ผลพวงแฉล็อกสเปก TOR รถเมล์ NGV สะเทือนค่ายรถญี่ปุ่นรายใหญ่ เร่งหาทางออกหวั่นเสี่ยงถูกตรวจสอบเรื่องใช้แชสซีส์รถบรรทุกมาดัดแปลง จับตา ขสมก.ยื้อเวลาเอื้อประโยชน์ ขณะที่ค่ายรถเกาหลีดอดคุยขอเอี่ยวยื่นแบบถูกเงื่อนไข ด้านอนุฯ ป.ป.ช.ยันราคากลางประมูลรถเมล์ NGV ยังไม่ชัดเจน สับ ขสมก.ไม่โปร่งใส เสนอให้ปรับเพื่อได้ของดี มีคุณภาพ ด้าน ขสมก.ประกาศ TOR ขึ้นเว็บครั้งที่ 5 คาดครั้งสุดท้าย
แหล่งข่าวในวงการผู้ผลิตรถเปิดเผยว่า หลังจากมีการประชาพิจารณ์ในเรื่องการล็อกสเปกเพื่อให้นำแชสซีส์รถบรรทุกมา ดัดแปลงในโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ล่าสุดทางค่ายรถรายใหญ่ของญี่ปุ่นซึ่งมีกระแสข่าวว่าจะได้รับสัญญาในส่วนของ รถโดยสารธรรมดา 1,659 คันไปทั้งหมดนั้น ได้มีการประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ หาทางออก และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนติดตั้งเครื่องยนต์ CNG ในรถโดยสารของแท้แทน ซึ่งจะใช้เวลามากขึ้นอีก 1-2 เดือน และส่งผลให้ต้นทุนตัวรถเพิ่มอีกประมาณ 2 แสนบาทต่อคัน ซึ่งจะต้องจับตาดูว่าในส่วน ขสมก.จะมีการขยายเวลาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้หรือไม่ โดยล่าสุดได้เลื่อนการประมูลออกไปเป็นเดือน ม.ค. 57 และในขณะเดียวกัน ในแวดวงผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ให้ข้อมูลว่า มีค่ายรถรายใหญ่จากเกาหลีเข้ามาเพื่อขอแบ่งสัญญารถร้อนแล้ว เพราะในส่วนของ ขสมก.คงจะไม่มีแก้ TOR แน่นอน เพราะกำหนดโดยอ้างอิงกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก
รถเมล์ปรับอากาศสาย 551 ด้านนายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวัง โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมได้รับทราบการทำงานและข้อคิดเห็นของอนุฯ ป.ป.ช.ในโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นความเห็นที่อนุฯ ป.ป.ช.ได้เสนอไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แล้วว่าไม่เห็นด้วยในเรื่องอะไรบ้าง เช่น การกำหนดราคากลาง รถธรรมดา 3.8 ล้านบาท/คัน รถปรับอากาศ 4.5 ล้านบาท/คัน ว่ามีที่มาและรายละเอียดไม่ชัดเจน, ควรกำหนดให้มีรถขนาด 10 เมตรเพิ่มเติมเพื่อหมุนเวียนการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและทำให้ประหยัดวงเงิน จัดหาได้ถึง 25-30% คิดเป็นเงินหลายพันล้านบาท
“ในส่วนของ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ยังไม่เคยมีมติเห็นด้วยใดๆ กับโครงการ และต้องยอมรับว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย ป.ป.ช.เน้นไปที่เรื่องงานประมูลก่อสร้างว่าจะต้องมีรายละเอียดของต้นทุน ชัดเจน แต่เรื่องซื้อรถเมล์ไม่มีจึงกลายเป็นช่องว่างจึงกำหนดราคากลางทั้งคัน ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจคือราคากลางกำหนดไม่ชัดเจนเพราะในหลักต้องนำเข้าแช สซีส์ และเครื่องยนต์มาประกอบในประเทศ โดยคิดภาษีและกำไร ซึ่งอนุฯ ป.ป.ช.แนะให้ กก.