@ เริ่มชะลอ QE แล้ว ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 2556 ในกลางเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐมีมติให้ด้วยคะแนน 9 ต่อ 1 ให้ลดขนาดมาตรการ QE ลงจากเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ เหลือเดือนละ 75,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีผลตั้งแต่เดือนม.ค. 2557 เป็นต้นไป โดยจะลดสัดส่วนการซื้อพันธบัตรเหลือ 40,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน (เดิม 45,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน) และลดสัดส่วนการซื้อตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง (MBS) เหลือ 35,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน (เดิม 40,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน)
ทั้งนี้ "เบน เบอร์นันกี" แถลงข่าวครั้งสุดท้ายในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ระบุว่า มีแนวโน้มว่าการปรับลดการซื้อพันธบัตรจะดำเนินการควบคู่กับการวัดผลว่า การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นหรือไม่ตลอดช่วงหลายเดือนในปีหน้า ก่อนที่จะยกเลิกมาตรการ QE แบบเบ็ดเสร็จช่วงปลายปี 2557
โดยเฟดคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 2.8 - 3.2% อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 6.3% และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.4 - 1.6% สำหรับในปี 2558 เฟดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.0 - 3.4% อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.8 - 6.1% และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.5 - 2.0 โดยคณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2558 จากระดับปัจจุบันที่ระดับ 0.25% สู่ระดับ 0.75%
"ผลสำรวจของบลูมเบิร์กล่าสุดระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะเพิ่มการลด QE ครั้งละ 10,000 ล้านดอลลาร์ ในการประชุม 7 ครั้งต่อจากนี้ และยุติมาตรการ QE ในเดือนธ.ค.2557"
@ เป็นความเสี่ยงในระยะสั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ประเสริฐ ขนบธรรมชัย” รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย ยอมรับว่า การลดมาตรการ QE ในครั้งนี้ในระยะสั้นอาจจะเป็นความเสี่ยงกับตลาดการลงทุนบ้าง แต่ถ้ามองจากขนาดที่ลดก็ลดน้อยกว่าที่ตลาดคาดและตลาดเองก็รับรู้เรื่องนี้มาก่อนหน้าไปมากแล้วเพียงแต่ในครั้งนี้ก็มีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตามสหรัฐเองยังจะคงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องไป และก็ไม่ได้บอกว่าจะต้องลดอย่างเดียวอาจจะเพิ่มขนาดของ QE ก็ได้ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐเองด้วยว่าฟื้นตัวได้ดีแค่ไหน ดังนั้นในระยะสั้นอาจจะดูมีความเสี่ยงบ้างจาก “ความไม่แน่นอน” ของช่วงเวลาในการไถ่ถอนมาตรการ QE ของสหรัฐ จะกลับเข้ามาเป็นปัจจัยเสี่ยงกระทบตลาดในระยะสั้นเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามคาดว่าสหรัฐจะทยอยถอนมาตรการ QE อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐมีความมั่นคง ส่วนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นคงต้องใช้เวลา แต่จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น
"แต่ถ้ามองภาพในระยะยาวการที่สหรัฐชะลอมาตรการ QE แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณฟื้นตัว หากจะยกเลิก QE จริงๆ เขาต้องมั่นใจว่าเศรษฐกิจฟื้นแน่นอน ซึ่งถึงจุดนั้นย่อมจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งโลกรวมทั้งไทยในเชิงบวกด้วยเช่นกัน"
@ ปัจจัยบวกในระยะยาว เช่นเดียวกับ "ศรชัย สุเนต์ตา" รองกรรมการผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ ที่มองว่า ที่จริงในมุมกลับการชะลอมาตรการ QE อาจจะนับเป็นข่าวดีด้วยเพราะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐต้องมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงเท่านั้น จากตัวเลขอัตราการว่างงานที่ลดลงจากที่เคยสูงเป็น 10% ในช่วงวิกฤติลงมาเหลือ 7.0% ซึ่งยังสูงกว่าเป้าที่ 6.5% อยู่ ดังนั้นการชะลอมาตรการ QE ของสหรัฐน่าจะเป็นเพียงผลของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นเหตุให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยหรือวิกฤติการเงินโลกรอบใหม่ขึ้น ที่สำคัญแม้ว่าสหรัฐอาจมีการชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องในปีหน้า แต่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ยังคงทำการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบต่อไป เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือแม้แต่ยุโรปล่าสุดก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ให้ระบบเศรษฐกิจซึ่งขนาดของเม็ดเงินเหล่านี้ก็ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
การกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านมาตรการ QE ของเฟดทำให้งบดุลของเฟดโตขึ้นจากประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 4 ล้านล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน ในช่วงหลังวิกฤติที่ผ่านมาเงินสภาพคล่องจำนวนมากถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบมหาศาล
"ในระยะสั้นถือเป็นความเสี่ยงในการชะลอมาตรการ QE เพราะสภาพคล่องบางส่วนจะหายไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหายไปทั้งหมดเท่ากับที่อัดฉีดเข้ามา เพราะในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐก็มีการเติบโตขึ้นมาด้วยเช่นกัน แต่สภาพคล่องจะลดลงระดับหนึ่ง เงินทุนจะมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอีกครั้ง แต่ภาพระยะยาวถือเป็นบวกต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมโดยรวมทั้งไทยด้วย"
@ โอกาสสำหรับการลงทุนในหุ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ "กรวุฒิ ลีนะบรรจง" กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) แนะนำว่า การที่สหรัฐชะลอมาตรการ QE แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณฟื้นตัวการจัดสรรพอร์ตไปลงทุนในหุ้นในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ และยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่นน่าจะเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี จากเงินที่จะไหลกลับไปยังประเทศเหล่านี้มากขึ้นเพราะในวงจรเศรษฐกิจที่มีฟื้นตัวเช่นนี้การลงทุนใน "หุ้น" จะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดเมื่อเศรษฐกิจหลักของโลกฟื้นก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลกด้วย เมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียนก็มีแนวโน้มจะเติบโตด้วยเช่นกันจึงแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นขึ้นและ "หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว" ก็มีความน่าสนใจมากกว่าด้วยโดยเปรียบเทียบ
ตลาดหุ้นจีนแม้จะถูกแต่ถ้ามองในแง่ของความน่าสนใจการโยกเงินไปสู่หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นน่าจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า ในขณะที่หากลงทุนหุ้นจีนอาจจะได้ความถูกแต่ไม่ได้ผลตอบแทนทำให้เสียโอกาสในการลงทุนไป ส่วนหุ้นไทยเองก็ยังลงทุนได้แต่ผลตอบแทนคงไม่ได้หวือหวาเช่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว โดยหุ้นไทยกลุ่มที่น่าสนใจลงทุนยังเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ สื่อสาร อุปโภคบริโภคและท่องเที่ยว เป็นสำคัญ
"ทั้ง นี้แนะนำไม่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำ เพราะยังไม่ใช่จังหวะที่ดีในการลงทุน แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้น ตัวเป็นปัจจัยลบกับราคาทองคำเองโดยตรง จนกว่าจะถึงช่วงเศรษฐกิจขยายตัวแล้วอัตราเงินเฟ้อกลับมาอีกครั้งถึงจุดนั้น ทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ในช่วงนี้"
ทั้งหมดนี้เป็นบางส่วนของมุมมองต่อผลกระทบจากการ "ชะลอมาตรการ QE" ซึ่งก็มีทั้ง "ความเสี่ยง" และ "โอกาส" แต่ที่เห็นตรงกันในปีหน้าคือ "หุ้น" ยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะใน "หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว" ที่มีแนวโน้มดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั่นเอง
ที่มา
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20131229/552948/%C2%AA%C3%90%C3%85%C3%8DQE%C2%A4%C3%87%C3%92%C3%81%C3%A0%C3%8A%C3%95%C3%A8%C2%A7%C3%8B%C3%83%C3%97%C3%8D%C3%A2%CD%A1%C3%92%CA%BB%C3%95%C3%81%C3%90%C3%A0%C3%81%C3%95%C3%82.html
