บทที่ ๖
http://ppantip.com/topic/31069695/comment8-1
(ขอบคุณทุกเสียง ทุกความรู้สึก ที่ส่งผ่านมาถึงผู้เขียนเรื่องนี้)
บทที่ ๗
สถานะความเป็นผู้ให้กำเนิดย่อมต้องรักใคร่และห่วงใยลูกของตัวเองเป็นธรรมดา ‘ลูกใคร ใครก็รัก’ คือคำกล่าวที่ยุพินประจักษ์แก่ใจตัวเองมานานแล้วว่าจริงเสียยิ่งกว่าจริง แม้บุตรชายบุตรสาวของหล่อนมิได้หล่อสวยโดดเด่นชนิดที่ผู้พบเห็นต้องตกตะลึงยามพบหน้า แต่หล่อนก็คิดว่ารูปโฉมลูกไม่ด้อยไปกว่าหนุ่มสาวในยุคสมัยนิยมพึ่งพามีดหมอศัลยกรรม ยิ่งในเรื่องความประพฤติด้วยแล้ว หล่อนสามารถพูดคำว่า ‘ดี’ ได้เต็มปากเต็มความภาคภูมิยามอยู่ในวงสนทนาเรื่องลูกกับเพื่อน ๆ
เพราะความที่ลูกเป็นคนดีแต่ต้องมาพบเจอกับอำนาจลี้ลับชั่วร้ายบางอย่าง ทำให้ยุพินไม่อาจใจเย็นเป็นสุขอยู่ได้เหมือนเคย ถึงแม้ผ่านพ้นมาหลายวันแล้วนับจากวันเกิดเรื่องสยองขวัญที่ทำงานของบุตรสาว
สามวันผ่านไปโดยที่กัญญามิได้ถูกราวีปองร้ายใด ๆ ซ้ำอีก แต่ยุพินก็ไม่วางใจเพราะคิดเห็นด้วยสายตาของคนผ่านโลกในวัยเกษียณว่า คำประกาศเอาชีวิตของคู่อาฆาตนั้นคงไม่กล่าวออกมาด้วยเจตนาเพียงต้องการกลั่นแกล้งกันอย่างแน่นอน ซึ่งที่ร้ายที่สุดคือ ศัตรูของกัญญาไม่ใช่คน !
หล่อนโทรศัพท์ถึงเพื่อนสนิทร่วมวิชาชีพเดียวกันหลังกินข้าวกลางวันเสร็จแล้วตอนบ่ายของวันพฤหัสบดี
“วรรณจ้ะ นั่นเธออยู่บ้านหรือเปล่า”
“อยู่จ้า ว่างงานอยู่บ้านเฉย ๆ มาหลายเดือนแล้ว” วรรณหรือมณีวรรณส่งเสียงแจ่มใสตอบกลับมา
“เธอรู้จักอาจารย์สำนักไหนเก่ง ๆ ที่พอจะช่วย...” หล่อนชะงักคำพูดด้วยลังเลที่จะกล่าวออกไป
“ช่วยอะไรล่ะ ดูดวงแม่น ๆ หาฤกษ์ยามทำการมงคลหรือไง อย่าบอกนะว่าเธอจะเปิดร้านค้าขายอะไร”
ยุพินหายใจเข้าลึก ๆ รวบรวมความกล้า ปลงใจแล้วว่าควรพูดจาแบบตรงไปตรงมาที่สุดไม่ว่าอีกฝ่ายจะคิดเห็นกับหล่อนอย่างไร
“ไม่ได้เปิดร้านอะไรหรอก” หล่อนปฏิเสธเรียบ ๆ ก่อนพูดความในใจ “อาจารย์ที่ฉันถามถึงคืออาจารย์ปราบผี คนมีสื่อสัมผัสกับวิญญาณได้อะไรทำนองนี้”
“ฉันไม่ได้หูฝาดไปนะ” เป็นคำถามเสียงสูง
“หูเธอไม่ได้ฝาดหรอก ฉันต้องการพบจริง ๆ มีเรื่องเดือดร้อนน่ะ”