ร่าง TOR ควรให้ผู้เสนอราคาแยกต้นทุนแชสซีส์ เครื่องยนต์ ตัวถัง เพื่อจะได้รู้ราคาขายที่เหมาะสมที่สุด ราคากลางที่ ขสมก.เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และยึดถือมาตลอดว่าถูกต้องนั้น ในความเป็นจริง ขสมก.บอกรายละเอียดไม่ได้เลย แต่เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตได้อ้างว่าถามมาจากเอกชน โดยใช้วิธีส่งหนังสือไปสะท้อนถึงวิธีการทำงานที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นมืออาชีพตั้งแต่แรก” นายไพโรจน์กล่าว
โดยอนุฯ ป.ป.ช.ได้เสนอให้ระบุเป็น Original Design และให้เปลี่ยนวิธีการประมูลเป็นแบบทั่วไป หรือวิธีพิเศษที่พิจารณาจากข้อเสนอคุณสมบัติและราคา เป้าหมายเพื่อให้ได้รถที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา ขสมก.ไม่สามารถชี้แจงข้อกังขาใดๆ ที่อนุฯ ป.ป.ช.ให้ความเห็นไปได้ รวมถึงไม่มีการปรับ TOR ให้มีความชัดเจนขึ้น
ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ทั้งนี้ ขสมก.ได้ประกาศร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ผ่านเว็บไซต์เพื่อรับฟังความคิดเห็นตามขั้นตอนการประกวดราคาด้วยวิธีทาง อิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15-18 ตุลาคม 2556 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ จากการประกาศครั้งที่ 4
โดยนายอรุณ ลีธนาโชค ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ธนบุรี บัส บอดี้ จำกัด กล่าวว่า ได้ส่งความเห็นประชาวิจารณ์ร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน 3,183 คัน โดยย้ำประเด็นเกี่ยวกับแชสซีส์ในข้อ 2.3 (หน้า 31) และข้อ 2.3 (หน้า 36) “โครงแชสซีส์ต้องเป็นโครงแชสซีส์ใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อนทำด้วยโลหะแข็งแรง โดยเป็นแชสซีส์ที่ได้รับการออกแบบจากผู้ผลิตให้เป็นแชสซีส์รถโดยสาร และมีมาตรฐานตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และจะต้องได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบให้เป็นแชสซีส์รถโดยสารจากกรมการขนส่งทางบกก่อนการส่งมอบรถโดยสาร” ซึ่งสรุปยืนยันไม่มีการเปลี่ยนแปลงร่างคุณลักษณะของแชสซีส์ที่ใช้ยื่นเสนอ ราคาในโครงการนี้
การไม่กล้ากำหนดว่า“โครงแชสซีส์ต้องเป็นโครงแชสซีส์ที่มีพื้นฐานการออกแบบให้เป็นแชสซีส์รถ โดยสาร ไม่ได้เป็นโครงแชสซีส์ดัดแปลงจากรถบรรทุก ต้องเคยมีผลงานการใช้งานมาก่อนทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ” เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่จะยื่นเสนอราคาโดยใช้ โครงแชสซีส์ดัดแปลง และการกำหนดให้คุณลักษณะของโครงแชสซีส์ให้เป็นไปตามการประชาพิจารณ์นั้นก็ไม่ได้เป็นการล็อกสเปก หรือเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใดทั้งสิ้น เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากล และเป็นผลดีต่อประชาชนผู้เสียภาษี ทั้งความคุ้มค่าและความปลอดภัย การกำหนดคุณลักษณะของแชสซีส์ในการจัดซื้อรถโดยสารของ ขสมก.ในอดีตที่ผ่านมาก็มักกำหนดว่าจะต้องมีผลงานการใช้งานมาก่อน ก่อนหน้าที่ร่าง TOR ฉบับแรกจะออกสู่สายตาประชาชนได้มีการบอกกล่าวให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรรมการร่าง TOR ทราบ แต่คำตอบที่ได้รับคือ การกำหนดให้ต้องเป็นแชสซีส์รถโดยสารแท้ๆ ห้ามใช้แชสซีส์ดัดแปลง เป็นการล็อกสเปก ไม่ให้โอกาสแก่รถแชสซีส์ดัดแปลง
