เวียดนามด้านการศึกษาเป็นอันดับต้นๆ ในเอเซียตอนนี้ และแน่นอนด้านคุณภาพการศึกษาของประชาชนเวียดนามแซงหน้าไทยมา 2 ปีแล้ว
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวียดนามซึ่งในปัจจุบันยังผลิตไฟฟ้าได้ไม่พอใช้ ได้ตัดสินใจล้มเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอื้อฉาวอีก 2 แห่งทางตอนเหนือของนครโฮจิมินห์ หลังจากผลการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชี้ชัดเขื่อนจะทำลายผืนป่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและ ข้ออ้างที่ระบุว่าเขื่อนจะช่วยป้องกันน้ำท่วมก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร
ขณะเดียวกันเพิ่งจะมีการเปิดเผยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้ตกลงกับทางการท้องถิ่นต่างๆ จำนวน 20 ท้องถิ่นทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ในการล้มเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนรวม 338 แห่ง รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,088.9 เมกะวัตต์ ในนั้นเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง และกระทรวงฯ ยังสั่งยุติการสำรวจศึกษาเขื่อนขนาดเล็กจำนวน 169 แห่งรวมกำลังผลิต 362.5 เมกะวัตต์อีกด้วย
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามซึ่งรับผิดชอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศได้ยืนยันในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับการล้มเลิกโครงการเขื่อน จ.โด่งนาย (Dong Nai) หลังจากองค์การอนุรักษ์นิยมทั้งในประเทศและในต่างประเทศ รวมทั้งองค์การยูเนสโกต่างคัดค้านมาเป็นเวลาข้ามปี และนายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) สั่งการสัปดาห์ปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ กลับไปทบทวน
รัฐบาลเวียดนามตั้งเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 5 ข้อในการพิจารณาก่อสร้างเขื่อนคือ มีอ่างเก็บน้ำที่มั่นคงปลอดภัย ทำลายป่าไม้น้อยที่สุด ส่งผลกระทบให้ต้องอพยพโยกย้ายราษฎรจำนวนน้อยที่สุด ไม่กระทบต่อความมั่นคงกับสภาพแวดล้อม และมีผลดีทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าหากไม่เข้าเกณฑ์ครบทั้ง 5 ข้อ รัฐบาลจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากจะก่อสร้างด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงแห่งชาติและยังจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาอีกด้วย
"โครงการใดที่เข้าเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อสามารถดำเนินการต่อไปได้เต็มกำลัง โครงการใดที่ขัดต่อเกณฑ์ก็ไม่ต้องทำ" และรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ ไปดำเนินการตามนี้ นายหวูดึ๊กดัม (Vu Duc Dam) เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋เมื่อเร็วๆ นี้
สองโครงการที่ถูกล้มเลิกล่าสุดคือ เขื่อนโด่งนาย 6 กับโด่งนาย 6A ซึ่งจะสร้างกั้นแม่น้ำโด่งนาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบรวมกันเป็นปริมาณ 929 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีโดยจำหน่ายให้แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม นอกจากนั้นบริษัทเอกชนเจ้าของสัมปทานจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่รัฐบาลปีละ 300,000 ล้านด่ง (กว่า 14,280,000 ดอลลาร์)
แต่ผลการศึกษาโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการโดยสถาบันชั้นนำหลายแห่งได้พบว่า เขื่อนโด่งนาย 6 กับโด่งนาย 6A จะทำลายผืนป่าอันอุดมอย่างถาวรจำนวน 327.23 เฮกตาร์ (2,045 ไร่เศษ) ดูเป็นจำนวนไม่มากนักแต่ในนั้น 128.37 (802 ไร่เศษ) เป็นจุดใจกลางของเขตป่าอันอุดมของเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าก๊าตเตียน (Cat Tien) ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในนั้นหลายชนิดเป็นสัตว์ป่าหายากที่อยู่ในบัญชีแดง และยังเป็นผืนป่าที่อาศัยของแรดพันธุ์ชวานอเดียวตัวสุดท้ายที่พบในเวียดนามก่อนถูกพรานป่ายิงตายเมื่อปี 2553 อีกด้วย
ถึงแม้ว่าการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการจะยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ผลในเบื้องต้นก็บ่งชี้ว่าเขื่อนผลิตไฟฟ้าทั้งสองแห่งจะส่งผลกระทบต่อผืนป่าและกระทบต่อสภาพชีวนานาพันธุ์อันสมบูรณ์ของเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าก๊าตเตียนกับเขตที่ราบน้ำท่วมถึงที่อยู่ใต้ลงไปซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางนิเวศเฉพาะในท้องถิ่นอย่างไม่สามารถกลับคืนมาได้อีก
