คำจำกัดความของคำว่ากฏคืออะไรคะ?
สำหรับเรา กฎ คือชุดข้อตกลงร่วมกันของทุกคนในสังคม
ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ และเพื่อประโยชน์ของคนส่วนมาก
เพื่อให้คนอยู่กันอย่างสันติ ไม่เบียดเบียนทำร้ายเอาเปรียบกัน
กฏออกมาเพื่อปกป้องคนดีและลงโทษคนไม่ดี
นี่คือสาระหลักของกฏต่างๆในสังคม
ทีนี้มันมีกฏแบบอื่นที่ตั้งขึ้นมาไม่ใช่เพื่อคนหมู่มากแต่เป็นเพราะจุดประสงค์อื่น
เช่น เจ้าของบริษัทจะตั้งกฏอะไรก็ได้ เช่นห้ามพนักงานเถียงลูกค้า เพื่อให้บริษัทได้รับผลกำไรมากที่สุด
หรือ ผู้นำกลุ่มโจรอาจจะตั้งกฏอะไรขึ้นมาก็ได้ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหวาดกลัว และไม่กล้าทรยศ
กฏลักษณะนี้เป็นเครื่องมือที่คนกลุ่มหนึ่งใช้ในการควบคุมคนอีกกลุ่มหนึ่ง
โดยการตั้งกฏไม่จำเป็นต้องเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือคนที่ปฎิบัติตาม
แต่ขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนตัวและประโยชน์ของคนตั้งกฏเท่านั้น
จากประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกัน เช่นการประท้วงเรื่องชุดนักศึกษาของอั้ม เนโกะ
หรือการเรียกร้องเรื่องทรงผมนักเรียนของน้องเนติวิทย์
หรือเรื่องการต่อต้านการรับน้องแบบ SOTUS
หลายคนดูจะสับสน กับคำว่ากฏ
มีความเห็นในทำนองที่ว่า
"ไปอยู่ที่ไหนต้องทำตามกฏของเขา ห้ามฝ่าฝืนหรือเรียกร้องสิ่งที่ต่างออกไป"
"การตัดผมหรือบังคับใส่ชุดนักเรียน นักศึกษา หรือการบังคับรับน้อง เป็นการสอนให้เด็กรู้จักเคารพสถาบัน ผู้อาวุโส และกฏของสังคม"
เราว่าคนที่พูดเช่นนี้ ขาดการแยกแยะว่ากฏที่พูดถึงนี้ เป็นกฏแบบไหน
เป็นกฏแบบตั้งโดยคนหมู่มากเพื่อคนหมู่มากหรือเปล่า
หรือเป็นกฏที่ลิดรอนสิทธิ์ของคนอื่น เพียงเพราะความคิดเห็นของคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
กรณีอาจารย์ตั้งกฏว่า ไม่ยอมให้นักศึกษาสอบ ถ้าไม่ใส่เครื่องแบบ เป็นกรณีตัวอย่างหนึ่ง
แก่นของหน้าที่อาจารย์คือการสอน การให้ความรู้แก่นักศึกษา
ถ้าอาจารย์ตัดสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมทางการศึกษา เพราะอาจารย์มี "ความเห็น" ว่าการแต่งกายของนักศึกษานั้นไม่เหมาะสม
แสดงว่า "กฎ" ที่ตั้งมานี้ไม่ได้ให้ประโยชน์ใคร เป็นการละเลยหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของอาจารย์
เป็นการส่งเสริมความคิดเห็นส่วนตัวของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
และยิ่งทางมหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับให้นักศึกษาใส่ชุด อาจารย์ก็เท่ากับละเมิดกฏมหาวิทยาลัยอีกต่างหาก
การที่โรงเรียนตั้งกฏว่าเด็กผู้ชายต้องไว้ผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดเสมอติ่งหู เพราะมันเป็น "ความเหมาะสม" นั่นก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
