รัสเซียเริ่มโครงการนิวเคลียร์ในประเทศลาว
Rosatom และผู้แทนรัฐบาลลาวได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ รัสเซียหวังที่จะสร้างประเทศลาวนี้ให้เป็นศูนย์กลางพลังงานแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดดยการขายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม, ไทย, กัมพูชาและประเทศเพื่อนใกล้เคียงบ้านอย่างสิงคโปร์ ผ่านทางเครือข่ายที่เชื่อมต่อกัน ทำให้มีความเป็นไปได้ ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกในประเทศลาว โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ VVER-1200 จากรัสเซียสองเครื่อง
จริงๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวรัสเซียกำลังทำงานในขั้นตอนระยะกลางและระยะยาว ขั้นตอนแรกควรจะคาดการณ์จุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านเทคนิคในประเทศลาว รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นการวิจัยร่วมกันด้านการแพทย์นิวเคลียร์ทางตอนใต้ของรัฐและการดำเนินงานด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่จากรัสเซีย
ที่น่าสนใจในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ทางด้านรัสเซียได้เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ สถานีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือ Ninh Thuan 1 ซึ่งมีกำหนดการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ VVER-1200 จำนวนสี่เครื่อง อีกทั้งรัสเซียยังเตรียมผู้เชี่ยวชาญเวียดนามหลายร้อยคนสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต
Credit : Russian Fanpage
ไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เองก็ได้รอ ซื้อเพื่อนบ้านอย่างเดียว รอรั่วแบบเชอโนบิลได้เลย
- โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหิน ในลาว โครงการที่นักลงทุนจากประเทศไทยถือหุ้นใหญ่แห่งนี้กำลังจะเป็นโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาว (ไม่ต้องสร้างในไทยไม่ต้องกลัว NGO ด้วย
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหิน มูลค่า 3,700 ล้านดอลลาร์ ที่เมืองหงสา แขวงไซยะบูลี เป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจนขึ้นมาแล้ว และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ด้วยกำลังปั่นไฟ 1,878 เมกะวัตต์ โครงการที่นักลงทุนจากประเทศไทยถือหุ้นใหญ่แห่งนี้กำลังจะเป็นโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาว
ตามรายงานของสื่อทางสัปดาห์ที่ผ่านมา การก่อสร้างดำเนินไปเกือบ 90% ภาพล่าสุดที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวของทางการแสดงให้เห็น ปล่องระบายไอน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 2 ปล่อง ของโรงไฟฟ้า จากทั้งหมดที่ออกมา 3 ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในพื้นที่ที่มีป่าไม้กับภูเขาเป็นฉากหลัง ซึ่งเป็นภาพที่แตกต่างไปจากโรงไฟฟ้าของเขื่อนใหญ่น้อยที่สร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เดียวกัน ภายใต้แผนการทำให้ลาวเป็น “แบตเตอรี่แห่งภูมิภาค”
โรงไฟฟ้าหงสาแห่งนี้ จะเดินเครื่องปั่นไฟตามกำหนดกลางปีหน้า โดยโรงไฟฟ้าหงสาจะเป็นแห่งแรกในลาวที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินจากเหมืองในเมืองหงสาแห่งนี้ เป็นโครงการลงทุนที่ถือหุ้นใหญ่รายละ 40% โดยบริษัทบ้านปู กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จากประเทศไทย อีก 20% ที่เหลือถือโดยรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในสังกัดกระทรวงการเงินของลาว ภายใต้สัญญาสัมปทาน 25 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ 1,478 เมกะวัตต์ จะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย ที่เหลืออีก 400 เมกะวัตต์ ขายให้แก่รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าลาว (Electricite Du Laos) โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทยราว 35 กิโลเมตรเท่านั้น
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โรงไฟฟ้าหงสาจะต้องใช้ถ่านลิกไนต์ปีละ 14.3 ล้านตัน สำหรับเป็นเชื้อเพลิง และใช้น้ำอีก 45 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการผลิตไฟฟ้า สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างรายงานล่าสุดของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องชุดหนึ่งในไซยะบูลี
จากแขวงแห่งการเกษตรและป่าไม้ เหมือนกับแขวงอื่นๆ ของลาว ไซยะบูลี กำลังจะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่นำหน้าของประเทศ การก่อสร้างเขื่อนไซยะบูลี ขนาด 1,206 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัท ช.การช่าง จากไทย กั้นแม่น้ำโขงทั้งสายในเขตเมืองไซยะบูลี กำลังดำเนินคู่ขนานกันไป เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาว
ใต้ลงไปอีกราว 130 กม. การสำรวจศึกษาโครงการเขื่อนไฟฟ้าที่จุดปากลาย ในเขตเมืองปากลาย โดยนักลงทุนจากจีน ซึ่งอาจจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าระหว่าง 770 เมกะวัตต์ จนถึง 1,320 เมกะวัตต์ ในแขวงเดียวกันได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย.