ทางการเวียดนามอยู่ระหว่างดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเขตป่าสงวนแห่งชาติก๊าตเตียนทั้งหมดเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโกที่ได้เข้าร่วมรณรงค์ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงแก่สาธารณชนทั่วไปและต่อต้านแผนการก่อสร้างเขื่อนทั้งสองแห่งด้วย
การศึกษาของสถาบันการศึกษาชั้นนำยังได้ผลสรุปว่าการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำตลอดเวลากว่า 20 ปีมานี้ไม่สามารถช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ และโครงการเขื่อนไม่น้อยได้ทำลายผืนป่าอย่างไม่สามารถจะปลูกขึ้นใหม่หรือสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ นอกจากนั้นยังพบเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับบริษัทเอกชนบางแห่งได้ขายสัมปทานการก่อสร้างเขื่อนไปให้ผู้อื่นดำเนินการหลังจากตัดป่าและจำหน่ายไม้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เตื่อยแจ๋กล่าว
การก่อสร้างเขื่อนใหญ่น้อยนับ 10 แห่งในเขตที่ราบสูงภาคกลางของประเทศในช่วงกว่า 20 ปีมานี้ไม่สามารถช่วยลดการเกิดอุกภัยในภูมิภาคนี้ลงได้ การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเสรย์ปก (Srey Pok) จำนวน 2 แห่งใน จ.ดั๊กลัก (Dak Lak) ไม่สามารถป้องกันอุทกภัยในลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ และในฤดูน้ำหลากของทุกปีเมื่อมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนทั้งสองแห่งก็ยังทำให้น้ำเกิดน้ำท่วมที่ปลายน้ำในดินแดนกัมพูชาอีกด้วย
ไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) พัดเข้าจังหวัดภาคกลางเวียดนามในวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งทำให้เขื่อนอเนกประสงค์แห่งหนึ่งกับเขื่อนชลประทานอีก 1 แห่งใน จ.เหงะอาน (Nge An) พังทลายลงเพราะไม่สามารถรับปริมาณน้ำมหาศาลจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักได้ เขื่อนทั้งสองแห่งได้ช่วยซ้ำเติมประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่อาศัยอยู่ใต้ลำลงไป
จนถึงวันพุธที่ 2 ต.ค.นี้ พบมีราษฎรเสียชีวิตจากไต้ฝุ่นลูกนี้เพิ่มขึ้นเป็น 9 ราย บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ลมแรงจัดกับฝนที่ตกหนักยังสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนและสาธารณชนสุดคณานับ รวมทั้งสวนยางพาราหลายหมื่นไร่ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศอีกด้วย สื่อของทางการกล่าว
http://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1173&Itemid=80
เวียดนามล้มเขื่อนกว่า 300 แห่ง หลังพบทำลายป่ากระทบสิ่งแวดล้อมสาหัส มีป่าดีกว่ามีเขื่อนหลายร้อยเท่า
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เวียดนามซึ่งในปัจจุบันยังผลิตไฟฟ้าได้ไม่พอใช้ ได้ตัดสินใจล้มเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอื้อฉาวอีก 2 แห่งทางตอนเหนือของนครโฮจิมินห์ หลังจากผลการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชี้ชัดเขื่อนจะทำลายผืนป่าอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศและ ข้ออ้างที่ระบุว่าเขื่อนจะช่วยป้องกันน้ำท่วมก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร
ขณะเดียวกันเพิ่งจะมีการเปิดเผยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าได้ตกลงกับทางการท้องถิ่นต่างๆ จำนวน 20 ท้องถิ่นทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ในการล้มเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนรวม 338 แห่ง รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,088.9 เมกะวัตต์ ในนั้นเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง และกระทรวงฯ ยังสั่งยุติการสำรวจศึกษาเขื่อนขนาดเล็กจำนวน 169 แห่งรวมกำลังผลิต 362.5 เมกะวัตต์อีกด้วย
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามซึ่งรับผิดชอบเขื่อนผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศได้ยืนยันในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับการล้มเลิกโครงการเขื่อน จ.โด่งนาย (Dong Nai) หลังจากองค์การอนุรักษ์นิยมทั้งในประเทศและในต่างประเทศ รวมทั้งองค์การยูเนสโกต่างคัดค้านมาเป็นเวลาข้ามปี และนายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) สั่งการสัปดาห์ปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ กลับไปทบทวน
รัฐบาลเวียดนามตั้งเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 5 ข้อในการพิจารณาก่อสร้างเขื่อนคือ มีอ่างเก็บน้ำที่มั่นคงปลอดภัย ทำลายป่าไม้น้อยที่สุด ส่งผลกระทบให้ต้องอพยพโยกย้ายราษฎรจำนวนน้อยที่สุด ไม่กระทบต่อความมั่นคงกับสภาพแวดล้อม และมีผลดีทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าหากไม่เข้าเกณฑ์ครบทั้ง 5 ข้อ รัฐบาลจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการ นอกจากจะก่อสร้างด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงแห่งชาติและยังจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาอีกด้วย