เป็นกฏที่ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนมาก คือนักเรียน
พูดกันตามจริง กฏนี้ทำให้เสียเวลาและสุขภาพจิตกันทั้งครูและนักเรียน
และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแก่นของโรงเรียนคือการให้วิชาความรู้กับเด็กเลย
เรานึกว่าการตั้งกฏแบบไม่มีเหตุผลอะไรขึ้นมา แล้วบังคับให้เด็กทำตาม ทำให้เด็กของเราเรียนรู้ที่จะทำตามกฏ
เราว่ามันเป็นตรรกะที่ผิดนะคะ
เพราะมันลบสาระสำคัญของคำว่ากฏไปจนหมด
สังคมที่เจริญแล้ว คนส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจว่ากฏตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มาก
ทุกคนจึงเป็นเจ้าของกฏและเป็นผู้ปฏิบัติตามกฏ ไม่เว้นว่าคนคนนั้น จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เพศสภาพไหน ฐานะใด
ถ้าเราทำตามกฏ ทุกคนในสังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขขึ้น
ในสังคมที่เจริญแล้ว คนส่วนใหญ่มีความรู้สึกแง่บวกต่อกฏเกณฑ์ เพราะมันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสิ่งสำคัญ
ในประเทศตะวันตก นี่คือทัศนคติพื้นฐาน คนส่วนใหญ่เห็นชอบที่สังคมมีกฏหมายและรักษามันอย่างเคร่งครัด
คนทุกคนเป็นผู้รักษากฏหมาย โดยการกล้าเผชิญหน้ากับคนที่ทำผิด ชี้เบาะแส กล้าฟ้องร้องเอาเรื่อง
และพวกเขาเชื่อได้ว่าผู้รักษากฎหมายจะให้ความคุ้มครองอย่างจริงจังกับคนที่ทำตามกฏ
และในขณะเดียวกัน สังคมที่เจริญแล้วต้องรู้จักแยกแยะกฏที่ดีออกจากกฏที่ไม่ดี
คนที่ออกกฏสุ่มสี่สุ่มห้า กฏที่ลิดรอนสิทธิ์คนอื่น หรือควบคุมเสรีภาพคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล ไม่สมควรได้รับการยอมรับ
เช่นกฏทางศาสนาคริสต์ที่บอกว่าคนที่เป็นรักร่วมเพศผิดบาป หรือนายจ้างที่ออกกฏขึ้นมาเอาเปรียบลูกจ้าง
ผู้คนกล้าลุกขึ้นมาประท้วงร้องเรียนกฎพวกนี้ เพราะเค้าแยกแยะออกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ถูก ไม่มีเหตุผล และไม่จำเป็นต้องไปเคารพ
และคนที่สู้เพื่อกฏที่ถูกต้อง และต่อสู้กับกฏที่ผิด ได้รับการชื่นชมสนับสนุนทางสังคม ไม่ใช่โดนด่าทอเสียดสี
แต่คนไทยเราสอนกฏให้เด็ก แบบผิดๆ
เราตั้งกฏขึ้นมาเฉยๆ ไม่มีเหตุผล ผู้ใหญ่ไม่ต้องทำ แต่เด็กต้องทำ
กฏเหล่านี้ ลิดรอนสิทธิ์พื้นฐานบนร่างกายของเด็กเอง ผมต้องเกรียน เสื้อต้องเข้าในกางเกง เข็มตราต้องใส่ ต้องยืนหน้าเสาธงสามสิบนาที
สร้างกรอบ สร้างความอึดอัดและความรู้สึกแย่ๆ เด็กรู้สึกว่าการตามกฏเป็นเรื่องน่าอึดอัด
และไม่รู้ ไม่เข้าใจ ว่ากฏมันมีประโยชน์อะไร รู้แต่ถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ
แล้วสอนว่าเมื่อเขาอยู่ในอีกสถานะหนึ่ง (เมื่อเป็นผู้ใหญ่) ก็ไม่ต้องทำตามกฏแล้ว
