หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป
วิปัสสนา เป็นหลัก สำคัญในพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ผู้ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนากรรม ฐานนั้น ควรทำความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนาให้ถูกต้องเสียก่อน หลักของวิปัสสนาที่ควรเข้าใจ มีดังนี้ คือ :-
• วิปัสสนา คืออะไร ?
วิปัสสนาเป็นชื่อของ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ไม่ใช่เห็นพระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระพรหม, เห็นนรก, เห็นสวรรค์ หรือเห็นอะไรอื่น ๆ
• อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่อะไร ?
เมื่อวิปัสสนา คือ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตาแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาก็ได้แก่ นามรูป นั่นเอง
การเจริญวิปัสสนา จะต้องกำหนด นามรูป ที่เป็น ปัจจุบัน จึงเห็นนามรูปที่เป็นไตรลักษณ์ได้ ถ้ากำหนดดูอย่างอื่นแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเลยที่จะเห็นสภาวะของนามรูปเป็นไตรลักษณ์ได้
• ประโยชน์ของวิปัสสนา มีอย่างไร ?
ประโยชน์เบื้องต้น ย่อมทำลายวิปลาสธรรม คือ ความเห็นรูปนามผิดไปจากความจริง ๔ ประการ คือ
สุภวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของดีงาม
สุขวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นสุข
นิจวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของเที่ยง
อัตตวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นตัวเป็นตน
ประโยชน์สูงสุด ทำให้ถึงสันติสุข คือ แจ้งพระนิพพาน
• ธรรมที่เป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาได้แก่อะไร ?
อุปสรรค ของวิปัสสนา คือธรรมที่เป็นเครื่องปิดบังไตรลักษณ์ไม่ให้เห็นความจริงของนามรูป โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น โดยสังเขปมีดังนี้
๑) สันตติ ปิดบังอนิจจัง สันตติ หมายถึง การเกิดขึ้นติดต่อสืบเนื่องกันของนามและรูปอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นเหมือนกับว่า นามและรูปนั้น ยังมีอยู่เรื่อย ๆ ไป จึงเป็นเครื่องปิดบังไม่ให้เห็น อนิจจัง คือความไม่เที่ยงของนามและรูป เมื่อเห็นความจริงของนามและรูปไม่ได้ ก็ต้องเกิดความสำคัญผิดเรียกว่า นิจจวิปลาส คือความเห็นผิดว่า นามรูปเป็นของ “ เที่ยง ”
๒) อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ หมาย ถึงการที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงไม่เห็นว่านามและรูปนี้ มีทุกข์เบียดเบียนบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ก็เข้าใจว่าเป็นสุข เรียกว่า “ สุขวิปลาส ” สำคัญ ว่า นามรูปเป็นสุข เป็นของดี อำนาจของทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดจึงเกิดขึ้นและเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้ปรารถนาดิ้นรนไปตามอำนาจของตัณหาที่อาศัยนามรูปเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงทำให้ไม่เห็นทุกข์ และทำให้ “ สุขวิปลาส ” เกิดขึ้น
๓) ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความสำคัญผิดของสภาวธรรม ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน คือรูปนามขันธ์ ๕ นั้นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นคน เป็นสัตว์ และสำคัญว่า มีสาระแก่นสารจึงทำให้ไม่สามารถมีความเห็นแยกกันของนามรูปแต่ละรูป แต่ละนาม เป็นคนละอย่างได้
เมื่อไม่สามารถกระจายความเป็นกลุ่มเป็นก้อน คือฆนสัญญา ให้แยกออกจากกันได้แล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนได้ เมื่อไม่เห็นอนัตตา วิปลาสที่เรียกว่า “ อัตตวิปลาส ” คือความสำคัญผิด คิดว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นเราก็ต้องเกิดขึ้น และจะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้มีความปรารถนา เห็นว่าเป็นของดี มีสาระเกิดขึ้น
การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจำเป็นต้องทำลายอุปสรรคสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ทั้ง ๓ นี้ให้หมดไป เมื่อสิ่งที่ปิดบังนี้ถูกทำลายไปแล้ว วิปลาส ซึ่งเป็นผล ก็ต้องถูกทำลายไปด้วย
• ธรรมที่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา มีอะไรบ้าง ?
