ดูหลายๆ คลิปที่กูรูทางภาษี ผู้เชี่ยวชาญภาษี ออกมาให้ความเห็น แล้วปวดหัวกับการให้ความเห็นผิดๆ มั่วๆ ไม่ดูกฎหมายให้ละเอียดเลย
บอกได้อย่างไรว่า ถ้าเป็นการให้โดยเสน่หาจริง ตั้มจะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้าน และส่วนที่เกิน 10 ล้าน ก็ไปเสียภาษีการรับให้ในอัตรา 5%
เอาจากไหนมาพูด เฮ้อ!
ภาษีเป็นเรื่องของกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อเป็นกฎหมาย ก็ต้องอ่านทุกคำ ทุก wordings โดยละเอียด ให้ความสำคัญกับทุกคำ จะข้ามคำใดคำหนึ่งไปไม่ได้เด็ดขาด
"มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
(28) เงินได้ที่ได้รับจาก (1) การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจาก (2) การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น"
มาตรา 48 เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(7) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ส่วนที่เกินสิบล้านบาท โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับจาก (1) การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจาก (2) การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (28)
มาดามอ้อย ไม่ได้เป็นอะไรกับตั้ม ไม่ได้เป็นแม่ตั้ม ไม่ได้เป็นเมียตั้ม ไม่ได้เป็นญาติตั้ม ไม่ได้เป็นผู้ปกครองตั้ม ฯลฯ
แล้วมาดามอ้อย มีหน้าที่อะไรที่จะต้องให้การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
คำว่า "อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา" เป็นคำสำคัญในตัวบทกฎหมายที่จะทอดทิ้งละเลยไม่ได้เด็ดขาด
แล้วต้องดูแนวของศาลฎีกา ศาลภาษีอากร และกรมสรรพากร ที่ตีความคำว่า "อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา" ไว้ว่า หมายถึงอะไร
ตามกฎหมาย พ่อแม่ มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู บุตร (กรณีนี้ถือว่า เป็นหน้าที่อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ด้วยเช่นกัน)
ตามกฎหมาย ลูก มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู บิดามารดา (กรณีนี้ถือว่า เป็นหน้าที่อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ด้วยเช่นกัน)
ตามกฎหมาย สามีภริยา มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน (กรณีนี้ถือว่า เป็นหน้าที่อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ด้วยเช่นกัน แนวของกรมสรรพากรตามรูลลิ่งปี 66 ขยายความรวมไปถึงสามีภริยาที่มิได้จดทะเบียนแต่อยู่กินกันฉันท์สามีถรรยาด้วย แต่ไม่รวมถึงแฟนหรือคู่หมั้นที่ยังไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา)
ตามธรรมเนียมประเพณี พุทธบริษัท มีหน้าที่บำรุงรักษาพระศาสนา จึงมีหน้าที่โดยธรรมจรรยาที่จะอุปการะพระภิกษุสามเณร (กรมสรรพากรตีความรวมไปถึงเงินที่นักบวชในศาสนาอื่น มิชชั่นนารีในศาสนาคริสต์ เป็นต้น ได้รับจากการบริจาค ก็ยกเว้นภาษีเพราะถือว่าได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาเช่นกัน)
ตามธรรมเนียมประเพณี นายจ้างมีหน้าที่อุปการะลูกจ้าง ฉะนั้น กรณีพนักงานเสียชีวิตจากการทำงาน เงินได้ที่ทายาทของลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จึงได้รับยกเว้นภาษี)
เป็นต้น
แต่มาดามอ้อย มีหน้าที่โดยธรรมจรรยาอะไรที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูตั้ม? <<< คำตอบ คือ ไม่มีเลยไม่ว่าจะมองในมุมไหน (เอาแนวที่ศาลและกรมสรรพากรจะยอมรับได้นะ)
ฉะนั้น เงินได้ที่ตั้มได้จากคุณอ้อย จึงไม่ใช่เงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
จึงต้องดูต่อไปว่า เงินได้ดังกล่าว เป็นเงินได้ที่รับเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนมธรรมเนียมประเพณีหรือไม่
เช่น ในอดีต คุณสมชาย วงสวัสดิ์ ได้รับเงินจากคุณทักษิณ พี่เขย หลายพันล้าน แต่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เพราะเป็นการให้เนื่องในงานแต่งงาน (สมัยนั้น ยังไม่มีเพดานจำกัดการยกเว้นภาษี)