ชะลอQE'ความเสี่ยง'หรือ'โอกาส'ปีมะเมีย
@ เริ่มชะลอ QE แล้ว ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 2556 ในกลางเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐมีมติให้ด้วยคะแนน 9 ต่อ 1 ให้ลดขนาดมาตรการ QE ลงจากเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ เหลือเดือนละ 75,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีผลตั้งแต่เดือนม.ค. 2557 เป็นต้นไป โดยจะลดสัดส่วนการซื้อพันธบัตรเหลือ 40,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน (เดิม 45,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน) และลดสัดส่วนการซื้อตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง (MBS) เหลือ 35,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน (เดิม 40,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน)
ทั้งนี้ "เบน เบอร์นันกี" แถลงข่าวครั้งสุดท้ายในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ระบุว่า มีแนวโน้มว่าการปรับลดการซื้อพันธบัตรจะดำเนินการควบคู่กับการวัดผลว่า การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นหรือไม่ตลอดช่วงหลายเดือนในปีหน้า ก่อนที่จะยกเลิกมาตรการ QE แบบเบ็ดเสร็จช่วงปลายปี 2557
โดยเฟดคาดว่าในปี 2557 เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 2.8 - 3.2% อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 6.3% และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.4 - 1.6% สำหรับในปี 2558 เฟดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.0 - 3.4% อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 5.8 - 6.1% และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 1.5 - 2.0 โดยคณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2558 จากระดับปัจจุบันที่ระดับ 0.25% สู่ระดับ 0.75%
"ผลสำรวจของบลูมเบิร์กล่าสุดระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะเพิ่มการลด QE ครั้งละ 10,000 ล้านดอลลาร์ ในการประชุม 7 ครั้งต่อจากนี้ และยุติมาตรการ QE ในเดือนธ.ค.2557"
@ เป็นความเสี่ยงในระยะสั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ประเสริฐ ขนบธรรมชัย” รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย ยอมรับว่า การลดมาตรการ QE ในครั้งนี้ในระยะสั้นอาจจะเป็นความเสี่ยงกับตลาดการลงทุนบ้าง แต่ถ้ามองจากขนาดที่ลดก็ลดน้อยกว่าที่ตลาดคาดและตลาดเองก็รับรู้เรื่องนี้มาก่อนหน้าไปมากแล้วเพียงแต่ในครั้งนี้ก็มีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตามสหรัฐเองยังจะคงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องไป และก็ไม่ได้บอกว่าจะต้องลดอย่างเดียวอาจจะเพิ่มขนาดของ QE ก็ได้ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐเองด้วยว่าฟื้นตัวได้ดีแค่ไหน ดังนั้นในระยะสั้นอาจจะดูมีความเสี่ยงบ้างจาก “ความไม่แน่นอน” ของช่วงเวลาในการไถ่ถอนมาตรการ QE ของสหรัฐ จะกลับเข้ามาเป็นปัจจัยเสี่ยงกระทบตลาดในระยะสั้นเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามคาดว่าสหรัฐจะทยอยถอนมาตรการ QE อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐมีความมั่นคง ส่วนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นคงต้องใช้เวลา แต่จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น
"แต่ถ้ามองภาพในระยะยาวการที่สหรัฐชะลอมาตรการ QE แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณฟื้นตัว หากจะยกเลิก QE จริงๆ เขาต้องมั่นใจว่าเศรษฐกิจฟื้นแน่นอน ซึ่งถึงจุดนั้นย่อมจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งโลกรวมทั้งไทยในเชิงบวกด้วยเช่นกัน"
