http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=50782
กิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ / kittikun.tanaratpattanakit@morningstar.com
5 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหกครับ สำหรับวิกฤตทางการเงินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเราครั้งหนึ่ง ซึ่งวิกฤตทางการเงินที่ผมพูดถึงอยู่นี้คือ Hamburger Crisis ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤตทางการเงินทั่วโลก ถ้ายังจำกันได้ปีนั้น 2551 ผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลกติดลบอย่างมากโดยเฉลี่ยประมาณ 40-50% (ส่วนดัชนี SET Index ของเราในปีนั้นติดลบ -47.56%) รวมทั้ง การล้มของ Lehman Brother สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกประสบปัญหาล้มละลาย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมายทั่วโลก
มาถึงปัจจุบัน สถานการณ์ต่างๆ ดูเหมือนจะดีขึ้นเป็นลำดับ เศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงตลาดหุ้นของหลายประเทศเริ่มกลับมาคึกคักและสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าประทับใจ หลายดัชนีถึงขั้นทำจุดสูงสุด (New High) กันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น Dow Jones และ S&P 500 หรือแม้แต่ SET Index ของไทยก็ได้ทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 18 ปีเช่นเดียวกันในช่วงกลางปี แต่ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าจะมีความยั่งยืนมากน้อยแค่ไหน
กลับมาถึงหัวเรื่องที่ผมเกริ่นไว้ครับที่ว่า “ผลตอบแทนกองทุนหุ้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นอย่างมีนัยสำคัญ” อย่างไรน่ะหรือครับ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการครบรอบ 5 ปีของวิกฤตทางการเงินดังกล่าว เพราะเนื่องจากวิธีการแสดงผลตอบแทนของกองทุนที่เป็นแบบมาตรฐานนั้นส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD) และย้อนหลัง 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี ซึ่งจุดสำคัญก็คือผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี เนื่องจากช่วงเวลานี้เมื่อ 5 ปี ที่แล้วคือจุดต่ำสุดของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก
ดังนั้นในอีก 1 เดือนกว่าข้างหน้า เราจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากของผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีของกองทุนหุ้นเมื่อสิ้นสุดเดือน ต.ค.เปรียบเทียบกับสิ้นสุดเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่อาจรู้ได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะเป็นเท่าไรเมื่อจบเดือนต.ค.แต่ก็พอจะคาดได้ว่าไม่น่าจะต่างจากปัจจุบันเท่าไร ตัวอย่างเช่น กลุ่มกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่มีผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 เฉลี่ย 15.41% ต่อปี แต่ถ้าเราขยับมาเป็นสิ้น ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2556 โดยสมมติใช้ดัชนี ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะเป็น 18.83% ต่อปี และถ้าขยับมาเป็นสิ้นเดือน ต.ค. ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะสูงขึ้นเป็น 26.8% ต่อปีทันที
ไม่เพียงกองทุนที่ลงทุนหุ้นไทยเท่านั้น กองทุน FIF ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็เช่นกันครับยกตัวอย่างกลุ่มกองทุนที่ลงทุนใน Asia Pacific ex-Japan ที่ปัจจุบันผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 เฉลี่ย 0.3% ต่อปี แต่ถ้าเราขยับมาเป็นสิ้น ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2556 โดยสมมติใช้ดัชนี ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะเป็น 3.78% ต่อปี และถ้าขยับมาเป็นสิ้นเดือน ต.ค. ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะสูงขึ้นเป็น 9.63% ต่อปีทันที
สิ่งนี้แสดงให้เห็นข้อจำกัดของการดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน ซึ่งถ้านักลงทุนขาดความเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้ว อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าลงทุนในกองทุนหุ้นนั้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงมากทั้งที่ผ่านไปไม่กี่เดือน
และแน่นอนครับสิ่งที่คาดการณ์ได้ต่อมาก็คือ น่าจะมีการโปรโมตเรื่องผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจากตัวแทนขายหน่วยลงทุนและ บลจ. เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงท้ายของปีที่เป็นช่วงเวลาทองของการขาย LTF และ RMF ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการโปรโมตเรื่องดังกล่าวในเอกสารประกอบการขายและสื่อต่างๆ กันอย่างครึกโครม ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ผิดแต่อย่างไร เพียงแต่เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรต้องทำความเข้าใจมากกว่าเนื่องจากผลตอบแทนที่เห็นนั้นเป็นผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งก็ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคตแต่อย่างใด (Past Performance is not a guarantee of future returns)
อย่างที่ทราบครับ สินทรัพย์ประเภทตราสารทุนหรือหุ้นนั้นถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง มีความผันผวนในผลตอบแทนค่อนข้างมาก ดังนั้นผมอยากให้ท่านนักลงทุนทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนครับ
