การนึกคิดสามารถนึกคิดได้ถึงเรื่องอดีต ปัจจุบัน อนาคต ได้ต่างๆ นาๆ ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนา ต้องปฏิบัติในปัจจุบันเป็นปัจจุบันขณะเท่านั้น
คนทั่วไป สามารถคิดนึกได้ถึงเรื่องอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต่างๆ นาๆ และการบังเกิดญาณ(บุพเพ) พึ่งรู้ได้ถึงอดีตชาติ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง หลายชาติบ้าง ตามกำลังแห่งญาณนั้นๆ เฉพาะตน การบังเกิดอนาคตังคญาณเล็กๆ น้อยๆ พึงรู้ได้ถึงอนาคตในปัจจุบันชาติได้บ้าง พึงเกิดพอรู้ชาติต่อไปได้บ้าง
ส่วนปฏิบัติธรรม ที่เป็นวิปัสสนานั้นพึงต้องปฏิบัติในขณะปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะเท่านั้น เพราะการบังเกิดมรรคญาณ ละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิงตามลำดับของพระอริยบุคคลย่อมเป็นไป ณ. ปัจจุบัน นั้นเอง
กรรมฐาน ที่ทำให้เจริญสติสัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน หรือปัจจุบันขณะ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 และในส่วนของ อิริยาบถบรรพ กายคคาสติ อานาปานสติ ฯลฯ
(หมายเหตุ ข้อความข้างล่างนี้นั้น พึงมีผู้คัดค้าน ไม่เห็นด้วย ได้ หรือสับสน แต่เมื่อเกิดประสบการณ์ตรงก็จะพึงเข้าใจชัดเอง)
ธรรมที่พึงเห็นแจ้งเป็นปัจจุบัน ได้แก่ ไตรลักษณ์ ปฏิจสมุทปบาท ทุกข์ สมุทัย (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
ธรรมที่พึงเห็นแจ้งชัดในปัจจุบันขณะ ได้แก่ อุทยัพพยญาณ ปฏิจสมุทปบาทฝ่ายดับ มรรคญาณ หรือ นิโรธ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
ต่อไปจะอธิบายเรื่อง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงยกธรรม ที่เกี่ยวกับปฏิจสมุทบาท แล้วทรงตรัสทำนองว่า... (เน้น ทำนองว่า...คือเจือด้วยความเห็นของตนลงไปด้วย)...
ไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจสมุทปบาท เป็นของใคร หรือไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจสมุทปบาทเป็นอย่างอื่น และเป็นของผู้อื่น พระองค์ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า อวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ฯลฯ คือความเป็นปัจจัยเกิดสืบทอดกันไปเนื่องๆ นั้นเอง ซึ่งสามารถเห็นแจ้งหรือเห็นแจ้งชัดในปัจจุบันขณะ ด้วยการปฏิบัตินั้นเอง
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16 ยกมาให้พิจารณาดังนี้
๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัส
ตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะ
นี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำ
ทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิ
ว่า ชีพก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ
[๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉนและชาตินี้
เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็น
ของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกร
ภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯ
[๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉนและภพนี้เป็น
ของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน
และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของ
ผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น
สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ
ญาณ ... ฯ
[๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉนและสังขาร
นี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูกดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขาร
นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ
[๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใครหรือว่าชรามรณะเป็นของผู้
อื่น และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้
เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำ
รอกโดยไม่เหลือ ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้
เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิ
เหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ
[๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็น
ของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่า
นั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึง
ความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ... อุปา
ทานเป็นไฉน ...ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ...
นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ
[๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่าย
หาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และ
สังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
จบ สูตรที่ ๕
การนึกคิดสามารถนึกคิดได้ถึงเรื่องอดีต ปัจจุบัน อนาคต ได้ต่างๆ ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนาต้องปฏิบัติในปัจจุบันเป็นปัจจุบันขณะ
คนทั่วไป สามารถคิดนึกได้ถึงเรื่องอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต่างๆ นาๆ และการบังเกิดญาณ(บุพเพ) พึ่งรู้ได้ถึงอดีตชาติ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง หลายชาติบ้าง ตามกำลังแห่งญาณนั้นๆ เฉพาะตน การบังเกิดอนาคตังคญาณเล็กๆ น้อยๆ พึงรู้ได้ถึงอนาคตในปัจจุบันชาติได้บ้าง พึงเกิดพอรู้ชาติต่อไปได้บ้าง
ส่วนปฏิบัติธรรม ที่เป็นวิปัสสนานั้นพึงต้องปฏิบัติในขณะปัจจุบัน เป็นปัจจุบันขณะเท่านั้น เพราะการบังเกิดมรรคญาณ ละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิงตามลำดับของพระอริยบุคคลย่อมเป็นไป ณ. ปัจจุบัน นั้นเอง
กรรมฐาน ที่ทำให้เจริญสติสัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน หรือปัจจุบันขณะ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 และในส่วนของ อิริยาบถบรรพ กายคคาสติ อานาปานสติ ฯลฯ
(หมายเหตุ ข้อความข้างล่างนี้นั้น พึงมีผู้คัดค้าน ไม่เห็นด้วย ได้ หรือสับสน แต่เมื่อเกิดประสบการณ์ตรงก็จะพึงเข้าใจชัดเอง)
ธรรมที่พึงเห็นแจ้งเป็นปัจจุบัน ได้แก่ ไตรลักษณ์ ปฏิจสมุทปบาท ทุกข์ สมุทัย (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
ธรรมที่พึงเห็นแจ้งชัดในปัจจุบันขณะ ได้แก่ อุทยัพพยญาณ ปฏิจสมุทปบาทฝ่ายดับ มรรคญาณ หรือ นิโรธ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
ต่อไปจะอธิบายเรื่อง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงยกธรรม ที่เกี่ยวกับปฏิจสมุทบาท แล้วทรงตรัสทำนองว่า... (เน้น ทำนองว่า...คือเจือด้วยความเห็นของตนลงไปด้วย)...
ไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจสมุทปบาท เป็นของใคร หรือไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจสมุทปบาทเป็นอย่างอื่น และเป็นของผู้อื่น พระองค์ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า อวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ฯลฯ คือความเป็นปัจจัยเกิดสืบทอดกันไปเนื่องๆ นั้นเอง ซึ่งสามารถเห็นแจ้งหรือเห็นแจ้งชัดในปัจจุบันขณะ ด้วยการปฏิบัตินั้นเอง
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 16 ยกมาให้พิจารณาดังนี้
๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัส
ตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะ
นี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำ
ทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิ
ว่า ชีพก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ
[๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉนและชาตินี้
เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็น
ของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกร
ภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯ
[๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉนและภพนี้เป็น
ของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน
และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของ
ผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น
สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญ
ญาณ ... ฯ
[๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉนและสังขาร
นี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูกดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า
สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขาร
นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ
[๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใครหรือว่าชรามรณะเป็นของผู้
อื่น และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง
สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้
เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำ
รอกโดยไม่เหลือ ฯ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้
เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิ
เหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่มีเหลือ ฯ
[๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด
ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็น
ของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่า
นั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึง
ความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ... อุปา
ทานเป็นไฉน ...ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะเป็นไฉน ...
นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ... ฯ
[๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่าย
หาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และ
สังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอด
ด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯ
จบ สูตรที่ ๕