จึงต้องหาคำตอบให้ได้ว่า ตั้มได้รับเงินดังกล่าวเนื่องในโอกาสตามขนบธรรมเนียมประเพณีอะไร ประเพณีไทย จีน ฝรั่ง แขก ปีใหม่ ตรุษจีน ตรุษไทย ฯลฯ >>> คำตอบ คือ ไม่มีเลย
แล้วจะได้รับยกเว้นภาษีได้อย่างไรสำหรับส่วนไม่เกิน 10 ล้าน
ส่วนที่เกิน 10 ล้านก็ไม่มีสิทธิเอาไปเสียภาษี 5% อีกด้วย เพราะจะเสีย 5% ได้ต่อเมื่อ 10 ล้านแรกต้องได้รับยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขก่อน
******************************************
สรุป เงินได้ 71 ล้าน ถ้าศาลตัดสินว่าได้มาจากการให้โดยเสน่หาจริงๆ ตั้มต้องเอาไปรวมกับเงินได้ปกติของตั้มเองในปีภาษี 2566 แล้วเสียภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 0% จนถึง 35% (ซึ่งเชื่อว่าในแบบ ภงด. ของตั้ม เขาเสียภาษีในอัตราสูงสุดอยู่แล้วล่ะ 35% เพราะตั้มบอกว่าเองว่า ได้รับเงินเดือนจาก firm ของเขาเองเดือนละ 6 แสน (ปีละ 7.2 ล้าน))
ฉะนั้น เงิน 71 ล้าน ก็จะต้องไปเสียภาษีสุงสุดในอัตรา 35% โดยหักค่าใช้จ่ายอะไรไม่ได้เลย
ก็จะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตั้มต้องยื่นเสียเพิ่มเติม 24.85 ล้านบาท
และต้องบวกเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของ 24.85 ล้านบาท ไปจนกว่าภาษีจะถูกชำระ
เท่ากับว่ามีเงินเพิ่มที่จะเดินไปเรื่อยๆ 372,750 บาทต่อเดือน และจะวิ่งไปจนกว่าจะไปชนเพดานภาษี 24.85 ล้านบาท จึงจะหยุดเดิน
ฉะนั้า ถ้าตั้มปล่อยให้เรื่องคาราคาซัง ไม่รีบไปยื่นภาษี จนเงินเพิ่มชนเพดานสูงสุด
ตั้มก็จะต้องเสียภาษี + เงินเพิ่ม รวมทั้งหมดเกือบ 50 ล้านบาทจากเงิน 71 ล้านบาทนี้
ซึ่งกรมสรรพากรไม่ต้องรอให้ศาลตัดสินเด็ดขาด แต่สามารถยึดเอาคำให้การของตั้มที่อ้างว่าเป็นเงินให้โดยเสน่หา เพื่อประเมินภาษีตั้มได้เลย
ถ้าศาลตัดสินให้ตั้มชนะโดยเชื่อว่าเงิน 71 ล้านเป็นเงินที่คุณอ้อยให้โดยเสน่หาจริง ตั้มต้องเสียภาษีหรือไม่และเสียในอัตราใด
บอกได้อย่างไรว่า ถ้าเป็นการให้โดยเสน่หาจริง ตั้มจะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้าน และส่วนที่เกิน 10 ล้าน ก็ไปเสียภาษีการรับให้ในอัตรา 5%
เอาจากไหนมาพูด เฮ้อ!
ภาษีเป็นเรื่องของกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อเป็นกฎหมาย ก็ต้องอ่านทุกคำ ทุก wordings โดยละเอียด ให้ความสำคัญกับทุกคำ จะข้ามคำใดคำหนึ่งไปไม่ได้เด็ดขาด
"มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
(28) เงินได้ที่ได้รับจาก (1) การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจาก (2) การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินสิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น"
มาตรา 48 เงินได้พึงประเมินต้องเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(7) ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ส่วนที่เกินสิบล้านบาท โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตาม (1) และ (2) ก็ได้ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (8) ที่ได้รับจาก (1) การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจาก (2) การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (28)
มาดามอ้อย ไม่ได้เป็นอะไรกับตั้ม ไม่ได้เป็นแม่ตั้ม ไม่ได้เป็นเมียตั้ม ไม่ได้เป็นญาติตั้ม ไม่ได้เป็นผู้ปกครองตั้ม ฯลฯ
แล้วมาดามอ้อย มีหน้าที่อะไรที่จะต้องให้การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
คำว่า "อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา" เป็นคำสำคัญในตัวบทกฎหมายที่จะทอดทิ้งละเลยไม่ได้เด็ดขาด
แล้วต้องดูแนวของศาลฎีกา ศาลภาษีอากร และกรมสรรพากร ที่ตีความคำว่า "อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา" ไว้ว่า หมายถึงอะไร