“อย่าบอกนะว่าถูกวิญญาณตามรังควาญยังงั้นหรือเปล่า”
“ก็คล้าย ๆ แบบนั้น” ยุพินตอบกลาง ๆ “ตกลงพอจะรู้จักใครบ้างมั้ย”
“เอ...เดี๋ยวนะ ขอนึกก่อน” เสียงเพื่อนสูงวัยเงียบไปครู่หนึ่งราวกำลังใช้ความคิด แล้วกลับพูดขึ้นว่า “พอมีอยู่เหมือนกัน แม่ชีตาเห็นละหนึ่งที่ อีกที่ก็สำนักของพ่อปู่บัว”
“เธอว่างหรือเปล่า พาฉันไปหาท่านหน่อยได้มั้ย” หล่อนไม่อ้อมค้อมให้เสียเวลา
“วัดของแม่ชีตาเห็นก็อยู่ใกล้ ๆ บ้านเธอนั่นไง ครั้งก่อนที่ฉันชวนเธอไปหาจำได้หรือเปล่า”
“แหม เพิ่งไม่นานนี้เอง ฉันยังไม่แก่จนเลอะเลือนขนาดนั้น” ยุพินว่าพลางหัวเราะ “ฉันไปหามาแล้วแต่แก้อะไรไม่ได้ อยากลองไปสำนักอื่นดูเผื่ออะไรจะดีขึ้นบ้าง”
“สงสัยเจอปัญญาใหญ่แล้วนะ ครูยุพินชวนฉันไปสำนักทรงเจ้าเข้าผี”
“เอาไว้เจอกันแล้วฉันค่อยเล่าให้เธอฟัง ตอนนี้ฉันร้อนใจเหลือเกิน” หล่อนรีบบอก “เธอว่างก็ขับรถมารับฉันนะ หรือถ้าสำนักอยู่ไม่ไกลจะขึ้นรถเมล์กันไปก็ได้”
“เอาละ ๆ เดี๋ยวฉันขับรถไปหาเธอ ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน” เสียงมณีวรรณพูดเนิบ ๆ เป็นเชิงปลอบใจ
“วันนี้เลยหรือเปล่า ฉันจะได้แต่งตัวรอ”
“จ้า แต่งตัวสวย ๆ รอได้เลย”
ยุพินวางสายพลางถอนใจยาวโล่งอก หล่อนคิดไม่ผิดที่ตัดสินใจโทรศัพท์หามณีวรรณซึ่งชอบการดูดวงฟังคำพยากรณ์ชะตาชีวิตอยู่เป็นประจำ เธอเดินเข้าออกสำนักต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้งโดยมิได้ยึดติดกับสำนักแห่งใดเป็นพิเศษ นัยว่าเพื่อความแม่นยำในคำตอบปัญหาจึงอาศัยคำทำนายสองสำนักเอาไว้เปรียบเทียบกัน ตรงข้ามกับตัวหล่อนเองที่ไม่ชอบการดูดวงล่วงรู้อนาคต แต่หล่อนก็ไม่เคยตำหนิเพื่อนเพราะเห็นว่ามิได้เชื่อแบบฝังหัว และสำนักส่วนใหญ่ที่ไปก็ไม่ได้เรียกร้องเงินทองค่าครูค่าพิธีเกินหลักร้อย
หล่อนอาบน้ำแล้วแต่งตัวด้วยเสื้อแขนสั้นผ้าลินินสีครีมเข้าชุดกับกางเกงทรงกระบอกใหญ่ ออกจากห้องเดินไปหาสามีที่กำลังนั่งง่วนอยู่กับการเปลี่ยนเครื่องปลูกกล้วยไม้บนแคร่ไม้ไผ่ใต้ต้นมะม่วงริมรั้วติดกับโรงจอดรถ
“ฉันจะไปหาคนทรงที่สำนักกับมณีวรรณนะคะ” หล่อนบอกกล่าวให้สามีรับรู้
