ข้าพเจ้าพร้อมประชาชนทั้งหมดที่ได้ร่วมลงชื่อครั้งนี้ เรียกร้องให้ท่าน พิจารณายุติโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ปริมาณกักเก็บน้ำของเขื่อนแม่วงก์อยู่ที่ประมาณ 250 ล้านลบ.ม. ตอบสนองความต้องการเชิงเศรษฐกิจเพียง 116,545 ไร่ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งต่างจากปริมาณน้ำที่ได้อยู่แล้วจากแหล่งน้ำปัจจุบันเพียงเล็กน้อย ไม่คุ้มกับประโยชน์เชิงนิเวศที่ต้องสูญเสียไป
เพราะพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นผืนป่าตะวันตกผืนเดียวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อันเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก และทั้งยังเป็นพื้นที่มรดกโลกอีกด้วย
และมาตรการปลูกป่าทดแทนเพื่อลดผลกระทบจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ไม่อาจทดแทนระบบนิเวศที่ซับซ้อนและอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยให้กลับคืนมาได้
2. ลำน้ำแม่วงก์เป็นลำน้ำขนาดเล็กมีปริมาณน้ำประมาณ 1% ของปริมาณน้ำทั้งหมดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงไม่ได้เป็นสาเหตุของอุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง
3. โครงการเขื่อนแม่วงก์ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA
ด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด ข้าพเจ้าพร้อมประชาชนทั้งหมด จึงเรียนมาเพื่อโปรดขอความกรุณาต่อท่านเพื่อยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์และ โปรดพิจารณาปรับเปลี่ยนโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์สูงสุด และไม่ทำให้ผืนป่าตะวันตกอันอุดมสมบูรณ์ได้รับความเสียหาย
ร่วมลงชื่อได้ที่
http://goo.gl/fzb1hx
ชมรายละเอียดการวิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผลได้ที่
มาลงชื่อต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์กันครับ
1. ปริมาณกักเก็บน้ำของเขื่อนแม่วงก์อยู่ที่ประมาณ 250 ล้านลบ.ม. ตอบสนองความต้องการเชิงเศรษฐกิจเพียง 116,545 ไร่ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งต่างจากปริมาณน้ำที่ได้อยู่แล้วจากแหล่งน้ำปัจจุบันเพียงเล็กน้อย ไม่คุ้มกับประโยชน์เชิงนิเวศที่ต้องสูญเสียไป
เพราะพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นผืนป่าตะวันตกผืนเดียวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อันเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก และทั้งยังเป็นพื้นที่มรดกโลกอีกด้วย
และมาตรการปลูกป่าทดแทนเพื่อลดผลกระทบจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ไม่อาจทดแทนระบบนิเวศที่ซับซ้อนและอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยให้กลับคืนมาได้
2. ลำน้ำแม่วงก์เป็นลำน้ำขนาดเล็กมีปริมาณน้ำประมาณ 1% ของปริมาณน้ำทั้งหมดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงไม่ได้เป็นสาเหตุของอุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง
3. โครงการเขื่อนแม่วงก์ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA
ด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด ข้าพเจ้าพร้อมประชาชนทั้งหมด จึงเรียนมาเพื่อโปรดขอความกรุณาต่อท่านเพื่อยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์และ โปรดพิจารณาปรับเปลี่ยนโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์สูงสุด และไม่ทำให้ผืนป่าตะวันตกอันอุดมสมบูรณ์ได้รับความเสียหาย
ร่วมลงชื่อได้ที่ http://goo.gl/fzb1hx
ชมรายละเอียดการวิเคราะห์อย่างสมเหตุสมผลได้ที่