ตามกฎหมาย พ่อแม่ มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู บุตร (กรณีนี้ถือว่า เป็นหน้าที่อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ด้วยเช่นกัน)
ตามกฎหมาย ลูก มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู บิดามารดา (กรณีนี้ถือว่า เป็นหน้าที่อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ด้วยเช่นกัน)
ตามกฎหมาย สามีภริยา มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน (กรณีนี้ถือว่า เป็นหน้าที่อุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ด้วยเช่นกัน แนวของกรมสรรพากรตามรูลลิ่งปี 66 ขยายความรวมไปถึงสามีภริยาที่มิได้จดทะเบียนแต่อยู่กินกันฉันท์สามีถรรยาด้วย แต่ไม่รวมถึงแฟนหรือคู่หมั้นที่ยังไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา)
ตามธรรมเนียมประเพณี พุทธบริษัท มีหน้าที่บำรุงรักษาพระศาสนา จึงมีหน้าที่โดยธรรมจรรยาที่จะอุปการะพระภิกษุสามเณร (กรมสรรพากรตีความรวมไปถึงเงินที่นักบวชในศาสนาอื่น มิชชั่นนารีในศาสนาคริสต์ เป็นต้น ได้รับจากการบริจาค ก็ยกเว้นภาษีเพราะถือว่าได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาเช่นกัน)
ตามธรรมเนียมประเพณี นายจ้างมีหน้าที่อุปการะลูกจ้าง ฉะนั้น กรณีพนักงานเสียชีวิตจากการทำงาน เงินได้ที่ทายาทของลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จึงได้รับยกเว้นภาษี)
เป็นต้น
แต่มาดามอ้อย มีหน้าที่โดยธรรมจรรยาอะไรที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูตั้ม? <<< คำตอบ คือ ไม่มีเลยไม่ว่าจะมองในมุมไหน (เอาแนวที่ศาลและกรมสรรพากรจะยอมรับได้นะ)
ฉะนั้น เงินได้ที่ตั้มได้จากคุณอ้อย จึงไม่ใช่เงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
จึงต้องดูต่อไปว่า เงินได้ดังกล่าว เป็นเงินได้ที่รับเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนมธรรมเนียมประเพณีหรือไม่
เช่น ในอดีต คุณสมชาย วงสวัสดิ์ ได้รับเงินจากคุณทักษิณ พี่เขย หลายพันล้าน แต่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เพราะเป็นการให้เนื่องในงานแต่งงาน (สมัยนั้น ยังไม่มีเพดานจำกัดการยกเว้นภาษี)
จึงต้องหาคำตอบให้ได้ว่า ตั้มได้รับเงินดังกล่าวเนื่องในโอกาสตามขนบธรรมเนียมประเพณีอะไร ประเพณีไทย จีน ฝรั่ง แขก ปีใหม่ ตรุษจีน ตรุษไทย ฯลฯ >>> คำตอบ คือ ไม่มีเลย
แล้วจะได้รับยกเว้นภาษีได้อย่างไรสำหรับส่วนไม่เกิน 10 ล้าน
ส่วนที่เกิน 10 ล้านก็ไม่มีสิทธิเอาไปเสียภาษี 5% อีกด้วย เพราะจะเสีย 5% ได้ต่อเมื่อ 10 ล้านแรกต้องได้รับยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขก่อน
******************************************
สรุป เงินได้ 71 ล้าน ถ้าศาลตัดสินว่าได้มาจากการให้โดยเสน่หาจริงๆ ตั้มต้องเอาไปรวมกับเงินได้ปกติของตั้มเองในปีภาษี 2566 แล้วเสียภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 0% จนถึง 35% (ซึ่งเชื่อว่าในแบบ ภงด. ของตั้ม เขาเสียภาษีในอัตราสูงสุดอยู่แล้วล่ะ 35% เพราะตั้มบอกว่าเองว่า ได้รับเงินเดือนจาก firm ของเขาเองเดือนละ 6 แสน (ปีละ 7.2 ล้าน))
ฉะนั้น เงิน 71 ล้าน ก็จะต้องไปเสียภาษีสุงสุดในอัตรา 35% โดยหักค่าใช้จ่ายอะไรไม่ได้เลย
ก็จะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ตั้มต้องยื่นเสียเพิ่มเติม 24.85 ล้านบาท
และต้องบวกเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของ 24.85 ล้านบาท ไปจนกว่าภาษีจะถูกชำระ
เท่ากับว่ามีเงินเพิ่มที่จะเดินไปเรื่อยๆ 372,750 บาทต่อเดือน และจะวิ่งไปจนกว่าจะไปชนเพดานภาษี 24.85 ล้านบาท จึงจะหยุดเดิน
ฉะนั้า ถ้าตั้มปล่อยให้เรื่องคาราคาซัง ไม่รีบไปยื่นภาษี จนเงินเพิ่มชนเพดานสูงสุด
ตั้มก็จะต้องเสียภาษี + เงินเพิ่ม รวมทั้งหมดเกือบ 50 ล้านบาทจากเงิน 71 ล้านบาทนี้
ซึ่งกรมสรรพากรไม่ต้องรอให้ศาลตัดสินเด็ดขาด แต่สามารถยึดเอาคำให้การของตั้มที่อ้างว่าเป็นเงินให้โดยเสน่หา เพื่อประเมินภาษีตั้มได้เลย