การสอนแบบนี้ ไม่ได้ชี้เลยว่ากฏเป็นของทุกคน ทุกคนร่วมกันตัดสินใจออกกฏ ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏ และทุกคนได้ประโยชน์จากกฏนั้น
แต่การสอนแบบนี้ชี้ว่า มีผู้ออกกฏ คือครูอาจารย์ เป็นผู้มีอำนาจ และผู้ออกกฏจะออกยังไงก็ได้ตามแต่ความเห็นของตนเอง
จะจับใครกล้อนผม จะให้ใครใส่ชุดอะไร จะไม่ทำหน้าที่ตัวเองก็ย่อมได้ ถ้าเป็นผู้ออกกฏ
และมีคนปฏิบัติตามกฏคือนักเรียน ที่แม้จะถูกลิดรอนสิทธิ์ ก็ต้องอดทน ต้องยอม ถ้าออกมาเรียกร้องจะโดนบทลงโทษทางสังคม
เราสอนเด็กว่า แม้เขาจะไม่ได้ทำผิดอันใดต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่น
แค่ปล่อยผมตัวเองยาว หรือแต่งกายผิด ก็จะต้องถูกลงโทษเพราะไม่ยอมเห็นชอบและทำตามที่ผู้มีอำนาจสั่ง
เด็กเหล่านี้ไม่ใช่เหรอคะที่โตมาเป็นคนที่นิ่งดูดายเมื่อเห็นผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะคนที่มีฐานะสูงกว่าตัวเอง
เป็นคนที่เมื่อถูกคนชั่วลิดรอนสิทธิ์ ก็ได้แต่นั่งปลง รอให้เวรกรรมมาสนองคนชั่ว ไม่คิดว่าการรักษากฏเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของตัว
เป็นผู้ใหญ่ที่เข้าใจว่าบางคนไม่ต้องปฏิบัติตามกฏก็ได้ถ้ามีอำนาจพิเศษ
เป็นผู้ใหญ่ที่ถ้าแหกกฏได้เพื่อประโยชน์ของตัวเองและไม่มีใครมาจับก็จะแหก
ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนเจ้าหน้าที่ ซื้อขายบริการทางเพศ หรือหนีภาษี
เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจคำว่ากฏ ไม่เห็นความสำคัญของกฏ ไม่เคารพกฏ เพราะเขา "ไม่ใช่เด็กๆ" แล้ว
ในสังคมประชาธิปไตย เราควรสอนให้เด็กทำตามกฏ แต่สอนอย่างมีความเข้าใจถ่องแท้
เราควรถามเด็กว่ากฏไหนที่เขาอยากให้สังคมยึดถือ
อยากให้เพื่อนๆที่ตีเพื่อนคนอื่น คนที่ลักขโมยของคนอื่น หรือคนที่ลอกการบ้านโกงข้อสอบ ถูกทำโทษไหม
ให้เขาเห็นว่ากฏคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง
ให้เขาเข้าใจว่าเขาเป็นเจ้าของกฏคนหนึ่ง เช่นเดียวกับทุกๆคน
ให้เค้าเข้าใจว่าเขาเองมีสิทธิพื้นฐาน ใครจะละเมิดไม่ได้
และคนอื่นก็มีสิทธิพื้นฐานที่เขาจะละเมิดไม่ได้เช่นกัน
ให้เขาเข้าใจว่าเสรีภาพมีขอบเขต แต่ขอบเขตของมันกว้างไกล ทุกคนอยู่ได้สบาย
ไม่มีใครต้องมาทนถูกลิดรอนความเป็นมนุษย์ ภายใต้สังคมเสรีภาพ
แน่นอนว่าต้องมีคนที่ใช้เสรีภาพในทางที่ขัดใจคุณ
มีแน่นอน เด็กผู้ชายที่ลุกจากที่นอนก็วิ่งมาเรียนทั้งที่ยังซกมก หรือเด็กผู้หญิงที่แต่งเสื้อผ้าราคาแพงมาเรียน เด็กที่ทำผมแปลกประหลาด
ในต่างประเทศ คุณก็จะพบเห็นเด็กอย่างนี้ เป็นส่วนน้อย
แต่ผู้ใหญ่ในต่างประเทศนอกจากพ่อแม่ของเด็กแล้ว เค้าเลือกที่จะไม่ใส่ใจ เพราะถือเป็นสิทธิ์ส่วนตัว
เพราะคนเราเห็นต่างกันได้ ชอบต่างกันได้ ตราบใดที่เคารพในสิทธิ์ซึ่งกันและกัน
แต่ทำไมหลายคนในบ้านเรา ถึงทนไม่ได้ เห็นไม่ได้ รับไม่ได้?
