ความต่างกันเรี่อง จิตรวม หรือ จิตตกภวังค์ หรือ จิตวูบหาย แล้วกลับมาเป็นปกติ  ในการปฏิบัติธรรม ของสมถะ กับ วิปัสสนา

จิตรวม หรือ จิตตกภวังค์ หรือ จิตวูบหาย แล้วกลับมาเป็นปกติ  ในการปฏิบัติธรรม มีความหมายทั้งใน สมถะ และ วิปัสสนา  แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนว่าเป็น ฌาน หรือ วิปัสสนาญาณ
    ปฏิบัติสมถะ จะเป็นอย่างนี้  เมื่อกำหนดภาวนารูปบัญญัติ(กสิน 10 หรือ อานาปานแบบพุทธ-โธ) อารมณ์บัญญัติ(พรหมวิหาร 4) จิตหรือใจหรือวิญญาณ จะกำหนดตั้งมั่นเพื่อความเป็นหนึ่ง ตามรูปบัญญัติหรืออารมณ์บัญญัติตามที่กำหนดภาวนา ก็คือการมี วิตกวิจารย์ ตามบัญญัติที่กำหนดภาวนานั้น  เมื่อประกอบด้วยความศรัทธาและความเพียร(อาศัยความ ศรัทธาและความเพียรเป็นหลักใหญ่)
      ก็ย่อมเกิดมี ปีติ สุข อุเบกขา(เอกัคคตาเป็นหนึ่ง) เจริญขึ้นตามลำดับ ก็คือมี วิตก วิจารย์ ปีติ สุข อุเบกขา คลุกเคล้ากันอยู่ในอารมณ์หรือใจหรือจิตนั้น ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ ก็ย่อมยังไม่สามารถตัด นิวรณ์ 5 หมดจากใจยังปะปนอยู่บางครั้งบางคราว
      จน อุปจารสมาธิแก่กล้า แนบแน่นเป็นที่สุด มีแต่องค์ฌาน 5 อย่างสมบูรณ์ในใจหรือจิตหรือวิญญาณ จนจิตรวมกันในช่วงขณะหนึ่ง นั้นแหละบรรลุ ฌาน 1 เป็นครั้งแรกในชีวิต (ต้องประกอบด้วย องค์ฌาน 5 อย่างสมบูรณ์ ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นใดปน แล้วจิตรวมเป็น อัปปนาสมาธิ ขณะหนึ่ง)
        ภายหลังเมื่อเข้า ผลสมาบัติได้ ก็จะไม่เกิดสภาวะแนบแน่นเหมือนดังได้ บรรลุฌานใหม่ๆ ครั้งแรก  ดังนั้นสภาวะจิตรวมขณะบรรลุฌานครั้งแรก จึงติดตราตรึงชัดเจนไปทั้งชีวิตไม่ลืมเลือนไปได้  ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับการบรรลุฌาน 2 3 4 จนถึง 8 เป็นครั้งแรก ก็จะชัดเจนตราตรึงเช่นกัน
         แต่ยุคสมัยนี้ ผู้หลงฌาน มีเยอะเสียเหลือเกิน มีบางส่วนมีสมาธิแค่ อุปจารสมาธิ องค์ฌาน 5 (วิตก วิจารย์ ปีติ สุข อุเบกขา)ยังไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ ยังมีนิวรณ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่งปนอยู่ ก็หลงผิดฌานไปว่าตนบรรลุฌานเสียแล้ว 
         ที่หนักไปกว่านั้นอีกก็คือ เกิดสมาธิเพียงแค่อุปจารสมาธิ ที่เข้าออกได้เพียงเท่านั้น พอมีองค์ฌานใดเด่นขึ้นมาก็หลงปลุงแต่งไปว่า ตนบรรลุฌานนั้นฌานโน้นไปแล้ว เช่น พอมี ปิติ เด่นขึ้นมาก็หลงไปว่า ตนบรรลุฌาน 2 ไปแล้ว พอมี สุข เด่นขึ้นมาก็หลงไปว่า ตนบรรลุฌาน 3 ไปแล้ว พอมี อุเบกขา เด่นขึ้นมาก็หลงว่า ตนบรรลุฌาน 4 ไปแล้ว ทั้งที่ยังวนอยู่ในสมาธิระดับอุปจาระเท่านั้น เพราะขาดสติปัญญาพิจารณาอย่างรอบครอบว่า การบรรลุฌานแต่ละระดับ ต้องมีองค์ฌานของระดับฌานนั้นอย่างสมบูรณ์บริสุทธิ์ไม่มีอย่างอื่นใดปนแม้แต่นิดเดียว
