สนธยาภาษา ของ เดียรถีย์เม็ดมะขาม

ความนำ

สนธยาภาษา เป็นภาษาทางตำราของ พวกนิกายตันตรยาน โดยที่สาวกนิกายนี้ แบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ
(๑) ทักษิณจารี พวกนี้ยังประพฤติธรรมวินัย ถ้าเป็นนักบวช ก็ยังรักษารพรหมจรรย์อยู่
(๒) วามจารี พวกนี้ประพฤติเลื่อนเปื้อน ไม่รักษาพรหมจรรย์ ทำตัวคล้ายหมอผี อยู่ป่าช้า ใช้กะโหลกผีเป็นบาตร ถือการเสพกามคุณเป็นการบรรลุธรรม

ปัญหาที่ทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็น ๒ พวก ก็เนื่องมาจากการ "ตีความ" สนธยาภาษา ที่ต่างกัน กล่าวคือ
ในขณะที่ พวก ทักษิณจารี เข้าใจว่า สนธยาภาษา นี้เป็นเพียง "นิมิต" หรือ "สัญลักษณ์" ที่จักต้องตีความให้เป็น "ธรรมะ"
จะถือเอาตรงๆ ตามตัวอักษร มิได้ เช่น ในคัมภีร์ สนธนมาลา ของ ท่านอนังควัชระ ซึ่งกล่าวว่า ........

"สาธุ ควรได้รับการบำเรอจาก สตรีเพศ เพื่อให้เสวย มหามธุรา"

พวก ทักษิณจารี เห็นว่า นี่เป็น สนธยาภาษา ที่จักต้องตีความให้ถูกต้อง กล่าวคือ คำว่า สตรีเพศ นี้หมายถึง ปัญญา
ดังนั้น คำของท่านอนังควัชระ จึงหมายความว่า โยคาวจร(สาธุ) จักต้องสร้างอุบายด้วยปัญญา จึงจะสามารถลุถึงพระนิพพานได้

แต่ พวก วามจารี กลับไม่คิดเช่นนั้น นักบวชทุศีลพวกนี้ ได้ถือเอาตามตัวอักษรเลยทีเดียว
จนถึงกับสอนชาวบ้านว่า ผู้ใดมอบสตรีให้กับนักบวช จะได้กุศลแรง อย่างนี้ เป็นต้น !

หรือตัวอย่างเช่น พวก ทักษิณจารี ตีความ อักษร "๕ ม" ว่าหมายถึง ขันธ์ ๕
แต่ พวก วามจารี กลับยึดถือเอาตามตัวอักษรว่า นักบวช จักต้องได้รับการบำรุงบำเรอ จาก

(๑) มัทยะ น้ำเมา
(๒) มางสา เนื้อ
(๓) มัตสยา ปลา
(๔) มุทรา ยั่วให้กำหนัด
(๕) ไมถุนะ เสพเมถุน

จากตัวอย่าง กรณี พระพุทธศาสนานิกายตันตรยาน หรือ มนตรยาน นี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า ความเจริญ หรือ ความเสื่อม
ย่อมขึ้นอยู่กับว่า สามารถทำความเข้าใจในพระธรรมคำสอนที่ "แย้ง" กับกิเลสตัณหาของตนได้มากน้อยเพียงใด

อีกทั้ง กรณีของ พวก ทักษิณจารี ย่อมแสดงให้เห็นว่า สำหรับผู้ที่มี โยนิโสมนสิการ มากพอ แม้ข้อความในตำรา
ซึ่งเมื่อดูตามตัวอักษรแล้ว อาจจะส่อไปในทางกิเลสตัณหา แต่เขาเหล่านั้นกลับสามารถ "ตีความ" ให้กลับมาสู่แนวทางแห่งการดับทุกข์ได้

แตกต่างไปจากพวกโง่เขลาเบาปัญญาบางพวก(ในโต๊ะศาสนา ?) ที่แม้ข้อความที่เห็นอยู่ ก็มิได้เป็น สนธยาภาษา
แต่พวกมันเหล่านั้น กลับสามารถตีความอย่างโง่ๆ ด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหาส่วนตน จนกลายเป็นคำสอนนอกแนว ไปเสียได้

สรุป ก็คือ เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า  บุพนิมิต แห่ง ทางสายกลาง มี ๒ ประการ คือ ปรโตโฆษะ และ โยนิโสมนสิการ
กล่าวสำหรับผู้มีปัญญามาก ย่อมอาศัย โยนิโสมนสิการเป็นส่วนใหญ่ ปรโตโฆษะ จึงไม่สู้สำคัญนัก (จะเป็นอะไร ก็ได้)
ส่วนผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญา จำเป็นต้องอาศัย ปรโตโฆษะ เป็นหลัก และจักต้องเป็นปรโตโฆษะชั้นดี จำพวก กัลยาณมิตร เท่านั้น

นี่เป็นความแตกต่างกันของ สัตว์โลก นะครับ

จบความนำ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่