โฆษกศาลยุติธรรม-อดีตอธ.ผู้พิพากษาศาลอาญา ระบุ"กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน"63 ราย ลงชื่อแสดงความเห็นหรือคัดค้าน"ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย"ได้ในฐานะประชาชน ย้ำต้องไม่กระทบหน้าที่-เกียรติผู้พิพากษา
วันนี้ (6 พ.ย.) นายทวี ประจวบลาภ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9 อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เปิดเผยว่า กรณีที่ผู้พิพากษา “กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน” จำนวน 63 ราย ได้ร่วมลงชื่อและแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ
เป็นการส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือกระทำในนามองค์กรศาล เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นั้นเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของบ้านเมือง ทุกคนมีความรู้สึกร่วมกันที่จะปล่อยเรื่องนี้ผ่านไปไม่ได้ จึงต้องแสดงออกมา
ในฐานะส่วนตัว ไม่ใช่ในนามสถาบัน เมื่อเป็นการแสดงออกโดยสุจริต ก็เห็นว่ากระทำได้ ร่างกฎหมายนี้ไม่ใช่ของรัฐบาลโดยตรง แต่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.บางส่วน และผ่านสภามาแล้ว กำลังจะเข้าวุฒิสภา หากวุฒิสภาไม่เอา แต่ทางฝ่ายส.ส.ยืนยัน เท่ากับกฎหมายนี้ผ่านไปโดยอัตโนมัติ สังคมจึงหวังไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่เอาด้วยกับรัฐบาลมาแล้ว แต่กว่าจะผ่านศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องใช้เวลานาน ความรู้สึกของคนมันรอไม่ได้ จึงมีการแสดงออกมาจากทุกภาคส่วนแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงมาก
รัฐบาลประเมินสถานการณ์ผิดพลาด ความจริงกฎหมายฉบับนี้ใครก็รู้ว่ามีปัญหาแน่ เพราะเป็นการแก้ไขกฎหมายให้กว้างขึ้นและทำอย่างเร่งรัด คล้ายกับมีพฤติการณ์ท้าทายประชาชน โดยไม่สนใจใยดีไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะตามมา ทำให้เกิดปัญหาอย่างที่เห็น ตนกังวลว่าจะมีกลุ่มบุคคลที่อาศัยสถานการณ์นี้ ฉวยโอกาสสร้างปัญหาตามมาได้ ดังนั้นรัฐบาลและส.ส.บางส่วน ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ โดยต้องนำความสงบสุขกลับมาสู่บ้านเมือง และเหตุการณ์นี้ไม่ว่าจะผ่านไปอย่างใด ตนเชื่อว่าจะเกิดความสงบสุขตามมาอีกนาน เพราะรัฐบาลจะทำอะไรต้องคิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ
นายบวรศักดิ์ ทวิพัฒน์ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า กรณีผู้พิพากษาจำนวน 63 ราย ซึ่งใช้นาม“กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน”แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนั้น ควรต้องคำนึงถึงว่าผู้พิพากษาจะมี 2 ฐานะ ฐานะแรกคือในฐานะประชาชน จึงย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้โดยสุจริตภายใต้กรอบของกฎหมาย ส่วนอีกฐานะหนึ่ง คือการเป็นผู้พิพากษาซึ่งจะต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณะจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติของผู้พิพากษา ดังนั้นหากผู้พิพากษาทั้ง 63 รายแสดงความคิดเห็นในฐานะประชาชนแล้วก็ย่อมสามารถกระทำได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000138481
อ้าวนึกว่าในฐานะ สลิ่ม เข้าใจผิดตั้งนาน
โฆษกศาลฯ ยัน"63 ตุลาการ"ค้านนิรโทษฯในฐานะปชช.
โฆษกศาลยุติธรรม-อดีตอธ.ผู้พิพากษาศาลอาญา ระบุ"กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน"63 ราย ลงชื่อแสดงความเห็นหรือคัดค้าน"ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย"ได้ในฐานะประชาชน ย้ำต้องไม่กระทบหน้าที่-เกียรติผู้พิพากษา
วันนี้ (6 พ.ย.) นายทวี ประจวบลาภ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9 อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เปิดเผยว่า กรณีที่ผู้พิพากษา “กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน” จำนวน 63 ราย ได้ร่วมลงชื่อและแสดงความคิดเห็นโดยอิสระเป็นการส่วนตัว ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือกระทำในนามองค์กรศาล เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นั้นเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของบ้านเมือง ทุกคนมีความรู้สึกร่วมกันที่จะปล่อยเรื่องนี้ผ่านไปไม่ได้ จึงต้องแสดงออกมาในฐานะส่วนตัว ไม่ใช่ในนามสถาบัน เมื่อเป็นการแสดงออกโดยสุจริต ก็เห็นว่ากระทำได้ ร่างกฎหมายนี้ไม่ใช่ของรัฐบาลโดยตรง แต่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.บางส่วน และผ่านสภามาแล้ว กำลังจะเข้าวุฒิสภา หากวุฒิสภาไม่เอา แต่ทางฝ่ายส.ส.ยืนยัน เท่ากับกฎหมายนี้ผ่านไปโดยอัตโนมัติ สังคมจึงหวังไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่เอาด้วยกับรัฐบาลมาแล้ว แต่กว่าจะผ่านศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องใช้เวลานาน ความรู้สึกของคนมันรอไม่ได้ จึงมีการแสดงออกมาจากทุกภาคส่วนแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงมาก
รัฐบาลประเมินสถานการณ์ผิดพลาด ความจริงกฎหมายฉบับนี้ใครก็รู้ว่ามีปัญหาแน่ เพราะเป็นการแก้ไขกฎหมายให้กว้างขึ้นและทำอย่างเร่งรัด คล้ายกับมีพฤติการณ์ท้าทายประชาชน โดยไม่สนใจใยดีไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะตามมา ทำให้เกิดปัญหาอย่างที่เห็น ตนกังวลว่าจะมีกลุ่มบุคคลที่อาศัยสถานการณ์นี้ ฉวยโอกาสสร้างปัญหาตามมาได้ ดังนั้นรัฐบาลและส.ส.บางส่วน ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ โดยต้องนำความสงบสุขกลับมาสู่บ้านเมือง และเหตุการณ์นี้ไม่ว่าจะผ่านไปอย่างใด ตนเชื่อว่าจะเกิดความสงบสุขตามมาอีกนาน เพราะรัฐบาลจะทำอะไรต้องคิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ
นายบวรศักดิ์ ทวิพัฒน์ โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า กรณีผู้พิพากษาจำนวน 63 ราย ซึ่งใช้นาม“กลุ่มตุลาการผู้รักแผ่นดิน”แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนั้น ควรต้องคำนึงถึงว่าผู้พิพากษาจะมี 2 ฐานะ ฐานะแรกคือในฐานะประชาชน จึงย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้โดยสุจริตภายใต้กรอบของกฎหมาย ส่วนอีกฐานะหนึ่ง คือการเป็นผู้พิพากษาซึ่งจะต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณะจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติของผู้พิพากษา ดังนั้นหากผู้พิพากษาทั้ง 63 รายแสดงความคิดเห็นในฐานะประชาชนแล้วก็ย่อมสามารถกระทำได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000138481
อ้าวนึกว่าในฐานะ สลิ่ม เข้าใจผิดตั้งนาน