"หัวใจของการเป็นนักมังสะวิรัติ" ไม่ใช่แค่ การไม่กินเนื้อสัตว์
" แต่รวมถึงเป็นการ ลด ละ และ ไม่ยินดี กับอาหาร ที่ได้มา ด้วยการเข่นฆ่าโดยเจตนา"
แต่เน้นไปที่ การมีเมตตาจิต คือ "การไม่ยินดีในการเสพชีวิตผู้อื่น "
หลายๆคน อาจจะยังคง จะต้องกินเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
ความไม่สะดวก ความที่เลือกไม่ได้ หรือ ไม่มีอะไรจะเลือก
แต่ถ้าหากว่าใจ สักเสี้ยวหนึ่งของความคิด.. ได้ย้อนระลึกถึง
เพื่อนร่วมโลก ที่ต้องตายลง ระลึกถึง ด้วยจิตที่มีเมตตา
พิจารณาถึงความจริงแห่งโลกที่ยังคงดำเนินไป บ้าง
แค่นี้ก็ถือว่า เราเป็นผู้มีเมตตาธรรม ในจิตใจ
การเลิกกินหรือไม่เลิกกิน ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ของแต่ละบุคคล
(องค์ความรู้ที่หลายคนไม่เคยรู้) ครูบาอาจารย์ หลายๆท่าน เคยกล่าวไว้ว่า
"การกิน หรือ ไม่กิน เนื้อสัตว์" ไม่ใช่เหตุปัจจัยหลัก ของการถึง ซึ่งพระนิพพาน แต่....
"การเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นเพราะติดรสชาติ" นั้น *** เป็นสิ่งที่ควรละ ถ้ามีโอกาส ***
"แต่ถ้าคิดว่า การเสพชีวิตผู้อื่นเพื่อเสพและยังความสุขให้กับตนนั้น....เป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องและชอบธรรม"
ก็น่าเสียใจว่า...ดวงจิตนั้น ช่างห่างไกลวิถีแห่งการเจริญเมตตาธรรม เสียเหลือเกิน
แม้แต่ "พระภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า" เป็นผู้ใช้ชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่นและอาหาร บิณฑบาต
ท่านจึงเลือกไม่ได้ และ หลักสำคัญ ท่านก็จะต้องพิจารณาอาหารก่อน เสมอๆ
ว่าสิ่งที่ฉันเข้าไป คือธาตุทั้ง ๔ การฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อความบันเทิง
ไม่ใช่เพื่อการประดับตกแต่ง ไม่ใช่เพื่อเสพในรสชาติ หรือเป็นเพื่อความเมามัน
แต่ เพื่อเป็นการดับทุกข์เวทนาคือความหิว และ เพื่อยังธาตุขันธ์ ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้
เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ให้เข้าถึงการบรรลุธรรมสืบต่อไป
แต่ "ฆราวาส อย่างเราๆ" ที่ยังสามารถเลือกในอาหารทุกๆมื้อได้
มีอำนาจการซื้อ มีอำนาจในการตัดสินใจ และยังคงต้องอาศัยรสชาติ...มาบันเทิงชีวิต
"อย่างน้อย ถ้าเลิกไม่ได้ หรือเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ขอให้ระลึกเสมอๆ"
ถึงเหล่าสรรพสัตว์ที่ต้องเจ็บปวดทุกข์ทรมาณเสียเลือดและเนื้อ
กว่าจะมาเป็นอาหารให้เราได้เสพสุข มีชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้
"หมั่น ระลึกเสมอๆ" ในความเป็นจริงของความเป็นไปบนโลกใบนี้
ที่พวกเราและทุกข์ชีวิต "ยังคงต้องเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ เนื่องด้วยทางกาย"อยู่เป็นนิจ
เพราะ "เจตนา นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด"ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา"
"แค่มีเจตนาที่จะงดเว้น" เพียงเท่านี้ก็ถือว่า เป็นการสร้างความดีให้กับจิตของตนแล้ว
ด้วยวิถีแห่ง "การเจริญพรหมวิหารธรรม" จะเป็นคำตอบได้ดีที่สุด
สำหรับคำว่า " การงดเว้นอาหารที่ต้อง เข่นฆ่า ด้วยเจตนา"
ซึ่งมีหัวใจหลัก ก็คือ การ *** ไม่ยินดี **** ในการ เบียดเบียน (โดยเฉพาะการพรากชีวิต)
- เมตตา ต่อ สรรพสัตว์ เข้าใจและพยายามหลีกเลี่ยง เมื่อมีโอกาส
- กรุณา ต่อ สรรพสัตว์ ปล่อยชีวิตสัตว์ ให้ชีวิตเป็นทาน เมื่อมีโอกาส
............วิรัช (งดเว้น) อาหารที่ต้องเบียดเบียนชีวิตของเพื่อนร่วมโลก เมื่อมีโอกาส
- มุทิตา ยินดีและอนุโมทนา ต่อบุคคลที่ได้ตั้งใจงดเว้น ไม่ริษยา หรือ
............ไม่ดูถูกติเตียน ผู้ยังเลิกลดละไม่ได้ หรือ มีจิตขุ่น เกิดโทสะ
.............คิดอาฆาตบุคคลอื่น เพียงแค่ มีความเห็นที่ต่าง
- อุเบกขา ทำใจเป็นกลาง อโหสิ หาก เกิดสภาวะธรรมต่างๆ ที่มากระทบ ในความไม่ถูกใจ
.............ในความขัดแย้ง หรือเกิดความขุ่นมัว ปลงเสียบ้างว่า ....
