โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักวิเคราะห์ฟันธงเฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี เหตุเปลี่ยนผู้นำ-ปิดหน่วยงานรัฐ
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันอังคาร-วันพุธนี้ ขณะนักวิเคราะห์คาดว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมครั้งนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดรอดูข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบมากเพียงใดจากความขัดแย้งด้านงบประมาณ
นักวิเคราะห์คาดว่า เฟดอาจจะคงนโยบายการเงินตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ซึ่งหมายความว่าเฟดจะคงนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค.ด้วยเช่นกัน
ขณะนี้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
นายสก็อต บราวน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเรย์มอนด์ เจมส์ กล่าวว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดวงเงินในมาตรการคิวอีในการประชุมประจำวันที่ 28-29 ม.ค. 2557 หรือ 18-19 มี.ค. 2557 และ โอกาสที่เฟดจะปรับลดขนาดคิวอีในเดือนธ.ค.ปีนี้ อยู่ในระดับต่ำกว่า 50%
หลังจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐปิดทำการในวันที่ 1-16 ต.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาด โดยการจ้างงานชะลอตัวในเดือนก.ย. และแผนการลงทุนทางธุรกิจก็อยู่ในภาวะแย่ลง
ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบในระยะยาว หลังจากนักการเมืองสหรัฐปฏิเสธที่จะปรับเพิ่มเพดานหนี้จนกระทั่งถึงนาทีสุดท้าย โดยข้อตกลงหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในครั้งนี้ส่งผลให้มีการเลื่อนความขัดแย้งกันในเรื่องงบประมาณออกไปจนถึงต้นปีหน้า
การปิดหน่วยงานรัฐบาลเป็นอุปสรรคขัดขวางการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจในเดือนต.ค. ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายของเฟดจึงไม่สามารถประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจนในระยะนี้
นอกเหนือจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจแล้ว เจ้าหน้าที่ยังลังเลที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย เนื่องจากเฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำด้วย โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้เสนอชื่อนางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดในปัจจุบัน เพื่อให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ต่อจากนายเบน เบอร์นันกี้ ที่วาระการดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลงในเดือนม.ค. 2557
การที่เฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำ ส่งผลให้มีโอกาสน้อยมากที่เฟดจะปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าเรื่องอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้
นายดีน มากิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของธนาคารบาร์เคลย์ส กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะมองหาเหตุผลอันน่าเชื่อถือใดๆในการทำให้เฟดปรับเปลี่ยนนโยบายหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาสำคัญในแถลงการณ์
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) จะออกแถลงการณ์ผลการประชุมในวันพุธนี้ เวลา 14.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือคืนวันพุธเวลา 01.00 น.ตามเวลาไทย
เฟดเคยสร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาดในเดือนก.ย. เมื่อเฟดเลือกที่จะคงขนาดคิวอี ไว้ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนตามเดิม หลังจากที่เฟดเคยประกาศในเดือนมิ.ย.ว่า เฟดคาดว่าจะเริ่มต้นปรับลด ขนาดคิวอีก่อนสิ้นปีนี้ และจะยุติคิวอีทั้งหมดภายในช่วงกลางปีหน้า
สัญญาณบ่งชี้ถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประชุมเฟดในเดือนก.ย.คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เฟดตัดสินใจถูกแล้วที่คงขนาดคิวอีไว้ตามเดิม นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดการณ์กันว่า เฟดจะรอจนกว่าจะถึงปีหน้าเพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวเต็มที่ ก่อนที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอี
นักวิเคราะห์กล่าวว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีในเดือนมี.ค. 2557 จากเดิมที่เคยคาดว่าจะเป็นเดือนธ.ค.ปีนี้
"เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะมีความเห็นที่ชัดเจนในขณะนี้ว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีเมื่อใด โดยเฟดต้องการจะดูว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไตรมาส 4 อย่างไรบ้าง และรอดูตัวเลขการจ้างงานอีก 2-3 เดือน"
เฟดพยายามกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการตรึงอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551 และปรับเพิ่มขนาดงบดุลขึ้นเป็น 4 เท่า สู่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน โดยใช้วิธีดำเนินมาตรการคิวอีมาแล้ว 3 รอบ
เฟดให้สัญญาว่าจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับอย่างน้อย 6.5 % และตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นเหนือ 2.5 % ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐอยู่ที่ 7.2% ในเดือนก.ย.
