ในมุมมองของผมเอง การพัฒนา จะได้มาเปล่าๆปลี้เป็นไม่มี แต่ทั้งนี้ เราต้องชั่งน้ำหนักให้ดีถึงสิ่งที่ได้และสิ่งที่เสีย เขื่อน ก็เช่นกัน บทความนี้เราจะไม่สนใจเรื่องไร้สาระอย่างอารมณ์และความผูกพันต่อพื้นที่ป่าพื้นที่ทำกินและวัฒนธรรม เราจะมาว่ากันเรื่อง Hard Fact ของความคุ้มค่าของโครงการเขื่อนแม่วงก์
พื้นที่ตั้งเขื่อน เขาสบกก vs เขาชนกัน
ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนถ้าเราดูตามรายงาน EHIA ของบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด[1] ข้อสรุปในรายงานนั้นจะบ่งชี้ว่า ผลตอบแทนการลงทุนของการลงเขื่อนที่เขาสบกกในพื้นที่อุทยาน มี EIRR ที่ 14.2 และพื้นที่เขาชนกันนอกเขตอุทยานจะมี EIRR ที่ 6.2 แสดงว่า พื้นที่เขื่อน ณ เขาชนกันน่าจะมีต้นทุนก่อสร้างสูงกว่า ตรงนี้เราพิจารณาพื้นที่ตั้งกันตามระดับความสูงพื้นที่วัดจากระดับทะเลปานกลาง พื้นที่เขาสบกก จะชันกว่าเขาชนกัน แปลว่าเขื่อนที่ทำ จะได้ความสูงของระดับน้ำมาก ปริมาตรกักเก็บต่อพื้นที่ก็น่าจะมาก ต้นทุนน่าจะถูกกว่า [1:2-17]
รูปที่ 1: ความสูงจากระดับน้ำทะเลตลอดช่วง
แต่พอเราไปดูที่บริเวณหน้างาน เราจะพบว่า ความยาวเขื่อน ณ พื้นที่ เขาสบกก จะต้องยาวถึง 730 เมตร แต่ที่เขาชนกัน จะยาวแค่ 270 เมตร เพราะช่องเขาของเขาสบกก กว้างกว่าที่เขาชนกัน โดยกรณีตาม EIA เขาเทียบ ความสูงของเขื่อนที่เขาสบกก ก็สูงกว่า ที่ 50 เมตร เทียบกับเขาชนกันที่ 30 เมตร [1:2-28]
รูปที่ 2: บริเวณ เขาสบกก จาก Google Earth
ให้สังเกต ภาพบนคือพื้นที่เขาสบกก เป็นพื้นที่ป่า แต่ด้านล่าง
บริเวณ เขาชนกัน สังเกตว่า พื้นที่เขื่อนจะเป็นพื้นที่เรือกสวนไร่นา
รูปที่ 3: บริเวณ เขาชนกัน จาก Google Earth
ค่าใช้จ่ายที่สำคัญของการก่อสร้างเขื่อน ที่จะเป็นตัวแปรให้พื้นที่เขาชนกันมี EIRR ที่ต่ำ จึงน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายการเวนคืนพื้นที่ไม่ใช่ตัวเขื่อน ซึ่งพื้นที่ต่อปริมาตรน้ำ นอกจากมากกว่า มันยังเป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์ของประชาชนอีก ซึ่งถ้าพื้นที่เขาสบกก ต้องใช้พื้นที่ป่า 13,693 ไร่ เขาชนกันก็ต้องใช้พื้นที่เรือกสวนไร่นา 39,290 ไร่[1:2-29]
แต่ทีนี้ ผมสมมุตินะว่า ราคาโครงสร้างเขื่อน ให้พื้นที่เขาชนกันราคาเท่าพื้นที่เขาสบกก แม้ว่าเขื่อนที่นี่จะทั้งแคบกว่าและเตี้ยกว่า ส่วนค่าเวนคืน ผมมั่วไว้สูงสุดกู่ คือคิดที่ไร่ละ 70,000 บาท [2] ซึ่งก็เป็นราคาที่น่าจะสูงแล้ว ค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็ยังคงแค่ 2,750 ล้านบาทเท่านั้น (ถ้าคิดจากตัวเลขโครงการของพื้นที่เขาสบกก ค่าใช้จ่ายการเวนคืนที่ดิน เสมือนเป็นการเวนคืนที่ไร่ละตั้ง 27,000 บาทแน่ะ) แต่ ทั้งๆที่สมมุติมั่วถั่วให้ประโยชน์โครงการถึงเพียงนี้ ค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 โครงการ กลับแตกต่างกันไม่ถึง 10% แสดงว่า เรื่องที่ดิน ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ไม่คุ้ม แถมเอาเข้าจริง พื้นที่เขาชนกันอาจต้นทุนถูกกว่ามากเลยด้วยซ้ำ
