ผู้ที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด หรือผู้ระลึกชาติได้ ไม่เป็นสัสสตทิฏฐิ หรือเป็นสัสสตทิฏฐิ ได้อย่างไร?

ผู้ที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด หรือผู้ระลึกชาติได้  ไม่เป็นสัสสตทิฏฐิ หรือเป็นสัสสตทิฏฐิ ได้อย่างไร?

1. สำหรับผู้ที่ระลึกชาติได้  แต่มีความคิดเห็นเป็น สัสสตทิฏฐิ ดังนี้

            จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 11.  พระสารีบุตร กล่าวธรรมของพระพุทธะเจ้า ๕. ใน สัมปสาทนียสูตร (๒๘) ตัดมาส่วนหนึ่งดังนี้
---
                                         ว่าด้วยภัสสตวาทะ ๓
         [๘๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงธรรมในฝ่ายสัสสตวาทะ สัสสตวาทะ ๓ เหล่านี้ คือ
         สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียร
ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย มนสิการโดยชอบ
แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึง ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ คือตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พัน
ชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้างว่าในภพ โน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ใน
ภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้
ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วย ประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้วหรือเจริญ
ขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก เจริญขึ้น อัตตาและโลก
เที่ยงคงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่ เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๑

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลก นี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ เนืองๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกขันธ์
ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
สังวัฏกัปวิวัฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่าในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตาม
ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
ประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญ
ขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก เจริญขึ้น อัตตาและ
โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วน เหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๒

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย
ความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่
ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วย่อมตามระลึกถึงขันธ์
ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนหลายประการ คือตามระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบ
สังวัฏกัปวิวัฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้างว่า ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาล ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขา กล่าว
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาล
ที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น อัตตาและ โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่น
ดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์ นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเที่ยวไป
ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมี อยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๓

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายสัสสตวาทะ ฯ
---

   อธิบาย >>> ความเห็นที่เป็น สัสสตทิฏฐิคือ ....

                                                                                          ข้าพเจ้ารู้กาล
ที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น อัตตาและ โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่น
ดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์ นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเที่ยวไป
ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมี อยู่แท้

>>>      เป็นการเห็นว่า มีอัตตาและโลกคงที่เทียงแท้

2. สำหรับผู้ที่ระลึกชาติไม่ได้ แต่มีความเชื่อความเห็นตามว่า  มีอัตตาและโลกคงที่เที่ยงแท้เวียนว่ายตายเกิด อยู่อย่างนั้น  ย่อมเป็นความเห็นที่เป็น สัสสตทิฏฐิ

      สรุปคือ   สัสสตทิฏฐิ  ก็คือ มิจฉาทิฏฐิ นั้นเอง


      เมื่อกล่าวถึง 2 ข้อด้านบน แล้ว ผู้ที่ระลึกชาติได้ หรือผู้ที่เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด จะไม่เกิดเป็น สัสสตทิฏฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ ได้อย่างไรในทางพุทธศาสนา?

       ตอบ ก็คือมีความเชื่อมีความเห็นตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วคือ สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ  ดังนี้.

จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 14 ๗.  มหาจัตตารีสกสูตร  (๑๑๗)
---
        [๒๕๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์
เป็นไฉน  คือ  ความเห็นดังนี้ว่า  ทานที่ให้แล้ว  มีผล  ยัญที่บูชาแล้ว  มีผล  สังเวยที่บวงสรวงแล้ว
มีผล  ผลวิบากของกรรมที่ทำดี  ทำชั่วแล้วมีอยู่  โลกนี้มี  โลกหน้ามี  มารดามี  บิดามี  สัตว์ที่
เป็นอุปปาติกะมี  สมณพราหมณ์ทั้งหลาย  ผู้ดำเนินชอบ  ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า
ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง  ในโลก  มีอยู่  นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์  ฯ
---

   ผู้ที่มี สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็น สัตบุรุษ ดังในพระไตรปิฏกเล่มที่ 14 ๑๐.  จูฬปุณณมสูตร  (๑๑๐) ดังนี้
---
        [๑๕๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไรคือ  สัตบุรุษ
ในโลกนี้  เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า  ทานที่ให้แล้ว  มีผล  ยัญที่บูชาแล้ว  มีผล  สังเวยที่
บวงสรวงแล้ว  มีผล  ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว  มีอยู่โลกนี้มี  โลกหน้ามี  มารดามี  บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี  สมณพราหมณ์ทั้งหลาย  ผู้ดำเนินชอบ  ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้
โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง  ในโลกมีอยู่  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  สัตบุรุษ
ชื่อว่า  เป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ  ฯ
---

      แล้ว สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นกุศลกรรมอย่างไร มีกล่าวไว้ ในพระไตรปิฏกเล่ม 14      ๔.  เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร  (๑๑๔)
---
        [๒๑๕]  ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวความได้ทิฐิ
โดยส่วน  ๒  คือ  ที่ควรเสพอย่าง  ๑  ที่ไม่ควรเสพอย่าง  ๑  ทั้ง  ๒  อย่างนั้น  แต่ละอย่าง
เป็นความได้ทิฐิด้วยกัน  นั่น  พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อเสพความได้ทิฐิเช่นใด  อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง  กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป  ความได้ทิฐิ
เช่นนี้ไม่ควรเสพ  และเมื่อเสพความได้ทิฐิเช่นใด  อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป  กุศลธรรมย่อม
เจริญยิ่ง  ความได้ทิฐิเช่นนี้  ควรเสพ  ฯ
       [๒๑๖]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างไร  อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง
กุศลธรรมจึงเสื่อมไป  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว  ไม่มีผล  ยัญที่บูชาแล้ว  ไม่มีผล  สังเวยที่บวงสรวงแล้ว  ไม่มีผล  ผลวิบากของ
กรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  ไม่มีโลกนี้ไม่มี  โลกหน้าไม่มี  มารดาไม่มี  บิดาไม่มี  สัตว์ที่เป็น
อุปปาติกะไม่มีสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ  ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้  โลกหน้า
ให้  แจ่มแจ้ง  เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง  ในโลกไม่มี  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความได้ทิฐิมี
รูปอย่างนี้  อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง  กุศลธรรมจึงเสื่อมไป  ฯ
       [๒๑๗]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างไร  อกุศล  ธรรมจึงเสื่อมไป
กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  บุคคลบางคน  ในโลกนี้  เป็นผู้มีความเห็น
อย่างนี้ว่า  ทานที่ให้แล้ว  มีผล  ยัญที่บูชาแล้ว  มีผลสังเวยที่บวงสรวงแล้ว  มีผล  ผลวิบาก
ของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว  มีอยู่  โลกนี้มีโลกหน้ามี  มารดามี  บิดามี  สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ  ปฏิบัติชอบ  ซึ่งประกาศโลกนี้  โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง  ในโลกมีอยู่  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความได้ทิฐิมีรูปอย่างนี้
อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป  กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง  ฯ
       ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวความได้ทิฐิโดยส่วน  ๒
คือ  ที่ควรเสพอย่าง  ๑  ที่ไม่ควรเสพอย่าง  ๑  ทั้ง  ๒  อย่างนั้นแต่ละอย่างเป็นความได้ทิฐิ
ด้วยกัน  นั่น  พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว  ฯ
---

     เป็นอันว่าได้เสนอ ในสิ่งที่ เห็นหรือเชื่อคล้ายกัน  แต่มีทิฏฐิต่างกัน นั้นเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่