"จื่อหนานเจิน" หรือเข็มทิศเป็นหนึ่งในสี่ของสิ่งประดิษฐ์สำคัญของจีนโบราณ เข็มทิศมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี ปรากฏครั้งแรกในยุคจั้นกว๋อ(รัฐสงคราม)
เข็มทิศในยุคแรกทำจากหินแม่เหล็กธรรมชาติ รูปร่างคล้ายช้อนที่มีพื้นด้านล่างเรียบและมัน สามารถหมุนได้อย่างอิสระบน "ตี้ผาน" (จานบ่งทิศทาง) ซึ่งทำจากทองแดงหรือไม้ เมื่อเข็มทิศที่หมุนหยุดนิ่งแล้ว ส่วนที่เหมือนคันช้อนของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศใต้เสมอ ดังนั้นเข็มทิศจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ซือหนาน" (เข็มชี้ทิศใต้)
จีนไม่เพียงแต่เป็นชาติแรกของโลกที่ประดิษฐ์เข็มทิศขึ้น แต่ยังเป็นชาติแรกที่นำเข็มทิศไปใช้ในการเดินเรืออีกด้วย ปลายศตวรรษที่ 11 ได้มีการเริ่มนำเข็มทิศไปใช้ในการเดินเรือ เมื่อเข็มทิศใช้กันแพร่หลายมากขึ้นก็มีการปรับปรุงรูปลักษณ์ของเข็มทิศให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้เริ่มมีการประกอบเข็มทิศจากเข็มแม่เหล็กเข้ากับฐานซึ่งได้ขีดเส้นแบ่งทิศทางต่างๆ ไว้ เข็มทิศชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "หลัวผาน" ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวนก็มีผู้ประดิษฐ์เข็มทิศแบบตั้งขึ้น เรียกว่า "จื่อหนานกุย" (เต่าชี้ทิศ) และ "จื่อหนานอี๋ว์" (ปลาชี้ทิศ)
คุณูปการที่สำคัญที่สุดของเข็มทิศคือประโยชน์ใช้สอยในกิจการเดินเรือ การใช้เข็มทิศมีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเทคนิคการเดินเรือ ส่งผลให้กิจการเดินเรือได้รับการพัฒนาและมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของกิจการเดินเรือของมนุษยชาติ ในสมัยซ่งใต้ พ่อค้าชาวอาหรับและชาวเปอร์เซียที่โดยสารเรือประมงของจีนบ่อยๆ กลุ่มหนึ่งได้เรียนรู้วิธีการประดิษฐ์เข็มทิศและนำความรู้ดังกล่าวเผยแพร่ไปสู่โลกตะวันตก ต่อมาช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ต้นศตวรรษที่ 13 ประเทศอาหรับและยุโรปจึงได้เริ่มใช้เข็มทิศในการเดินเรือ ซึ่งเป็นเวลาให้หลังจากจีนถึงร้อยกว่าปี
ที่มา :
http://thai.cri.cn/learnchinese/lesson06/6.html
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world
กําเนิดเข็มทิศ
"จื่อหนานเจิน" หรือเข็มทิศเป็นหนึ่งในสี่ของสิ่งประดิษฐ์สำคัญของจีนโบราณ เข็มทิศมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี ปรากฏครั้งแรกในยุคจั้นกว๋อ(รัฐสงคราม)
เข็มทิศในยุคแรกทำจากหินแม่เหล็กธรรมชาติ รูปร่างคล้ายช้อนที่มีพื้นด้านล่างเรียบและมัน สามารถหมุนได้อย่างอิสระบน "ตี้ผาน" (จานบ่งทิศทาง) ซึ่งทำจากทองแดงหรือไม้ เมื่อเข็มทิศที่หมุนหยุดนิ่งแล้ว ส่วนที่เหมือนคันช้อนของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศใต้เสมอ ดังนั้นเข็มทิศจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ซือหนาน" (เข็มชี้ทิศใต้)
จีนไม่เพียงแต่เป็นชาติแรกของโลกที่ประดิษฐ์เข็มทิศขึ้น แต่ยังเป็นชาติแรกที่นำเข็มทิศไปใช้ในการเดินเรืออีกด้วย ปลายศตวรรษที่ 11 ได้มีการเริ่มนำเข็มทิศไปใช้ในการเดินเรือ เมื่อเข็มทิศใช้กันแพร่หลายมากขึ้นก็มีการปรับปรุงรูปลักษณ์ของเข็มทิศให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้เริ่มมีการประกอบเข็มทิศจากเข็มแม่เหล็กเข้ากับฐานซึ่งได้ขีดเส้นแบ่งทิศทางต่างๆ ไว้ เข็มทิศชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "หลัวผาน" ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวนก็มีผู้ประดิษฐ์เข็มทิศแบบตั้งขึ้น เรียกว่า "จื่อหนานกุย" (เต่าชี้ทิศ) และ "จื่อหนานอี๋ว์" (ปลาชี้ทิศ)
คุณูปการที่สำคัญที่สุดของเข็มทิศคือประโยชน์ใช้สอยในกิจการเดินเรือ การใช้เข็มทิศมีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเทคนิคการเดินเรือ ส่งผลให้กิจการเดินเรือได้รับการพัฒนาและมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของกิจการเดินเรือของมนุษยชาติ ในสมัยซ่งใต้ พ่อค้าชาวอาหรับและชาวเปอร์เซียที่โดยสารเรือประมงของจีนบ่อยๆ กลุ่มหนึ่งได้เรียนรู้วิธีการประดิษฐ์เข็มทิศและนำความรู้ดังกล่าวเผยแพร่ไปสู่โลกตะวันตก ต่อมาช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ต้นศตวรรษที่ 13 ประเทศอาหรับและยุโรปจึงได้เริ่มใช้เข็มทิศในการเดินเรือ ซึ่งเป็นเวลาให้หลังจากจีนถึงร้อยกว่าปี
ที่มา : http://thai.cri.cn/learnchinese/lesson06/6.html
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world