ขอแสดงความคิดเห็นครับ
ตามหัวข้อกระทู้ ก็คือการเสนอความคิดเห็นว่า จะกินเนื้อ หรือกินเจ ก็เป็นเพียงการกินวัตถุก้อนธาตุเหมือน ๆ กัน ส่วนจะเป็นบุญหรือบาปหรือป่าว ก็ขึ้นอยู่กับความคิดปรุงแต่งครับ
"อภิสังขาร 3" คือ สภาพที่ปรุงแต่งหลัก ๆ 1)ปุญญาภิสังขาร 2)อปุญญาภิสังขาร 3)อเนญชาภิสังขาร ในกรณีคนกินเจแล้วเป็นบุญก็คือ จิตใจปรุงแต่งไปในทางกุศลว่าไม่เบียดเบียนสัตว์ (เป็นในหมวดข้อ 1 ปุญญาภิสังขาร) จิตสัตว์โลกจะปรุงแต่งอยู่ใน 3 หัวข้อนี้ล่ะ คือ ไม่บุญก็บาป และที่หาได้ยากยิ่งก็คือ ปรุงแต่งไม่หวั่นไหว หรือจิตเป็นสมาธิระดับสูงมากนั่นเอง (ข้อ 3 อเนญชาภิสังขาร)
ก่อนอื่นหลาย ๆ คนควรเข้าใจหลักกันก่อนในเรื่อง "รูป กับ นาม" คือเป็นคนละส่วนกัน แต่มันอยู่ร่วมกัน ตัวตนจริง ๆ เลยคือ "นาม" หรือเอาภาษาพูดกันง่าย ๆ ก็คือจิตใจเรา ๆ นี่แหละ ส่วน "รูป" คือเนื้อหนังร่างกายอวัยวะเรา ๆ นี่แหละครับ (รวมไปถึงสิ่งวัตถุต่าง ๆ เช่น ก้อนหิน ท่อนไม้ ฯลฯ)
ศาสนาพุทธ หัวใจหลักคำสอน หรือที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมก" ที่แสดงในวันมาฆบูชา ก็คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจเป็นบริสุทธิ์
ในการกินดื่ม เป็นการบริโภคเพื่อให้มีชีวิตดำรงอยู่ไปตามสถานะ ตัวอย่างที่สอนพระท่านให้พิจารณาอาหารเครื่องดื่มก่อนฉัน ว่าเป็นไปเพื่อประทังชีวิต เพื่อได้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อดับเวทนาเก่า และป้องกันเวทนาใหม่ที่จะเกิด (จากความหิวกระหาย)
ดังนั้น การกินดื่มที่เป็นไปเพื่อความสนุก คึกคนอง สนองตัณหา ฟุ้งเพ้อ ฯลฯ เป็นอกุศล จึงเป็นสิ่งที่พระองค์ตำหนิ ไม่ใช่คำสอน ส่วนในการกินเนื้อสัตว์นั้น เนื้อที่พระองค์ทรงห้ามภิกษุฉันก็มี 10 อย่าง 1 มนุษย์ 2 ช้าง 3 ม้า 4 หมี 5 เสือเหลือง 6 เสือดาว 7 เสือโคร่ง 8 สุนัข 9 งู 10 สิงโต ทุกข้อล้วนมีความหมายในการห้ามอยู่ไม่ขอชี้แจง นอกเหนือจากนี้ทรงอนุญาติภิกษุฉันได้ แต่ก็มีข้อจำกัด 3 ข้อว่า 1 ไม่ได้เห็น 2 ไม่ได้ยิน 3 ไม่ได้รังเกียจ (สงสัย) ว่าเขาฆ่ามาเพื่อถวาย สรุปภาษาพูดง่าย ๆ ก็คือ พระที่ไม่รู้หรือไม่สงสัยแคลงใจว่าฆ่ามาถวายหรือป่าวนั้นพระฉันได้ แต่ถ้าเกิดรู้หรือเกิดสงสัยแคลงใจขึ้นมาว่าฆ่ามาถวายก็ฉันไม่ได้ ถ้าฉันเป็นอาบัติโทษ