โดยจากคำประชาพิจารณ์ร่าง TOR ทั้ง 4 ฉบับ ทำให้ผู้ประกอบการรายนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการ โดยจะยื่นเอกสารขอนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อประกอบแชสซีส์รถยนต์โดยสารต่อกรมศุลกากร เป็นการประกอบแชสซีส์รถโดยสารรุ่นใหม่ที่ไม่มีการผลิตในต่างประเทศ รหัสของรุ่นรถ (Model) จะเริ่มด้วยอักษร “R” ซึ่งเป็นอักษรนำหน้าบ่งบอกว่าเป็นรถโดยสารของบริษัทนี้ แต่รายการชิ้นส่วนที่ยื่นต่อกรมศุลกากรเพื่อขอนำเข้าประกอบในประเทศ ราย การของโครงแชสซีส์หลักจะเหมือนกับโครงแชสซีส์รถบรรทุกที่นำมาดัดแปลงให้ เป็นรถโดยสาร ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางล้อหน้าถึงศูนย์กลางล้อหลัง (Wheel base) ยังคงเป็น 5.53 เมตร ตำแหน่งติดตั้งเครื่องยนต์ยังคงอยู่เหนือคานหน้า หลังคนขับ ค่อนเข้าไปในห้องโดยสาร เพียงแต่แก้ตัวอักษรนำหน้ารหัสรุ่นรถ จากอักษร “F” (บ่งบอกว่าเป็นแชสซีส์รถบรรทุก) ให้เป็น “R” เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเอกสารที่มาของชิ้นส่วนให้ดูเหมือนว่าเป็นการออกแบบ จากผู้ผลิตให้เป็นรถโดยสาร อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องของการประกอบรถผิดแบบที่ยื่นขออนุญาตต่อกรม ศุลกากร เพราะการขอนำเข้าประกอบเป็นรถบรรทุก แต่ดัดแปลงเป็นรถโดยสาร
นายอรุณยืนยันว่า การทำประชาพิจารณ์ทุกครั้งที่ผ่านมาไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีการโกรธแค้นเป็นการส่วนตัว แต่ทนไม่ไหวที่เห็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งมวลชนทางบกไม่ คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน การที่ไม่สามารถควบคุมผู้ประกอบการขนส่งของภาคเอกชนยังพอทำเนา แต่นี่รถของภาครัฐจากเงินภาษีประชาชนยิ่งเลวร้ายกว่า คนไทยได้ใช้รถโดยสารสองชั้นวิ่งระหว่างจังหวัดที่ใช้แชสซีส์ดัดแปลงจากสอง เพลา 6 ล้อ เป็นสามเพลา 8 ล้อมาแล้ว อีกไม่นานก็จะได้ใช้รถโดยสารในกรุงเทพฯ ที่ใช้แชสซีส์ดัดแปลงมาจากรถบรรทุก และตามด้วยรถโดยสารวิ่งระหว่างจังหวัด ความยาว 15 เมตร ที่ใช้แชสซีส์ดัดแปลงจากรถแชสซีส์สามเพลา 8 ล้อ ความยาว 12 เมตร ทำกันง่ายๆ แค่ยืดแชสซีส์ออกกมาอีก 3 เมตร
โดยกรมการขนส่งฯ เห็นชอบและอนุญาตทั้งสิ้น แต่เวลาเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงคนขับตกเป็นจำเลยสังคมแต่เพียงผู้เดียว ผู้มีอำนาจวาสนาก็จะใช้วิกฤตอันร้ายแรงที่เกิดแก่ประชาชน เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการสร้างภาพ แสดงความเป็นห่วงเป็นใยไปถึงสถานที่เกิดเหตุอย่างรีบด่วน นี่แหละคือปัจจัยพื้นฐานของการขนส่งทางบกที่ต้องได้รับการบูรณาการโดยเร่งด่วน
ขอบคุณ...
