โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กันยายน 2556 14:45 น.
นักวิเคราะห์กล่าวว่า นักลงทุนอาจหลีกเลี่ยงการลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า ในขณะที่ตลาดมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาขัดแย้งด้านงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐครั้งล่าสุด
มีความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งเกี่ยวกับงบประมาณในครั้งนี้อาจส่งผลให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐปิดทำการ หรือทำให้รัฐบาลสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ และปัจจัยนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์แบบในปี 2011 ขึ้นอีก โดยในปีนั้นความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองสหรัฐส่งผลให้สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจาก AAA สู่ AA+ และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนักในช่วงนั้น
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทกล่าวว่า ความขัดแย้งทาง การเมืองในสหรัฐครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การโต้เถียงอย่างวุ่นวาย และการขู่ที่รุนแรงเกินจริง แต่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
นายไบรอัน จาคอบเซ่น จากบริษัทเวลส์ ฟาร์โก ฟันด์ส แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากรูปแบบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดปัญหาเพดานหนี้ในปี 2011 ผู้นำพรรครีพับลิกันก็เข้าใจแล้วว่า ถ้าหากมีการปิดหน่วยงานราชการ ก็มีแนวโน้มสูงสุดที่ประชาชนจะมองว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของพรรครีพับลิกัน"
นายจาคอบเซ่นกล่าวว่า "พรรครีพับลิกันจะให้ความสำคัญกับกระแสความเห็นของประชาชน ในขณะที่ใกล้จะถึงการเลือกตั้งช่วงกลางสมัยในปี 2014"
นายสตีเฟน มาสซอคกา กรรมการผู้จัดการบริษัทเวดบุช เอควิที แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ถึงแม้ต่างฝ่ายต่างแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อกัน แต่ก็จะมีการบรรลุข้อตกลงกันได้ในอนาคต และสหรัฐจะเดินหน้าต่อไป" การเผชิญหน้ากันระหว่างนักการเมืองสหรัฐในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้มาพร้อมกับกำหนดเส้นตาย 2 ครั้ง
เส้นตายแรกคือการที่นักการเมืองสหรัฐต้องบรรลุข้อตกลงด้านงบประมาณกันให้ได้ก่อนสิ้นเดือนนี้ มิฉะนั้นหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐอาจต้องปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ส่วนเส้นตายที่สองคือการที่สมาชิกสภาคองเกรส ต้องลงมติอนุมัติการปรับเพิ่มเพดานหนี้ภายในกลางเดือนต.ค. เพื่อสกัดกั้นการผิดนัดชำระหนี้
ในความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดนั้น สภาผู้แทนราษฎรภายใต้การนำของพรรครีพับลิกันได้อนุมัติร่างกฎหมายฉบับหนึ่งในวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่อนุมัติการให้เงินทุนดำเนินงานแก่หน่วยงานของรัฐบาลกลางจนถึงกลางเดือน ธ.ค. อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้บรรจุข้อกำหนดที่ขัดขวางการใช้กฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพของประธานาธิบดีบารัค โอบามา
สมาชิกพรรคเดโมแครตที่ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภากล่าวว่า พวกเขาจะตัดข้อกำหนดดังกล่าวออกไป เมื่อมีการส่งร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในวุฒิสภาในสัปดาห์นี้
นักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทไม่ได้แสดงความกังวลมากนักต่อสถานการณ์ ในกรุงวอชิงตันในช่วงนี้
บริษัทโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า "ความไม่แน่นอนอาจจะเพิ่มสูงขึ้นก่อน เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ แต่เราคิดว่ามีแนวโน้มที่ปัญหานี้จะดำเนินไปเพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น และอาจจะไม่รุนแรงมากเท่ากับเหตุการณ์อื่นๆในระยะนี้"