การ เจริญวิปัสสนา ต้องปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาโดยตรงและมีธรรมที่เข้าร่วมประกอบกับวิปัสสนาอีก เช่น วิปัสสนาภูมิ ๖, ญาณ ๑๖ หรือวิปัสสนาญาณ ๙ และวิสุทธิ ๗ เป็นต้น
สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน คือฐานที่ตั้งของสติหรือฐานที่รองรับการกำหนดของสติอย่างประเสริฐ สามารถนำจิตให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานได้มี ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๔ ปัพพะ ได้แก่
๑) อานาปานปัพพะ ๒) อิริยาบถปัพพะ๓) สัมปชัญญปัพพะ ๔) ปฏิกูลปัพพะ๕) จตุธาตุปัพพะ ๖) อสุภะ ๙ ปัพพะ
หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๙ ปัพพะ ได้แก่
๑) สุขเวทนา ๒) ทุกขเวทนา๓) อุเบกขาเวทนา เป็นต้น
เมื่อมีเวทนาอันใดอันหนึ่งปรากฏขึ้น ก็รู้ นามเวทนา นั้นฯ
หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๖ ปัพพะ ได้แก่
๑) จิตมีราคะ ๒) จิตไม่มีราคะ๓) จิตมีโทสะ ๔) จิตไม่มีโทสะ๕) จิตมีโมหะ ๖) จิตไม่มีโมหะ๗) จิตฟุ้งซ่าน ๘) จิตไม่หดหู่ เป็นต้น เมื่อจิตใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามจิต นั้นฯ
หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๕ ปัพพะ ได้แก่
๑) นิวรณปัพพะ ๒) ขันธปัพพะ๓) อายตนปัพพะ ๔) โพชฌงค์ปัพพะ๕) อริยสัจปัพพะ เมื่อธรรมใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามรูป นั้นฯ
สติปัฏฐาน ๔ นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา
กายะนุปัสสนาสติปัฏฐาน อิริยาบถ, สัมปชัญญะ และจตุธาตุมนสิการ เป็นวิปัสสนา ส่วนอานาปานปัพพะ, ปฏิกูลปัพพะ และอสุภ ๙ ปัพพะ ต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
สำหรับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ
สงเคราะห์สติปัฏฐาน ๔ ลงในขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ได้ดังนี้
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ ขันธ์ ๕ เป็น รูปกับนาม
สรุปอารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ ก็ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม
ความหมายของสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก
สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์
ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วนตัวเห็นเป็น วิปัสสนา คือปัญญาที่เห็นรูปนามไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา นั่นเอง
องค์ธรรมของสติปัฏฐาน โดยฐานะผู้เพ่งอารมณ์ที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศนั้นประกอบด้วย อาตาปิ สัมปชาโน สติมา
อาตาปี ได้แก่ วิริยะ คือ ความเพียรในสัปปธาน ๔
สัมปชาโน ได้แก่ ปัญญา คือ ปัญญาในสัมปชัญญะ ๔
สติมา ได้แก่ สติ ที่ระลึกรู้รูปนาม ในสติปัฏฐาน ๔
อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๒ ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ ๖ ลงแล้วก็ได้แก่ รูป กับ นามรูปกับนาม เป็นตัวกรรมฐาน ที่จะทำไปใช้ในการปฏิบัติหรือเป็นครูที่จะสอนให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า “ วิปัสสนา ” ได้
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษารูปนามให้เข้าใจ จนคล่องแคล้วเสียก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
รูปนามตามทวารทั้ง ๖
เวลาเห็น สีต่าง ๆ กับจักขุปสาท เป็นรูป
ผู้เห็น คือ จักขุวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้ยิน เสียงต่าง ๆ กับโสตปสาท เป็นรูป