เด็กหลายคน มีหรือไม่มีกฏ เขาก็จะแสดงออกแบบขัดใจคุณอยู่ดี
มันใช่เรื่องเหรอคะที่เรายัดเยียดตรรกะบูดเบี้ยวให้คนทุกคน เพื่อป้องกันการกระทำของคนส่วนน้อยที่ไม่ถูกใจเรา
คุณไม่ไว้ใจหรือคะว่าลูกหลานของคุณส่วนใหญ่ แม้จะไม่มีกฏบ้าๆพวกนี้ เขาก็จะสามารถแยกแยะ และเลือกทำในสิ่งที่ถูกกาลเทศะได้?
และถ้าคุณเชื่อว่าเขาจะทำสิ่งที่สังคมผิดหวังเมื่อได้เสรีภาพ
คุณคิดว่าพวกเราผู้ใหญ่ในสังคม หล่อหลอมเขามาอย่างไร เป็นตัวอย่างแบบไหนให้เขาดู?
เราเอาแต่บ่นกันว่า วัยรุ่นไทย เด็กไทย คิดไม่เป็น ไร้สาระไปวันๆ ทำเหมือนเด็กฝรั่งไม่ได้หรอก เพราะเด็กเรามันอ่อน
เราถามตัวเองกันดีมั้ยคะการศึกษาเลี้ยงดู แบบไหนที่ทำให้ความคิดเขาอ่อนปวกเปียกแบบนี้
ความคิดบังคับกักขังเขาไว้ในกฏไร้สาระหรือเปล่า ที่ทำให้เขาคิดไม่เป็น แยกแยะไม่เป็น
การโห่ไล่ ด่าว่า เชือดไก่ให้ลิงดู เวลาเขาแสดงความคิดเห็นต่างหรือเปล่าที่ทำให้เขาไม่กล้าคิดด้วยตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก
การเอาค่านิยมสังคมไปครอบ เพราะหวังจะผลิตคนแบบเดียว ใส่ชุดเหมือนกัน ตัดผมเหมือนกัน โดยไม่ให้สิทธิ์ในความเป็นตัวของตัวเอง
นี่หรือเปล่าที่ทำให้เด็กของเราคิดไม่เป็น?
เราว่าการปฏิรูปการศึกษาบ้านเรามันล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก ไม่ใช่เพราะเราไม่มีความสามารถหรือเงินไม่พอ
แต่เพราะทัศนคติของเรายังไม่ถูก และเรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง
เพราะเรามองเด็กแบบเขาเป็น "ที่ต่ำ" เราผู้ใหญ่เป็น "ที่สูง"
ทุกๆการกระทำของเรา คือความดูถูกเขา ควบคุมเขา ยัดเยียดความเป็นผู้เชื่อฟัง ผู้ตาม ผู้ด้อยกว่า ตลอดเวลา
เขาต้องเผชิญสิ่งนี้ ทุกๆวันที่เขาลืมตาตื่นไปโรงเรียน
แล้วคุณหวังกันว่าการกระทำแบบนี้จะสร้างคนที่คิดเอง ลงมือทำ สร้างสรรค์ เป็นผู้นำ?