ปัญหางบประมาณในครั้งนี้อาจจะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีเหมือนปัญหาเรื่องหน้าผาการคลัง หรือ fiscal cliff ในเดือนธ.ค.2012 โดยในครั้งนั้นตลาดได้คาดการณ์เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ว่า สหรัฐอาจจะปรับขึ้นภาษีครั้งใหญ่และปรับลดงบรายจ่ายลงเป็นจำนวนมากถ้าหากไม่มีการบรรลุข้อตกลงในเรื่องดังกล่าว แต่ในที่สุดสมาชิกสภาคองเกรสก็บรรลุข้อตกลงกันได้ในนาทีสุดท้าย และส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในช่วงต้นปี 2013
ขณะนี้ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 22 %จากช่วงต้นปีนี้หากวัดตามผลตอบแทนโดยรวม ซึ่งรวมถึงเงินปันผลที่นำมาลงทุนใหม่
นายเจฟฟรีย์ เซาท์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทเรย์มอนด์ เจมส์ ไฟแนนเชียล กล่าวว่า "ตลาดอาจจะร่วงลงโดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องเพดานหนี้และการแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้จะดำเนินไปในแนวทางเดียวกับปัญหา fiscal cliff นั่นก็คือ มีการโต้เถียงกันเป็นอย่างมาก แต่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริง"
"ถ้าหากตลาดหุ้นร่วงลงเพราะความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ ผมก็คิดว่าเราควรเข้าซื้อหุ้นในช่วงนั้น" นายเซาท์กล่าว
การที่นักลงทุนไม่ได้กังวลต่อปัญหางบประมาณมากนักส่งผลให้ดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดความกังวลของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงสู่ 13.12 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน โดยดัชนีดิ่งลงมาแล้ว 23 % ในช่วง 3 สัปดาห์ดังกล่าว
มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์จะเปิดตลาดพร้อมกับการนำหุ้นใหม่ 3 ตัวเข้ามาในดัชนี ซึ่งได้แก่หุ้นบริษัทโกลด์แมน แซคส์, วีซ่า และไนกี้ เพื่อแทนที่หุ้น 3 ตัวที่จะถูกปลดออกไปจากดัชนี ซึ่งได้แก่หุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และอัลโค
ถึงแม้มีโอกาสน้อยที่ตลาดหุ้นสหรัฐจะได้รับผลกระทบครั้งใหญ่จากความขัดแย้งด้านงบประมาณในสหรัฐ แต่ความขัดแย้งนี้ก็อาจจะบ่งชี้ถึงแนวโน้มในทางลบสำหรับตลาดหุ้น
ในวันพุธที่ 18 ก.ย.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า การปรับลดงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐ เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เฟดตัดสินใจไม่ปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หลังจาก QE ช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ และช่วยหนุนดัชนี S&P 500 ให้พุ่งขึ้นในปีนี้
ถ้าหากปัญหางบประมาณสหรัฐมีแนวโน้มได้รับการคลี่คลาย เฟดก็อาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาด QE ลงในการประชุมวันที่ 29-30 ต.ค.
นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวถึงความเป็นไปได้ ในการปรับลดขนาด QE ในเดือนต.ค.ในวันศุกร์ที่ผ่านมา และเขาตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินใจในเรื่องนี้ยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า เฟดมีโอกาสปรับนโยบาย ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
นายจาคอบเซ่นกล่าวว่า "ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เฟดใช้ความระมัดระวังคือปัญหาเรื่องงบประมาณรัฐบาล เพราะเฟดตระหนักว่าปัญหานี้อาจจะส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ ดังนั้นเฟดจึงตัดสินใจไม่ปรับลดขนาด QE ลง"
นายจาคอบเซ่นกล่าวว่า "มีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะปรับลดขนาด QE ลงเล็กน้อยในวันที่ 30 ต.ค. เพราะว่าเราอาจผ่านพ้นเหตุการณ์วุ่นวายทาง การเมืองในสหรัฐไปบ้างแล้วในตอนนั้น ถ้าหากมีการหาทางออกให้กับปัญหาเรื่องงบประมาณได้"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Grouphttp://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000120452
นักลงทุนวอลล์สตรีทจับตาปัญหาขัดแย้งด้านงบประมาณในสภาคองเกรสสัปดาห์นี้