ที่เกริ่นมาทั้งหมดก็ขอสรุปว่าถ้าผู้ที่ศึกษาและเข้าใจเรื่อง "รูปกับนาม" ดีแล้ว จะเข้าใจว่าการกินเนื้อสัตว์ไม่ได้เป็นการบาปอกุศลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเนื้อที่นำมากินนั้น เป็นสิ่งที่ "รูปกับนามพรากออกจากกันแล้ว" คือตายแล้ว เนื้อสัตว์นั้นก็เปรียบเป็นแค่วัตถุ ๆ หนึ่ง ๆ เท่านั้น ไม่มีจิตใจ เพราะจิตใจได้ไปสู่ภพภูมิใหม่ตามยถากรรมของตน ๆ ส่วนร่างกายนั้นก็เป็นแค่ซาก ถ้าซากนั้นนำมาทำประโยชน์ได้ยิ่งดี แต่ถ้ากินเพื่อความเมามัน ติดในรส ฯลฯ (บำรุงกิเลส) นั้นเป็นอกุศล แม่แต่กินอาหารเจ แต่เป็นไปเพื่อบำรุงกิเลส ก็เป็นอกุศลเหมือนกันทั้งนั้น แต่ถ้ากินเพื่อบำรุงร่างกายให้มีชีวิตดำรงอยู่ได้ ก็ไม่เป็นอกุศล
สิ่งที่พระองค์ห้ามก็คือ การฆ่าสัตว์ (ทุกภพภูมิ) ก็คือการไปพราก "รูปกับนาม" ไม่ใช่การห้ามกินเนื้อ
ส่วนผู้ที่จะถามต่ออีกว่า "ถ้าไม่มีการกินก็จะไม่มีการฆ่าเกิดขึ้น" ก็ขอตอบเลยว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน ก็เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งแทงจริงว่า ชีวิตสัตว์มันจะเป็นไปตามวัฏจักร มันจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยว่าจะให้ทั้งโลกนี้ (โลกยุคปัจจุบันเรา ส่วนยุคพระพุทธเจ้าองค์อื่นไม่ทราบ) ไม่มีการฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร
ขอเพิ่มเติมอีกหน่อยครับว่า ถ้ามีจุดประสงค์ว่าจะละเว้นเนื้อสัตว์ แล้วทำไมอาหารเจที่ทำมาเอาใจคนกินเจจึงต้องทำรูปลักษณ์ให้เหมือนเนื้อสัตว์นั้น ๆ ด้วย เช่น หมึกกรอบ ลูกชิ้น ฯลฯ นั่นแสดงเหตุผลชี้ชัดว่าไม่ได้กินเจอย่างจิตใจบริสุทธิ์ 100%
กินเนื้อ - กินเจ ก็เป็นการกินเหมือนกัน
ตามหัวข้อกระทู้ ก็คือการเสนอความคิดเห็นว่า จะกินเนื้อ หรือกินเจ ก็เป็นเพียงการกินวัตถุก้อนธาตุเหมือน ๆ กัน ส่วนจะเป็นบุญหรือบาปหรือป่าว ก็ขึ้นอยู่กับความคิดปรุงแต่งครับ
"อภิสังขาร 3" คือ สภาพที่ปรุงแต่งหลัก ๆ 1)ปุญญาภิสังขาร 2)อปุญญาภิสังขาร 3)อเนญชาภิสังขาร ในกรณีคนกินเจแล้วเป็นบุญก็คือ จิตใจปรุงแต่งไปในทางกุศลว่าไม่เบียดเบียนสัตว์ (เป็นในหมวดข้อ 1 ปุญญาภิสังขาร) จิตสัตว์โลกจะปรุงแต่งอยู่ใน 3 หัวข้อนี้ล่ะ คือ ไม่บุญก็บาป และที่หาได้ยากยิ่งก็คือ ปรุงแต่งไม่หวั่นไหว หรือจิตเป็นสมาธิระดับสูงมากนั่นเอง (ข้อ 3 อเนญชาภิสังขาร)
ก่อนอื่นหลาย ๆ คนควรเข้าใจหลักกันก่อนในเรื่อง "รูป กับ นาม" คือเป็นคนละส่วนกัน แต่มันอยู่ร่วมกัน ตัวตนจริง ๆ เลยคือ "นาม" หรือเอาภาษาพูดกันง่าย ๆ ก็คือจิตใจเรา ๆ นี่แหละ ส่วน "รูป" คือเนื้อหนังร่างกายอวัยวะเรา ๆ นี่แหละครับ (รวมไปถึงสิ่งวัตถุต่าง ๆ เช่น ก้อนหิน ท่อนไม้ ฯลฯ)
ศาสนาพุทธ หัวใจหลักคำสอน หรือที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมก" ที่แสดงในวันมาฆบูชา ก็คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจเป็นบริสุทธิ์
