คิดว่าตายแล้วสูญ คิดว่าตายแล้วเกิดเป็นเพียงความเห็น ความจริงเมื่อมีอวิชชาและตัณหาย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อไป

คิดว่าตายแล้วสูญ คิดว่าตายแล้วเกิดเป็นเพียงความเห็น ความจริงเมื่อมีอวิชชาและตัณหาย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อไปอยู่อย่างนั้น.

     กรณี (1)       - บางท่าน เห็นว่าตนหรือใครตายแล้วเกิด ที่เป็นปฏิจสมุทปบาทธรรม
              
                        - บางท่าน เห็นว่าตนหรือใครตายแล้วสูญ  ที่เป็นปฏิจสมุทปบาทธรรม

      >>>    ย่อมเป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วในเรื่องปฏิจสมุทปบาท

      กรณี (2)      - บางทานเห็นว่า สัตว์ไม่เวียนว่ายตายเกิด คือตายแล้วสูญ

      >>>   ย่อมป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

      กรณี (3)      บางท่านเห็นว่า เมื่อยังมีอวิชชาและตัณหา สัตว์ย่อมเวียนว่ายตายเกิด  

       >>>   ย่อมป็นความเห็นที่ตรงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


      กรณี (1)   ย่อมเป็นความเห็นทึ่ไม่ตรงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ในเรื่องปฏิจสมุทปบาท  เพราะ
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16
---
                                 ๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
       [๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
       [๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร
พระผู้มีพระภาคตรัส
ตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก  ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะ
นี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำ
ทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น
ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิ
ว่า ชีพก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ
       [๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉนและชาตินี้
เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ  ผู้ใดพึงกล่าวว่า
ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็น
ของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น
ดูกร
ภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯ
       [๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉนและภพนี้เป็น
ของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน
และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของ
ผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น
สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ
ญาณ ... ฯ
      [๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉนและสังขาร
นี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขาร
นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ
       [๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใครหรือว่าชรามรณะเป็นของผู้
อื่น และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้
เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำ
รอกโดยไม่เหลือ ฯ
         [๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้
เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิ
เหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ
         [๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็น
ของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่า
นั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึง
ความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ... อุปา
ทานเป็นไฉน ...ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ...
นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ
         [๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่าย
หาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และ
สังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
                              จบ สูตรที่ ๕
---

        อธิบาย >>>  ปฏิจสมุทปบาทธรรมนั้น ไม่พึงกำหนดว่าเป็นของ ตน หรือ ใคร หรือ ใครอื่น เป็นผู้เสวยหรือกระทำ เพราะย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันเกิดไปตามธรรม หรือเป็นไปตามธรรม 2 (สังขตธรรมกับอสังขตธรรม)  ที่อยู่ในฝ่ายสังขตธรรม นั้นเอง.

        กรณี (2)  ย่อมป็นความเห็นที่ไม่ตรงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว   เพราะ
        กรณี (3)  ย่อมป็นความเห็นที่ตรงตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว       เพราะ

จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16
---
                          ๑. ติณกัฏฐสูตร
         [๔๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

         [๔๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า ไม้กิ่งไม้ ใบไม้
ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า
นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้น
ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไรเพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา
เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน
เหมือนฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
                          จบสูตรที่ ๑
---
         อธิบาย >>>  ไม่ต้องอธิบายเพิ่มเพราะสมบูรณ์อยู่ในแล้วในพระสูตร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่