ในข่วงชีวิตหนึ่งของมนุษย์ี่เกิดมา ความปรารถนาอันสูงสุด คือความสมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา หลาย ๆ ท่านชอบชมภาพยนต์ ละครชีวิต เพราะคิดว่ามันสนุกให้อรรถรส หรือบทเรียนแก่ชีวิตของเขา แต่โดยเนื้อแท้และความเป็นจริงแล้ว ชีวิตจริงของแต่ละท่าน ล้วนสุข เศร้า สลับซับซ้อน มากมายกว่าภาพยนต์ หรืละครหลายร้อยเท่า หลาย ๆ ท่านชอบอ่านหนังสือบทประพันธ์ ประสพการชีวิตของผู้ประสพความสำเร็จ เพราะคิดว่า อาจจะ หรือสามารถนำมาใช้ กับชีวิตของตนได้
แต่เปล่าเลย ตามความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เปรียบได้กับนั่งมองคนอื่นกินอาหาร ซึ่งแน่นอนที่สุด ไม่มีวันที่เราจะรับรู้รส เปรี้ยว หวาน มัน เผ็ด หรืความอิ่มของอาหารชนิดนั้นได้ ฉันใด ประสพการณ์ของใครๆ ก็ไม่อาจนำมาใช้เป็นของอีกคนหนึ่งได้ เพราะยุคสมัย ปัจจัยแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป ความสำเร็จของใครก็ย่อมเป็นของผู้นั้น มิอาจลอกเลียนแบบเหมือนสินค้า หรือวัตถุได้ เพราะเหตุใด ?
คำตอบไม่ยากและเป็นสัจจะธรรมชั่วนิรันกาล คือ สัตว์ทุกรูปนามที่ยังเวียนว่ายเกิดแก่เจ็บตาย ในวัฏฏะสงสาร ล้วนมีกรรม เป็นของตน และกรรมนี้เปรียบเสมือนถนน หรือเส้นทางของสัตว์โลกทั้งหลาย ดังพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม" นี้คือสภาพทั่วไปที่เป็นกฎเกณฑ์ เรียกว่า "
กฏแห่งกรรม" กรรมดังกล่าวนี้แบ่งเป็นสองชนิดคือ
กุศลกรรม คือ กรรมที่ส่งผลให้เกิดความสุขสมปรารถนา กับ
อกุศลกรรม คือ กรรมอันส่งผลให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ยากจนค่นแค้น เป็นหนี้ชนิดไม่อาจหลีกหนีได้ กรรมทั้งสองนี้คละเคล้ากันไป
ในหนึ่งชีวิตของสัตว์โลกทุกรูปนาม เปรียบได้กับน้ำ และน้ำมันที่รวมอยู่ในขวดเดียวกัน เมื่อดื่มกินย่อมปะปนกันเป็นปกติ ชีวิตจึงมีสุขและทุกข์ปะปนคลุกเคล้ากันไป จนกลายเป็นเรื่องที่คล้ายกับว่า ทุกคนต้องยอมรับสภาพเช่นนั้น
จริงหรือ ที่เรา ท่านทุกผู้ตนต้องรับสภาพเช่นนั้น โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ?
คำตอบ คือ ไม่จริงเสมอไป !!
เพราะสภาพที่ไม่อาจเลือกได้นั้น จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ดำเนินชีวิตผิดเส้นทางของสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ผู้ที่ปฏิบัติผิดไปจากเส้นทาง จะไม่อาจที่จะกำหนดชีวิตตนเองให้ประสพผลสำเร็จ หรือได้ในสิ่งอันปราถนาอันใจประสงค์ ต้องทนรับสภาพทุกข์ยากลำบาก ซวยซ้ำซาก อย่างมิอาจแก้ไข
เพราะกุศลกรรม ที่กล่าวข้างต้นนั้น เกิดจากผลบุญที่ผู้ปฏิบัติได้สร้าง กำหนด และตั้งความปรารถนาอันเรียกว่า "
อธิษฐาน" ดุจดั่งการรัปทานอาหาร ย่อมไดรับรู้ ลิ้มชิมรส ทางปฏิบัติเรียกว่า "
ฤทธิ-อิทธิบาท" และ สารอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ทางปฏิบัติเรียกว่า "
บุญ-กุศล" ที่จะส่งผลทั้งในปัจจุบันทันที ทั้งในภพนี้ และภพต่อ ๆ ไป
เปรียบได้กับว่า เรารัปทานอาหารแล้ว ความความอิ่มและความแข็งแรงพลัง ยังคงอยู่ในร่างกายเราจากร้านอาหารไปจนถึงบ้าน ข้ามวันข้ามคืน (ข้ามภพชาติ) ฉะนั้น ชีวิตของผู้ปฏิบัติในวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงเป็นชีวิตที่เลือกได้ และสำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ปราถนา ด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมที่ได้สร้างนั้น และไม่มีหนทางอื่นใดที่จะให้ผลได้เช่นหนทางนี้ อกุศล ความทุกข์ โศก เศร้า อุปสรรค ศัตรู ภัยพาล รวมทั้งความพ่ายแพ้ทั้งหลาย มิอาจทำอันตรายใด ๆ ต่อผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานได้ ดุจดั่งน้ำกรดเข้มข้นปานใด ก็มิอาจทำอันตรายขวดแก้วเจียรนัย ให้ย่อยสลายได้ฉันนั้น
Secret Sutta 2
ในข่วงชีวิตหนึ่งของมนุษย์ี่เกิดมา ความปรารถนาอันสูงสุด คือความสมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา หลาย ๆ ท่านชอบชมภาพยนต์ ละครชีวิต เพราะคิดว่ามันสนุกให้อรรถรส หรือบทเรียนแก่ชีวิตของเขา แต่โดยเนื้อแท้และความเป็นจริงแล้ว ชีวิตจริงของแต่ละท่าน ล้วนสุข เศร้า สลับซับซ้อน มากมายกว่าภาพยนต์ หรืละครหลายร้อยเท่า หลาย ๆ ท่านชอบอ่านหนังสือบทประพันธ์ ประสพการชีวิตของผู้ประสพความสำเร็จ เพราะคิดว่า อาจจะ หรือสามารถนำมาใช้ กับชีวิตของตนได้
แต่เปล่าเลย ตามความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องที่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เปรียบได้กับนั่งมองคนอื่นกินอาหาร ซึ่งแน่นอนที่สุด ไม่มีวันที่เราจะรับรู้รส เปรี้ยว หวาน มัน เผ็ด หรืความอิ่มของอาหารชนิดนั้นได้ ฉันใด ประสพการณ์ของใครๆ ก็ไม่อาจนำมาใช้เป็นของอีกคนหนึ่งได้ เพราะยุคสมัย ปัจจัยแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป ความสำเร็จของใครก็ย่อมเป็นของผู้นั้น มิอาจลอกเลียนแบบเหมือนสินค้า หรือวัตถุได้ เพราะเหตุใด ?