จริงๆ เรื่องนี้มันมีรากลึกในหลายๆ แง่มุมของการศึกษาไทย
มันเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น หล่อหลอม และสนับสนุน "ความเป็นคนไทย"
สิ่งที่คุณคิดว่า "แค่ทรงผม" "แค่ใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนวิชาเดียว" "แค่รับน้องเจ็ดวัน" มันจึงไม่ใช่แค่นั้น
มันคือสัญญะของค่านิยมที่ส่งผลมากกว่านั้น
มันคือระบบการศึกษาทั้งระบบที่มุ่งผลิตผู้ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชา คนที่ไม่กล้าตั้งคำถาม คนที่ไม่กล้าคิดด้วยตัวเอง
มันคือการผลิตคนที่มีชุดความคิดที่ผิด เพื่อมาปกป้องชุดความคิดที่ผิดต่อไป ในวันข้างหน้า
เพราะฉะนั้น อย่าคิดเลยค่ะว่ามัน "เรื่องแค่นี้" นอกจากคุณเห็นอนาคตของประเทศนี้เป็นเรื่องเล็ก
=== คนไทยหลายคนเข้าใจคำว่า "กฏ" ผิดหรือเปล่าคะ ===
สำหรับเรา กฎ คือชุดข้อตกลงร่วมกันของทุกคนในสังคม
ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ และเพื่อประโยชน์ของคนส่วนมาก
เพื่อให้คนอยู่กันอย่างสันติ ไม่เบียดเบียนทำร้ายเอาเปรียบกัน
กฏออกมาเพื่อปกป้องคนดีและลงโทษคนไม่ดี
นี่คือสาระหลักของกฏต่างๆในสังคม
ทีนี้มันมีกฏแบบอื่นที่ตั้งขึ้นมาไม่ใช่เพื่อคนหมู่มากแต่เป็นเพราะจุดประสงค์อื่น
เช่น เจ้าของบริษัทจะตั้งกฏอะไรก็ได้ เช่นห้ามพนักงานเถียงลูกค้า เพื่อให้บริษัทได้รับผลกำไรมากที่สุด
หรือ ผู้นำกลุ่มโจรอาจจะตั้งกฏอะไรขึ้นมาก็ได้ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหวาดกลัว และไม่กล้าทรยศ
กฏลักษณะนี้เป็นเครื่องมือที่คนกลุ่มหนึ่งใช้ในการควบคุมคนอีกกลุ่มหนึ่ง
โดยการตั้งกฏไม่จำเป็นต้องเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือคนที่ปฎิบัติตาม
แต่ขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนตัวและประโยชน์ของคนตั้งกฏเท่านั้น
จากประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกัน เช่นการประท้วงเรื่องชุดนักศึกษาของอั้ม เนโกะ
หรือการเรียกร้องเรื่องทรงผมนักเรียนของน้องเนติวิทย์
หรือเรื่องการต่อต้านการรับน้องแบบ SOTUS
หลายคนดูจะสับสน กับคำว่ากฏ
มีความเห็นในทำนองที่ว่า
"ไปอยู่ที่ไหนต้องทำตามกฏของเขา ห้ามฝ่าฝืนหรือเรียกร้องสิ่งที่ต่างออกไป"
"การตัดผมหรือบังคับใส่ชุดนักเรียน นักศึกษา หรือการบังคับรับน้อง เป็นการสอนให้เด็กรู้จักเคารพสถาบัน ผู้อาวุโส และกฏของสังคม"
เราว่าคนที่พูดเช่นนี้ ขาดการแยกแยะว่ากฏที่พูดถึงนี้ เป็นกฏแบบไหน
เป็นกฏแบบตั้งโดยคนหมู่มากเพื่อคนหมู่มากหรือเปล่า
หรือเป็นกฏที่ลิดรอนสิทธิ์ของคนอื่น เพียงเพราะความคิดเห็นของคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
กรณีอาจารย์ตั้งกฏว่า ไม่ยอมให้นักศึกษาสอบ ถ้าไม่ใส่เครื่องแบบ เป็นกรณีตัวอย่างหนึ่ง
แก่นของหน้าที่อาจารย์คือการสอน การให้ความรู้แก่นักศึกษา
ถ้าอาจารย์ตัดสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมทางการศึกษา เพราะอาจารย์มี "ความเห็น" ว่าการแต่งกายของนักศึกษานั้นไม่เหมาะสม