.............."เราจะไปแก้ไขโลกใบนี้ทั้งใบให้เป็นดังใจเรา คงจะเป็นไปไม่ได้"
"ธรรมะแห่งพระพุทธองค์ ไม่เคยขัดแย้งกัน"
เพียงแต่ การเปิดใจให้กว้าง ใช้ปัญญาพิจารณา โดยแยบคาย "ก็จะนำมาซึ่งคำตอบ"
และ นำมาซึ่ง วิถีทางแห่งการปฏิบัติ ที่สมดุลย์ และลงตัว เป็นแบบฉบับเฉพาะตน
ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าพิจารณา โดยอาศัยหลัก พรหมวิหารธรรม ด้วยเมตตาแล้ว
... ความเจริญในธรรม.. และความสุข ย่อมจะบังเกิดขึ้น เฉพาะตน ดังนี้แล...
ขอความ สุข ความสงบ จงมีแด่สาธุชนทุกท่าน
ด้วยเมตตาธรรมด้วย เทอญ สาธุ
ออกพรรษาปีนี้ มาละเว้นเนื้อสัตว์กันเถิดครับ เพื่อเจริญเมตตาธรรม ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ
" แต่รวมถึงเป็นการ ลด ละ และ ไม่ยินดี กับอาหาร ที่ได้มา ด้วยการเข่นฆ่าโดยเจตนา"
แต่เน้นไปที่ การมีเมตตาจิต คือ "การไม่ยินดีในการเสพชีวิตผู้อื่น "
หลายๆคน อาจจะยังคง จะต้องกินเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด
ความไม่สะดวก ความที่เลือกไม่ได้ หรือ ไม่มีอะไรจะเลือก
แต่ถ้าหากว่าใจ สักเสี้ยวหนึ่งของความคิด.. ได้ย้อนระลึกถึง
เพื่อนร่วมโลก ที่ต้องตายลง ระลึกถึง ด้วยจิตที่มีเมตตา
พิจารณาถึงความจริงแห่งโลกที่ยังคงดำเนินไป บ้าง
แค่นี้ก็ถือว่า เราเป็นผู้มีเมตตาธรรม ในจิตใจ
การเลิกกินหรือไม่เลิกกิน ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ของแต่ละบุคคล
(องค์ความรู้ที่หลายคนไม่เคยรู้) ครูบาอาจารย์ หลายๆท่าน เคยกล่าวไว้ว่า
"การกิน หรือ ไม่กิน เนื้อสัตว์" ไม่ใช่เหตุปัจจัยหลัก ของการถึง ซึ่งพระนิพพาน แต่....
