วันที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 14:24 น. ข่าวสดออนไลน์
มึน! "อภิชาต การิกาญจน์" สส.ปชป. โยนที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ อยู่เบื้องหลังปลุกม็อบยางปิดถนน
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 5 ก.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามสดเรื่อง ปัญหาการชุมนุมของเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ของนายอภิชาต การิกาญจน์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ถามนายกรัฐมนตรี ว่าตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. มีการชุมนุมมาต่อเนื่อง 10 กว่าวัน และมีการออกมาระบุว่ามีม็อบการเมืองหนุนหลัง ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เพราะเกษตรกรที่ออกมาชุมนุมเป็นเพราะความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำ 2 ปีที่ผ่านมา
นายอภิชาต ระบุว่า นอกจากนี้จากการลงพื้นที่ของนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ลงไปรับฟังข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าไม่ใช่ม็อบที่มีเบื้องหลังมาจากประชาธิปัตย์ แต่เป็นม็อบที่มาจากพรรคเพื่อไทย แต่ในพื้นที่ไม่มีส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ดังนั้นจึงอยากถามว่ารัฐมนตรีมีมาตการแก้ไขปัญหาอย่างไร หากพบว่าคนที่อยู่เบื้องหลังม็อบเป็นคนของพรรคร่วมรัฐบาล ก่อม็อบปลุกระดมเพื่อให้ประชาชนออกมาชุมนุมปิดถนนสกัดไม่ให้ประชาชนออกไปร่วมกองทัพประชาชนต้านนิรโทษกรรมวันที่ 5-7 ส.ค. ที่ผ่านมา เชื่อว่า คนที่อยู่เบื้องหลัง คือคณะที่ปรึกษาของรมว.เกษตรและสหกรณ์ เพราะทันทีที่คนๆนี้ได้รับประกาศแต่งตั้งก็ขึ้นป้ายประกาศแสดงความยินดี
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ ชี้แจงแทนนายกฯ ว่า จากที่ย้อนดูตามสื่อพบว่า มี ส.ส.พรรคประชาธิปปัตย์ บางคนขึ้นเวที แต่กรณี นพ.นิรันดร์ ลงไปรับฟังความเห็นว่ามีส.ส.พรรคเพื่อไทย ให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นไม่เคยได้ยิน และปฏิเสธไม่ใช่แน่นอน
นายอภิชาต ถามต่อว่า ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แต่รัฐบาลกับแก้ปัญหาด้วยการชดเชยปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว แต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าทั้งพูดคุยกับตัวแทนเกษตรกร ก็ยังไม่มีคำตอบจนถึงวันนี้ ดังนั้นจึงอยากทราบว่า มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ต่อข้อเรียกร้องประชาชนที่จะหยุดปัญหานี้
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ข้อเรียกร้องเกษตรกร ที่ต้องการตั้งราคารับซื้อยางและมีการจ่ายส่วนต่างนั้นจะทำให้กระทบต่อกลไกการตลาด ซึ่งเราจะไม่มีการแทรกแซงกลไกตลาด อีกทั้ง ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาชัดเจนถาวร ขณที่ตลาดโลกผลิตยางได้ทั้งหมด 11.6 ล้านตัน มีการใช้จริง 11.1 ล้านตัน จึงมียางล้นตลาดโลกอยู่ 5แสนตัน การแก้ปัญหาจึงอยู่ที่การลดต้นทุนการผลิต และให้เงินปัจจัยการผลิต ไร่ละ 1260 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ สำหรับเกษตรกร 7 แสนกว่าราย คำนวณแล้ว เพ่ิมราคาทุกหนึ่งกก. ได้ 6 บาทอีกทั้งยังมีการลดเงินเซส
นายอภิชาต กล่าวว่า แม้ไม่ได้อยู่เบื้องหลังม็อบแต่จะให้ผู้แทนในพื้นที่ไม่ดูแลชาวบ้านไม่ได้ การปรากฏตัวจึงเป็นในฐานะผู้แทนราษฎร เหตุการณ์ที่ผ่านมามีการปิดทางรถไฟ 10 กว่าวันแต่ยังไม่มีการแก้ไข และในวันที่ 23 ส.ค. มีเจ้าหน้าที่ 7 กองร้อย หรือ 1,000 กว่านาย เข้ามาจัดการขอเปิดเส้นทางที่เกษตรกรปิดยึด ให้ได้ก่อน 15.00 น. และโดนเยาวชนรักถิ่น กลุ่มลูกขวานลอยลม 300 คน ตอบโต้ จนเกิดการบาดเจ็บ จึงอยากถามว่า การบาดเจ็บ ล้มตาย เนื่องจาการชุมนุมต่อเนื่องจะมีการเยียวยา อย่างไร รวมทั้ง ทรัพย์สิน เครื่องเสียง เงินบริจาคในกล่องที่หายไปจะทำอย่างไร
พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า เหตุการปะทะมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 50 คน ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 3 คน ซึ่งกรณีปิดเส้นทางจราจรรองเป็นการทำผิดกฎหมายซึ่งทำไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้นทางกระทรวงยุติธรรม ก็ได้จ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว ส่วนผู้เสียชีวิต 2 คน แม้จะเป็นการทะเลาะกันเองและเป็นการยิงกันเอง แต่ก็จ่ายเงินเยียวยาแล้ว ส่วนกลุ่มลูกขวานลอยลมนั้นมีสิทธิเรียกร้องชุมนุม แต่หากเกินเลยกรอบกฎหมายก็เป็นความชอบธรรมที่จะรของเจ้าหน้าที่จะะงับยับยั้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ใช้สิทธิ์พาดพิงชี้แจงว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่ขึ้นเวที อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช แต่ที่ไปเพราะชาวบ้านชุมนุมหลายวันโดยที่รัฐบาลไม่สนใจแก้ปัญหา ดังนั้น ส.ส.ในพื้นที่จึงไปดูแลและไม่ได้ไปครั้งเดียว ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้อยู่เบื้องหลัง แต่อยู่เคียงข้างประชาชน ที่จะรับฟังให้กำลังใจ เพราะรัฐบาลไม่สนใจแก้ปัญหา
จากนั้นเวลา 12.30 น. พิจารณากระทู้ถามสดของนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เรื่องปัญหาราคายางพาราตกต่ำและกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงชาวสวนยางภาคใต้ ว่า ที่ผ่านมามีการปิดถนนหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชน โดยใน จ.ระยอง พบว่ามีนายเศรษฐา ปิตุเตชะ สมาชิก อบจ.ระยอง เป็นแกนนำ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีนายคำรณ เทือกสุบรรณ นายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นแกนนำ และใน จ.ชุมพร มีนายชุมพล จุลใส สส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเเกนนำจึงอยากถามว่ากรณีที่เกิดขึ้น นายกฯสั่งการให้แก้ปัญหาราคายางและการดูแลการชุมนุมอย่างไร
พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า นายกฯกำชับว่า การดูแลผู้ชุมนุมอย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการแทรกแซง การกระทบกระทั่ง ไม่ให้ใช้ความรุนแรงและอาวุธ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงไม่ต้องสลายการชุมนุม และไม่ให้เข้าไปในพื้นที่การชุมนุม นายกฯห่วงใยมากเรื่องการกระทบกระทั่งให้เกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ยืนยันรัฐบาลไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงหรือใช้กำลังสลายการชุมนุม ขณะที่นายยุคลชี้แจงว่า นายกฯสั่งการว่า ให้ดูแลเรื่องการแก้ปัญหายางอย่างเสมอภาคทุกภาคส่วน ให้แก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ รอบคอบ ยั่งยืน แต่ไม่ให้เกิดปัญหาต่อภาวะการตลาด
นายยุทธพงศ์ถามต่อว่า เหตุใดรัฐบาลเจรจากับเกษตรกรภาคเหนือ ภาคอีสานได้ข้อยุติ แต่ภาคใต้จึงไม่ได้ข้อยุติ หรือมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ซึ่งนายยุคลชี้แจงว่า เพิ่งมารับงานได้ 2 เดือนเศษ มีการใช้งบไป 2.2 หมื่นล้านบาท มียางค้างสต๊อกอยู่ 208,000 ตัน ขณะนี้มีภาวะเศรษฐกิจโลกเข้ามาด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเจรจากับชาวสวนยางภาคใต้ แต่ไม่มีแกนนำที่ชัดเจน ซึ่งเพิ่งมาตั้งแกนนำเมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้เชิญตัวแทนเกษตรกรมาให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า ปัญหาภาคใต้แตกต่างจากพื้นที่อื่นเพราะ ผู้รับจ้างกรีดยางไม่ได้เงินชดเชยที่รัฐบาลจ่ายให้ โดยไม่สามารถไปตกลงกับเจ้าของสวนยางได้ และยืนยันให้มีการตั้งราคานำตลาดที่ 100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลจะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าที่ประชุม กยน.ในวันที่ 5ก.ย.โดยมีตัวแทนเกษตรกรทุกภาคเข้าร่วมประชุม
นายยุทธพงศ์ถามอีกว่า เหตุใดรัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงราคายางพารา นายยุคลชี้แจงว่า การเข้าไปแทรกแซงราคายางมีผลกระทบต่อตลาดโลก
สส.ท่านนี้คิดได้งัยหว่า???
