ประมวลรัษฎากร - เงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ข้อ 5 "เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี"
คำอธิบายเพิ่มเติม(หาจากเน็ต) - หนึ่ง การให้ด้วยการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งก็จะหมายถึงหน้าที่ตามศีลธรรมและวัฒนธรรมไทย หรือหน้าที่ตามกฎหมาย อย่างเช่น ลูกควรต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ และคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่ลูกของตน อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาว่าจะเป็นการอุปการะหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากฐานะความเป็นอยู่ของผู้ให้การอุปการะและผู้รับการอุปการะว่าเป็นหน้าที่ที่จะอุปการะหรือไม่อย่างไร
- สอง การให้ทางมรดก ผู้ที่ได้รับทรัพย์สิน เงินทองโดยมรดก ก็ดูจะไม่ค่อยมีปัญหาในทางปฎิบัติเพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องเป็นเงินได้จากการรับมรดกเท่านั้นจึงได้รับยกเว้น
- สาม เงินได้ที่ได้รับจากการให้เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี กรณีนี้อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าเป็นการให้ด้วยความรักที่ไม่หวังประโยชน์การตอบแทน ดังนั้นหากผู้รับการให้มีหน้าที่ต้องกระทำการสิ่งใดตอบแทนผู้ให้แล้ว การให้นั้นก็จะไม่ใช่การให้ด้วยความรัก ด้วยเสน่หาที่จะได้รับยกเว้นภาษี อีกอย่างที่ถือเป็นสาระก็คือของที่ให้เนื่องในโอกาสที่ว่านี้จะต้องมีมูลค่าไม่เกินสมควร
เรื่องของเรื่องคือ เมื่อตอนเย็นที่ผ่านมาผมนัดสังสรรค์กับเพื่อนๆตามปกติ แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า มีคนมาขอซื้อที่ของพ่อประมาณ 200 ล้านบาท (อยู่ระหว่างเจรจา) พ่อบอกว่าถ้าขายแปลงนี้ได้จะยกเงินให้ลูก(3 คน)ทั้งหมด โดยจะให้คนซื้อออกเช็คเป็นชื่อลูกคนละใบ (คนละ 60 กว่าล้าน) ทีนี้ก็มีเพื่อนอีกคนหนึ่งโพล่งมาว่า แบบนี้ไม่เสียภาษีบานเหรอ แล้วก็เปิดเน็ตให้ดูประมวลรัษฎากร(ด้านบน) อ่านกันไปก็ งง กันไปไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพื่อนคนที่จะได้เงินก็กังวลเหมือนกัน คนที่บอกว่าต้องเสียภาษีก็แนะนำว่า ก็ยังไม่ต้องเอาเงินหรอกใส่บัญชีพ่อไว้แล้วค่อยรับมรดกเอา ระหว่างนั้นก้ไปขอพ่อใช้เอาเป็นครั้งคราวแทน หรือถ้าจะรีบใช้เงินก็ให้พ่อไปซื้อหุ้นก้ได้ แล้วพ่อก้ขายหุ้นให้ลูก เสียแต่ค่าธรรมเนียม (เงินที่ซื้อก็เงินพ่อนั่นแหละ) จริงๆเขาก็แนะนำอีกหลายอย่างนะ แต่ฟังไปก็ งง บ้าง เข้าใจบ้าง
จากเหตุการณ์ดังกล่าว เลยเกิดคำถามดังนี้
- สรุปว่าถ้าพ่อให้เงินลูกตามที่ตั้งใจแต่แรก ลูกจะต้องเสียภาษีเงินได้ไหม ถ้าเสียต้องเสียประมาณเท่าไหร่ (ถ้าเสียเยอะมากสงสัยจะยังไม่มีใครเอาเงินแน่เลย เพราะทุกคนก็มีรายได้ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว)