ผู้ที่ได้ยิน คือ โสตวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้กลิ่น กลิ่นต่าง ๆ กับฆานปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้กลิ่น คือฆานวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลารู้รส รสต่าง ๆ กับชิวหาปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้รส คือ ชิวหาวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาถูกต้อง ดิน, ไฟ, ลม กับกายปสาท เป็นรูป
ผู้รู้สึกถูกต้องคือกายวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาคิดนึก อาการนั่ง, นอน, ยืน, เดิน เป็นรูป
ผู้รู้อาการนั่ง, นอน, ยืน, เดิน เป็นนาม
หรือ อาการที่ง่วง, ฟุ้ง, สงบ เป็นนาม
ผู้รู้อาการง่วง, ฟุ้ง,สงบ เป็นนาม
เมื่อเข้าใจนามรูปตามทวารทั้ง ๖ ดีแล้ว และจะเจริญสติปัฏฐาน ต้องกำหนดที่นาม หรือรูป ตรงที่ทิฏฐิกิเลสอาศัยในอารมณ์นั้นเพื่อไถ่ถอนสักกายทิฏฐิ หรือทำลายวิปลาสธรรม คือ :-
เวลาเห็น ให้กำหนด นามเห็น เพราะทิฏฐิกิเลสยึดนามเห็นว่า เป็น เรา เห็น
เวลาได้ยิน ให้กำหนด นามได้ยิน เพราะสำคัญผิดที่นามได้ยินว่า เรา ได้ยิน
เวลารู้กลิ่น ให้กำหนด รูปกลิ่น เพราะสำคัญผิดที่รูปกลิ่นเป็น เราว่า เราเหม็นหรือเราหอม
เวลารู้รส ให้กำหนด รูปรส เพราะสำคัญผิดที่รูปรสเป็น เราว่า เราอร่อยหรือเราไม่อร่อย
เวลาถูกต้อง ให้กำหนด รูปแข็ง-อ่อน, เย็น-ร้อน, เคร่งตึง-เคลื่อนไหว เพราะสำคัญผิดที่รูปว่า เป็นเรา เป็นต้นว่า เราร้อน หรือเราหนาว|
เวลาคิดนึก กำหนด ได้ทั้งรูป หรือนาม แล้วแต่ทิฏฐิกิเลสอาศัยอยู่ในอารมณ์ใด ก็กำหนดรู้ตามความจริงของอารมณ์นั้น เช่น เวลานั่ง, นอน, ยืน, เดิน ให้กำหนด รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน หรือ รูปเดิน ขณะที่รูปกายตั้งอยู่ในอาการ นั้นเวลานึกคิด, ง่วง, ฟุ้ง, สงบ ให้กำหนด นามคิดนึก, นามง่วง, นามฟุ้ง, นามสงบ เป็นต้น
อารมณ์ปัจจุบัน มีความสำคัญในการเจริญวิปัสสนามาก เพราะเป็นอารมณ์ของ สติสัมปชัญญะที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัส คำว่า “ ปัจจุบัน ” ในที่นี้มี ๒ อย่างคือ ปัจจุบันธรรม กับ ปัจจุบันอารมณ์
ปัจจุบันธรรม ได้แก่ รูปนาม ที่กำลังปรากฏอยู่ตามธรรมดาของสภาวธรรมนั้น ๆ
ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติจับปัจจุบันธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้านั้นมาเป็นอารมณ์ได้ อารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ปัจจุบันอารมณ์
การกำหนดอิริยาบถ
การ เจริญวิปัสสนานั้น เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่ยังใหม่ต่อการปฏิบัติ หรือผู้ที่มีกิเลสหนาปัญญาน้อยควรกำหนดอิริยาบถตามในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเป็นอารมณ์ที่ปรากฏชัด และมีอยู่เป็นประจำจึงพิจารณาได้ง่าย และการพิจารณาอิริยาบถ ก็เพื่อทำลายสิ่งที่ปิดบังทุกข์ สิ่งที่ปิดบังถูกทำลายลงเมื่อใด ก็จะเห็นทุกข์ของความจริงได้เมื่อนั้น
ฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติ มีความเข้าใจนามรูปจากการศึกษาดีแล้ว ก็พึงกำหนดนามรูปใน อิริยาบถ ปัพพะ ดังนี้
ในเวลาที่นั่งอยู่ ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนั่ง
เวลานอน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนอน
เวลายืน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปยืน
เวลาเดิน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปเดิน
ความรู้สึกตัว คือ สติสัมปชัญญะของผู้ปฏิบัติขณะที่กำหนดรูปอิริยาบถอยู่ ซึ่งขณะนั้น ผู้ปฏิบัติรู้สึกตัวว่า กำลังดูรูปอะไรอยู่
มีหลักอยู่ว่า ขณะปฏิบัตินั้น มีตัวกรรมฐานกับผู้เจริญกรรมฐาน ตัวกรรมฐาน ได้แก่รูปอิริยาบถเป็นตัวถูกเพ่ง
ส่วน ผู้เจริญกรรมฐาน ได้แก่สติสัมปชัญญะเป็นตัวเพ่ง ความรู้สึกตัว คือรู้สึกว่า ตัวผู้เพ่ง กำลังดู ตัวที่ถูกเพ่ง อยู่ ความรู้สึกตัวนี้ มีความสำคัญยิ่งในการเจริญวิปัสสนา