http://www.thaiday.com/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131570 (ขนาดไฟล์: 104200)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ต.ค.56)
http://www.tddf.or.th/news/detail.php?contentid=0072&postid=0006291¤tpage=1
แฉล็อกสเปกประมูลรถเมล์ NGV ทำค่ายรถรายใหญ่สะเทือน
แหล่งข่าวในวงการผู้ผลิตรถเปิดเผยว่า หลังจากมีการประชาพิจารณ์ในเรื่องการล็อกสเปกเพื่อให้นำแชสซีส์รถบรรทุกมา ดัดแปลงในโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ล่าสุดทางค่ายรถรายใหญ่ของญี่ปุ่นซึ่งมีกระแสข่าวว่าจะได้รับสัญญาในส่วนของ รถโดยสารธรรมดา 1,659 คันไปทั้งหมดนั้น ได้มีการประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ หาทางออก และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนติดตั้งเครื่องยนต์ CNG ในรถโดยสารของแท้แทน ซึ่งจะใช้เวลามากขึ้นอีก 1-2 เดือน และส่งผลให้ต้นทุนตัวรถเพิ่มอีกประมาณ 2 แสนบาทต่อคัน ซึ่งจะต้องจับตาดูว่าในส่วน ขสมก.จะมีการขยายเวลาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้หรือไม่ โดยล่าสุดได้เลื่อนการประมูลออกไปเป็นเดือน ม.ค. 57 และในขณะเดียวกัน ในแวดวงผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ให้ข้อมูลว่า มีค่ายรถรายใหญ่จากเกาหลีเข้ามาเพื่อขอแบ่งสัญญารถร้อนแล้ว เพราะในส่วนของ ขสมก.คงจะไม่มีแก้ TOR แน่นอน เพราะกำหนดโดยอ้างอิงกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก
รถเมล์ปรับอากาศสาย 551 ด้านนายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวัง โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมได้รับทราบการทำงานและข้อคิดเห็นของอนุฯ ป.ป.ช.ในโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นความเห็นที่อนุฯ ป.ป.ช.ได้เสนอไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แล้วว่าไม่เห็นด้วยในเรื่องอะไรบ้าง เช่น การกำหนดราคากลาง รถธรรมดา 3.8 ล้านบาท/คัน รถปรับอากาศ 4.5 ล้านบาท/คัน ว่ามีที่มาและรายละเอียดไม่ชัดเจน, ควรกำหนดให้มีรถขนาด 10 เมตรเพิ่มเติมเพื่อหมุนเวียนการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและทำให้ประหยัดวงเงิน จัดหาได้ถึง 25-30% คิดเป็นเงินหลายพันล้านบาท
“ในส่วนของ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ยังไม่เคยมีมติเห็นด้วยใดๆ กับโครงการ และต้องยอมรับว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย ป.ป.ช.เน้นไปที่เรื่องงานประมูลก่อสร้างว่าจะต้องมีรายละเอียดของต้นทุน ชัดเจน แต่เรื่องซื้อรถเมล์ไม่มีจึงกลายเป็นช่องว่างจึงกำหนดราคากลางทั้งคัน ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจคือราคากลางกำหนดไม่ชัดเจนเพราะในหลักต้องนำเข้าแช สซีส์ และเครื่องยนต์มาประกอบในประเทศ โดยคิดภาษีและกำไร ซึ่งอนุฯ ป.ป.ช.แนะให้ กก.ร่าง TOR ควรให้ผู้เสนอราคาแยกต้นทุนแชสซีส์ เครื่องยนต์ ตัวถัง เพื่อจะได้รู้ราคาขายที่เหมาะสมที่สุด ราคากลางที่ ขสมก.เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และยึดถือมาตลอดว่าถูกต้องนั้น ในความเป็นจริง ขสมก.บอกรายละเอียดไม่ได้เลย แต่เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตได้อ้างว่าถามมาจากเอกชน โดยใช้วิธีส่งหนังสือไปสะท้อนถึงวิธีการทำงานที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นมืออาชีพตั้งแต่แรก” นายไพโรจน์กล่าว