          เช่นบรรลุฌาน 2 ครั้งแรกต้องมี ปิติ สุข อุเบกขา บริสุทธิ์ ไม่มี นิวรณ์ 5 หรือ วิตก วิจารย์ ปนอยู่แม้แต่นิดเดียว
          และเช่นเดียวกันกับการบรรลุฌาน 3 ครั้งแรกต้องมี  สุข กับ อุเบกขา บริสุทธิ์ ไม่มี นิวรณ์ 5 หรือ วิตก วิจารย์ ปิติ ปนอยู่แม้แต่นิดเดียว
      หวังว่า ผู้ที่มีสมาธิระดับ อุปจาร หรือบรรลุฌาน 1 แล้วแต่หลงฌานอยู่นำไปพิจารณาให้รอบคอบ อย่าไปโมเมหลงหรือคิดว่าไปก่อนว่า ได้ฌานโน้นฌานนี้ โดยสภาวะบรรลุฌานเกิดขึ้นอย่างชัดแจ้งเสียก่อน อุตริมนุษย์ธรรมอันเป็นฌานนั้นไม่ใช่ไปโมเมคิดไปว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะขณะบรรลุนั้นต้องมีสถาวะที่ชัดแจ้งสมบูรณ์ และในแต่การบรรลุฌานใหม่แต่ละครั้งของชีวิตนั้นจะชัดแจ้งสมบูรณ์ตราตรึงจดจำได้ทั้งชีวิต
       การบรรลุฌานได้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีเป็นมหากุศลจิต การได้เกิดเป็นพระพรหมก็ถือว่าประเสริฐ มีข้อเสียนิดเดียวเมื่อบรรลุฌาน 4 แต่ขาดสัมมาทิฏฐิและสัมมาสติ แล้วหลงผิดเพ่งไม่เอาปฏิเสธเวทนาไม่เอาโลกจะดับสิ้นเสียจนสิ้นชีวิตก็จะไปเกิดเป็น พระพรหมมีแต่รูปไม่ปรากฏนาม แต่ในพระพุทธศาสนาเมื่อศึกษาปฏิบัติอย่างดีแล้วย่อมมีสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้นย่อมแทบไม่มีที่เกิดเช่นนั้น ยังเว้นผู้ที่มีทิฏฐิเห็นผิดไปจริงๆ เท่านั้น
        ดังน้น ผู้รังเกิยดฌานไม่เอาฌานกลัวที่จะบรรลุฌาน ก็คือผู้ที่ยังไม่เกิดมีปัญญาทางธรรม นั้นเอง เพราะผู้ที่มีปัญญาทางธรรมแม้จะไม่ปฏิบัติสมถะก็ตามเพียงแต่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ย่อมผ่านลักขณูฌาน ที่โพธิปักขิยธรรม 37 ปรการประชุมกันรวมเป็นหนึ่งที่เรียกว่า มัคสมังคี บรรลุมรรคผละนิพพาน

     ปฏิบัติวิปัสสนา จะเป็นอย่างนี้ กำหนดภาวนาทุกข์ หรือ รู้ทุกข์  ซึ่งทุกข์หรือตัวทุกข์ก็คือกายใจ หรือรูป-นาม(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้แหละ พระพุทธเจ้าทรงสอนการปฏิบัติธรรมกรรมฐานสรุปลงเป็นทางเอก ก็คือการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 (พิจารณ 1.กายในกาย 2.เวทนาในเวทนา 3.จิตในจิต 4.ธรรมในธรรม) ตามความเป็นจริงที่ปรากฏเป็นปัจจุบันๆ จนรู้จัดของ รูป-นาม หรือสติปัฏฐาน 4 อันเป็นไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) จนรู้ชัดรูป-นามหรือสติปัฏฐาน 4 อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ วิปัสสนาญาณจึงเจริญขึ้นไปตามลำดับ