รูปที่ 4: ต้นทุนโครงการ เทียบ 2 พื้นที่
ผลตอบแทน การลงทุน
ในส่วนผลตอบแทนการลงทุน เรารู้ว่าปัจจัยหลักที่ตอบแทนออกมาคือพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ดังกล่าว การเกษตรหลัก ก็คือการปลูกข้าว ปรกติแล้วข้าวจะมีการใช้น้ำอยู่ประมาณ 1500 ลิตรต่อกิโลกรัม ด้วย Yield ของเราที่ 450 กิโลกรัมต่อไร อ้างจากบทความเก่าของผมเอง เรามาดูกันว่า ผลตอบแทนของทั้งสองพื้นที่มันจะต่างกันได้แค่ไหน โดยผมอ้างตัวเลขการใช้น้ำจากบทความเก่าของผมเรื่อง
“ทรัพยากรน้ำของโลก” [3] และข้อมูลโครงสร้างต้นทุนข้าวจากบทความ
“ชำแหละต้นทุนข้าวไทย ชาวนาไทย ทำไมถึงว่าจน” [4]
รูปที่ 5: ผลตอบแทนโครงการ เบื้องต้น
ตรงนี้ ความจุเขื่อนของพื้นที่เขาชนกัน จะสามารถจุน้ำได้มากกว่า เพราะพื้นที่เป็นแอ่ง แม้จะต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากก็ตาม ผลที่ได้ พื้นที่ชลประทาน สมมุติว่า ความจุน้ำใช้งานสามารถเข้ามาทดแทนกันได้ตลอด กักน้ำได้เต็มเขื่อนทุกปี ด้วยปริมาณเก็บกักที่มากกว่า พื้นที่เขาชนกัน ควรจะทำให้เกิดรายได้จากการเกษตร สูงกว่าเขาสบกกมาก
ข้อสงสัย แต่งตัวเลข???
ในรายงาน EIA ฉบับเดียวกันนี้ ได้ให้ตัวเลขต้นทุนน้ำของเขื่อนแม่วงก์ ณ พื้นที่เขาสบกก คือ 148 บาท ต่อ ลบม แต่ พื้นที่เขาชนกันคือ 186 บาท ต่อลบม [1:2-29] ถ้าหากเราดูตามตัวเลขการเก็บกักน้ำที่ 238 ล้าน ลบม ต้นทุนโครงการ ควรจะอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท แต่เราก็รู้อยู่ว่า โครงการมีการใช้งบประมาณที่ 13,500 ล้านบาท ถ้ามันจะมีอะไรที่เป็นเหตุเป็นผล นั่นคือ ปริมาณน้ำที่สามารถนำใช้ได้จริงมีแค่ 96 ล้าน ลบม… โอเค เราอาจพยายามเชื่อว่า แม้เขื่อนจะออกแบบให้รับน้ำได้ 238 ล้าน ลบม แต่น้ำในเขื่อนมันระเหย เลยเหลือน้ำแค่นี้ แต่อัตราการระเหยที่จะทำให้น้ำปริมาตร 238 ล้าน ลบม เหลือแค่ 96 ล้านลบม มันจะต้องมีอัตราการระเหยสูงถึง 4600 มม ต่อปี ซึ่งถ้าในโลกนี้ น้ำมันระเหยได้ไวปานนั้น ตอนมหาอุทกภัย น้ำมันคงไม่ท่วมภาคกลางกันเป็นเดือนๆละ ตรงนี้ ผมคงจำเป็นต้องถือข้อมูลอัตราการระเหยน้ำในพื้นที่เขื่อนแม่วงก์ที่มีการศึกษาไว้ที่ 1776 มม ต่อปี เป็นหลัก คงไม่สามารถมั่วถั่วตามรายงานได้[5]
รูปที่ 6: ข้อมูลเกณฑ์คะแนน ของพื้นที่ เขาสบกก กับ เขาชนกัน ตาม EIA
ตรงนี้ ตัวเลขผลตอบแทน มันควรเป็นอย่างตารางข้างล่างมากกว่า หลังจากหักลบอัตราการระเหยที่มีอ้างอิง ไม่ใช่มโนเอา… ผลตอบแทนจากพื้นที่เขาชนกัน นอกป่า มันก็ยังสูงกว่าอยู่ดี
รูปที่ 7: ผลตอบแทนโครงการ ชดเชยตามอัตราการระเหยของน้ำ
โครงการก่อสร้าง 8 ปี ผลตอบแทน 2300 ล้านบาทต่อปี EIRR 12%!?!?
ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เราหาตัวเลข Discount ตลอดอายุโครงการ สมมุติว่าเราคิดว่าโครงการมันจะอยู่ได้ 50 ปี โดยมีผลตอบแทนเป็นมูลค่าข้าว
สำหรับพื้นที่ เขาสบกก มูลค่าเพิ่มที่ 1,939 ล้านบาทต่อปี EIRR ก็ยังอยู่แค่ 6.98% นอกเสียจากว่า เราจะคิดมูลค่าเพิ่มของข้าวคือ 6% ต่อปี ซึ่งจะขัดแย้งกับข้อมูลในตลาดโลกราคาข้าว นอกจากค่อนจะคงที่แล้วมันยังลดลงอีกต่างหาก อัตราเพิ่มของราคาข้าวมันน้อยกว่าอัตรา Inflation ครับ [6]
รูปที่ 8: ราคาข้าวขาว 5% ในตลาดอเมริกา สังเกตว่ามันไม่มี Trend ขึ้นอะไรเลย
แต่ เอาวะ ผมจะหลับหูหลับตาเชื่อว่ามูลค่าข้าวมันเพื่มมากกว่าอัตรา inflation ที่ 3.5% ถ้าในกรณีนั้น EIRR ของพื้นที่เขาชนกัน ก็จะอยู่ที่ 12.33% ต่อปี สูงกว่าพื้นที่เขาสบกกที่ 12.23% ซึ่งถ้าเรามาดู Cash Flow กัน เราจะเห็นว่า การที่เขื่อนเก็บน้ำได้มากกว่า ที่ 228 ล้าน ลบม มันจะมี Cash Flow เป็นอย่างไรเทียบกับเขื่อนขนาด 199 ล้านลบม
รูปที่ 9: Cash Flow เทียบ เขื่อนแม่วงก์ พื้นที่เขาสบกก กับ เขาชนกัน
ตรงนี้ เราจะเห็นว่า การคิด EIRR ถ้าทำตามวิธีปรกติ มันไม่มีทางไปถึง 12% ได้ จุดสำคัญที่โครงการมีระยะเวลาก่อสร้างถึง 8 ปี จะเป็นตัวถ่วงที่สำคัญ มันต้องคิดมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรที่สูงต่อเนื่องไปอย่างผิดปรกติ ยิ่งพื้นที่เปรียบเทียบ เขาชนกัน ราคาสร้างเขื่อนกับราคาเวนคืนที่แม้จะมั่วให้สูงผิดปรกติอย่างไร มันก็จะได้อานิสงค์ตัวเลขการคืนทุนในลำดับเดียวกัน ผมยังคิดว่า ตัวเลขการคืนทุน ถ้าวิเคราะห์ตามกระบวนการปรกติ ตัวเลข EIRR ของเขื่อนแม่วงก์ ไม่น่าถึงเลข 2 หลัก ในกรณีของมูลนิธิสืบ นาคเสถียร เขายังถึงกับไปคิดค่า Carbon Credit จากการปลูกป่ามาเป็นผลประโยชน์ให้ด้วยซ้ำ[7] EIRR ยังอยู่แค่ 8% เอง ให้ตายเถอะ ที่ผมดูนะครับ มูลค่าโครงการ เทียบการปลูกป่ากับการลดพื้นที่ป่า มันคนละเรื่องกันเลย ตัวไม้ ที่ได้จากพื้นที่ป่า มันต้องคิดเป็นต้นทุนต่างหาก เราจ่ายทุนไปคือมูลค่าไม้ และเราทดแทนด้วยการปลูกป่าคืน แต่ไอ้ที่ปลูกป่าคืนผลตอบแทนมันได้น้อยกว่า นั่นคือ Net แล้วเราจ่ายต้นทุนไม้ไปตังหาก และ โครงการนี้ EIRR ต่ำ อย่างน่าใจหาย จน เราต้องกลับมาตั้งคำถามใหม่ ทำไม เราจึงต้องการเขื่อน??