โดยอนุฯ ป.ป.ช.ได้เสนอให้ระบุเป็น Original Design และให้เปลี่ยนวิธีการประมูลเป็นแบบทั่วไป หรือวิธีพิเศษที่พิจารณาจากข้อเสนอคุณสมบัติและราคา เป้าหมายเพื่อให้ได้รถที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา ขสมก.ไม่สามารถชี้แจงข้อกังขาใดๆ ที่อนุฯ ป.ป.ช.ให้ความเห็นไปได้ รวมถึงไม่มีการปรับ TOR ให้มีความชัดเจนขึ้น
ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ทั้งนี้ ขสมก.ได้ประกาศร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ผ่านเว็บไซต์เพื่อรับฟังความคิดเห็นตามขั้นตอนการประกวดราคาด้วยวิธีทาง อิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 15-18 ตุลาคม 2556 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ จากการประกาศครั้งที่ 4
โดยนายอรุณ ลีธนาโชค ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ธนบุรี บัส บอดี้ จำกัด กล่าวว่า ได้ส่งความเห็นประชาวิจารณ์ร่าง TOR โครงการจัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน 3,183 คัน โดยย้ำประเด็นเกี่ยวกับแชสซีส์ในข้อ 2.3 (หน้า 31) และข้อ 2.3 (หน้า 36) “โครงแชสซีส์ต้องเป็นโครงแชสซีส์ใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อนทำด้วยโลหะแข็งแรง โดยเป็นแชสซีส์ที่ได้รับการออกแบบจากผู้ผลิตให้เป็นแชสซีส์รถโดยสาร และมีมาตรฐานตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และจะต้องได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบให้เป็นแชสซีส์รถโดยสารจากกรมการขนส่งทางบกก่อนการส่งมอบรถโดยสาร” ซึ่งสรุปยืนยันไม่มีการเปลี่ยนแปลงร่างคุณลักษณะของแชสซีส์ที่ใช้ยื่นเสนอ ราคาในโครงการนี้
การไม่กล้ากำหนดว่า“โครงแชสซีส์ต้องเป็นโครงแชสซีส์ที่มีพื้นฐานการออกแบบให้เป็นแชสซีส์รถ โดยสาร ไม่ได้เป็นโครงแชสซีส์ดัดแปลงจากรถบรรทุก ต้องเคยมีผลงานการใช้งานมาก่อนทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ” เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่จะยื่นเสนอราคาโดยใช้ โครงแชสซีส์ดัดแปลง และการกำหนดให้คุณลักษณะของโครงแชสซีส์ให้เป็นไปตามการประชาพิจารณ์นั้นก็ไม่ได้เป็นการล็อกสเปก หรือเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใดทั้งสิ้น เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากล และเป็นผลดีต่อประชาชนผู้เสียภาษี ทั้งความคุ้มค่าและความปลอดภัย การกำหนดคุณลักษณะของแชสซีส์ในการจัดซื้อรถโดยสารของ ขสมก.ในอดีตที่ผ่านมาก็มักกำหนดว่าจะต้องมีผลงานการใช้งานมาก่อน ก่อนหน้าที่ร่าง TOR ฉบับแรกจะออกสู่สายตาประชาชนได้มีการบอกกล่าวให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรรมการร่าง TOR ทราบ แต่คำตอบที่ได้รับคือ การกำหนดให้ต้องเป็นแชสซีส์รถโดยสารแท้ๆ ห้ามใช้แชสซีส์ดัดแปลง เป็นการล็อกสเปก ไม่ให้โอกาสแก่รถแชสซีส์ดัดแปลง