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ETTJOVGsxTlE9PQ==
@@@ มึน "สส. อภิชาต การิกาญจน์ "ของ ปชป. โยนว่า รัฐบาล อยู๋เบื้องหลังม็อบยางปิดถนน @@@
วันที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 14:24 น. ข่าวสดออนไลน์
มึน! "อภิชาต การิกาญจน์" สส.ปชป. โยนที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ อยู่เบื้องหลังปลุกม็อบยางปิดถนน
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 5 ก.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามสดเรื่อง ปัญหาการชุมนุมของเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ของนายอภิชาต การิกาญจน์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ถามนายกรัฐมนตรี ว่าตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. มีการชุมนุมมาต่อเนื่อง 10 กว่าวัน และมีการออกมาระบุว่ามีม็อบการเมืองหนุนหลัง ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เพราะเกษตรกรที่ออกมาชุมนุมเป็นเพราะความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำ 2 ปีที่ผ่านมา
นายอภิชาต ระบุว่า นอกจากนี้จากการลงพื้นที่ของนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ลงไปรับฟังข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ พบว่าไม่ใช่ม็อบที่มีเบื้องหลังมาจากประชาธิปัตย์ แต่เป็นม็อบที่มาจากพรรคเพื่อไทย แต่ในพื้นที่ไม่มีส.ส.จากพรรคเพื่อไทย ดังนั้นจึงอยากถามว่ารัฐมนตรีมีมาตการแก้ไขปัญหาอย่างไร หากพบว่าคนที่อยู่เบื้องหลังม็อบเป็นคนของพรรคร่วมรัฐบาล ก่อม็อบปลุกระดมเพื่อให้ประชาชนออกมาชุมนุมปิดถนนสกัดไม่ให้ประชาชนออกไปร่วมกองทัพประชาชนต้านนิรโทษกรรมวันที่ 5-7 ส.ค. ที่ผ่านมา เชื่อว่า คนที่อยู่เบื้องหลัง คือคณะที่ปรึกษาของรมว.เกษตรและสหกรณ์ เพราะทันทีที่คนๆนี้ได้รับประกาศแต่งตั้งก็ขึ้นป้ายประกาศแสดงความยินดี
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ ชี้แจงแทนนายกฯ ว่า จากที่ย้อนดูตามสื่อพบว่า มี ส.ส.พรรคประชาธิปปัตย์ บางคนขึ้นเวที แต่กรณี นพ.นิรันดร์ ลงไปรับฟังความเห็นว่ามีส.ส.พรรคเพื่อไทย ให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นไม่เคยได้ยิน และปฏิเสธไม่ใช่แน่นอน
นายอภิชาต ถามต่อว่า ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ แต่รัฐบาลกับแก้ปัญหาด้วยการชดเชยปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว แต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าทั้งพูดคุยกับตัวแทนเกษตรกร ก็ยังไม่มีคำตอบจนถึงวันนี้ ดังนั้นจึงอยากทราบว่า มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ต่อข้อเรียกร้องประชาชนที่จะหยุดปัญหานี้
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ข้อเรียกร้องเกษตรกร ที่ต้องการตั้งราคารับซื้อยางและมีการจ่ายส่วนต่างนั้นจะทำให้กระทบต่อกลไกการตลาด ซึ่งเราจะไม่มีการแทรกแซงกลไกตลาด อีกทั้ง ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาชัดเจนถาวร ขณที่ตลาดโลกผลิตยางได้ทั้งหมด 11.6 ล้านตัน มีการใช้จริง 11.1 ล้านตัน จึงมียางล้นตลาดโลกอยู่ 5แสนตัน การแก้ปัญหาจึงอยู่ที่การลดต้นทุนการผลิต และให้เงินปัจจัยการผลิต ไร่ละ 1260 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ สำหรับเกษตรกร 7 แสนกว่าราย คำนวณแล้ว เพ่ิมราคาทุกหนึ่งกก. ได้ 6 บาทอีกทั้งยังมีการลดเงินเซส