เกณฑ์ตัวเลขเหล่านี้คือสิ่งที่ใช้สกัดกั้นต้นทุนการกู้ยืมไม่ให้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใดก็ตามที่เฟดเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีลงในอนาคต
รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 17-18 ก.ย.แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดได้หารือกันเกี่ยวกับการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่สัญญาณชี้นำล่วงหน้าในการประชุมครั้งนั้น โดยเฟดอาจใช้วิธีปรับเกณฑ์อัตราการว่างงานให้ต่ำลง หรือให้สัญญาว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ถ้าหากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับต่ำสุดที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ดี รายงานการประชุมเฟดแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า เจ้าหน้าที่เฟดได้อภิปรายกันในประเด็นที่ว่า การปรับสัญญาณชี้นำล่วงหน้าจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ในช่วงก่อนการเปลี่ยนตัวผู้นำเฟด โดยสิ่งนี้ถือเป็นการยอมรับในทางอ้อมว่าภาระผูกพันที่นายเบอร์นันกี้ได้ทำไว้อาจจะไม่มีผลผูกพันต่อตัวประธานเฟดคนใหม่
นับตั้งแต่การประชุมเฟดในวันที่ 17-18 ก.ย.เป็นต้นมา การคาดการณ์เรื่องกำหนดเวลาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดก็ถูกเลื่อนออกไปสู่เดือน เม.ย. 2558 ซึ่งหมายความว่าผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าในช่วงนี้
ขณะนี้ตลาดปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนอาจอยู่ที่ 0.685 % ในเดือนม.ค. 2559 โดยลดลงจาก 0.895 % เมื่อหนึ่งเดือนก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยจำนองดิ่งลงในเวลาเดียวกัน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงสู่ 2.5 % ในช่วงนี้ จากระดับสูงเกือบถึง 3.0 % ในช่วงต้นเดือนก.ย.
นายไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ กล่าวว่า "ตลาดไม่ได้คาดการณ์ในสิ่งที่สวนทางกับแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณออกมา ดังนั้นเจ้าหน้าที่เฟดจึงไม่มีความจำเป็นมากนักในการปรับเปลี่ยนสิ่งใดในขณะนี้"
ในการประชุมเดือนก.ย. มีเจ้าหน้าที่เฟด 12 จาก 18 ราย เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไม่น่าจะเกิดขึ้นจนกว่าจะถึงปี 2558
นักวิเคราะห์ฟันธงเฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี
นักวิเคราะห์ฟันธงเฟดคงคิวอีถึงสิ้นปี เหตุเปลี่ยนผู้นำ-ปิดหน่วยงานรัฐ
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันอังคาร-วันพุธนี้ ขณะนักวิเคราะห์คาดว่าเฟดไม่มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมครั้งนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดรอดูข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบมากเพียงใดจากความขัดแย้งด้านงบประมาณ
นักวิเคราะห์คาดว่า เฟดอาจจะคงนโยบายการเงินตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ซึ่งหมายความว่าเฟดจะคงนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค.ด้วยเช่นกัน
ขณะนี้เฟดดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
นายสก็อต บราวน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทเรย์มอนด์ เจมส์ กล่าวว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดวงเงินในมาตรการคิวอีในการประชุมประจำวันที่ 28-29 ม.ค. 2557 หรือ 18-19 มี.ค. 2557 และ โอกาสที่เฟดจะปรับลดขนาดคิวอีในเดือนธ.ค.ปีนี้ อยู่ในระดับต่ำกว่า 50%
หลังจากหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐปิดทำการในวันที่ 1-16 ต.ค. สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาด โดยการจ้างงานชะลอตัวในเดือนก.ย. และแผนการลงทุนทางธุรกิจก็อยู่ในภาวะแย่ลง
ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบในระยะยาว หลังจากนักการเมืองสหรัฐปฏิเสธที่จะปรับเพิ่มเพดานหนี้จนกระทั่งถึงนาทีสุดท้าย โดยข้อตกลงหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในครั้งนี้ส่งผลให้มีการเลื่อนความขัดแย้งกันในเรื่องงบประมาณออกไปจนถึงต้นปีหน้า
การปิดหน่วยงานรัฐบาลเป็นอุปสรรคขัดขวางการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจในเดือนต.ค. ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายของเฟดจึงไม่สามารถประเมินภาพรวมทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจนในระยะนี้
นอกเหนือจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจแล้ว เจ้าหน้าที่ยังลังเลที่จะปรับเปลี่ยนนโยบาย เนื่องจากเฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำด้วย โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้เสนอชื่อนางเจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟดในปัจจุบัน เพื่อให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ต่อจากนายเบน เบอร์นันกี้ ที่วาระการดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลงในเดือนม.ค. 2557