          1.นามรูปปริเฉทญาณ (แยกรูป แยกนามได้)
          2.ปัจจัยคหญาณ (เห็นรูป-นาม ต่างเป็นเหตุปัจจัยกัน เช่น รูปเกิดก่อนนามเกิดตามที่หลัง หรือ นามเกิดก่อนรูปเกิดตามทีหลัง หรือนาม1 เกิดก่อนนาม 2 เกิดตามที่หลัง)
          3.สัมนสนญาณ (เริ่มรู้ เข้าใจ มีความเห็น รูป-นาม เป็นไปตามไตรลักษณ์ ที่เป็นปัจจุบันและเป็นปัจจุบันขณะขึ้น) ตรงส่วนญาณนี้แหละ ผู้ที่บรรลุฌานมาก่อนได้เปรียบ กว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ เพราะการที่จิตรวมมาก่อน เมื่อเจริญสติสามารถยกเป็นวิปัสสนาได้ ก็จะแจ้งชัดใน สมนาสนญาณแทบจะทันที เกิดวิปัสสนูกิเลสขึ้น ถ้าผู้ใดเกิดหลงวิปัสสนูกิเลส ก็จะทำให้หลงวนเวียนระหว่าง วิปัสสนาญาณที่ 1-3 จนเห็นผิดไปว่า ตนเองบรรลุธรรมเป็นพระอริยะบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง หรือมีอิทธิฤท อย่างใน้นอย่างนี้ เพราะเสมือนทำได้จริงปะปนกันไป จนสิ้นชีวิตไปก็มี และวิปัสสนาญาณที่ 3 นี้ผู้ที่ปฏิบัติถึงได้ย่อมมีหลักประกันเบื้องต้น เมื่อรักษาไว้ได้ก่อนสิ้นชีวิต ย่อมเกิดเป็นเทวดาปิดอบายภูมิได้เพียงชาติเดียวเรียกวา จูฬโสดาบัน แต่หลังจากนั้นไม่แน่นอนตามกรรมและวิบากต่อไป.
            4.อุทยัพยญาณ (เห็นแจ้งชัดของ รูป-นาม เกิด-ดับ ไปจริงๆ ไม่ใช่การไปรู้อารมณ์เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ที่เป็นเช่น รู้อารมณ์โกรธสักพักอารมณ์โกรธคลายเปลี่ยนไป อย่างนี้ยังไม่ใช้ อุทยัพยญาณ จัดอยู่ใน สมนสนญาณที่ 3 คือเห็นชัดถึงการ เกิด-ดับ จริงๆ ในช่วงขณะปัจจุบันนั้นๆ แต่ไม่ใช่ว่าต้อง เกิด-ดับ อยู่ตลอด เพียงแต่จะเกิด-ดับชัดเจน เมื่อกำหนดสติปัญญาอันเหมาะสม ) และเมื่อ อุทยัพยญาณเกิดบ่อยๆ วิปัสสนาญาณย่อมเจริญขึ้น
             5.ภังคญาณ(กำหนดภาวนา รูป-นาม ก็จะเห็นว่าเสื่อมไปพังไปโดยตลอด เหมือนกำหดภาวนาอะไรก็เลือนหายสิ้นไปหมด ดังตั้งสติกำหนดอะไรก็ไม่ได้)

               ก็จะขอจบแค่ วิปัสสนาญาณที่ 5 แต่ความจริงวิปัสสนาญาณมีถึง 16 ญาณ เพราะเพียงชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างกันของ ฌาน กับ ญาณ เบื้องต้นเพียงเท่านั้น.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่