โดยจากคำประชาพิจารณ์ร่าง TOR ทั้ง 4 ฉบับ ทำให้ผู้ประกอบการรายนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการ โดยจะยื่นเอกสารขอนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อประกอบแชสซีส์รถยนต์โดยสารต่อกรมศุลกากร เป็นการประกอบแชสซีส์รถโดยสารรุ่นใหม่ที่ไม่มีการผลิตในต่างประเทศ รหัสของรุ่นรถ (Model) จะเริ่มด้วยอักษร “R” ซึ่งเป็นอักษรนำหน้าบ่งบอกว่าเป็นรถโดยสารของบริษัทนี้ แต่รายการชิ้นส่วนที่ยื่นต่อกรมศุลกากรเพื่อขอนำเข้าประกอบในประเทศ ราย การของโครงแชสซีส์หลักจะเหมือนกับโครงแชสซีส์รถบรรทุกที่นำมาดัดแปลงให้ เป็นรถโดยสาร ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางล้อหน้าถึงศูนย์กลางล้อหลัง (Wheel base) ยังคงเป็น 5.53 เมตร ตำแหน่งติดตั้งเครื่องยนต์ยังคงอยู่เหนือคานหน้า หลังคนขับ ค่อนเข้าไปในห้องโดยสาร เพียงแต่แก้ตัวอักษรนำหน้ารหัสรุ่นรถ จากอักษร “F” (บ่งบอกว่าเป็นแชสซีส์รถบรรทุก) ให้เป็น “R” เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเอกสารที่มาของชิ้นส่วนให้ดูเหมือนว่าเป็นการออกแบบ จากผู้ผลิตให้เป็นรถโดยสาร อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องของการประกอบรถผิดแบบที่ยื่นขออนุญาตต่อกรม ศุลกากร เพราะการขอนำเข้าประกอบเป็นรถบรรทุก แต่ดัดแปลงเป็นรถโดยสาร
นายอรุณยืนยันว่า การทำประชาพิจารณ์ทุกครั้งที่ผ่านมาไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีการโกรธแค้นเป็นการส่วนตัว แต่ทนไม่ไหวที่เห็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งมวลชนทางบกไม่ คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน การที่ไม่สามารถควบคุมผู้ประกอบการขนส่งของภาคเอกชนยังพอทำเนา แต่นี่รถของภาครัฐจากเงินภาษีประชาชนยิ่งเลวร้ายกว่า คนไทยได้ใช้รถโดยสารสองชั้นวิ่งระหว่างจังหวัดที่ใช้แชสซีส์ดัดแปลงจากสอง เพลา 6 ล้อ เป็นสามเพลา 8 ล้อมาแล้ว อีกไม่นานก็จะได้ใช้รถโดยสารในกรุงเทพฯ ที่ใช้แชสซีส์ดัดแปลงมาจากรถบรรทุก และตามด้วยรถโดยสารวิ่งระหว่างจังหวัด ความยาว 15 เมตร ที่ใช้แชสซีส์ดัดแปลงจากรถแชสซีส์สามเพลา 8 ล้อ ความยาว 12 เมตร ทำกันง่ายๆ แค่ยืดแชสซีส์ออกกมาอีก 3 เมตร
โดยกรมการขนส่งฯ เห็นชอบและอนุญาตทั้งสิ้น แต่เวลาเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงคนขับตกเป็นจำเลยสังคมแต่เพียงผู้เดียว ผู้มีอำนาจวาสนาก็จะใช้วิกฤตอันร้ายแรงที่เกิดแก่ประชาชน เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการสร้างภาพ แสดงความเป็นห่วงเป็นใยไปถึงสถานที่เกิดเหตุอย่างรีบด่วน นี่แหละคือปัจจัยพื้นฐานของการขนส่งทางบกที่ต้องได้รับการบูรณาการโดยเร่งด่วน
ขอบคุณ... http://www.thaiday.com/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000131570 (ขนาดไฟล์: 104200)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ต.ค.56)
http://www.tddf.or.th/news/detail.php?contentid=0072&postid=0006291¤tpage=1