การที่เฟดกำลังจะเปลี่ยนตัวผู้นำ ส่งผลให้มีโอกาสน้อยมากที่เฟดจะปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าเรื่องอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้
นายดีน มากิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐของธนาคารบาร์เคลย์ส กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะมองหาเหตุผลอันน่าเชื่อถือใดๆในการทำให้เฟดปรับเปลี่ยนนโยบายหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาสำคัญในแถลงการณ์
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) จะออกแถลงการณ์ผลการประชุมในวันพุธนี้ เวลา 14.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือคืนวันพุธเวลา 01.00 น.ตามเวลาไทย
เฟดเคยสร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาดในเดือนก.ย. เมื่อเฟดเลือกที่จะคงขนาดคิวอี ไว้ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนตามเดิม หลังจากที่เฟดเคยประกาศในเดือนมิ.ย.ว่า เฟดคาดว่าจะเริ่มต้นปรับลด ขนาดคิวอีก่อนสิ้นปีนี้ และจะยุติคิวอีทั้งหมดภายในช่วงกลางปีหน้า
สัญญาณบ่งชี้ถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประชุมเฟดในเดือนก.ย.คือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เฟดตัดสินใจถูกแล้วที่คงขนาดคิวอีไว้ตามเดิม นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดการณ์กันว่า เฟดจะรอจนกว่าจะถึงปีหน้าเพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวเต็มที่ ก่อนที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอี
นักวิเคราะห์กล่าวว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีในเดือนมี.ค. 2557 จากเดิมที่เคยคาดว่าจะเป็นเดือนธ.ค.ปีนี้
"เฟดไม่มีแนวโน้มที่จะมีความเห็นที่ชัดเจนในขณะนี้ว่าเฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีเมื่อใด โดยเฟดต้องการจะดูว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไตรมาส 4 อย่างไรบ้าง และรอดูตัวเลขการจ้างงานอีก 2-3 เดือน"
เฟดพยายามกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานด้วยการตรึงอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับใกล้ 0 % นับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2551 และปรับเพิ่มขนาดงบดุลขึ้นเป็น 4 เท่า สู่ 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน โดยใช้วิธีดำเนินมาตรการคิวอีมาแล้ว 3 รอบ
เฟดให้สัญญาว่าจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับอย่างน้อย 6.5 % และตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นเหนือ 2.5 % ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐอยู่ที่ 7.2% ในเดือนก.ย.
เกณฑ์ตัวเลขเหล่านี้คือสิ่งที่ใช้สกัดกั้นต้นทุนการกู้ยืมไม่ให้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใดก็ตามที่เฟดเริ่มต้นปรับลดขนาดคิวอีลงในอนาคต
รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 17-18 ก.ย.แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดได้หารือกันเกี่ยวกับการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่สัญญาณชี้นำล่วงหน้าในการประชุมครั้งนั้น โดยเฟดอาจใช้วิธีปรับเกณฑ์อัตราการว่างงานให้ต่ำลง หรือให้สัญญาว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ถ้าหากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าระดับต่ำสุดที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ดี รายงานการประชุมเฟดแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า เจ้าหน้าที่เฟดได้อภิปรายกันในประเด็นที่ว่า การปรับสัญญาณชี้นำล่วงหน้าจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ในช่วงก่อนการเปลี่ยนตัวผู้นำเฟด โดยสิ่งนี้ถือเป็นการยอมรับในทางอ้อมว่าภาระผูกพันที่นายเบอร์นันกี้ได้ทำไว้อาจจะไม่มีผลผูกพันต่อตัวประธานเฟดคนใหม่
นับตั้งแต่การประชุมเฟดในวันที่ 17-18 ก.ย.เป็นต้นมา การคาดการณ์เรื่องกำหนดเวลาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดก็ถูกเลื่อนออกไปสู่เดือน เม.ย. 2558 ซึ่งหมายความว่าผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสัญญาณชี้นำล่วงหน้าในช่วงนี้
ขณะนี้ตลาดปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนอาจอยู่ที่ 0.685 % ในเดือนม.ค. 2559 โดยลดลงจาก 0.895 % เมื่อหนึ่งเดือนก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยจำนองดิ่งลงในเวลาเดียวกัน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงสู่ 2.5 % ในช่วงนี้ จากระดับสูงเกือบถึง 3.0 % ในช่วงต้นเดือนก.ย.
นายไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ กล่าวว่า "ตลาดไม่ได้คาดการณ์ในสิ่งที่สวนทางกับแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณออกมา ดังนั้นเจ้าหน้าที่เฟดจึงไม่มีความจำเป็นมากนักในการปรับเปลี่ยนสิ่งใดในขณะนี้"
ในการประชุมเดือนก.ย. มีเจ้าหน้าที่เฟด 12 จาก 18 ราย เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไม่น่าจะเกิดขึ้นจนกว่าจะถึงปี 2558