“มณีวรรณเขาจะไปเรียนวิชามาเปิดสำนักละมัง เห็นไปบ่อยเหลือเกิน” นายกันต์พลพูดยิ้ม ๆ
ยุพินรู้ว่าสามีพูดสัพยอกแต่ก็อธิบายแก้กลับไป
“โธ่คุณ คนเราอยู่ดีมีสุขก็คงไม่วิ่งเข้าไปสำนักทรงหรอกค่ะ ปัญหาเธอเยอะนะคะ ไหนจะเรื่องลูก ไหนจะเรื่องสามี”
นายกันต์พลทำเสียงครางรับรู้อยู่ในลำคอ
“ถ้าครูวรรณไม่พึ่งหมอดูนี่สิแปลก” เขาพูดเสียงเบาโดยไม่มองหน้าภรรยา
ในแวดวงสังคมครูซึ่งทำงานอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานหลายสิบปี ลักษณะนิสัยของเพื่อนครูแต่ละคนเป็นอย่างไร นายกันต์พลเคยออกปากพูดกับภรรยาว่า ‘อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ขยับตัวทีไส้มีกี่ขดก็เห็นกันหมด’
“ครั้งนี้ฉันเป็นฝ่ายชวนวรรณเองค่ะ เธอไม่ได้มาชักชวนอะไรฉันหรอก”
นายกันต์พลถึงกับขมวดคิ้ว ชะงักมือจากการยัดกาบมะพร้าวชุ่มน้ำลงในกระถางดินเผา
“คุณจะไปทำอะไร”
หล่อนถอนใจก่อนตอบไปว่า “ฉันจะไปหาอาจารย์ปราบผี”
“เงียบ ๆ กันไปแล้วนี่ คุณอย่าไปใส่ใจเลย เราก็อยู่ส่วนเรา เขาก็อยู่ส่วนเขา คงไม่มายุ่งเกี่ยวอะไรกันแล้วมั้ง” เขาพูดราบเรียบแต่คิ้วขมวดตลอดเวลา
“ว่าได้หรือคะ ถ้ามันกลับมายุ่งกับลูกเราอีกคุณจะทำยังไง ฉันไม่นั่งเฉยดูลูกถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียวหรอกค่ะ” ยุพินพูดแล้วเม้มปากสะกดกลั้นความรู้สึก
ฝ่ายสามีถึงกับอึ้งไปครู่หนึ่ง จากนั้นพูดขึ้นด้วยเสียงแผ่วเบา
“แต่เขาเป็นผีนะคุณ”
“ก็เพราะเป็นผีไงคะฉันถึงต้องไปสำนักเข้าทรง ถ้ามันเป็นคนน่ะหรือ ฉันวิ่งไปแจ้งความที่โรงพักนานแล้วค่ะ” หล่อนตอบฉุนเฉียวด้วยดวงใจแม่ผู้กำลังเป็นทุกข์กับอันตรายที่เข้ามาแผ้วพานชีวิตของลูก
“จะไปก็ไปเถอะคุณ ลองหาสาเหตุแล้วจะได้หาทางหนีทีไล่ เราไม่ได้โต้ตอบเขาเสียเมื่อไหร่”
ยุพินพอจะเดาคำตอบได้อยู่แล้วว่าถึงอย่างไรสามีหล่อนคงไม่ห้ามปราม เพราะหล่อนได้เห็นสีหน้าเป็นกังวลของเขาทุกวันตอนเข้านอน บางวันถึงขั้นยกมือนอนก่ายหน้าผาก
“ไม่แน่หรอกคุณ ถ้ามันยังตามเล่นงานลูกเราไม่เลิก เห็นทีจะต้องโต้ตอบกันบ้าง” หล่อนพูดแข็งกร้าวดวงตาเป็นประกาย
.............................................................