"โครงการใดที่เข้าเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อสามารถดำเนินการต่อไปได้เต็มกำลัง โครงการใดที่ขัดต่อเกณฑ์ก็ไม่ต้องทำ" และรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมฯ ไปดำเนินการตามนี้ นายหวูดึ๊กดัม (Vu Duc Dam) เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋เมื่อเร็วๆ นี้
สองโครงการที่ถูกล้มเลิกล่าสุดคือ เขื่อนโด่งนาย 6 กับโด่งนาย 6A ซึ่งจะสร้างกั้นแม่น้ำโด่งนาย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบรวมกันเป็นปริมาณ 929 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีโดยจำหน่ายให้แก่รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม นอกจากนั้นบริษัทเอกชนเจ้าของสัมปทานจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่รัฐบาลปีละ 300,000 ล้านด่ง (กว่า 14,280,000 ดอลลาร์)
แต่ผลการศึกษาโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการโดยสถาบันชั้นนำหลายแห่งได้พบว่า เขื่อนโด่งนาย 6 กับโด่งนาย 6A จะทำลายผืนป่าอันอุดมอย่างถาวรจำนวน 327.23 เฮกตาร์ (2,045 ไร่เศษ) ดูเป็นจำนวนไม่มากนักแต่ในนั้น 128.37 (802 ไร่เศษ) เป็นจุดใจกลางของเขตป่าอันอุดมของเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าก๊าตเตียน (Cat Tien) ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ในนั้นหลายชนิดเป็นสัตว์ป่าหายากที่อยู่ในบัญชีแดง และยังเป็นผืนป่าที่อาศัยของแรดพันธุ์ชวานอเดียวตัวสุดท้ายที่พบในเวียดนามก่อนถูกพรานป่ายิงตายเมื่อปี 2553 อีกด้วย
ถึงแม้ว่าการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษาโครงการจะยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ผลในเบื้องต้นก็บ่งชี้ว่าเขื่อนผลิตไฟฟ้าทั้งสองแห่งจะส่งผลกระทบต่อผืนป่าและกระทบต่อสภาพชีวนานาพันธุ์อันสมบูรณ์ของเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าก๊าตเตียนกับเขตที่ราบน้ำท่วมถึงที่อยู่ใต้ลงไปซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความสมดุลทางนิเวศเฉพาะในท้องถิ่นอย่างไม่สามารถกลับคืนมาได้อีก
ทางการเวียดนามอยู่ระหว่างดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเขตป่าสงวนแห่งชาติก๊าตเตียนทั้งหมดเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโกที่ได้เข้าร่วมรณรงค์ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงแก่สาธารณชนทั่วไปและต่อต้านแผนการก่อสร้างเขื่อนทั้งสองแห่งด้วย
การศึกษาของสถาบันการศึกษาชั้นนำยังได้ผลสรุปว่าการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำตลอดเวลากว่า 20 ปีมานี้ไม่สามารถช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ และโครงการเขื่อนไม่น้อยได้ทำลายผืนป่าอย่างไม่สามารถจะปลูกขึ้นใหม่หรือสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ นอกจากนั้นยังพบเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับบริษัทเอกชนบางแห่งได้ขายสัมปทานการก่อสร้างเขื่อนไปให้ผู้อื่นดำเนินการหลังจากตัดป่าและจำหน่ายไม้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เตื่อยแจ๋กล่าว
การก่อสร้างเขื่อนใหญ่น้อยนับ 10 แห่งในเขตที่ราบสูงภาคกลางของประเทศในช่วงกว่า 20 ปีมานี้ไม่สามารถช่วยลดการเกิดอุกภัยในภูมิภาคนี้ลงได้ การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเสรย์ปก (Srey Pok) จำนวน 2 แห่งใน จ.ดั๊กลัก (Dak Lak) ไม่สามารถป้องกันอุทกภัยในลุ่มน้ำแห่งนี้ได้ และในฤดูน้ำหลากของทุกปีเมื่อมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนทั้งสองแห่งก็ยังทำให้น้ำเกิดน้ำท่วมที่ปลายน้ำในดินแดนกัมพูชาอีกด้วย
ไต้ฝุ่นหวูติ๊บ (Wutip) พัดเข้าจังหวัดภาคกลางเวียดนามในวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งทำให้เขื่อนอเนกประสงค์แห่งหนึ่งกับเขื่อนชลประทานอีก 1 แห่งใน จ.เหงะอาน (Nge An) พังทลายลงเพราะไม่สามารถรับปริมาณน้ำมหาศาลจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักได้ เขื่อนทั้งสองแห่งได้ช่วยซ้ำเติมประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่อาศัยอยู่ใต้ลำลงไป
จนถึงวันพุธที่ 2 ต.ค.นี้ พบมีราษฎรเสียชีวิตจากไต้ฝุ่นลูกนี้เพิ่มขึ้นเป็น 9 ราย บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ลมแรงจัดกับฝนที่ตกหนักยังสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนและสาธารณชนสุดคณานับ รวมทั้งสวนยางพาราหลายหมื่นไร่ในเขตภาคกลางตอนบนของประเทศอีกด้วย สื่อของทางการกล่าว
http://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1173&Itemid=80