นักวิเคราะห์กล่าวว่า นักลงทุนอาจหลีกเลี่ยงการลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า ในขณะที่ตลาดมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาขัดแย้งด้านงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐครั้งล่าสุด
มีความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งเกี่ยวกับงบประมาณในครั้งนี้อาจส่งผลให้หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐปิดทำการ หรือทำให้รัฐบาลสหรัฐผิดนัดชำระหนี้ และปัจจัยนี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่าอาจเกิดเหตุการณ์แบบในปี 2011 ขึ้นอีก โดยในปีนั้นความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองสหรัฐส่งผลให้สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจาก AAA สู่ AA+ และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐทรุดตัวลงอย่างหนักในช่วงนั้น
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทกล่าวว่า ความขัดแย้งทาง การเมืองในสหรัฐครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การโต้เถียงอย่างวุ่นวาย และการขู่ที่รุนแรงเกินจริง แต่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
นายไบรอัน จาคอบเซ่น จากบริษัทเวลส์ ฟาร์โก ฟันด์ส แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากรูปแบบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดปัญหาเพดานหนี้ในปี 2011 ผู้นำพรรครีพับลิกันก็เข้าใจแล้วว่า ถ้าหากมีการปิดหน่วยงานราชการ ก็มีแนวโน้มสูงสุดที่ประชาชนจะมองว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของพรรครีพับลิกัน"
นายจาคอบเซ่นกล่าวว่า "พรรครีพับลิกันจะให้ความสำคัญกับกระแสความเห็นของประชาชน ในขณะที่ใกล้จะถึงการเลือกตั้งช่วงกลางสมัยในปี 2014"
นายสตีเฟน มาสซอคกา กรรมการผู้จัดการบริษัทเวดบุช เอควิที แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ถึงแม้ต่างฝ่ายต่างแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อกัน แต่ก็จะมีการบรรลุข้อตกลงกันได้ในอนาคต และสหรัฐจะเดินหน้าต่อไป" การเผชิญหน้ากันระหว่างนักการเมืองสหรัฐในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้มาพร้อมกับกำหนดเส้นตาย 2 ครั้ง
เส้นตายแรกคือการที่นักการเมืองสหรัฐต้องบรรลุข้อตกลงด้านงบประมาณกันให้ได้ก่อนสิ้นเดือนนี้ มิฉะนั้นหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐอาจต้องปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ส่วนเส้นตายที่สองคือการที่สมาชิกสภาคองเกรส ต้องลงมติอนุมัติการปรับเพิ่มเพดานหนี้ภายในกลางเดือนต.ค. เพื่อสกัดกั้นการผิดนัดชำระหนี้
ในความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดนั้น สภาผู้แทนราษฎรภายใต้การนำของพรรครีพับลิกันได้อนุมัติร่างกฎหมายฉบับหนึ่งในวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่อนุมัติการให้เงินทุนดำเนินงานแก่หน่วยงานของรัฐบาลกลางจนถึงกลางเดือน ธ.ค. อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายฉบับนี้บรรจุข้อกำหนดที่ขัดขวางการใช้กฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพของประธานาธิบดีบารัค โอบามา
สมาชิกพรรคเดโมแครตที่ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภากล่าวว่า พวกเขาจะตัดข้อกำหนดดังกล่าวออกไป เมื่อมีการส่งร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในวุฒิสภาในสัปดาห์นี้
นักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทไม่ได้แสดงความกังวลมากนักต่อสถานการณ์ ในกรุงวอชิงตันในช่วงนี้
บริษัทโกลด์แมน แซคส์ระบุว่า "ความไม่แน่นอนอาจจะเพิ่มสูงขึ้นก่อน เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ แต่เราคิดว่ามีแนวโน้มที่ปัญหานี้จะดำเนินไปเพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น และอาจจะไม่รุนแรงมากเท่ากับเหตุการณ์อื่นๆในระยะนี้"
