนั้นพระบวรราชวังค้าสำเภามีกำไรมาก” (จากชุมนุมพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๔)
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงทำให้กิจการค้าขายได้ผลดี ทั้งสำเภาหลวงและในส่วนของพระองค์เอง ปรากฎว่า สมเด็จบรมชนกนาถโปรดปรานอย่างยิ่ง ตรัสเรียกสัพยอกอยู่เสมอว่า “เจ๊สัว” (เจ้าสัว)
ครั้นเมื่อขึ้นแผ่นดินของพระองค์ เพราะทรงพระปรีชาสามารถในการค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว ในรัชกาลนี้จึงปรากฎว่า การค้าขายขยายวงกว้างออกไป และมีการปรับปรุงเก็บภาษีอากรเป็นแบบให้เจ้าภาษีนายอากรผูกขาดรับผิดชอบ เพราะการเก็บแบบเดิมนั้นกระจัดกระจายไปตามบรรดาข้าราชการต่างๆ มักขาดหายไปไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับการค้าขายนั้น โปรดฯ ให้ทำสัญญาซื้อขายกับอังกฤษและอเมริกาที่ขอเข้ามาอยู่ จนกระทั่ง ร้อยเอก เฮนี่ เบอร์นี่ (หรือกะปิตันหันตรี บารนี) กลับไปถูกผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์ (หรือสมัยนั้นเรียกว่าเมืองใหม่) ตำหนิเอา
สำหรับเงินถุงแดงข้างพระที่นั้น ก็ยังทรงเก็บไว้ และคงจะเพิ่มมากขึ้นเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ นอกจากเงินในท้องพระคลังหลวง หรือพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นรายได้จากการเก็บภาษีอากรและ จากการค้าขายของหลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จะว่าเงินถุงแดงของพระองค์เป็นคล้ายเงินทุนสำรองก็คงว่าได้ ซึ่งเมื่อพระราชทานแก่แผ่นดินแล้ว ก็คงเก็บไว้อย่างเดิมโดยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงนำออกใช้เลยตลอดรัชกาลของพระองค์ และยังคงอยู่ตลอดมาจนกระทั่งได้นำออก “ไถ่บ้านไถ่เมือง” จริงๆ ตามที่ทรงมีพระราชปรารภทรงมองเห็นการณ์ไกลเอาไว้นั้น คือเมื่อรบกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