ผีล่ากรรม ( บทที่ ๗ )
(ขอบคุณทุกเสียง ทุกความรู้สึก ที่ส่งผ่านมาถึงผู้เขียนเรื่องนี้)
สถานะความเป็นผู้ให้กำเนิดย่อมต้องรักใคร่และห่วงใยลูกของตัวเองเป็นธรรมดา ‘ลูกใคร ใครก็รัก’ คือคำกล่าวที่ยุพินประจักษ์แก่ใจตัวเองมานานแล้วว่าจริงเสียยิ่งกว่าจริง แม้บุตรชายบุตรสาวของหล่อนมิได้หล่อสวยโดดเด่นชนิดที่ผู้พบเห็นต้องตกตะลึงยามพบหน้า แต่หล่อนก็คิดว่ารูปโฉมลูกไม่ด้อยไปกว่าหนุ่มสาวในยุคสมัยนิยมพึ่งพามีดหมอศัลยกรรม ยิ่งในเรื่องความประพฤติด้วยแล้ว หล่อนสามารถพูดคำว่า ‘ดี’ ได้เต็มปากเต็มความภาคภูมิยามอยู่ในวงสนทนาเรื่องลูกกับเพื่อน ๆ
เพราะความที่ลูกเป็นคนดีแต่ต้องมาพบเจอกับอำนาจลี้ลับชั่วร้ายบางอย่าง ทำให้ยุพินไม่อาจใจเย็นเป็นสุขอยู่ได้เหมือนเคย ถึงแม้ผ่านพ้นมาหลายวันแล้วนับจากวันเกิดเรื่องสยองขวัญที่ทำงานของบุตรสาว
สามวันผ่านไปโดยที่กัญญามิได้ถูกราวีปองร้ายใด ๆ ซ้ำอีก แต่ยุพินก็ไม่วางใจเพราะคิดเห็นด้วยสายตาของคนผ่านโลกในวัยเกษียณว่า คำประกาศเอาชีวิตของคู่อาฆาตนั้นคงไม่กล่าวออกมาด้วยเจตนาเพียงต้องการกลั่นแกล้งกันอย่างแน่นอน ซึ่งที่ร้ายที่สุดคือ ศัตรูของกัญญาไม่ใช่คน !
หล่อนโทรศัพท์ถึงเพื่อนสนิทร่วมวิชาชีพเดียวกันหลังกินข้าวกลางวันเสร็จแล้วตอนบ่ายของวันพฤหัสบดี
“วรรณจ้ะ นั่นเธออยู่บ้านหรือเปล่า”
“อยู่จ้า ว่างงานอยู่บ้านเฉย ๆ มาหลายเดือนแล้ว” วรรณหรือมณีวรรณส่งเสียงแจ่มใสตอบกลับมา
“เธอรู้จักอาจารย์สำนักไหนเก่ง ๆ ที่พอจะช่วย...” หล่อนชะงักคำพูดด้วยลังเลที่จะกล่าวออกไป
“ช่วยอะไรล่ะ ดูดวงแม่น ๆ หาฤกษ์ยามทำการมงคลหรือไง อย่าบอกนะว่าเธอจะเปิดร้านค้าขายอะไร”
ยุพินหายใจเข้าลึก ๆ รวบรวมความกล้า ปลงใจแล้วว่าควรพูดจาแบบตรงไปตรงมาที่สุดไม่ว่าอีกฝ่ายจะคิดเห็นกับหล่อนอย่างไร
“ไม่ได้เปิดร้านอะไรหรอก” หล่อนปฏิเสธเรียบ ๆ ก่อนพูดความในใจ “อาจารย์ที่ฉันถามถึงคืออาจารย์ปราบผี คนมีสื่อสัมผัสกับวิญญาณได้อะไรทำนองนี้”
“ฉันไม่ได้หูฝาดไปนะ” เป็นคำถามเสียงสูง
“หูเธอไม่ได้ฝาดหรอก ฉันต้องการพบจริง ๆ มีเรื่องเดือดร้อนน่ะ”
“อย่าบอกนะว่าถูกวิญญาณตามรังควาญยังงั้นหรือเปล่า”