ถ้าความรู้สึกตัวมีมากเท่าไร ก็ได้อารมณ์ปัจจุบันมากเท่านั้น
การให้มีความรู้สึกตัวดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ในเวลาที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน อยู่ก็เพื่อแยกรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ออกไปเป็นคนละส่วนเพื่อทำลายฆนสัญญาที่ปิดบังอนัตตาและการกำหนดที่จะต้องให้ ได้อารมณ์ปัจจุบัน คือเวลาที่กำลังนั่ง, กำลังนอน, กำลังยืน, กำลังเดินอยู่ ต้องทำความรู้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันนั้น ๆ เสมอ
รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน อยู่ที่อาการหรือท่าทาง ที่นั่ง, ที่นอน, ที่ยืน, ที่เดิน นั้น ๆ ในสติปัฏฐาน แสดงว่า
“ เมื่อกายตั้งไว้ในอาการอย่างไรก็ให้รู้ชัดในอาการของกายที่ตั้งไว้แล้วในอาการอย่างนั้นๆ ” คือ
รู้รูปนั่ง ตรงอาการ หรือท่าทางที่นั่ง
รู้รูปนอน ตรงอาการหรือท่าทางที่นอน เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่ดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ขณะกำลังปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันอยู่เท่านั้น
รูปอิริยาบถนี้แหละ จะทำหน้าที่เป็นครูสอนให้รู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติ จึงมีหน้าที่เข้าไปพบครู รูปนาม ก่อนเท่านั้น และการเข้าพบครู รูปนาม ได้อย่างนั้นโปรดพิจารณาได้จาก “ หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ ” สำหรับผู้เริ่มเข้ากรรมฐานต่อไป
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
เมื่อ ใดเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ เห็นธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตาเมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางให้ถึงธรรมที่หมดจดวิเศษ.
โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
*************************
จากคุณ : Inquirer
ขออนุโมทนาสาธุครับ
หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป (อ.แนบ มหานีรานนท์)
วิปัสสนา เป็นหลัก สำคัญในพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ผู้ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนากรรม ฐานนั้น ควรทำความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนาให้ถูกต้องเสียก่อน หลักของวิปัสสนาที่ควรเข้าใจ มีดังนี้ คือ :-
• วิปัสสนา คืออะไร ?
วิปัสสนาเป็นชื่อของ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ไม่ใช่เห็นพระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระพรหม, เห็นนรก, เห็นสวรรค์ หรือเห็นอะไรอื่น ๆ
• อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่อะไร ?
เมื่อวิปัสสนา คือ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตาแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาก็ได้แก่ นามรูป นั่นเอง
การเจริญวิปัสสนา จะต้องกำหนด นามรูป ที่เป็น ปัจจุบัน จึงเห็นนามรูปที่เป็นไตรลักษณ์ได้ ถ้ากำหนดดูอย่างอื่นแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเลยที่จะเห็นสภาวะของนามรูปเป็นไตรลักษณ์ได้
• ประโยชน์ของวิปัสสนา มีอย่างไร ?
ประโยชน์เบื้องต้น ย่อมทำลายวิปลาสธรรม คือ ความเห็นรูปนามผิดไปจากความจริง ๔ ประการ คือ
สุภวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของดีงาม
สุขวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นสุข
นิจวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของเที่ยง
อัตตวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นตัวเป็นตน
ประโยชน์สูงสุด ทำให้ถึงสันติสุข คือ แจ้งพระนิพพาน
• ธรรมที่เป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาได้แก่อะไร ?