ปัญหางบประมาณในครั้งนี้อาจจะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีเหมือนปัญหาเรื่องหน้าผาการคลัง หรือ fiscal cliff ในเดือนธ.ค.2012 โดยในครั้งนั้นตลาดได้คาดการณ์เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ว่า สหรัฐอาจจะปรับขึ้นภาษีครั้งใหญ่และปรับลดงบรายจ่ายลงเป็นจำนวนมากถ้าหากไม่มีการบรรลุข้อตกลงในเรื่องดังกล่าว แต่ในที่สุดสมาชิกสภาคองเกรสก็บรรลุข้อตกลงกันได้ในนาทีสุดท้าย และส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นในช่วงต้นปี 2013
ขณะนี้ดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 22 %จากช่วงต้นปีนี้หากวัดตามผลตอบแทนโดยรวม ซึ่งรวมถึงเงินปันผลที่นำมาลงทุนใหม่
นายเจฟฟรีย์ เซาท์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทเรย์มอนด์ เจมส์ ไฟแนนเชียล กล่าวว่า "ตลาดอาจจะร่วงลงโดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องเพดานหนี้และการแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้จะดำเนินไปในแนวทางเดียวกับปัญหา fiscal cliff นั่นก็คือ มีการโต้เถียงกันเป็นอย่างมาก แต่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริง"
"ถ้าหากตลาดหุ้นร่วงลงเพราะความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ ผมก็คิดว่าเราควรเข้าซื้อหุ้นในช่วงนั้น" นายเซาท์กล่าว
การที่นักลงทุนไม่ได้กังวลต่อปัญหางบประมาณมากนักส่งผลให้ดัชนีความผันผวน CBOE หรือดัชนี VIX ที่ใช้วัดความกังวลของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงสู่ 13.12 ในวันศุกร์ และปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน โดยดัชนีดิ่งลงมาแล้ว 23 % ในช่วง 3 สัปดาห์ดังกล่าว
มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์จะเปิดตลาดพร้อมกับการนำหุ้นใหม่ 3 ตัวเข้ามาในดัชนี ซึ่งได้แก่หุ้นบริษัทโกลด์แมน แซคส์, วีซ่า และไนกี้ เพื่อแทนที่หุ้น 3 ตัวที่จะถูกปลดออกไปจากดัชนี ซึ่งได้แก่หุ้นธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา, ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และอัลโค
ถึงแม้มีโอกาสน้อยที่ตลาดหุ้นสหรัฐจะได้รับผลกระทบครั้งใหญ่จากความขัดแย้งด้านงบประมาณในสหรัฐ แต่ความขัดแย้งนี้ก็อาจจะบ่งชี้ถึงแนวโน้มในทางลบสำหรับตลาดหุ้น
ในวันพุธที่ 18 ก.ย.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า การปรับลดงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐ เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เฟดตัดสินใจไม่ปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากระดับ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หลังจาก QE ช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ และช่วยหนุนดัชนี S&P 500 ให้พุ่งขึ้นในปีนี้
ถ้าหากปัญหางบประมาณสหรัฐมีแนวโน้มได้รับการคลี่คลาย เฟดก็อาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาด QE ลงในการประชุมวันที่ 29-30 ต.ค.
นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวถึงความเป็นไปได้ ในการปรับลดขนาด QE ในเดือนต.ค.ในวันศุกร์ที่ผ่านมา และเขาตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินใจในเรื่องนี้ยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า เฟดมีโอกาสปรับนโยบาย ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
นายจาคอบเซ่นกล่าวว่า "ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เฟดใช้ความระมัดระวังคือปัญหาเรื่องงบประมาณรัฐบาล เพราะเฟดตระหนักว่าปัญหานี้อาจจะส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ ดังนั้นเฟดจึงตัดสินใจไม่ปรับลดขนาด QE ลง"
นายจาคอบเซ่นกล่าวว่า "มีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะปรับลดขนาด QE ลงเล็กน้อยในวันที่ 30 ต.ค. เพราะว่าเราอาจผ่านพ้นเหตุการณ์วุ่นวายทาง การเมืองในสหรัฐไปบ้างแล้วในตอนนั้น ถ้าหากมีการหาทางออกให้กับปัญหาเรื่องงบประมาณได้"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Grouphttp://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000120452