เขื่อนแม่วงก์ ยิ่งเจาะยิ่งงง ยิ่งเจาะยิ่งมึน
ในมุมมองของผมเอง การพัฒนา จะได้มาเปล่าๆปลี้เป็นไม่มี แต่ทั้งนี้ เราต้องชั่งน้ำหนักให้ดีถึงสิ่งที่ได้และสิ่งที่เสีย เขื่อน ก็เช่นกัน บทความนี้เราจะไม่สนใจเรื่องไร้สาระอย่างอารมณ์และความผูกพันต่อพื้นที่ป่าพื้นที่ทำกินและวัฒนธรรม เราจะมาว่ากันเรื่อง Hard Fact ของความคุ้มค่าของโครงการเขื่อนแม่วงก์
พื้นที่ตั้งเขื่อน เขาสบกก vs เขาชนกัน
ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนถ้าเราดูตามรายงาน EHIA ของบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด[1] ข้อสรุปในรายงานนั้นจะบ่งชี้ว่า ผลตอบแทนการลงทุนของการลงเขื่อนที่เขาสบกกในพื้นที่อุทยาน มี EIRR ที่ 14.2 และพื้นที่เขาชนกันนอกเขตอุทยานจะมี EIRR ที่ 6.2 แสดงว่า พื้นที่เขื่อน ณ เขาชนกันน่าจะมีต้นทุนก่อสร้างสูงกว่า ตรงนี้เราพิจารณาพื้นที่ตั้งกันตามระดับความสูงพื้นที่วัดจากระดับทะเลปานกลาง พื้นที่เขาสบกก จะชันกว่าเขาชนกัน แปลว่าเขื่อนที่ทำ จะได้ความสูงของระดับน้ำมาก ปริมาตรกักเก็บต่อพื้นที่ก็น่าจะมาก ต้นทุนน่าจะถูกกว่า [1:2-17]
รูปที่ 1: ความสูงจากระดับน้ำทะเลตลอดช่วง
แต่พอเราไปดูที่บริเวณหน้างาน เราจะพบว่า ความยาวเขื่อน ณ พื้นที่ เขาสบกก จะต้องยาวถึง 730 เมตร แต่ที่เขาชนกัน จะยาวแค่ 270 เมตร เพราะช่องเขาของเขาสบกก กว้างกว่าที่เขาชนกัน โดยกรณีตาม EIA เขาเทียบ ความสูงของเขื่อนที่เขาสบกก ก็สูงกว่า ที่ 50 เมตร เทียบกับเขาชนกันที่ 30 เมตร [1:2-28]
รูปที่ 2: บริเวณ เขาสบกก จาก Google Earth
ให้สังเกต ภาพบนคือพื้นที่เขาสบกก เป็นพื้นที่ป่า แต่ด้านล่าง
บริเวณ เขาชนกัน สังเกตว่า พื้นที่เขื่อนจะเป็นพื้นที่เรือกสวนไร่นา
รูปที่ 3: บริเวณ เขาชนกัน จาก Google Earth
ค่าใช้จ่ายที่สำคัญของการก่อสร้างเขื่อน ที่จะเป็นตัวแปรให้พื้นที่เขาชนกันมี EIRR ที่ต่ำ จึงน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายการเวนคืนพื้นที่ไม่ใช่ตัวเขื่อน ซึ่งพื้นที่ต่อปริมาตรน้ำ นอกจากมากกว่า มันยังเป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์ของประชาชนอีก ซึ่งถ้าพื้นที่เขาสบกก ต้องใช้พื้นที่ป่า 13,693 ไร่ เขาชนกันก็ต้องใช้พื้นที่เรือกสวนไร่นา 39,290 ไร่[1:2-29]
แต่ทีนี้ ผมสมมุตินะว่า ราคาโครงสร้างเขื่อน ให้พื้นที่เขาชนกันราคาเท่าพื้นที่เขาสบกก แม้ว่าเขื่อนที่นี่จะทั้งแคบกว่าและเตี้ยกว่า ส่วนค่าเวนคืน ผมมั่วไว้สูงสุดกู่ คือคิดที่ไร่ละ 70,000 บาท [2] ซึ่งก็เป็นราคาที่น่าจะสูงแล้ว ค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็ยังคงแค่ 2,750 ล้านบาทเท่านั้น (ถ้าคิดจากตัวเลขโครงการของพื้นที่เขาสบกก ค่าใช้จ่ายการเวนคืนที่ดิน เสมือนเป็นการเวนคืนที่ไร่ละตั้ง 27,000 บาทแน่ะ) แต่ ทั้งๆที่สมมุติมั่วถั่วให้ประโยชน์โครงการถึงเพียงนี้ ค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 โครงการ กลับแตกต่างกันไม่ถึง 10% แสดงว่า เรื่องที่ดิน ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ไม่คุ้ม แถมเอาเข้าจริง พื้นที่เขาชนกันอาจต้นทุนถูกกว่ามากเลยด้วยซ้ำ