- คำอธิบายตาม ข้อสาม "อีกอย่างที่ถือเป็นสาระก็คือของที่ให้เนื่องในโอกาสที่ว่านี้จะต้องมีมูลค่าไม่เกินสมควร" คำว่า มูลค่าไม่เกินสมควร นี่ประมาณเท่าไหร่ ลองหาดูแล้วก็ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน (กรณีที่พ่อจะให้เงินลูกตามโอกาสต่างๆ เช่น วันเกิด ปีใหม่ วันพ่อ ฯลฯ)
- ถ้าซื้อเป็นหุ้นตามที่เพื่อนอีกคนแนะนำ ทำได้โดยไม่ต้องเสียภาษีจริงหรือ และทำได้ยากแค่ไหน
- เรื่องแบบนี้ไปปรึกษาใครดี ระหว่าง ทนาย กับ เจ้าหน้าที่สรรพากร (หรือใครมีความรู้เรื่องนี้ช่วยแนะนำเบื้องต้นได้จะดีมากครับ) จริงๆผมแนะนำว่าให้ไปปรึกษา เจ้าหน้าที่สรรพากร เพราะเขามีหน้าที่โดยตรงน่าจะตอบได้กระจ่างกว่า แต่เพื่อนบอกว่าให้ไปปรึกษาคนเก็บภาษี เพื่อให้ไม่ต้องเสียภาษีนี่ก็ยังไงๆอยู่นา เลยว่าจะไปปรึกษา ทนาย ดู แต่ผมเห็นว่าห้องนี้มีทนายอยู่หลายคน ก้เลยมาตั้งดูเผื่อได้คำตอบหรือคำแนะนำบ้าง
แต่เท่าที่คุยกับเพื่อนดู ถ้าทางเลือกแรกต้องเสียภาษีเยอะ ก็จะเลือกให้พ่อเอาเงินไปฝากประจำไม่ก็ซื้อพันธบัตร แล้วค่อยไปขอพ่อใช้เป็นครั้งคราวเอา (ทุกวันนี้พ่อก็ให้เรื่อยๆอยู่แล้ว ให้ไปลงทุนบ้างอะไรบ้าง) ส่วนเรื่องหุ้นก็ดูเหมือนจะสนใจ แต่ด้วยไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ก็เลยเหมือนจะมองผ่านไป
พ่อจะยกเงินขายที่ให้ลูก ลูกต้องยื่นเสียภาษีไหม
คำอธิบายเพิ่มเติม(หาจากเน็ต) - หนึ่ง การให้ด้วยการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ซึ่งก็จะหมายถึงหน้าที่ตามศีลธรรมและวัฒนธรรมไทย หรือหน้าที่ตามกฎหมาย อย่างเช่น ลูกควรต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ และคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่ลูกของตน อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาว่าจะเป็นการอุปการะหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากฐานะความเป็นอยู่ของผู้ให้การอุปการะและผู้รับการอุปการะว่าเป็นหน้าที่ที่จะอุปการะหรือไม่อย่างไร
- สอง การให้ทางมรดก ผู้ที่ได้รับทรัพย์สิน เงินทองโดยมรดก ก็ดูจะไม่ค่อยมีปัญหาในทางปฎิบัติเพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องเป็นเงินได้จากการรับมรดกเท่านั้นจึงได้รับยกเว้น
- สาม เงินได้ที่ได้รับจากการให้เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี กรณีนี้อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าเป็นการให้ด้วยความรักที่ไม่หวังประโยชน์การตอบแทน ดังนั้นหากผู้รับการให้มีหน้าที่ต้องกระทำการสิ่งใดตอบแทนผู้ให้แล้ว การให้นั้นก็จะไม่ใช่การให้ด้วยความรัก ด้วยเสน่หาที่จะได้รับยกเว้นภาษี อีกอย่างที่ถือเป็นสาระก็คือของที่ให้เนื่องในโอกาสที่ว่านี้จะต้องมีมูลค่าไม่เกินสมควร
