โลกที่ปราศจาก QE ของอเมริกา
Posted by ชยนนท์ รักกาญจนันท์ on วันศุกร์, 13 กันยายน 2013 in
Money Channel
ใกล้การประชุม Federal Open Market Committee (FOMC) ในวันที่ 17-18 ก.ย. นี้เข้าไปทุกที นักวิเคราะห์เกือบทุกสำนักต่างพร้อมใจกันบอกว่า การประชุม FOMC ครั้งนี้ จะถือเป็นครั้งสำคัญที่สุดในปีนี้ทีเดียว สาเหตุก็เป็นเพราะ ทั้งกรรมการที่นั่งในบอร์ดที่ประชุมเอง และนักวิเคราะห์ทั้งหลายเอง ต่างคาดการณ์ และเหมือนจะมีความต้องการอยู่ลึกๆว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯควรจะเริ่มลดวงเงินการทำ QE ได้แล้ว หรือที่เราเห็นฝรั่งเรียกกันว่า “QE Tapering” นั้นเองครับ
จากการสำรวจของนักวิเคราะห์ เป็นที่ชัดเจนว่า มาตรการ QE แต่ละครั้งที่ผ่านมา เป็นที่มาที่ทำให้สินทรัพย์เสี่ยง ทั้งเสี่ยงมาก (หุ้น) และเสี่ยงน้อย (ตราสารหนี้) ปรับตัวขึ้น และสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนทั่วโลกมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ ดังนั้น หากมีการหยุดทำ QE จริง สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเหล่านี้ ก็คงเผชิญแรงขายทำกำไรแน่นอน ซึ่งหลักฐานก็คือการปรับฐานของตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทำให้ค่าเงินอ่อนค่าอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค. 2556 ที่มีการเก็งกันเป็นครั้งแรกว่า FOMC อาจจะพิจารณาชะลอวงเงิน QE ที่ทำมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ย้อนกลับไปดูอดีตตั้งแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์ และตามมาด้วยการทำ QE ของสหรัฐฯเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินตอนปลายปี 2551 จะพบว่า ตลาดหุ้น S&P500 กลับตัวเป็นขาขึ้นทันที ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯก็ถูกกดให้ต่ำเป็นประวัติการณ์ จนเมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่มีข่าวการชะลอ QE นั้นเอง ที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ดีดขึ้นมาวนเวียนอยู่แถวๆ 2.9%-3.0%
เงื่อนไขการหยุดอัดฉีดเงินที่ประธานเฟด เบน เบอร์นันเก้กำหนดไว้ ค่อนข้างชัดเจนคือ ต้องเห็นอัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลงชัดเจน เพราะอัตราการว่างงานในระดับต่ำ สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นจริงในสายตาของประธานเฟด
ถ้ามองในมุมของเงื่อนไขการหยุดอัดฉีดเงินอย่างที่เบอร์นันเก้ตั้งไว้ จริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีกับสหรัฐฯ และโลกทั้งโลก เพราะ QE ที่ผ่านมา เปรียบเสมือนยากระตุ้นให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ในยามที่นโยบายตามแผนปกติไม่สามารถทำงานตามกลไลตลาด แต่ยากระตุ้น ย่อมมีผลข้างเคียง (Side Effect) ต่อผู้ใช้ยา หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป คนที่เป็นหมออย่างธนาคารกลาง จึงต้องค่อยตรวจสอบอาการคนไข้ซึ่งก็คือเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่าจะสามารถลดปริมาณยาลง และนำไปสู่การหยุดยากระตุ้น เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือไม่
เป็นธรรมดาที่ขั้นตอนการลดปริมาณยา หรือการหยุดยา อาจทำให้ร่างกายคนไข้มีอาการบ้าง นี่ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้รักษาที่จะดูจังหวะเวลาที่ถูกต้องเพื่อลดยานะครับ โลกการเงิน ณ ตอนนี้ ก็อยู่ในช่วงที่รู้แน่ๆว่า ต้องลดยากระตุ้น อยู่ที่ว่า จะลดเมื่อไหร่ และมีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้น คนไข้ที่เคยได้ยากระตุ้นเป็นระยะเวลานาน พอรู้ว่าจะไม่ได้ยาอีกต่อไปก็ย่อมเกิดอาการงอแงเป็นธรรมดา