อุปสรรค ของวิปัสสนา คือธรรมที่เป็นเครื่องปิดบังไตรลักษณ์ไม่ให้เห็นความจริงของนามรูป โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น โดยสังเขปมีดังนี้
๑) สันตติ ปิดบังอนิจจัง สันตติ หมายถึง การเกิดขึ้นติดต่อสืบเนื่องกันของนามและรูปอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นเหมือนกับว่า นามและรูปนั้น ยังมีอยู่เรื่อย ๆ ไป จึงเป็นเครื่องปิดบังไม่ให้เห็น อนิจจัง คือความไม่เที่ยงของนามและรูป เมื่อเห็นความจริงของนามและรูปไม่ได้ ก็ต้องเกิดความสำคัญผิดเรียกว่า นิจจวิปลาส คือความเห็นผิดว่า นามรูปเป็นของ “ เที่ยง ”
๒) อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ หมาย ถึงการที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงไม่เห็นว่านามและรูปนี้ มีทุกข์เบียดเบียนบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ก็เข้าใจว่าเป็นสุข เรียกว่า “ สุขวิปลาส ” สำคัญ ว่า นามรูปเป็นสุข เป็นของดี อำนาจของทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดจึงเกิดขึ้นและเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้ปรารถนาดิ้นรนไปตามอำนาจของตัณหาที่อาศัยนามรูปเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงทำให้ไม่เห็นทุกข์ และทำให้ “ สุขวิปลาส ” เกิดขึ้น
๓) ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความสำคัญผิดของสภาวธรรม ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน คือรูปนามขันธ์ ๕ นั้นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นคน เป็นสัตว์ และสำคัญว่า มีสาระแก่นสารจึงทำให้ไม่สามารถมีความเห็นแยกกันของนามรูปแต่ละรูป แต่ละนาม เป็นคนละอย่างได้
เมื่อไม่สามารถกระจายความเป็นกลุ่มเป็นก้อน คือฆนสัญญา ให้แยกออกจากกันได้แล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนได้ เมื่อไม่เห็นอนัตตา วิปลาสที่เรียกว่า “ อัตตวิปลาส ” คือความสำคัญผิด คิดว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นเราก็ต้องเกิดขึ้น และจะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้มีความปรารถนา เห็นว่าเป็นของดี มีสาระเกิดขึ้น
การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจำเป็นต้องทำลายอุปสรรคสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ทั้ง ๓ นี้ให้หมดไป เมื่อสิ่งที่ปิดบังนี้ถูกทำลายไปแล้ว วิปลาส ซึ่งเป็นผล ก็ต้องถูกทำลายไปด้วย
• ธรรมที่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา มีอะไรบ้าง ?
การ เจริญวิปัสสนา ต้องปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาโดยตรงและมีธรรมที่เข้าร่วมประกอบกับวิปัสสนาอีก เช่น วิปัสสนาภูมิ ๖, ญาณ ๑๖ หรือวิปัสสนาญาณ ๙ และวิสุทธิ ๗ เป็นต้น
สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน คือฐานที่ตั้งของสติหรือฐานที่รองรับการกำหนดของสติอย่างประเสริฐ สามารถนำจิตให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานได้มี ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๔ ปัพพะ ได้แก่
๑) อานาปานปัพพะ ๒) อิริยาบถปัพพะ๓) สัมปชัญญปัพพะ ๔) ปฏิกูลปัพพะ๕) จตุธาตุปัพพะ ๖) อสุภะ ๙ ปัพพะ
หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๙ ปัพพะ ได้แก่
๑) สุขเวทนา ๒) ทุกขเวทนา๓) อุเบกขาเวทนา เป็นต้น
เมื่อมีเวทนาอันใดอันหนึ่งปรากฏขึ้น ก็รู้ นามเวทนา นั้นฯ
หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๖ ปัพพะ ได้แก่
๑) จิตมีราคะ ๒) จิตไม่มีราคะ๓) จิตมีโทสะ ๔) จิตไม่มีโทสะ๕) จิตมีโมหะ ๖) จิตไม่มีโมหะ๗) จิตฟุ้งซ่าน ๘) จิตไม่หดหู่ เป็นต้น เมื่อจิตใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามจิต นั้นฯ
หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๕ ปัพพะ ได้แก่
๑) นิวรณปัพพะ ๒) ขันธปัพพะ๓) อายตนปัพพะ ๔) โพชฌงค์ปัพพะ๕) อริยสัจปัพพะ เมื่อธรรมใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามรูป นั้นฯ