@ ปัจจัยบวกในระยะยาว เช่นเดียวกับ "ศรชัย สุเนต์ตา" รองกรรมการผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ ที่มองว่า ที่จริงในมุมกลับการชะลอมาตรการ QE อาจจะนับเป็นข่าวดีด้วยเพราะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐต้องมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงเท่านั้น จากตัวเลขอัตราการว่างงานที่ลดลงจากที่เคยสูงเป็น 10% ในช่วงวิกฤติลงมาเหลือ 7.0% ซึ่งยังสูงกว่าเป้าที่ 6.5% อยู่ ดังนั้นการชะลอมาตรการ QE ของสหรัฐน่าจะเป็นเพียงผลของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นเหตุให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยหรือวิกฤติการเงินโลกรอบใหม่ขึ้น ที่สำคัญแม้ว่าสหรัฐอาจมีการชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องในปีหน้า แต่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ยังคงทำการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบต่อไป เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือแม้แต่ยุโรปล่าสุดก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ให้ระบบเศรษฐกิจซึ่งขนาดของเม็ดเงินเหล่านี้ก็ไม่น้อยเช่นเดียวกัน
การกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านมาตรการ QE ของเฟดทำให้งบดุลของเฟดโตขึ้นจากประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 4 ล้านล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน ในช่วงหลังวิกฤติที่ผ่านมาเงินสภาพคล่องจำนวนมากถูกอัดฉีดเข้าสู่ระบบมหาศาล
"ในระยะสั้นถือเป็นความเสี่ยงในการชะลอมาตรการ QE เพราะสภาพคล่องบางส่วนจะหายไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหายไปทั้งหมดเท่ากับที่อัดฉีดเข้ามา เพราะในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐก็มีการเติบโตขึ้นมาด้วยเช่นกัน แต่สภาพคล่องจะลดลงระดับหนึ่ง เงินทุนจะมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐอีกครั้ง แต่ภาพระยะยาวถือเป็นบวกต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมโดยรวมทั้งไทยด้วย"
@ โอกาสสำหรับการลงทุนในหุ้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ "กรวุฒิ ลีนะบรรจง" กรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) แนะนำว่า การที่สหรัฐชะลอมาตรการ QE แสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีสัญญาณฟื้นตัวการจัดสรรพอร์ตไปลงทุนในหุ้นในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ และยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่นน่าจะเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี จากเงินที่จะไหลกลับไปยังประเทศเหล่านี้มากขึ้นเพราะในวงจรเศรษฐกิจที่มีฟื้นตัวเช่นนี้การลงทุนใน "หุ้น" จะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดเมื่อเศรษฐกิจหลักของโลกฟื้นก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลกด้วย เมื่อเศรษฐกิจมีการเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียนก็มีแนวโน้มจะเติบโตด้วยเช่นกันจึงแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นขึ้นและ "หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว" ก็มีความน่าสนใจมากกว่าด้วยโดยเปรียบเทียบ
ตลาดหุ้นจีนแม้จะถูกแต่ถ้ามองในแง่ของความน่าสนใจการโยกเงินไปสู่หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นน่าจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า ในขณะที่หากลงทุนหุ้นจีนอาจจะได้ความถูกแต่ไม่ได้ผลตอบแทนทำให้เสียโอกาสในการลงทุนไป ส่วนหุ้นไทยเองก็ยังลงทุนได้แต่ผลตอบแทนคงไม่ได้หวือหวาเช่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว โดยหุ้นไทยกลุ่มที่น่าสนใจลงทุนยังเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ สื่อสาร อุปโภคบริโภคและท่องเที่ยว เป็นสำคัญ
"ทั้ง นี้แนะนำไม่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำ เพราะยังไม่ใช่จังหวะที่ดีในการลงทุน แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นจากเศรษฐกิจที่ฟื้น ตัวเป็นปัจจัยลบกับราคาทองคำเองโดยตรง จนกว่าจะถึงช่วงเศรษฐกิจขยายตัวแล้วอัตราเงินเฟ้อกลับมาอีกครั้งถึงจุดนั้น ทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ในช่วงนี้"
ทั้งหมดนี้เป็นบางส่วนของมุมมองต่อผลกระทบจากการ "ชะลอมาตรการ QE" ซึ่งก็มีทั้ง "ความเสี่ยง" และ "โอกาส" แต่ที่เห็นตรงกันในปีหน้าคือ "หุ้น" ยังเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะใน "หุ้นตลาดพัฒนาแล้ว" ที่มีแนวโน้มดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั่นเอง
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/personal/20131229/552948/%C2%AA%C3%90%C3%85%C3%8DQE%C2%A4%C3%87%C3%92%C3%81%C3%A0%C3%8A%C3%95%C3%A8%C2%A7%C3%8B%C3%83%C3%97%C3%8D%C3%A2%CD%A1%C3%92%CA%BB%C3%95%C3%81%C3%90%C3%A0%C3%81%C3%95%C3%82.html