แสดงว่า "กฎ" ที่ตั้งมานี้ไม่ได้ให้ประโยชน์ใคร เป็นการละเลยหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของอาจารย์
เป็นการส่งเสริมความคิดเห็นส่วนตัวของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
และยิ่งทางมหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับให้นักศึกษาใส่ชุด อาจารย์ก็เท่ากับละเมิดกฏมหาวิทยาลัยอีกต่างหาก
การที่โรงเรียนตั้งกฏว่าเด็กผู้ชายต้องไว้ผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดเสมอติ่งหู เพราะมันเป็น "ความเหมาะสม" นั่นก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
เป็นกฏที่ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนมาก คือนักเรียน
พูดกันตามจริง กฏนี้ทำให้เสียเวลาและสุขภาพจิตกันทั้งครูและนักเรียน
และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแก่นของโรงเรียนคือการให้วิชาความรู้กับเด็กเลย
เรานึกว่าการตั้งกฏแบบไม่มีเหตุผลอะไรขึ้นมา แล้วบังคับให้เด็กทำตาม ทำให้เด็กของเราเรียนรู้ที่จะทำตามกฏ
เราว่ามันเป็นตรรกะที่ผิดนะคะ
เพราะมันลบสาระสำคัญของคำว่ากฏไปจนหมด
สังคมที่เจริญแล้ว คนส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจว่ากฏตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มาก
ทุกคนจึงเป็นเจ้าของกฏและเป็นผู้ปฏิบัติตามกฏ ไม่เว้นว่าคนคนนั้น จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เพศสภาพไหน ฐานะใด
ถ้าเราทำตามกฏ ทุกคนในสังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขขึ้น
ในสังคมที่เจริญแล้ว คนส่วนใหญ่มีความรู้สึกแง่บวกต่อกฏเกณฑ์ เพราะมันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นสิ่งสำคัญ
ในประเทศตะวันตก นี่คือทัศนคติพื้นฐาน คนส่วนใหญ่เห็นชอบที่สังคมมีกฏหมายและรักษามันอย่างเคร่งครัด
คนทุกคนเป็นผู้รักษากฏหมาย โดยการกล้าเผชิญหน้ากับคนที่ทำผิด ชี้เบาะแส กล้าฟ้องร้องเอาเรื่อง
และพวกเขาเชื่อได้ว่าผู้รักษากฎหมายจะให้ความคุ้มครองอย่างจริงจังกับคนที่ทำตามกฏ
และในขณะเดียวกัน สังคมที่เจริญแล้วต้องรู้จักแยกแยะกฏที่ดีออกจากกฏที่ไม่ดี
คนที่ออกกฏสุ่มสี่สุ่มห้า กฏที่ลิดรอนสิทธิ์คนอื่น หรือควบคุมเสรีภาพคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล ไม่สมควรได้รับการยอมรับ
เช่นกฏทางศาสนาคริสต์ที่บอกว่าคนที่เป็นรักร่วมเพศผิดบาป หรือนายจ้างที่ออกกฏขึ้นมาเอาเปรียบลูกจ้าง
ผู้คนกล้าลุกขึ้นมาประท้วงร้องเรียนกฎพวกนี้ เพราะเค้าแยกแยะออกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ถูก ไม่มีเหตุผล และไม่จำเป็นต้องไปเคารพ
และคนที่สู้เพื่อกฏที่ถูกต้อง และต่อสู้กับกฏที่ผิด ได้รับการชื่นชมสนับสนุนทางสังคม ไม่ใช่โดนด่าทอเสียดสี
แต่คนไทยเราสอนกฏให้เด็ก แบบผิดๆ
เราตั้งกฏขึ้นมาเฉยๆ ไม่มีเหตุผล ผู้ใหญ่ไม่ต้องทำ แต่เด็กต้องทำ
กฏเหล่านี้ ลิดรอนสิทธิ์พื้นฐานบนร่างกายของเด็กเอง ผมต้องเกรียน เสื้อต้องเข้าในกางเกง เข็มตราต้องใส่ ต้องยืนหน้าเสาธงสามสิบนาที
สร้างกรอบ สร้างความอึดอัดและความรู้สึกแย่ๆ เด็กรู้สึกว่าการตามกฏเป็นเรื่องน่าอึดอัด