แต่ผมว่า ทุกคนมองเห็นตรงกันหมดว่า อย่าไปพึ่งมันอีกเลย ยากระตุ้นนี่ เพราะนานไป มันเหมือนจะกลายเป็นสารเสพติด ถึงตอนนั้น จะเลิกมาที ตลาดคงลงแดง ผันผวนแบบสุดๆ ถ้าเห็นทีท่าว่าเศรษฐกิจดี ไม่ต้องพึ่งยาแล้ว ก็รีบๆเลิกซะเถอะ จริงไหมครับ
โลกที่ปราศจาก QE ของอเมริกาหลังจากนี้ คงจะทำให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังของสินทรัพย์ประเภทหุ้น กลับมาเป็นปกติ ไม่ใช่บวกกับปีละ 20-30% โดยเฉลี่ย เหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานมากกว่าวิ่งเพราะมีเงินร้อนจากอเมริกาวิ่งมาเก็งกำไร แต่ก็ใช่ว่า ถนนที่ไม่มี QE จากฝั่งอเมริกา มันจะราบเรียบ อย่าลืมว่า ตอนนี้ ญี่ปุ่นก็กำลังอัดฉีดเงินภายใต้นโยบาย Abenomics แถมที่ยุโรป ประธาน ECB ก็ย้ำหนักย้ำหนาว่า พร้อมจะช่วยประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีปัญหา เพื่อรักษาการมีอยู่ของเงินสกุลยูโร นั้นแปลว่า ใครมีปัญหาก็พร้อมอัดฉีดเงินเข้าช่วยเหลืออยู่ดี
ถึงเวลาแล้วที่นักลงทุนจะกลับมาดูที่ปัจจัยพื้นฐาน ความสมเหตุสมเหตุของราคา และผลประกอบการของบริษัท ไม่ใช่เก็งกันไปว่าจะชะลอหรือไม่ชะลอ QE แล้วจิ้มหุ้นมั่วๆไปก็กำไรเป็นกอบเป็นกำเหมือนในอดีต ว่านพืชอย่างไร ก็ได้ผลอย่างนั้น ใช้ความมีเหตุผลในการลงทุนมากเท่าไหร่ ความปลอดภัยและความมั่นใจในการลงทุน ก็มีมากขึ้นเช่นกัน
https://www.facebook.com/home.php#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
โลกที่ปราศจาก QE ของอเมริกา-By ชยนนท์
โลกที่ปราศจาก QE ของอเมริกา
Posted by ชยนนท์ รักกาญจนันท์ on วันศุกร์, 13 กันยายน 2013 in
Money Channel
ใกล้การประชุม Federal Open Market Committee (FOMC) ในวันที่ 17-18 ก.ย. นี้เข้าไปทุกที นักวิเคราะห์เกือบทุกสำนักต่างพร้อมใจกันบอกว่า การประชุม FOMC ครั้งนี้ จะถือเป็นครั้งสำคัญที่สุดในปีนี้ทีเดียว สาเหตุก็เป็นเพราะ ทั้งกรรมการที่นั่งในบอร์ดที่ประชุมเอง และนักวิเคราะห์ทั้งหลายเอง ต่างคาดการณ์ และเหมือนจะมีความต้องการอยู่ลึกๆว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯควรจะเริ่มลดวงเงินการทำ QE ได้แล้ว หรือที่เราเห็นฝรั่งเรียกกันว่า “QE Tapering” นั้นเองครับ
จากการสำรวจของนักวิเคราะห์ เป็นที่ชัดเจนว่า มาตรการ QE แต่ละครั้งที่ผ่านมา เป็นที่มาที่ทำให้สินทรัพย์เสี่ยง ทั้งเสี่ยงมาก (หุ้น) และเสี่ยงน้อย (ตราสารหนี้) ปรับตัวขึ้น และสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนทั่วโลกมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ ดังนั้น หากมีการหยุดทำ QE จริง สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเหล่านี้ ก็คงเผชิญแรงขายทำกำไรแน่นอน ซึ่งหลักฐานก็คือการปรับฐานของตลาดหุ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทำให้ค่าเงินอ่อนค่าอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค. 2556 ที่มีการเก็งกันเป็นครั้งแรกว่า FOMC อาจจะพิจารณาชะลอวงเงิน QE ที่ทำมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ย้อนกลับไปดูอดีตตั้งแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์ และตามมาด้วยการทำ QE ของสหรัฐฯเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินตอนปลายปี 2551 จะพบว่า ตลาดหุ้น S&P500 กลับตัวเป็นขาขึ้นทันที ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯก็ถูกกดให้ต่ำเป็นประวัติการณ์ จนเมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่มีข่าวการชะลอ QE นั้นเอง ที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ดีดขึ้นมาวนเวียนอยู่แถวๆ 2.9%-3.0%