ที่มา POSTTODAY
ผลตอบแทนกองทุนหุ้นกำลังจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
กิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ / kittikun.tanaratpattanakit@morningstar.com
5 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหกครับ สำหรับวิกฤตทางการเงินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเราครั้งหนึ่ง ซึ่งวิกฤตทางการเงินที่ผมพูดถึงอยู่นี้คือ Hamburger Crisis ซึ่งเป็นที่มาของวิกฤตทางการเงินทั่วโลก ถ้ายังจำกันได้ปีนั้น 2551 ผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลกติดลบอย่างมากโดยเฉลี่ยประมาณ 40-50% (ส่วนดัชนี SET Index ของเราในปีนั้นติดลบ -47.56%) รวมทั้ง การล้มของ Lehman Brother สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกประสบปัญหาล้มละลาย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมายทั่วโลก
มาถึงปัจจุบัน สถานการณ์ต่างๆ ดูเหมือนจะดีขึ้นเป็นลำดับ เศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงตลาดหุ้นของหลายประเทศเริ่มกลับมาคึกคักและสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าประทับใจ หลายดัชนีถึงขั้นทำจุดสูงสุด (New High) กันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น Dow Jones และ S&P 500 หรือแม้แต่ SET Index ของไทยก็ได้ทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 18 ปีเช่นเดียวกันในช่วงกลางปี แต่ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าจะมีความยั่งยืนมากน้อยแค่ไหน
กลับมาถึงหัวเรื่องที่ผมเกริ่นไว้ครับที่ว่า “ผลตอบแทนกองทุนหุ้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นอย่างมีนัยสำคัญ” อย่างไรน่ะหรือครับ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการครบรอบ 5 ปีของวิกฤตทางการเงินดังกล่าว เพราะเนื่องจากวิธีการแสดงผลตอบแทนของกองทุนที่เป็นแบบมาตรฐานนั้นส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD) และย้อนหลัง 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี ซึ่งจุดสำคัญก็คือผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี เนื่องจากช่วงเวลานี้เมื่อ 5 ปี ที่แล้วคือจุดต่ำสุดของดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก
ดังนั้นในอีก 1 เดือนกว่าข้างหน้า เราจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากของผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีของกองทุนหุ้นเมื่อสิ้นสุดเดือน ต.ค.เปรียบเทียบกับสิ้นสุดเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่อาจรู้ได้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะเป็นเท่าไรเมื่อจบเดือนต.ค.แต่ก็พอจะคาดได้ว่าไม่น่าจะต่างจากปัจจุบันเท่าไร ตัวอย่างเช่น กลุ่มกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่มีผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 เฉลี่ย 15.41% ต่อปี แต่ถ้าเราขยับมาเป็นสิ้น ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2556 โดยสมมติใช้ดัชนี ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะเป็น 18.83% ต่อปี และถ้าขยับมาเป็นสิ้นเดือน ต.ค. ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะสูงขึ้นเป็น 26.8% ต่อปีทันที
ไม่เพียงกองทุนที่ลงทุนหุ้นไทยเท่านั้น กองทุน FIF ที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็เช่นกันครับยกตัวอย่างกลุ่มกองทุนที่ลงทุนใน Asia Pacific ex-Japan ที่ปัจจุบันผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 เฉลี่ย 0.3% ต่อปี แต่ถ้าเราขยับมาเป็นสิ้น ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2556 โดยสมมติใช้ดัชนี ณ วันที่ 30 ส.ค. 2556 ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะเป็น 3.78% ต่อปี และถ้าขยับมาเป็นสิ้นเดือน ต.ค. ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยจะสูงขึ้นเป็น 9.63% ต่อปีทันที
สิ่งนี้แสดงให้เห็นข้อจำกัดของการดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน ซึ่งถ้านักลงทุนขาดความเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้ว อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าลงทุนในกองทุนหุ้นนั้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงมากทั้งที่ผ่านไปไม่กี่เดือน
และแน่นอนครับสิ่งที่คาดการณ์ได้ต่อมาก็คือ น่าจะมีการโปรโมตเรื่องผลตอบแทนของกองทุนหุ้นจากตัวแทนขายหน่วยลงทุนและ บลจ. เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงท้ายของปีที่เป็นช่วงเวลาทองของการขาย LTF และ RMF ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการโปรโมตเรื่องดังกล่าวในเอกสารประกอบการขายและสื่อต่างๆ กันอย่างครึกโครม ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ผิดแต่อย่างไร เพียงแต่เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรต้องทำความเข้าใจมากกว่าเนื่องจากผลตอบแทนที่เห็นนั้นเป็นผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งก็ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคตแต่อย่างใด (Past Performance is not a guarantee of future returns)
อย่างที่ทราบครับ สินทรัพย์ประเภทตราสารทุนหรือหุ้นนั้นถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง มีความผันผวนในผลตอบแทนค่อนข้างมาก ดังนั้นผมอยากให้ท่านนักลงทุนทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนครับ
ที่มา POSTTODAY