“ก็คล้าย ๆ แบบนั้น” ยุพินตอบกลาง ๆ “ตกลงพอจะรู้จักใครบ้างมั้ย”
“เอ...เดี๋ยวนะ ขอนึกก่อน” เสียงเพื่อนสูงวัยเงียบไปครู่หนึ่งราวกำลังใช้ความคิด แล้วกลับพูดขึ้นว่า “พอมีอยู่เหมือนกัน แม่ชีตาเห็นละหนึ่งที่ อีกที่ก็สำนักของพ่อปู่บัว”
“เธอว่างหรือเปล่า พาฉันไปหาท่านหน่อยได้มั้ย” หล่อนไม่อ้อมค้อมให้เสียเวลา
“วัดของแม่ชีตาเห็นก็อยู่ใกล้ ๆ บ้านเธอนั่นไง ครั้งก่อนที่ฉันชวนเธอไปหาจำได้หรือเปล่า”
“แหม เพิ่งไม่นานนี้เอง ฉันยังไม่แก่จนเลอะเลือนขนาดนั้น” ยุพินว่าพลางหัวเราะ “ฉันไปหามาแล้วแต่แก้อะไรไม่ได้ อยากลองไปสำนักอื่นดูเผื่ออะไรจะดีขึ้นบ้าง”
“สงสัยเจอปัญญาใหญ่แล้วนะ ครูยุพินชวนฉันไปสำนักทรงเจ้าเข้าผี”
“เอาไว้เจอกันแล้วฉันค่อยเล่าให้เธอฟัง ตอนนี้ฉันร้อนใจเหลือเกิน” หล่อนรีบบอก “เธอว่างก็ขับรถมารับฉันนะ หรือถ้าสำนักอยู่ไม่ไกลจะขึ้นรถเมล์กันไปก็ได้”
“เอาละ ๆ เดี๋ยวฉันขับรถไปหาเธอ ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน” เสียงมณีวรรณพูดเนิบ ๆ เป็นเชิงปลอบใจ
“วันนี้เลยหรือเปล่า ฉันจะได้แต่งตัวรอ”
“จ้า แต่งตัวสวย ๆ รอได้เลย”
ยุพินวางสายพลางถอนใจยาวโล่งอก หล่อนคิดไม่ผิดที่ตัดสินใจโทรศัพท์หามณีวรรณซึ่งชอบการดูดวงฟังคำพยากรณ์ชะตาชีวิตอยู่เป็นประจำ เธอเดินเข้าออกสำนักต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้งโดยมิได้ยึดติดกับสำนักแห่งใดเป็นพิเศษ นัยว่าเพื่อความแม่นยำในคำตอบปัญหาจึงอาศัยคำทำนายสองสำนักเอาไว้เปรียบเทียบกัน ตรงข้ามกับตัวหล่อนเองที่ไม่ชอบการดูดวงล่วงรู้อนาคต แต่หล่อนก็ไม่เคยตำหนิเพื่อนเพราะเห็นว่ามิได้เชื่อแบบฝังหัว และสำนักส่วนใหญ่ที่ไปก็ไม่ได้เรียกร้องเงินทองค่าครูค่าพิธีเกินหลักร้อย
หล่อนอาบน้ำแล้วแต่งตัวด้วยเสื้อแขนสั้นผ้าลินินสีครีมเข้าชุดกับกางเกงทรงกระบอกใหญ่ ออกจากห้องเดินไปหาสามีที่กำลังนั่งง่วนอยู่กับการเปลี่ยนเครื่องปลูกกล้วยไม้บนแคร่ไม้ไผ่ใต้ต้นมะม่วงริมรั้วติดกับโรงจอดรถ
“ฉันจะไปหาคนทรงที่สำนักกับมณีวรรณนะคะ” หล่อนบอกกล่าวให้สามีรับรู้