คำตอบไม่ยากและเป็นสัจจะธรรมชั่วนิรันกาล คือ สัตว์ทุกรูปนามที่ยังเวียนว่ายเกิดแก่เจ็บตาย ในวัฏฏะสงสาร ล้วนมีกรรม เป็นของตน และกรรมนี้เปรียบเสมือนถนน หรือเส้นทางของสัตว์โลกทั้งหลาย ดังพุทธพจน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม" นี้คือสภาพทั่วไปที่เป็นกฎเกณฑ์ เรียกว่า "กฏแห่งกรรม" กรรมดังกล่าวนี้แบ่งเป็นสองชนิดคือ
กุศลกรรม คือ กรรมที่ส่งผลให้เกิดความสุขสมปรารถนา กับ
อกุศลกรรม คือ กรรมอันส่งผลให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ยากจนค่นแค้น เป็นหนี้ชนิดไม่อาจหลีกหนีได้ กรรมทั้งสองนี้คละเคล้ากันไป
ในหนึ่งชีวิตของสัตว์โลกทุกรูปนาม เปรียบได้กับน้ำ และน้ำมันที่รวมอยู่ในขวดเดียวกัน เมื่อดื่มกินย่อมปะปนกันเป็นปกติ ชีวิตจึงมีสุขและทุกข์ปะปนคลุกเคล้ากันไป จนกลายเป็นเรื่องที่คล้ายกับว่า ทุกคนต้องยอมรับสภาพเช่นนั้น
จริงหรือ ที่เรา ท่านทุกผู้ตนต้องรับสภาพเช่นนั้น โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ?
คำตอบ คือ ไม่จริงเสมอไป !!
เพราะสภาพที่ไม่อาจเลือกได้นั้น จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ดำเนินชีวิตผิดเส้นทางของสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค ผู้ที่ปฏิบัติผิดไปจากเส้นทาง จะไม่อาจที่จะกำหนดชีวิตตนเองให้ประสพผลสำเร็จ หรือได้ในสิ่งอันปราถนาอันใจประสงค์ ต้องทนรับสภาพทุกข์ยากลำบาก ซวยซ้ำซาก อย่างมิอาจแก้ไข
เพราะกุศลกรรม ที่กล่าวข้างต้นนั้น เกิดจากผลบุญที่ผู้ปฏิบัติได้สร้าง กำหนด และตั้งความปรารถนาอันเรียกว่า "อธิษฐาน" ดุจดั่งการรัปทานอาหาร ย่อมไดรับรู้ ลิ้มชิมรส ทางปฏิบัติเรียกว่า "ฤทธิ-อิทธิบาท" และ สารอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ทางปฏิบัติเรียกว่า "บุญ-กุศล" ที่จะส่งผลทั้งในปัจจุบันทันที ทั้งในภพนี้ และภพต่อ ๆ ไป
เปรียบได้กับว่า เรารัปทานอาหารแล้ว ความความอิ่มและความแข็งแรงพลัง ยังคงอยู่ในร่างกายเราจากร้านอาหารไปจนถึงบ้าน ข้ามวันข้ามคืน (ข้ามภพชาติ) ฉะนั้น ชีวิตของผู้ปฏิบัติในวิถีแห่งสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค จึงเป็นชีวิตที่เลือกได้ และสำเร็จได้ในทุกสิ่งที่ปราถนา ด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมที่ได้สร้างนั้น และไม่มีหนทางอื่นใดที่จะให้ผลได้เช่นหนทางนี้ อกุศล ความทุกข์ โศก เศร้า อุปสรรค ศัตรู ภัยพาล รวมทั้งความพ่ายแพ้ทั้งหลาย มิอาจทำอันตรายใด ๆ ต่อผู้ปฏิบัติสติปัฏฐานได้ ดุจดั่งน้ำกรดเข้มข้นปานใด ก็มิอาจทำอันตรายขวดแก้วเจียรนัย ให้ย่อยสลายได้ฉันนั้น