และไม่รู้ ไม่เข้าใจ ว่ากฏมันมีประโยชน์อะไร รู้แต่ถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ
แล้วสอนว่าเมื่อเขาอยู่ในอีกสถานะหนึ่ง (เมื่อเป็นผู้ใหญ่) ก็ไม่ต้องทำตามกฏแล้ว
การสอนแบบนี้ ไม่ได้ชี้เลยว่ากฏเป็นของทุกคน ทุกคนร่วมกันตัดสินใจออกกฏ ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏ และทุกคนได้ประโยชน์จากกฏนั้น
แต่การสอนแบบนี้ชี้ว่า มีผู้ออกกฏ คือครูอาจารย์ เป็นผู้มีอำนาจ และผู้ออกกฏจะออกยังไงก็ได้ตามแต่ความเห็นของตนเอง
จะจับใครกล้อนผม จะให้ใครใส่ชุดอะไร จะไม่ทำหน้าที่ตัวเองก็ย่อมได้ ถ้าเป็นผู้ออกกฏ
และมีคนปฏิบัติตามกฏคือนักเรียน ที่แม้จะถูกลิดรอนสิทธิ์ ก็ต้องอดทน ต้องยอม ถ้าออกมาเรียกร้องจะโดนบทลงโทษทางสังคม
เราสอนเด็กว่า แม้เขาจะไม่ได้ทำผิดอันใดต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่น
แค่ปล่อยผมตัวเองยาว หรือแต่งกายผิด ก็จะต้องถูกลงโทษเพราะไม่ยอมเห็นชอบและทำตามที่ผู้มีอำนาจสั่ง
เด็กเหล่านี้ไม่ใช่เหรอคะที่โตมาเป็นคนที่นิ่งดูดายเมื่อเห็นผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะคนที่มีฐานะสูงกว่าตัวเอง
เป็นคนที่เมื่อถูกคนชั่วลิดรอนสิทธิ์ ก็ได้แต่นั่งปลง รอให้เวรกรรมมาสนองคนชั่ว ไม่คิดว่าการรักษากฏเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของตัว
เป็นผู้ใหญ่ที่เข้าใจว่าบางคนไม่ต้องปฏิบัติตามกฏก็ได้ถ้ามีอำนาจพิเศษ
เป็นผู้ใหญ่ที่ถ้าแหกกฏได้เพื่อประโยชน์ของตัวเองและไม่มีใครมาจับก็จะแหก
ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนเจ้าหน้าที่ ซื้อขายบริการทางเพศ หรือหนีภาษี
เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจคำว่ากฏ ไม่เห็นความสำคัญของกฏ ไม่เคารพกฏ เพราะเขา "ไม่ใช่เด็กๆ" แล้ว
ในสังคมประชาธิปไตย เราควรสอนให้เด็กทำตามกฏ แต่สอนอย่างมีความเข้าใจถ่องแท้
เราควรถามเด็กว่ากฏไหนที่เขาอยากให้สังคมยึดถือ
อยากให้เพื่อนๆที่ตีเพื่อนคนอื่น คนที่ลักขโมยของคนอื่น หรือคนที่ลอกการบ้านโกงข้อสอบ ถูกทำโทษไหม
ให้เขาเห็นว่ากฏคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง
ให้เขาเข้าใจว่าเขาเป็นเจ้าของกฏคนหนึ่ง เช่นเดียวกับทุกๆคน
ให้เค้าเข้าใจว่าเขาเองมีสิทธิพื้นฐาน ใครจะละเมิดไม่ได้
และคนอื่นก็มีสิทธิพื้นฐานที่เขาจะละเมิดไม่ได้เช่นกัน
ให้เขาเข้าใจว่าเสรีภาพมีขอบเขต แต่ขอบเขตของมันกว้างไกล ทุกคนอยู่ได้สบาย
ไม่มีใครต้องมาทนถูกลิดรอนความเป็นมนุษย์ ภายใต้สังคมเสรีภาพ
แน่นอนว่าต้องมีคนที่ใช้เสรีภาพในทางที่ขัดใจคุณ
มีแน่นอน เด็กผู้ชายที่ลุกจากที่นอนก็วิ่งมาเรียนทั้งที่ยังซกมก หรือเด็กผู้หญิงที่แต่งเสื้อผ้าราคาแพงมาเรียน เด็กที่ทำผมแปลกประหลาด
ในต่างประเทศ คุณก็จะพบเห็นเด็กอย่างนี้ เป็นส่วนน้อย
แต่ผู้ใหญ่ในต่างประเทศนอกจากพ่อแม่ของเด็กแล้ว เค้าเลือกที่จะไม่ใส่ใจ เพราะถือเป็นสิทธิ์ส่วนตัว
เพราะคนเราเห็นต่างกันได้ ชอบต่างกันได้ ตราบใดที่เคารพในสิทธิ์ซึ่งกันและกัน
แต่ทำไมหลายคนในบ้านเรา ถึงทนไม่ได้ เห็นไม่ได้ รับไม่ได้?