ในการกินดื่ม เป็นการบริโภคเพื่อให้มีชีวิตดำรงอยู่ไปตามสถานะ ตัวอย่างที่สอนพระท่านให้พิจารณาอาหารเครื่องดื่มก่อนฉัน ว่าเป็นไปเพื่อประทังชีวิต เพื่อได้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อดับเวทนาเก่า และป้องกันเวทนาใหม่ที่จะเกิด (จากความหิวกระหาย)
ดังนั้น การกินดื่มที่เป็นไปเพื่อความสนุก คึกคนอง สนองตัณหา ฟุ้งเพ้อ ฯลฯ เป็นอกุศล จึงเป็นสิ่งที่พระองค์ตำหนิ ไม่ใช่คำสอน ส่วนในการกินเนื้อสัตว์นั้น เนื้อที่พระองค์ทรงห้ามภิกษุฉันก็มี 10 อย่าง 1 มนุษย์ 2 ช้าง 3 ม้า 4 หมี 5 เสือเหลือง 6 เสือดาว 7 เสือโคร่ง 8 สุนัข 9 งู 10 สิงโต ทุกข้อล้วนมีความหมายในการห้ามอยู่ไม่ขอชี้แจง นอกเหนือจากนี้ทรงอนุญาติภิกษุฉันได้ แต่ก็มีข้อจำกัด 3 ข้อว่า 1 ไม่ได้เห็น 2 ไม่ได้ยิน 3 ไม่ได้รังเกียจ (สงสัย) ว่าเขาฆ่ามาเพื่อถวาย สรุปภาษาพูดง่าย ๆ ก็คือ พระที่ไม่รู้หรือไม่สงสัยแคลงใจว่าฆ่ามาถวายหรือป่าวนั้นพระฉันได้ แต่ถ้าเกิดรู้หรือเกิดสงสัยแคลงใจขึ้นมาว่าฆ่ามาถวายก็ฉันไม่ได้ ถ้าฉันเป็นอาบัติโทษ
ที่เกริ่นมาทั้งหมดก็ขอสรุปว่าถ้าผู้ที่ศึกษาและเข้าใจเรื่อง "รูปกับนาม" ดีแล้ว จะเข้าใจว่าการกินเนื้อสัตว์ไม่ได้เป็นการบาปอกุศลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเนื้อที่นำมากินนั้น เป็นสิ่งที่ "รูปกับนามพรากออกจากกันแล้ว" คือตายแล้ว เนื้อสัตว์นั้นก็เปรียบเป็นแค่วัตถุ ๆ หนึ่ง ๆ เท่านั้น ไม่มีจิตใจ เพราะจิตใจได้ไปสู่ภพภูมิใหม่ตามยถากรรมของตน ๆ ส่วนร่างกายนั้นก็เป็นแค่ซาก ถ้าซากนั้นนำมาทำประโยชน์ได้ยิ่งดี แต่ถ้ากินเพื่อความเมามัน ติดในรส ฯลฯ (บำรุงกิเลส) นั้นเป็นอกุศล แม่แต่กินอาหารเจ แต่เป็นไปเพื่อบำรุงกิเลส ก็เป็นอกุศลเหมือนกันทั้งนั้น แต่ถ้ากินเพื่อบำรุงร่างกายให้มีชีวิตดำรงอยู่ได้ ก็ไม่เป็นอกุศล
สิ่งที่พระองค์ห้ามก็คือ การฆ่าสัตว์ (ทุกภพภูมิ) ก็คือการไปพราก "รูปกับนาม" ไม่ใช่การห้ามกินเนื้อ
ส่วนผู้ที่จะถามต่ออีกว่า "ถ้าไม่มีการกินก็จะไม่มีการฆ่าเกิดขึ้น" ก็ขอตอบเลยว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน ก็เพราะพระองค์ทรงรู้แจ้งแทงจริงว่า ชีวิตสัตว์มันจะเป็นไปตามวัฏจักร มันจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยว่าจะให้ทั้งโลกนี้ (โลกยุคปัจจุบันเรา ส่วนยุคพระพุทธเจ้าองค์อื่นไม่ทราบ) ไม่มีการฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร
ขอเพิ่มเติมอีกหน่อยครับว่า ถ้ามีจุดประสงค์ว่าจะละเว้นเนื้อสัตว์ แล้วทำไมอาหารเจที่ทำมาเอาใจคนกินเจจึงต้องทำรูปลักษณ์ให้เหมือนเนื้อสัตว์นั้น ๆ ด้วย เช่น หมึกกรอบ ลูกชิ้น ฯลฯ นั่นแสดงเหตุผลชี้ชัดว่าไม่ได้กินเจอย่างจิตใจบริสุทธิ์ 100%