สติปัฏฐาน ๔ นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา
กายะนุปัสสนาสติปัฏฐาน อิริยาบถ, สัมปชัญญะ และจตุธาตุมนสิการ เป็นวิปัสสนา ส่วนอานาปานปัพพะ, ปฏิกูลปัพพะ และอสุภ ๙ ปัพพะ ต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
สำหรับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ
สงเคราะห์สติปัฏฐาน ๔ ลงในขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ได้ดังนี้
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ เวทนาขันธ์ เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ ขันธ์ ๕ เป็น รูปกับนาม
สรุปอารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ ก็ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม
ความหมายของสติปัฏฐาน
สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก
สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์
ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วนตัวเห็นเป็น วิปัสสนา คือปัญญาที่เห็นรูปนามไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา นั่นเอง
องค์ธรรมของสติปัฏฐาน โดยฐานะผู้เพ่งอารมณ์ที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศนั้นประกอบด้วย อาตาปิ สัมปชาโน สติมา
อาตาปี ได้แก่ วิริยะ คือ ความเพียรในสัปปธาน ๔
สัมปชาโน ได้แก่ ปัญญา คือ ปัญญาในสัมปชัญญะ ๔
สติมา ได้แก่ สติ ที่ระลึกรู้รูปนาม ในสติปัฏฐาน ๔
อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๒ ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ ๖ ลงแล้วก็ได้แก่ รูป กับ นามรูปกับนาม เป็นตัวกรรมฐาน ที่จะทำไปใช้ในการปฏิบัติหรือเป็นครูที่จะสอนให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า “ วิปัสสนา ” ได้
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษารูปนามให้เข้าใจ จนคล่องแคล้วเสียก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
รูปนามตามทวารทั้ง ๖
เวลาเห็น สีต่าง ๆ กับจักขุปสาท เป็นรูป
ผู้เห็น คือ จักขุวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้ยิน เสียงต่าง ๆ กับโสตปสาท เป็นรูป
ผู้ที่ได้ยิน คือ โสตวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้กลิ่น กลิ่นต่าง ๆ กับฆานปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้กลิ่น คือฆานวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลารู้รส รสต่าง ๆ กับชิวหาปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้รส คือ ชิวหาวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาถูกต้อง ดิน, ไฟ, ลม กับกายปสาท เป็นรูป
ผู้รู้สึกถูกต้องคือกายวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาคิดนึก อาการนั่ง, นอน, ยืน, เดิน เป็นรูป
ผู้รู้อาการนั่ง, นอน, ยืน, เดิน เป็นนาม
หรือ อาการที่ง่วง, ฟุ้ง, สงบ เป็นนาม
ผู้รู้อาการง่วง, ฟุ้ง,สงบ เป็นนาม
เมื่อเข้าใจนามรูปตามทวารทั้ง ๖ ดีแล้ว และจะเจริญสติปัฏฐาน ต้องกำหนดที่นาม หรือรูป ตรงที่ทิฏฐิกิเลสอาศัยในอารมณ์นั้นเพื่อไถ่ถอนสักกายทิฏฐิ หรือทำลายวิปลาสธรรม คือ :-
เวลาเห็น ให้กำหนด นามเห็น เพราะทิฏฐิกิเลสยึดนามเห็นว่า เป็น เรา เห็น
เวลาได้ยิน ให้กำหนด นามได้ยิน เพราะสำคัญผิดที่นามได้ยินว่า เรา ได้ยิน
เวลารู้กลิ่น ให้กำหนด รูปกลิ่น เพราะสำคัญผิดที่รูปกลิ่นเป็น เราว่า เราเหม็นหรือเราหอม
เวลารู้รส ให้กำหนด รูปรส เพราะสำคัญผิดที่รูปรสเป็น เราว่า เราอร่อยหรือเราไม่อร่อย
เวลาถูกต้อง ให้กำหนด รูปแข็ง-อ่อน, เย็น-ร้อน, เคร่งตึง-เคลื่อนไหว เพราะสำคัญผิดที่รูปว่า เป็นเรา เป็นต้นว่า เราร้อน หรือเราหนาว|
เวลาคิดนึก กำหนด ได้ทั้งรูป หรือนาม แล้วแต่ทิฏฐิกิเลสอาศัยอยู่ในอารมณ์ใด ก็กำหนดรู้ตามความจริงของอารมณ์นั้น เช่น เวลานั่ง, นอน, ยืน, เดิน ให้กำหนด รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน หรือ รูปเดิน ขณะที่รูปกายตั้งอยู่ในอาการ นั้นเวลานึกคิด, ง่วง, ฟุ้ง, สงบ ให้กำหนด นามคิดนึก, นามง่วง, นามฟุ้ง, นามสงบ เป็นต้น