เด็กหลายคน มีหรือไม่มีกฏ เขาก็จะแสดงออกแบบขัดใจคุณอยู่ดี
มันใช่เรื่องเหรอคะที่เรายัดเยียดตรรกะบูดเบี้ยวให้คนทุกคน เพื่อป้องกันการกระทำของคนส่วนน้อยที่ไม่ถูกใจเรา
คุณไม่ไว้ใจหรือคะว่าลูกหลานของคุณส่วนใหญ่ แม้จะไม่มีกฏบ้าๆพวกนี้ เขาก็จะสามารถแยกแยะ และเลือกทำในสิ่งที่ถูกกาลเทศะได้?
และถ้าคุณเชื่อว่าเขาจะทำสิ่งที่สังคมผิดหวังเมื่อได้เสรีภาพ
คุณคิดว่าพวกเราผู้ใหญ่ในสังคม หล่อหลอมเขามาอย่างไร เป็นตัวอย่างแบบไหนให้เขาดู?
เราเอาแต่บ่นกันว่า วัยรุ่นไทย เด็กไทย คิดไม่เป็น ไร้สาระไปวันๆ ทำเหมือนเด็กฝรั่งไม่ได้หรอก เพราะเด็กเรามันอ่อน
เราถามตัวเองกันดีมั้ยคะการศึกษาเลี้ยงดู แบบไหนที่ทำให้ความคิดเขาอ่อนปวกเปียกแบบนี้
ความคิดบังคับกักขังเขาไว้ในกฏไร้สาระหรือเปล่า ที่ทำให้เขาคิดไม่เป็น แยกแยะไม่เป็น
การโห่ไล่ ด่าว่า เชือดไก่ให้ลิงดู เวลาเขาแสดงความคิดเห็นต่างหรือเปล่าที่ทำให้เขาไม่กล้าคิดด้วยตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก
การเอาค่านิยมสังคมไปครอบ เพราะหวังจะผลิตคนแบบเดียว ใส่ชุดเหมือนกัน ตัดผมเหมือนกัน โดยไม่ให้สิทธิ์ในความเป็นตัวของตัวเอง
นี่หรือเปล่าที่ทำให้เด็กของเราคิดไม่เป็น?
เราว่าการปฏิรูปการศึกษาบ้านเรามันล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก ไม่ใช่เพราะเราไม่มีความสามารถหรือเงินไม่พอ
แต่เพราะทัศนคติของเรายังไม่ถูก และเรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง
เพราะเรามองเด็กแบบเขาเป็น "ที่ต่ำ" เราผู้ใหญ่เป็น "ที่สูง"
ทุกๆการกระทำของเรา คือความดูถูกเขา ควบคุมเขา ยัดเยียดความเป็นผู้เชื่อฟัง ผู้ตาม ผู้ด้อยกว่า ตลอดเวลา
เขาต้องเผชิญสิ่งนี้ ทุกๆวันที่เขาลืมตาตื่นไปโรงเรียน
แล้วคุณหวังกันว่าการกระทำแบบนี้จะสร้างคนที่คิดเอง ลงมือทำ สร้างสรรค์ เป็นผู้นำ?
จริงๆ เรื่องนี้มันมีรากลึกในหลายๆ แง่มุมของการศึกษาไทย
มันเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น หล่อหลอม และสนับสนุน "ความเป็นคนไทย"
สิ่งที่คุณคิดว่า "แค่ทรงผม" "แค่ใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนวิชาเดียว" "แค่รับน้องเจ็ดวัน" มันจึงไม่ใช่แค่นั้น
มันคือสัญญะของค่านิยมที่ส่งผลมากกว่านั้น
มันคือระบบการศึกษาทั้งระบบที่มุ่งผลิตผู้ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชา คนที่ไม่กล้าตั้งคำถาม คนที่ไม่กล้าคิดด้วยตัวเอง
มันคือการผลิตคนที่มีชุดความคิดที่ผิด เพื่อมาปกป้องชุดความคิดที่ผิดต่อไป ในวันข้างหน้า
เพราะฉะนั้น อย่าคิดเลยค่ะว่ามัน "เรื่องแค่นี้" นอกจากคุณเห็นอนาคตของประเทศนี้เป็นเรื่องเล็ก