เงื่อนไขการหยุดอัดฉีดเงินที่ประธานเฟด เบน เบอร์นันเก้กำหนดไว้ ค่อนข้างชัดเจนคือ ต้องเห็นอัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลงชัดเจน เพราะอัตราการว่างงานในระดับต่ำ สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นจริงในสายตาของประธานเฟด
ถ้ามองในมุมของเงื่อนไขการหยุดอัดฉีดเงินอย่างที่เบอร์นันเก้ตั้งไว้ จริงๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีกับสหรัฐฯ และโลกทั้งโลก เพราะ QE ที่ผ่านมา เปรียบเสมือนยากระตุ้นให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ในยามที่นโยบายตามแผนปกติไม่สามารถทำงานตามกลไลตลาด แต่ยากระตุ้น ย่อมมีผลข้างเคียง (Side Effect) ต่อผู้ใช้ยา หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป คนที่เป็นหมออย่างธนาคารกลาง จึงต้องค่อยตรวจสอบอาการคนไข้ซึ่งก็คือเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่าจะสามารถลดปริมาณยาลง และนำไปสู่การหยุดยากระตุ้น เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือไม่
เป็นธรรมดาที่ขั้นตอนการลดปริมาณยา หรือการหยุดยา อาจทำให้ร่างกายคนไข้มีอาการบ้าง นี่ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้รักษาที่จะดูจังหวะเวลาที่ถูกต้องเพื่อลดยานะครับ โลกการเงิน ณ ตอนนี้ ก็อยู่ในช่วงที่รู้แน่ๆว่า ต้องลดยากระตุ้น อยู่ที่ว่า จะลดเมื่อไหร่ และมีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้น คนไข้ที่เคยได้ยากระตุ้นเป็นระยะเวลานาน พอรู้ว่าจะไม่ได้ยาอีกต่อไปก็ย่อมเกิดอาการงอแงเป็นธรรมดา
แต่ผมว่า ทุกคนมองเห็นตรงกันหมดว่า อย่าไปพึ่งมันอีกเลย ยากระตุ้นนี่ เพราะนานไป มันเหมือนจะกลายเป็นสารเสพติด ถึงตอนนั้น จะเลิกมาที ตลาดคงลงแดง ผันผวนแบบสุดๆ ถ้าเห็นทีท่าว่าเศรษฐกิจดี ไม่ต้องพึ่งยาแล้ว ก็รีบๆเลิกซะเถอะ จริงไหมครับ
โลกที่ปราศจาก QE ของอเมริกาหลังจากนี้ คงจะทำให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังของสินทรัพย์ประเภทหุ้น กลับมาเป็นปกติ ไม่ใช่บวกกับปีละ 20-30% โดยเฉลี่ย เหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานมากกว่าวิ่งเพราะมีเงินร้อนจากอเมริกาวิ่งมาเก็งกำไร แต่ก็ใช่ว่า ถนนที่ไม่มี QE จากฝั่งอเมริกา มันจะราบเรียบ อย่าลืมว่า ตอนนี้ ญี่ปุ่นก็กำลังอัดฉีดเงินภายใต้นโยบาย Abenomics แถมที่ยุโรป ประธาน ECB ก็ย้ำหนักย้ำหนาว่า พร้อมจะช่วยประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีปัญหา เพื่อรักษาการมีอยู่ของเงินสกุลยูโร นั้นแปลว่า ใครมีปัญหาก็พร้อมอัดฉีดเงินเข้าช่วยเหลืออยู่ดี
ถึงเวลาแล้วที่นักลงทุนจะกลับมาดูที่ปัจจัยพื้นฐาน ความสมเหตุสมเหตุของราคา และผลประกอบการของบริษัท ไม่ใช่เก็งกันไปว่าจะชะลอหรือไม่ชะลอ QE แล้วจิ้มหุ้นมั่วๆไปก็กำไรเป็นกอบเป็นกำเหมือนในอดีต ว่านพืชอย่างไร ก็ได้ผลอย่างนั้น ใช้ความมีเหตุผลในการลงทุนมากเท่าไหร่ ความปลอดภัยและความมั่นใจในการลงทุน ก็มีมากขึ้นเช่นกัน
https://www.facebook.com/home.php#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376