เรื่องของเรื่องคือ เมื่อตอนเย็นที่ผ่านมาผมนัดสังสรรค์กับเพื่อนๆตามปกติ แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า มีคนมาขอซื้อที่ของพ่อประมาณ 200 ล้านบาท (อยู่ระหว่างเจรจา) พ่อบอกว่าถ้าขายแปลงนี้ได้จะยกเงินให้ลูก(3 คน)ทั้งหมด โดยจะให้คนซื้อออกเช็คเป็นชื่อลูกคนละใบ (คนละ 60 กว่าล้าน) ทีนี้ก็มีเพื่อนอีกคนหนึ่งโพล่งมาว่า แบบนี้ไม่เสียภาษีบานเหรอ แล้วก็เปิดเน็ตให้ดูประมวลรัษฎากร(ด้านบน) อ่านกันไปก็ งง กันไปไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพื่อนคนที่จะได้เงินก็กังวลเหมือนกัน คนที่บอกว่าต้องเสียภาษีก็แนะนำว่า ก็ยังไม่ต้องเอาเงินหรอกใส่บัญชีพ่อไว้แล้วค่อยรับมรดกเอา ระหว่างนั้นก้ไปขอพ่อใช้เอาเป็นครั้งคราวแทน หรือถ้าจะรีบใช้เงินก็ให้พ่อไปซื้อหุ้นก้ได้ แล้วพ่อก้ขายหุ้นให้ลูก เสียแต่ค่าธรรมเนียม (เงินที่ซื้อก็เงินพ่อนั่นแหละ) จริงๆเขาก็แนะนำอีกหลายอย่างนะ แต่ฟังไปก็ งง บ้าง เข้าใจบ้าง
จากเหตุการณ์ดังกล่าว เลยเกิดคำถามดังนี้
- สรุปว่าถ้าพ่อให้เงินลูกตามที่ตั้งใจแต่แรก ลูกจะต้องเสียภาษีเงินได้ไหม ถ้าเสียต้องเสียประมาณเท่าไหร่ (ถ้าเสียเยอะมากสงสัยจะยังไม่มีใครเอาเงินแน่เลย เพราะทุกคนก็มีรายได้ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว)
- คำอธิบายตาม ข้อสาม "อีกอย่างที่ถือเป็นสาระก็คือของที่ให้เนื่องในโอกาสที่ว่านี้จะต้องมีมูลค่าไม่เกินสมควร" คำว่า มูลค่าไม่เกินสมควร นี่ประมาณเท่าไหร่ ลองหาดูแล้วก็ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน (กรณีที่พ่อจะให้เงินลูกตามโอกาสต่างๆ เช่น วันเกิด ปีใหม่ วันพ่อ ฯลฯ)
- ถ้าซื้อเป็นหุ้นตามที่เพื่อนอีกคนแนะนำ ทำได้โดยไม่ต้องเสียภาษีจริงหรือ และทำได้ยากแค่ไหน
- เรื่องแบบนี้ไปปรึกษาใครดี ระหว่าง ทนาย กับ เจ้าหน้าที่สรรพากร (หรือใครมีความรู้เรื่องนี้ช่วยแนะนำเบื้องต้นได้จะดีมากครับ) จริงๆผมแนะนำว่าให้ไปปรึกษา เจ้าหน้าที่สรรพากร เพราะเขามีหน้าที่โดยตรงน่าจะตอบได้กระจ่างกว่า แต่เพื่อนบอกว่าให้ไปปรึกษาคนเก็บภาษี เพื่อให้ไม่ต้องเสียภาษีนี่ก็ยังไงๆอยู่นา เลยว่าจะไปปรึกษา ทนาย ดู แต่ผมเห็นว่าห้องนี้มีทนายอยู่หลายคน ก้เลยมาตั้งดูเผื่อได้คำตอบหรือคำแนะนำบ้าง
แต่เท่าที่คุยกับเพื่อนดู ถ้าทางเลือกแรกต้องเสียภาษีเยอะ ก็จะเลือกให้พ่อเอาเงินไปฝากประจำไม่ก็ซื้อพันธบัตร แล้วค่อยไปขอพ่อใช้เป็นครั้งคราวเอา (ทุกวันนี้พ่อก็ให้เรื่อยๆอยู่แล้ว ให้ไปลงทุนบ้างอะไรบ้าง) ส่วนเรื่องหุ้นก็ดูเหมือนจะสนใจ แต่ด้วยไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ก็เลยเหมือนจะมองผ่านไป