อารมณ์ปัจจุบัน มีความสำคัญในการเจริญวิปัสสนามาก เพราะเป็นอารมณ์ของ สติสัมปชัญญะที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัส คำว่า “ ปัจจุบัน ” ในที่นี้มี ๒ อย่างคือ ปัจจุบันธรรม กับ ปัจจุบันอารมณ์
ปัจจุบันธรรม ได้แก่ รูปนาม ที่กำลังปรากฏอยู่ตามธรรมดาของสภาวธรรมนั้น ๆ
ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติจับปัจจุบันธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้านั้นมาเป็นอารมณ์ได้ อารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ปัจจุบันอารมณ์
การกำหนดอิริยาบถ
การ เจริญวิปัสสนานั้น เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่ยังใหม่ต่อการปฏิบัติ หรือผู้ที่มีกิเลสหนาปัญญาน้อยควรกำหนดอิริยาบถตามในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเป็นอารมณ์ที่ปรากฏชัด และมีอยู่เป็นประจำจึงพิจารณาได้ง่าย และการพิจารณาอิริยาบถ ก็เพื่อทำลายสิ่งที่ปิดบังทุกข์ สิ่งที่ปิดบังถูกทำลายลงเมื่อใด ก็จะเห็นทุกข์ของความจริงได้เมื่อนั้น
ฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติ มีความเข้าใจนามรูปจากการศึกษาดีแล้ว ก็พึงกำหนดนามรูปใน อิริยาบถ ปัพพะ ดังนี้
ในเวลาที่นั่งอยู่ ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนั่ง
เวลานอน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนอน
เวลายืน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปยืน
เวลาเดิน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปเดิน
ความรู้สึกตัว คือ สติสัมปชัญญะของผู้ปฏิบัติขณะที่กำหนดรูปอิริยาบถอยู่ ซึ่งขณะนั้น ผู้ปฏิบัติรู้สึกตัวว่า กำลังดูรูปอะไรอยู่
มีหลักอยู่ว่า ขณะปฏิบัตินั้น มีตัวกรรมฐานกับผู้เจริญกรรมฐาน ตัวกรรมฐาน ได้แก่รูปอิริยาบถเป็นตัวถูกเพ่ง
ส่วน ผู้เจริญกรรมฐาน ได้แก่สติสัมปชัญญะเป็นตัวเพ่ง ความรู้สึกตัว คือรู้สึกว่า ตัวผู้เพ่ง กำลังดู ตัวที่ถูกเพ่ง อยู่ ความรู้สึกตัวนี้ มีความสำคัญยิ่งในการเจริญวิปัสสนา
ถ้าความรู้สึกตัวมีมากเท่าไร ก็ได้อารมณ์ปัจจุบันมากเท่านั้น
การให้มีความรู้สึกตัวดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ในเวลาที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน อยู่ก็เพื่อแยกรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ออกไปเป็นคนละส่วนเพื่อทำลายฆนสัญญาที่ปิดบังอนัตตาและการกำหนดที่จะต้องให้ ได้อารมณ์ปัจจุบัน คือเวลาที่กำลังนั่ง, กำลังนอน, กำลังยืน, กำลังเดินอยู่ ต้องทำความรู้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันนั้น ๆ เสมอ
รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน อยู่ที่อาการหรือท่าทาง ที่นั่ง, ที่นอน, ที่ยืน, ที่เดิน นั้น ๆ ในสติปัฏฐาน แสดงว่า
“ เมื่อกายตั้งไว้ในอาการอย่างไรก็ให้รู้ชัดในอาการของกายที่ตั้งไว้แล้วในอาการอย่างนั้นๆ ” คือ
รู้รูปนั่ง ตรงอาการ หรือท่าทางที่นั่ง
รู้รูปนอน ตรงอาการหรือท่าทางที่นอน เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่ดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ขณะกำลังปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันอยู่เท่านั้น
รูปอิริยาบถนี้แหละ จะทำหน้าที่เป็นครูสอนให้รู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติ จึงมีหน้าที่เข้าไปพบครู รูปนาม ก่อนเท่านั้น และการเข้าพบครู รูปนาม ได้อย่างนั้นโปรดพิจารณาได้จาก “ หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ ” สำหรับผู้เริ่มเข้ากรรมฐานต่อไป
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
เมื่อ ใดเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ เห็นธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตาเมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางให้ถึงธรรมที่หมดจดวิเศษ.
โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
*************************
จากคุณ : Inquirer
ขออนุโมทนาสาธุครับ