บทเรียนที่ได้จาก พรบ. นิรโทษกรรมฯ สุดซอย

คัดค้านกันจนลั่นทุ่งพระสุเมรุไปแล้ว  ต่อไปก็เชิญชวนให้ออกความเห็นว่า  จากการคัดค้าน พรบ. ฉบับสุดซอย หรือเหมาเข่งนั้น  มีนัยบ่งบอกถึงความเห็นของประชาชนฯ ต่อสิ่งอันใดบ้าง

ส่วนตัวเห็นว่า  
1)   ประชาชนฯ  ไม่ต้องการให้เกิดการล้างผิดของนักการเมืองในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตฯ และถึงที่สุดไปแล้ว  แม้ว่า..กระบวนการพิจารณาความผิดกับผลที่ได้นั้น..จะขัดต่อหลักนิติธรรม..หรือไม่  ก็ตาม

2)   ประชาชนฯ  ต้องการให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อประชาชน และประเทศชาติ...ไปจนถึงที่สุด  แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้น..จะเป็นแค่ผู้มาชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ.....กลับถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนพระราชกำหนดสถานะการณ์ฉุกฉินฯ..ก็ตาม

3)   ประชาชนฯ  ไม่ต้องการให้นิรโทษต่อผู้สั่งการ ผู้ก่อให้เกิดการชุมนุมฯ ไม่ว่าสีใดก็ตาม  พวกเหล่านั้น..สมควรที่จะได้รับการพิจาณาและลงโทษตามโทษาณุโทษที่กระทำแต่ละบุคคลไป   เพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีและก่อให้เกิดประเพณีเกี่ยวกับการต่อต้านแบบการเมืองข้างถนน

4)   ประชาชนฯ  ไม่ต้องการให้ผู้ที่สั่งฆ่า หรือผู้ก่อการให้เกิดการฆ่า ที่กระทำผู้ชุมนุมเรียกร้องโดยปราศจากอาวุธ  90 กว่าศพ  รวมถึงการกระทำที่มีต่อผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน  แม้ว่า...ผลการพิจาารณาโทษ..จะดูเลื่อนลอยไร้ความหวัง..ก็ตาม

5)  ประชาชนฯ ไม่ต้องการให้นักการเมือง มองว่า  การใช้เสียงข้างมากโหวตผ่านกฎหมายแบบลักลอบ (ตอนตี 4) และแบบตีกินรวบรัด  เป็นการกระทำที่ถูกต้อง  สมควรระลึกไว้ในสมองอันน้อยนิดด้วย

6)  ......................................

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  บทเรียนที่ได้ในครั้งนี้  จะทำให้นักการเมือง(ไม่ว่าฝ่ายใด)  ได้ใช้เป็นเครื่องเตือนความจำ และอย่าได้กระทำการอันใดที่เป็นการดูหมิ่นดูแคลนประชาชน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่