คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
หากเป็น เอชอาร์ท่องเอาไว้ว่า ทำงานเพื่อบริษัทและพนักงานอย่างละครึ่ง
หากเป็น ฝ่ายบริหารท่องเอาไว้ว่า
อย่าให้ลูกจ้างอยู่เหนือความเป็นบริษัท
ต้องยอมรับว่าบางทีการถามลูกจ้างมากเกินไป การบริหารงานจะไร้ทิศทาง
ในกรณีนี้ ผมแนะนำว่า
ให้นำ "เงิน" ที่บริษัทต้องเสียไปกับการลาของพนักงานทำตัวเลขให้ดู
ถามว่าทำยังไง คือ เอาเงินของพนักงาน หารสามสิบ คูณวันลา จะได้ตัวเลขออกมา (เยอะแน่ๆ)
แล้วนำไปให้ดู บอกว่านี่คือเงินเสียเปล่า กรณีนี้ใช้กับฝ่ายบริหารที่ไม่รู้การบริหารงานบุคคล (ไม่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน)
ต่อให้รู้ก็ต้องสะดุ้งในตัวเลขแน่นอน
ส่วนพนักงานที่มีวันลา (ป่วย) เยอะ ลากิจโดนจำกัดอยู่แล้ว
แนะนำว่า "พาไปตรวจสุขภาพ" แสดงความเป็นห่วง เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่กล้าไป ถ้าป่วยหนักจริง แนะนำให้ปลดออก เนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานครับ
ค
ลากิจถ้าเป็นบริษัทเล็กไม่ต้องให้ครับ จัดวันพักร้อนให้แทน
ค่อนข้างซับซ้อนแต่ได้ผลครับ เจอพนักงานหัวหมอมาเราต้องหัวหมอกว่า
ส่วนฝ่ายบริหารยิ่งเป็นใกล้ตัว ต้องยิ่งคุยและต้องให้สติครับ
หากเป็น ฝ่ายบริหารท่องเอาไว้ว่า
อย่าให้ลูกจ้างอยู่เหนือความเป็นบริษัท
ต้องยอมรับว่าบางทีการถามลูกจ้างมากเกินไป การบริหารงานจะไร้ทิศทาง
ในกรณีนี้ ผมแนะนำว่า
ให้นำ "เงิน" ที่บริษัทต้องเสียไปกับการลาของพนักงานทำตัวเลขให้ดู
ถามว่าทำยังไง คือ เอาเงินของพนักงาน หารสามสิบ คูณวันลา จะได้ตัวเลขออกมา (เยอะแน่ๆ)
แล้วนำไปให้ดู บอกว่านี่คือเงินเสียเปล่า กรณีนี้ใช้กับฝ่ายบริหารที่ไม่รู้การบริหารงานบุคคล (ไม่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน)
ต่อให้รู้ก็ต้องสะดุ้งในตัวเลขแน่นอน
ส่วนพนักงานที่มีวันลา (ป่วย) เยอะ ลากิจโดนจำกัดอยู่แล้ว
แนะนำว่า "พาไปตรวจสุขภาพ" แสดงความเป็นห่วง เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่กล้าไป ถ้าป่วยหนักจริง แนะนำให้ปลดออก เนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานครับ
ค
ลากิจถ้าเป็นบริษัทเล็กไม่ต้องให้ครับ จัดวันพักร้อนให้แทน
ค่อนข้างซับซ้อนแต่ได้ผลครับ เจอพนักงานหัวหมอมาเราต้องหัวหมอกว่า
ส่วนฝ่ายบริหารยิ่งเป็นใกล้ตัว ต้องยิ่งคุยและต้องให้สติครับ
แสดงความคิดเห็น
ปัญหางานบุคคล พนักงานขาดงานบ่อย
ที่บ้านเป็นบริษัทแบบครอบครัว ดำเนินธุรกิจมานานตั้งแต่รุ่นคุณพ่อของสามี ร่วมสร้าง ร่วมบุกเบิกกับพนักงานกลุ่มนึงมานาน สอนจนพนักงานเหล่านั้นเป็นช่างใหญ่ของบริษัท พอคุณพ่อของสามีเสีย ปรากฏว่า เจนเนอเรชั่นลูกเข้ามาร่วมบริหารกับคุณแม่ของสามี
ปรากฏว่า ปัญหาเริ่มเลยคะ มีการปรับโครงสร้างการเพิ่มลดอัตราเงินเดือนแบบตามเกณฑ์ อิงกลุ่ม มีการประเมินพนักงาน ตอนนี้ ใช้เกณฑ์มาประเมินพนักงานแล้ว 6-7 ปี ไม่เป็นผล มีพนักงานที่ไม่พอใจ ไม่เข้าใจปัญหาอยู่พอสมควร และพากันหยุดงานและไปรับงานข้างนอก ทำให้งานสายการผลิตทำไม่ทัน เพราะต้องพึ่งพาช่าง เมื่อหยุดงานมากๆเข้า เดิมที บริษัทมีกฏระเบียบว่า หยุดงานเกิน 20 วัน จะไม่ได้รับการปรับเงินเดือนขึ้นในปีนั้น โดยหยุด 20 วันคือ ขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรนะคะ ไม่นับรวม พักร้อน ลาป่วยภายใน 30 วัน ลากิจตามที่กำหนดไว้
สิ่งที่หนักใจคือ ผู้บริหารระดับสูงไม่กล้าที่จะลงดาบพนักงานที่ทำผิดกฏระเบียบ ไม่ออกหนังสือเตือน ทำให้พนักงานเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ลาหายไปไม่บอกกล่าว จะสถิติลางานปีที่แล้ว ทั้งปีของปี 55 น้อยกว่าครึ่งปี 56 ไปแล้ว มีวิธีไหนบ้างจะเยียวยาลักษณะการหยุดแบบนี้ของพนักงานได้บ้างคะ เพราะส่วนนึงอ้างว่า เพราะกฏไม่เป็นกฏ เค้าจึงหยุดบ้าง
อีกส่วนอ้างว่า ไม่พอใจที่เงินเดือนไม่ขึ้น เพราะหยุดเกิน 20 วัน เป็นระยะเวลานาน และอีกส่วนคือ หยุดเอามันส์ เห็นว่าหยุดแล้วไม่เตือน ไม่ว่า ก็เลยหยุดบ้าง เพราะยังไงก็กินเปล่าวันอาทิตย์อยู่แล้ว
พอตอนนี้ดิฉันมาเริ่มดูเรื่องการประเมินผล โดนแอนตี้มากมาย ทั้งที่เพิ่งเริ่มมาดูเป็นปีแรก หาว่าไปนั่งจับผิดพวกเค้า โดนเพ่งเล็งทั้งบริษัทไปแล้ว ส่วนตัวไม่รู้จะทำยังไงแล้วคะ ท้อมาก ต้องทำตามใจทั้งผู้บริหาร และต้องมานั่งฟังเสียงลูกน้องว่าต้องประเมินยังไง ทั้งที่ผู้นำควรจะมีจุดชี้ขาดไปเลยว่า องค์กรต้องการอะไรจากพนักงาน
รบกวนผู้มีประสบการณ์ HR ช่วยแนะนำทีนะคะ เพราะส่วนตัวไม่ได้เรียนมาทางนี้ แต่พอมาจับงานนี้เนื่องจากเป็นบริษัทของครอบครัว เลยโดนเยอะ เพราะยังไงก็แค่ลูกสะใภ้คะ