“มณีวรรณเขาจะไปเรียนวิชามาเปิดสำนักละมัง เห็นไปบ่อยเหลือเกิน” นายกันต์พลพูดยิ้ม ๆ
ยุพินรู้ว่าสามีพูดสัพยอกแต่ก็อธิบายแก้กลับไป
“โธ่คุณ คนเราอยู่ดีมีสุขก็คงไม่วิ่งเข้าไปสำนักทรงหรอกค่ะ ปัญหาเธอเยอะนะคะ ไหนจะเรื่องลูก ไหนจะเรื่องสามี”
นายกันต์พลทำเสียงครางรับรู้อยู่ในลำคอ
“ถ้าครูวรรณไม่พึ่งหมอดูนี่สิแปลก” เขาพูดเสียงเบาโดยไม่มองหน้าภรรยา
ในแวดวงสังคมครูซึ่งทำงานอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานหลายสิบปี ลักษณะนิสัยของเพื่อนครูแต่ละคนเป็นอย่างไร นายกันต์พลเคยออกปากพูดกับภรรยาว่า ‘อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ขยับตัวทีไส้มีกี่ขดก็เห็นกันหมด’
“ครั้งนี้ฉันเป็นฝ่ายชวนวรรณเองค่ะ เธอไม่ได้มาชักชวนอะไรฉันหรอก”
นายกันต์พลถึงกับขมวดคิ้ว ชะงักมือจากการยัดกาบมะพร้าวชุ่มน้ำลงในกระถางดินเผา
“คุณจะไปทำอะไร”
หล่อนถอนใจก่อนตอบไปว่า “ฉันจะไปหาอาจารย์ปราบผี”
“เงียบ ๆ กันไปแล้วนี่ คุณอย่าไปใส่ใจเลย เราก็อยู่ส่วนเรา เขาก็อยู่ส่วนเขา คงไม่มายุ่งเกี่ยวอะไรกันแล้วมั้ง” เขาพูดราบเรียบแต่คิ้วขมวดตลอดเวลา
“ว่าได้หรือคะ ถ้ามันกลับมายุ่งกับลูกเราอีกคุณจะทำยังไง ฉันไม่นั่งเฉยดูลูกถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียวหรอกค่ะ” ยุพินพูดแล้วเม้มปากสะกดกลั้นความรู้สึก
ฝ่ายสามีถึงกับอึ้งไปครู่หนึ่ง จากนั้นพูดขึ้นด้วยเสียงแผ่วเบา
“แต่เขาเป็นผีนะคุณ”
“ก็เพราะเป็นผีไงคะฉันถึงต้องไปสำนักเข้าทรง ถ้ามันเป็นคนน่ะหรือ ฉันวิ่งไปแจ้งความที่โรงพักนานแล้วค่ะ” หล่อนตอบฉุนเฉียวด้วยดวงใจแม่ผู้กำลังเป็นทุกข์กับอันตรายที่เข้ามาแผ้วพานชีวิตของลูก
“จะไปก็ไปเถอะคุณ ลองหาสาเหตุแล้วจะได้หาทางหนีทีไล่ เราไม่ได้โต้ตอบเขาเสียเมื่อไหร่”
ยุพินพอจะเดาคำตอบได้อยู่แล้วว่าถึงอย่างไรสามีหล่อนคงไม่ห้ามปราม เพราะหล่อนได้เห็นสีหน้าเป็นกังวลของเขาทุกวันตอนเข้านอน บางวันถึงขั้นยกมือนอนก่ายหน้าผาก
“ไม่แน่หรอกคุณ ถ้ามันยังตามเล่นงานลูกเราไม่เลิก เห็นทีจะต้องโต้ตอบกันบ้าง” หล่อนพูดแข็งกร้าวดวงตาเป็นประกาย
.............................................................