"การเบียดเบียนชีวิตผู้อื่นเพราะติดรสชาติ" นั้น *** เป็นสิ่งที่ควรละ ถ้ามีโอกาส ***
"แต่ถ้าคิดว่า การเสพชีวิตผู้อื่นเพื่อเสพและยังความสุขให้กับตนนั้น....เป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องและชอบธรรม"
ก็น่าเสียใจว่า...ดวงจิตนั้น ช่างห่างไกลวิถีแห่งการเจริญเมตตาธรรม เสียเหลือเกิน
แม้แต่ "พระภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า" เป็นผู้ใช้ชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่นและอาหาร บิณฑบาต
ท่านจึงเลือกไม่ได้ และ หลักสำคัญ ท่านก็จะต้องพิจารณาอาหารก่อน เสมอๆ
ว่าสิ่งที่ฉันเข้าไป คือธาตุทั้ง ๔ การฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อความบันเทิง
ไม่ใช่เพื่อการประดับตกแต่ง ไม่ใช่เพื่อเสพในรสชาติ หรือเป็นเพื่อความเมามัน
แต่ เพื่อเป็นการดับทุกข์เวทนาคือความหิว และ เพื่อยังธาตุขันธ์ ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้
เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ ให้เข้าถึงการบรรลุธรรมสืบต่อไป
แต่ "ฆราวาส อย่างเราๆ" ที่ยังสามารถเลือกในอาหารทุกๆมื้อได้
มีอำนาจการซื้อ มีอำนาจในการตัดสินใจ และยังคงต้องอาศัยรสชาติ...มาบันเทิงชีวิต
"อย่างน้อย ถ้าเลิกไม่ได้ หรือเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ขอให้ระลึกเสมอๆ"
ถึงเหล่าสรรพสัตว์ที่ต้องเจ็บปวดทุกข์ทรมาณเสียเลือดและเนื้อ
กว่าจะมาเป็นอาหารให้เราได้เสพสุข มีชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้
"หมั่น ระลึกเสมอๆ" ในความเป็นจริงของความเป็นไปบนโลกใบนี้
ที่พวกเราและทุกข์ชีวิต "ยังคงต้องเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ เนื่องด้วยทางกาย"อยู่เป็นนิจ
เพราะ "เจตนา นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด"ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา"
"แค่มีเจตนาที่จะงดเว้น" เพียงเท่านี้ก็ถือว่า เป็นการสร้างความดีให้กับจิตของตนแล้ว
ด้วยวิถีแห่ง "การเจริญพรหมวิหารธรรม" จะเป็นคำตอบได้ดีที่สุด
สำหรับคำว่า " การงดเว้นอาหารที่ต้อง เข่นฆ่า ด้วยเจตนา"
ซึ่งมีหัวใจหลัก ก็คือ การ *** ไม่ยินดี **** ในการ เบียดเบียน (โดยเฉพาะการพรากชีวิต)
- เมตตา ต่อ สรรพสัตว์ เข้าใจและพยายามหลีกเลี่ยง เมื่อมีโอกาส
- กรุณา ต่อ สรรพสัตว์ ปล่อยชีวิตสัตว์ ให้ชีวิตเป็นทาน เมื่อมีโอกาส
............วิรัช (งดเว้น) อาหารที่ต้องเบียดเบียนชีวิตของเพื่อนร่วมโลก เมื่อมีโอกาส
- มุทิตา ยินดีและอนุโมทนา ต่อบุคคลที่ได้ตั้งใจงดเว้น ไม่ริษยา หรือ
............ไม่ดูถูกติเตียน ผู้ยังเลิกลดละไม่ได้ หรือ มีจิตขุ่น เกิดโทสะ
.............คิดอาฆาตบุคคลอื่น เพียงแค่ มีความเห็นที่ต่าง
- อุเบกขา ทำใจเป็นกลาง อโหสิ หาก เกิดสภาวะธรรมต่างๆ ที่มากระทบ ในความไม่ถูกใจ
.............ในความขัดแย้ง หรือเกิดความขุ่นมัว ปลงเสียบ้างว่า ....
.............."เราจะไปแก้ไขโลกใบนี้ทั้งใบให้เป็นดังใจเรา คงจะเป็นไปไม่ได้"
"ธรรมะแห่งพระพุทธองค์ ไม่เคยขัดแย้งกัน"
เพียงแต่ การเปิดใจให้กว้าง ใช้ปัญญาพิจารณา โดยแยบคาย "ก็จะนำมาซึ่งคำตอบ"
และ นำมาซึ่ง วิถีทางแห่งการปฏิบัติ ที่สมดุลย์ และลงตัว เป็นแบบฉบับเฉพาะตน
ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าพิจารณา โดยอาศัยหลัก พรหมวิหารธรรม ด้วยเมตตาแล้ว
... ความเจริญในธรรม.. และความสุข ย่อมจะบังเกิดขึ้น เฉพาะตน ดังนี้แล...
ขอความ สุข ความสงบ จงมีแด่สาธุชนทุกท่าน
ด้วยเมตตาธรรมด้วย เทอญ สาธุ