รูปที่ 4: ต้นทุนโครงการ เทียบ 2 พื้นที่
ผลตอบแทน การลงทุน
ในส่วนผลตอบแทนการลงทุน เรารู้ว่าปัจจัยหลักที่ตอบแทนออกมาคือพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ดังกล่าว การเกษตรหลัก ก็คือการปลูกข้าว ปรกติแล้วข้าวจะมีการใช้น้ำอยู่ประมาณ 1500 ลิตรต่อกิโลกรัม ด้วย Yield ของเราที่ 450 กิโลกรัมต่อไร อ้างจากบทความเก่าของผมเอง เรามาดูกันว่า ผลตอบแทนของทั้งสองพื้นที่มันจะต่างกันได้แค่ไหน โดยผมอ้างตัวเลขการใช้น้ำจากบทความเก่าของผมเรื่อง “ทรัพยากรน้ำของโลก” [3] และข้อมูลโครงสร้างต้นทุนข้าวจากบทความ “ชำแหละต้นทุนข้าวไทย ชาวนาไทย ทำไมถึงว่าจน” [4]
รูปที่ 5: ผลตอบแทนโครงการ เบื้องต้น
ตรงนี้ ความจุเขื่อนของพื้นที่เขาชนกัน จะสามารถจุน้ำได้มากกว่า เพราะพื้นที่เป็นแอ่ง แม้จะต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากก็ตาม ผลที่ได้ พื้นที่ชลประทาน สมมุติว่า ความจุน้ำใช้งานสามารถเข้ามาทดแทนกันได้ตลอด กักน้ำได้เต็มเขื่อนทุกปี ด้วยปริมาณเก็บกักที่มากกว่า พื้นที่เขาชนกัน ควรจะทำให้เกิดรายได้จากการเกษตร สูงกว่าเขาสบกกมาก
ข้อสงสัย แต่งตัวเลข???
ในรายงาน EIA ฉบับเดียวกันนี้ ได้ให้ตัวเลขต้นทุนน้ำของเขื่อนแม่วงก์ ณ พื้นที่เขาสบกก คือ 148 บาท ต่อ ลบม แต่ พื้นที่เขาชนกันคือ 186 บาท ต่อลบม [1:2-29] ถ้าหากเราดูตามตัวเลขการเก็บกักน้ำที่ 238 ล้าน ลบม ต้นทุนโครงการ ควรจะอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท แต่เราก็รู้อยู่ว่า โครงการมีการใช้งบประมาณที่ 13,500 ล้านบาท ถ้ามันจะมีอะไรที่เป็นเหตุเป็นผล นั่นคือ ปริมาณน้ำที่สามารถนำใช้ได้จริงมีแค่ 96 ล้าน ลบม… โอเค เราอาจพยายามเชื่อว่า แม้เขื่อนจะออกแบบให้รับน้ำได้ 238 ล้าน ลบม แต่น้ำในเขื่อนมันระเหย เลยเหลือน้ำแค่นี้ แต่อัตราการระเหยที่จะทำให้น้ำปริมาตร 238 ล้าน ลบม เหลือแค่ 96 ล้านลบม มันจะต้องมีอัตราการระเหยสูงถึง 4600 มม ต่อปี ซึ่งถ้าในโลกนี้ น้ำมันระเหยได้ไวปานนั้น ตอนมหาอุทกภัย น้ำมันคงไม่ท่วมภาคกลางกันเป็นเดือนๆละ ตรงนี้ ผมคงจำเป็นต้องถือข้อมูลอัตราการระเหยน้ำในพื้นที่เขื่อนแม่วงก์ที่มีการศึกษาไว้ที่ 1776 มม ต่อปี เป็นหลัก คงไม่สามารถมั่วถั่วตามรายงานได้[5]
รูปที่ 6: ข้อมูลเกณฑ์คะแนน ของพื้นที่ เขาสบกก กับ เขาชนกัน ตาม EIA
ตรงนี้ ตัวเลขผลตอบแทน มันควรเป็นอย่างตารางข้างล่างมากกว่า หลังจากหักลบอัตราการระเหยที่มีอ้างอิง ไม่ใช่มโนเอา… ผลตอบแทนจากพื้นที่เขาชนกัน นอกป่า มันก็ยังสูงกว่าอยู่ดี
รูปที่ 7: ผลตอบแทนโครงการ ชดเชยตามอัตราการระเหยของน้ำ
โครงการก่อสร้าง 8 ปี ผลตอบแทน 2300 ล้านบาทต่อปี EIRR 12%!?!?
ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เราหาตัวเลข Discount ตลอดอายุโครงการ สมมุติว่าเราคิดว่าโครงการมันจะอยู่ได้ 50 ปี โดยมีผลตอบแทนเป็นมูลค่าข้าว
สำหรับพื้นที่ เขาสบกก มูลค่าเพิ่มที่ 1,939 ล้านบาทต่อปี EIRR ก็ยังอยู่แค่ 6.98% นอกเสียจากว่า เราจะคิดมูลค่าเพิ่มของข้าวคือ 6% ต่อปี ซึ่งจะขัดแย้งกับข้อมูลในตลาดโลกราคาข้าว นอกจากค่อนจะคงที่แล้วมันยังลดลงอีกต่างหาก อัตราเพิ่มของราคาข้าวมันน้อยกว่าอัตรา Inflation ครับ [6]
รูปที่ 8: ราคาข้าวขาว 5% ในตลาดอเมริกา สังเกตว่ามันไม่มี Trend ขึ้นอะไรเลย
แต่ เอาวะ ผมจะหลับหูหลับตาเชื่อว่ามูลค่าข้าวมันเพื่มมากกว่าอัตรา inflation ที่ 3.5% ถ้าในกรณีนั้น EIRR ของพื้นที่เขาชนกัน ก็จะอยู่ที่ 12.33% ต่อปี สูงกว่าพื้นที่เขาสบกกที่ 12.23% ซึ่งถ้าเรามาดู Cash Flow กัน เราจะเห็นว่า การที่เขื่อนเก็บน้ำได้มากกว่า ที่ 228 ล้าน ลบม มันจะมี Cash Flow เป็นอย่างไรเทียบกับเขื่อนขนาด 199 ล้านลบม
รูปที่ 9: Cash Flow เทียบ เขื่อนแม่วงก์ พื้นที่เขาสบกก กับ เขาชนกัน
ตรงนี้ เราจะเห็นว่า การคิด EIRR ถ้าทำตามวิธีปรกติ มันไม่มีทางไปถึง 12% ได้ จุดสำคัญที่โครงการมีระยะเวลาก่อสร้างถึง 8 ปี จะเป็นตัวถ่วงที่สำคัญ มันต้องคิดมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรที่สูงต่อเนื่องไปอย่างผิดปรกติ ยิ่งพื้นที่เปรียบเทียบ เขาชนกัน ราคาสร้างเขื่อนกับราคาเวนคืนที่แม้จะมั่วให้สูงผิดปรกติอย่างไร มันก็จะได้อานิสงค์ตัวเลขการคืนทุนในลำดับเดียวกัน ผมยังคิดว่า ตัวเลขการคืนทุน ถ้าวิเคราะห์ตามกระบวนการปรกติ ตัวเลข EIRR ของเขื่อนแม่วงก์ ไม่น่าถึงเลข 2 หลัก ในกรณีของมูลนิธิสืบ นาคเสถียร เขายังถึงกับไปคิดค่า Carbon Credit จากการปลูกป่ามาเป็นผลประโยชน์ให้ด้วยซ้ำ[7] EIRR ยังอยู่แค่ 8% เอง ให้ตายเถอะ ที่ผมดูนะครับ มูลค่าโครงการ เทียบการปลูกป่ากับการลดพื้นที่ป่า มันคนละเรื่องกันเลย ตัวไม้ ที่ได้จากพื้นที่ป่า มันต้องคิดเป็นต้นทุนต่างหาก เราจ่ายทุนไปคือมูลค่าไม้ และเราทดแทนด้วยการปลูกป่าคืน แต่ไอ้ที่ปลูกป่าคืนผลตอบแทนมันได้น้อยกว่า นั่นคือ Net แล้วเราจ่ายต้นทุนไม้ไปตังหาก และ โครงการนี้ EIRR ต่ำ อย่างน่าใจหาย จน เราต้องกลับมาตั้งคำถามใหม่ ทำไม เราจึงต้องการเขื่อน??