Credit : ผู้จัดการออนไลน์
รอลมพัดละอองถ่านหินมาชายแดนติดกันเท่านั้นเองจะบ่นก็ไม่ได้ จะร้องเรียนกับใคร
กลัวเจอรังสีรั่วมั่งล่ะ กลัวเจอฝุ่นจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมั่งล่ะ เซ็งพวกนักอนุรักษ์ และ NGO ที่ดีแต่รับเงินชาวบ้านมาบั่นหัวคนเล่นคอยยุยงชาวบ้านแต่ตัวเองรับเงินจากนายทุน ในประเทศและต่างประเทศมีผลประโยชน์แอบแฝง ดูจากที่ขุดเหมืองทองทั้งน้ำและอากาศเป็นพิษไม่เห็นมี นักอนุรักษ์ และ NGO โผล่หัวไปบ้างเลยเงียบสนิท
รัสเซียเริ่มโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศลาว
Rosatom และผู้แทนรัฐบาลลาวได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางด้านพลังงานนิวเคลียร์ รัสเซียหวังที่จะสร้างประเทศลาวนี้ให้เป็นศูนย์กลางพลังงานแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดดยการขายไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม, ไทย, กัมพูชาและประเทศเพื่อนใกล้เคียงบ้านอย่างสิงคโปร์ ผ่านทางเครือข่ายที่เชื่อมต่อกัน ทำให้มีความเป็นไปได้ ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกในประเทศลาว โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ VVER-1200 จากรัสเซียสองเครื่อง
จริงๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวรัสเซียกำลังทำงานในขั้นตอนระยะกลางและระยะยาว ขั้นตอนแรกควรจะคาดการณ์จุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านเทคนิคในประเทศลาว รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นการวิจัยร่วมกันด้านการแพทย์นิวเคลียร์ทางตอนใต้ของรัฐและการดำเนินงานด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่จากรัสเซีย
ที่น่าสนใจในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ทางด้านรัสเซียได้เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ สถานีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือ Ninh Thuan 1 ซึ่งมีกำหนดการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ VVER-1200 จำนวนสี่เครื่อง อีกทั้งรัสเซียยังเตรียมผู้เชี่ยวชาญเวียดนามหลายร้อยคนสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต
Credit : Russian Fanpage
ไทยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เองก็ได้รอ ซื้อเพื่อนบ้านอย่างเดียว รอรั่วแบบเชอโนบิลได้เลย
- โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหิน ในลาว โครงการที่นักลงทุนจากประเทศไทยถือหุ้นใหญ่แห่งนี้กำลังจะเป็นโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาว (ไม่ต้องสร้างในไทยไม่ต้องกลัว NGO ด้วย
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนจากถ่านหิน มูลค่า 3,700 ล้านดอลลาร์ ที่เมืองหงสา แขวงไซยะบูลี เป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจนขึ้นมาแล้ว และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ด้วยกำลังปั่นไฟ 1,878 เมกะวัตต์ โครงการที่นักลงทุนจากประเทศไทยถือหุ้นใหญ่แห่งนี้กำลังจะเป็นโรงไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาว
ตามรายงานของสื่อทางสัปดาห์ที่ผ่านมา การก่อสร้างดำเนินไปเกือบ 90% ภาพล่าสุดที่เผยแพร่โดยสำนักข่าวของทางการแสดงให้เห็น ปล่องระบายไอน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 2 ปล่อง ของโรงไฟฟ้า จากทั้งหมดที่ออกมา 3 ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในพื้นที่ที่มีป่าไม้กับภูเขาเป็นฉากหลัง ซึ่งเป็นภาพที่แตกต่างไปจากโรงไฟฟ้าของเขื่อนใหญ่น้อยที่สร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เดียวกัน ภายใต้แผนการทำให้ลาวเป็น “แบตเตอรี่แห่งภูมิภาค”
โรงไฟฟ้าหงสาแห่งนี้ จะเดินเครื่องปั่นไฟตามกำหนดกลางปีหน้า โดยโรงไฟฟ้าหงสาจะเป็นแห่งแรกในลาวที่ผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินจากเหมืองในเมืองหงสาแห่งนี้ เป็นโครงการลงทุนที่ถือหุ้นใหญ่รายละ 40% โดยบริษัทบ้านปู กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จากประเทศไทย อีก 20% ที่เหลือถือโดยรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในสังกัดกระทรวงการเงินของลาว ภายใต้สัญญาสัมปทาน 25 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ 1,478 เมกะวัตต์ จะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของไทย ที่เหลืออีก 400 เมกะวัตต์ ขายให้แก่รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าลาว (Electricite Du Laos) โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนไทยราว 35 กิโลเมตรเท่านั้น
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โรงไฟฟ้าหงสาจะต้องใช้ถ่านลิกไนต์ปีละ 14.3 ล้านตัน สำหรับเป็นเชื้อเพลิง และใช้น้ำอีก 45 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการผลิตไฟฟ้า สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างรายงานล่าสุดของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องชุดหนึ่งในไซยะบูลี
จากแขวงแห่งการเกษตรและป่าไม้ เหมือนกับแขวงอื่นๆ ของลาว ไซยะบูลี กำลังจะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่นำหน้าของประเทศ การก่อสร้างเขื่อนไซยะบูลี ขนาด 1,206 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัท ช.การช่าง จากไทย กั้นแม่น้ำโขงทั้งสายในเขตเมืองไซยะบูลี กำลังดำเนินคู่ขนานกันไป เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในลาว
ใต้ลงไปอีกราว 130 กม. การสำรวจศึกษาโครงการเขื่อนไฟฟ้าที่จุดปากลาย ในเขตเมืองปากลาย โดยนักลงทุนจากจีน ซึ่งอาจจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าระหว่าง 770 เมกะวัตต์ จนถึง 1,320 เมกะวัตต์ ในแขวงเดียวกันได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย.
Credit : ผู้จัดการออนไลน์
รอลมพัดละอองถ่านหินมาชายแดนติดกันเท่านั้นเองจะบ่นก็ไม่ได้ จะร้องเรียนกับใคร
กลัวเจอรังสีรั่วมั่งล่ะ กลัวเจอฝุ่นจากโรงไฟฟ้าถ่านหินมั่งล่ะ เซ็งพวกนักอนุรักษ์ และ NGO ที่ดีแต่รับเงินชาวบ้านมาบั่นหัวคนเล่นคอยยุยงชาวบ้านแต่ตัวเองรับเงินจากนายทุน ในประเทศและต่างประเทศมีผลประโยชน์แอบแฝง ดูจากที่ขุดเหมืองทองทั้งน้ำและอากาศเป็นพิษไม่เห็นมี นักอนุรักษ์ และ NGO โผล่หัวไปบ้างเลยเงียบสนิท