ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า
นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของเราหนอ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร
ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้
ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า
นี้เป็นผลแห่งกรรม ๓ ประการของเรา เป็นวิบากแห่งกรรม ๓ ประการ
ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้
กรรม ๓ ประการ คือ ทาน ทมะ สัญญมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ทาน (การให้, การเสียสละ, การบริจาค - gift; giving; charity; liberality)
ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้า
ด้วยสติปัญญา - taming and training oneself; adjustment)
สัญญมะ (กา่ีรสำรวมจิต - restraint)
พระนครแปดหมื่นสี่พันอันมีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ปราสาทแปดหมื่นสี่พันอันมีธรรมปราสาทเป็นประมุขเหล่านั้น
เรือนยอดของเราแปดหมื่นสี่พันอันมีเรือนยอดหลังใหญ่เป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
บัลลังก์แปดหมื่นสี่พันอันแล้วด้วยทอง แล้วด้วยเงิน แล้วด้วยงา แล้วด้วยแก้วบุษราคัม
ลาดด้วยขนเจียม ลาดด้วยสักหลาด ลาดด้วยผ้าปักเป็นลวดลายลาดด้วยหนังกวางอย่างดี
มีพนักอันสูง มีนวมแดงทั้งสองข้างเหล่านั้นของเรา
ช้างแปดหมื่นสี่พัน มีเครื่องอลังการแล้วด้วยทอง มีธงแล้วด้วยทอง
มีตาข่ายเครื่องปกคลุมแล้วด้วยทอง มีพระยาช้างตระกูลอุโบสถเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
ม้าแปดหมื่นสี่พัน มีเครื่องอลังการแล้วด้วยทอง มีธงแล้วด้วยทอง
มีตาข่ายเครื่องปกคลุมแล้วด้วยทอง มีวลาหกอัศวราชเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
รถแปดหมื่นสี่พัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้ากัมพลเหลือง
มีเครื่องอลังการแล้วด้วยทอง มีธงแล้วด้วยทอง มีตาข่ายเครื่องปกคลุมแล้วด้วยทอง
มีรถเวชยันต์เป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
แก้วมณีแปดหมื่นสี่พันดวง มีแก้วมณีเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
สตรีแปดหมื่นสี่พันนาง มีสุภัททาเทวีเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
คฤหบดีแปดหมื่นสี่พันคน มีคฤหบดีแก้วเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
กษัตริย์แปดหมื่นสี่พันองค์ผู้สวามิภักดิ์ มีปริณายกแก้วเป็นประมุขเหล่านั้นของเรา
โคนมแปดหมื่นสี่พันตัว กำลังกำดัดหลั่งน้ำนม กำลังเอาภาชนะรองได้เหล่านั้นของเรา
ผ้าโขมพัสตร์อย่างเนื้อดี ผ้าฝ้ายอย่างเนื้อดี ผ้าไหมอย่างเนื้อดี ผ้ากัมพลอย่างเนื้อดี
แปดหมื่นสี่พันโกฏิพับเหล่านั้นของเรา
สำรับคาวหวานแปดหมื่นสี่พันที่ มีคนใส่ภัตตาหารนำมาถวายทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็นเหล่านั้นของเรา
ดูกรอานนท์ บรรดาพระนครแปดหมื่นสี่พัน พระนครที่เราอยู่ครอบครองสมัยนั้น คือกุสาวดีราชธานีเมืองเดียว ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บรรดาปราสาทแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น ปราสาทที่เราอยู่ครอบครองสมัยนั้น คือธรรมปราสาทหลังเดียวเท่านั้น
บรรดาเรือนยอดแปดหมื่นสี่พันหลัง เรือนยอดที่เราอยู่ครอบครองสมัยนั้นคือเรือนยอดหลังใหญ่หลังเดียวเท่านั้น
บรรดาบัลลังก์แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น บัลลังก์ที่เราใช้สอยสมัยนั้นคือบัลลังก์แล้วด้วยทอง ... บัลลังก์เดียวเท่านั้น
บรรดาช้างแปดหมื่นสี่พันเชือกเหล่านั้น ช้างที่เราขึ้นขี่สมัยนั้นคือพระยาช้างตระกูลอุโบสถเชือกเดียวเท่านั้น
บรรดาม้าแปดหมื่นสี่พันตัวเหล่านั้น ม้าที่เราขึ้นขี่สมัยนั้น คือวลาหกอัศวราชตัวเดียวเท่านั้น
บรรดารถแปดหมื่นสี่พันคันเหล่านั้น รถที่เราขึ้นขี่สมัยนั้น คือรถเวชยันต์คันเดียวเท่านั้น
บรรดาสตรีแปดหมื่นสี่พันคนเหล่านั้น สตรีซึ่งบำรุงบำเรอเราสมัยนั้น เป็นนางกษัตริย์หรือแพศย์คนเดียวเท่านั้น
บรรดาผ้าแปดหมื่นสี่พันโกฏิพับเหล่านั้น ผ้าที่เรานุ่งห่มสมัยนั้นเป็นผ้าโขมพัสตร์อย่างเนื้อดี ... สำรับเดียวเท่านั้น
บรรดาสำรับคาวหวานแปดหมื่นสี่พันที่เหล่านั้น สำรับที่เราบริโภคข้าวสุกทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง
และกับพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้นสำรับเดียวเท่านั้น
ดูกรอานนท์ เธอจงดูเถิด สังขารทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรไปแล้ว
ดูกรอานนท์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล
สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล
สังขารทั้งหลายไม่น่ายินดีอย่างนี้แล
ดูกรอานนท์ ข้อนี้ควรจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว
ควรที่จะคลายกำหนัด ควรเพื่อจะหลุดพ้นไป
ดูกรอานนท์ เราย่อมรู้ที่ทอดทิ้งร่างกาย เราทอดทิ้งร่างกายไว้ในประเทศนี้
การที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
ชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ การทอดทิ้งร่างกายไว้นี้ นับเป็นครั้งที่เจ็ด
ดูกรอานนท์ เราไม่เล็งเห็นประเทศนั้นๆ ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่ตถาคตจะทอดทิ้งสรีระไว้เป็นครั้งที่แปด ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข ดังนี้ ฯ
มหาสุทัสสนสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๙๑๖ - ๔๔๖๔. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๘๒.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=3916&Z=4464&bgc=lavenderblush&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=163&bgc=lavenderblush
พระเจ้ามหาสุทัสสนะในพระชาติก่อน เคยบำรุงพระเถระรูปหนึ่งในพระศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ
เมื่อถวายทานในพระอรหันต์ผู้เป็นสาวกของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ชื่อว่าบริขารที่พระโพธิสัตว์ไม่ถวายแก่พระเถระไม่มี
การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นวิบากของกุศลกรรม ทำให้ได้มาซึ่งกามคุณที่ประณีตที่สุดในกำเนิดมนุษย์
เป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ที่ยังผู้บริโภคกาม
แต่พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็ไม่ได้ทรงมัวเมาด้วยวิบากนั้น ทรงดำริ ไตร่ตรองด้วยพระปัญญา แล้วทรงเห็นว่า
วัตถุกามอันเพียบพร้อมเหล่านี้ เป็นผลจากกรรม ๓ อย่างคือ ทาน ทมะ สัญญมะ
และทรงเห็นว่า กามคุณอันเป็นมนุษย์หลายหมื่นปี ยังควรคลายกำหนัดเลย จึงมีพระทัยน้อมไปเพื่อออกจากกาม
ออกจากอกุศลธรรม ดังที่ตรัสว่า
กามวิตก จงหยุด พยาบาทวิตก จงหยุด วิหิงสาวิตก จงหยุด
กามวิตก จงกลับเพียงแค่นี้เถิด
พยาบาทวิตก จงกลับเพียงแค่นี้เถิด
วิหิงสาวิตก จงกลับเพียงแค่นี้เถิด
ทรงเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจลักษณะ) และความทุกข์ (ทุกขลักษณะ) ด้วยภูมิของปุถุชนด้วยพระองค์เอง
ดังที่ตรัสแก่พระเทวีว่า
เธอจงทักทายเราอย่างนี้ว่า
ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นโดยประการอื่น
จากสิ่งที่น่ารัก น่าพอใจทั้งหลาย ทั้งปวงทีเดียว ย่อมมี
ทูลกระหม่อม อย่าได้มีความอาลัยทำกาลกิริยาเลย
กาลกิริยาของผู้มีความอาลัยเป็นทุกข์
เมื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะตรัสอย่างนี้แล้วพระนางสุภัททาเทวีทรงพระกรรแสงหลั่งพระอัสสุชล
พระนางสุภัททาเทวีทรงเช็ดพระอัสสุชลแล้วทรงขอร้องใหม่ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำนั้น
และต่อมาไม่นาน พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้เสด็จสวรรคต
ทรงเสวยอารมณ์ในเวลาใกล้มรณะดุจผู้ที่ได้บริโภคอาหารที่ตนชอบ
ครั้นเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงเข้าถึงสุคติพรหมโลกเพราะได้เจริญพรหมวิหาร
มหาสุทัสสนสูตร ทุกข์และการดับทุกข์ : ดูกรอานนท์ ... สมัยนั้น เราได้เป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ
ในสมัยใกล้เสด็จปรินิพพานคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในระหว่างไม้สาละ ในสาลวัน
อันเป็นที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ เขตกรุงกุสินารา
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพาน ในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย
นครใหญ่เหล่าอื่น มีอยู่คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี
ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล ที่เลื่อมใสพระตถาคตอย่างยิ่ง มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้
ท่านเหล่านั้นจักกระทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต ดังนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมือง ดังนี้เลย
ดูกรอานนท์ แต่ปางก่อน มีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่า มหาสุทัสสนะ เป็นกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษก
เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง
ดูกรอานนท์ เมืองกุสินารานี้ มีนามว่า กุสาวดี เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ
...
นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของเราหนอ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร
ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้
นี้เป็นผลแห่งกรรม ๓ ประการของเรา เป็นวิบากแห่งกรรม ๓ ประการ
ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้
กรรม ๓ ประการ คือ ทาน ทมะ สัญญมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดูกรอานนท์ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น เราได้เป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ
ดูกรอานนท์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล
สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล
สังขารทั้งหลายไม่น่ายินดีอย่างนี้แล
ดูกรอานนท์ ข้อนี้ควรจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว
ควรที่จะคลายกำหนัด ควรเพื่อจะหลุดพ้นไป
การที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
ชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ การทอดทิ้งร่างกายไว้นี้ นับเป็นครั้งที่เจ็ด
ในหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่ตถาคตจะทอดทิ้งสรีระไว้เป็นครั้งที่แปด ดังนี้ ฯ
บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข ดังนี้ ฯ
มหาสุทัสสนสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๙๑๖ - ๔๔๖๔. หน้าที่ ๑๖๐ - ๑๘๒.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=3916&Z=4464&bgc=lavenderblush&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=163&bgc=lavenderblush
พระเจ้ามหาสุทัสสนะในพระชาติก่อน เคยบำรุงพระเถระรูปหนึ่งในพระศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ
เมื่อถวายทานในพระอรหันต์ผู้เป็นสาวกของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ชื่อว่าบริขารที่พระโพธิสัตว์ไม่ถวายแก่พระเถระไม่มี
การเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นวิบากของกุศลกรรม ทำให้ได้มาซึ่งกามคุณที่ประณีตที่สุดในกำเนิดมนุษย์
เป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ที่ยังผู้บริโภคกาม
แต่พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็ไม่ได้ทรงมัวเมาด้วยวิบากนั้น ทรงดำริ ไตร่ตรองด้วยพระปัญญา แล้วทรงเห็นว่า
วัตถุกามอันเพียบพร้อมเหล่านี้ เป็นผลจากกรรม ๓ อย่างคือ ทาน ทมะ สัญญมะ
และทรงเห็นว่า กามคุณอันเป็นมนุษย์หลายหมื่นปี ยังควรคลายกำหนัดเลย จึงมีพระทัยน้อมไปเพื่อออกจากกาม
ออกจากอกุศลธรรม ดังที่ตรัสว่า
กามวิตก จงกลับเพียงแค่นี้เถิด
พยาบาทวิตก จงกลับเพียงแค่นี้เถิด
วิหิงสาวิตก จงกลับเพียงแค่นี้เถิด
ทรงเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจลักษณะ) และความทุกข์ (ทุกขลักษณะ) ด้วยภูมิของปุถุชนด้วยพระองค์เอง
ดังที่ตรัสแก่พระเทวีว่า
ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นโดยประการอื่น
จากสิ่งที่น่ารัก น่าพอใจทั้งหลาย ทั้งปวงทีเดียว ย่อมมี
ทูลกระหม่อม อย่าได้มีความอาลัยทำกาลกิริยาเลย
กาลกิริยาของผู้มีความอาลัยเป็นทุกข์
พระนางสุภัททาเทวีทรงเช็ดพระอัสสุชลแล้วทรงขอร้องใหม่ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำนั้น
และต่อมาไม่นาน พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้เสด็จสวรรคต
ทรงเสวยอารมณ์ในเวลาใกล้มรณะดุจผู้ที่ได้บริโภคอาหารที่ตนชอบ
ครั้นเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงเข้าถึงสุคติพรหมโลกเพราะได้เจริญพรหมวิหาร