นายอภิชาต กล่าวว่า แม้ไม่ได้อยู่เบื้องหลังม็อบแต่จะให้ผู้แทนในพื้นที่ไม่ดูแลชาวบ้านไม่ได้ การปรากฏตัวจึงเป็นในฐานะผู้แทนราษฎร เหตุการณ์ที่ผ่านมามีการปิดทางรถไฟ 10 กว่าวันแต่ยังไม่มีการแก้ไข และในวันที่ 23 ส.ค. มีเจ้าหน้าที่ 7 กองร้อย หรือ 1,000 กว่านาย เข้ามาจัดการขอเปิดเส้นทางที่เกษตรกรปิดยึด ให้ได้ก่อน 15.00 น. และโดนเยาวชนรักถิ่น กลุ่มลูกขวานลอยลม 300 คน ตอบโต้ จนเกิดการบาดเจ็บ จึงอยากถามว่า การบาดเจ็บ ล้มตาย เนื่องจาการชุมนุมต่อเนื่องจะมีการเยียวยา อย่างไร รวมทั้ง ทรัพย์สิน เครื่องเสียง เงินบริจาคในกล่องที่หายไปจะทำอย่างไร
พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า เหตุการปะทะมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 50 คน ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 3 คน ซึ่งกรณีปิดเส้นทางจราจรรองเป็นการทำผิดกฎหมายซึ่งทำไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้นทางกระทรวงยุติธรรม ก็ได้จ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว ส่วนผู้เสียชีวิต 2 คน แม้จะเป็นการทะเลาะกันเองและเป็นการยิงกันเอง แต่ก็จ่ายเงินเยียวยาแล้ว ส่วนกลุ่มลูกขวานลอยลมนั้นมีสิทธิเรียกร้องชุมนุม แต่หากเกินเลยกรอบกฎหมายก็เป็นความชอบธรรมที่จะรของเจ้าหน้าที่จะะงับยับยั้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ใช้สิทธิ์พาดพิงชี้แจงว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่ขึ้นเวที อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช แต่ที่ไปเพราะชาวบ้านชุมนุมหลายวันโดยที่รัฐบาลไม่สนใจแก้ปัญหา ดังนั้น ส.ส.ในพื้นที่จึงไปดูแลและไม่ได้ไปครั้งเดียว ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้อยู่เบื้องหลัง แต่อยู่เคียงข้างประชาชน ที่จะรับฟังให้กำลังใจ เพราะรัฐบาลไม่สนใจแก้ปัญหา
จากนั้นเวลา 12.30 น. พิจารณากระทู้ถามสดของนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เรื่องปัญหาราคายางพาราตกต่ำและกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงชาวสวนยางภาคใต้ ว่า ที่ผ่านมามีการปิดถนนหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชน โดยใน จ.ระยอง พบว่ามีนายเศรษฐา ปิตุเตชะ สมาชิก อบจ.ระยอง เป็นแกนนำ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีนายคำรณ เทือกสุบรรณ นายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นแกนนำ และใน จ.ชุมพร มีนายชุมพล จุลใส สส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเเกนนำจึงอยากถามว่ากรณีที่เกิดขึ้น นายกฯสั่งการให้แก้ปัญหาราคายางและการดูแลการชุมนุมอย่างไร
พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า นายกฯกำชับว่า การดูแลผู้ชุมนุมอย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการแทรกแซง การกระทบกระทั่ง ไม่ให้ใช้ความรุนแรงและอาวุธ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงไม่ต้องสลายการชุมนุม และไม่ให้เข้าไปในพื้นที่การชุมนุม นายกฯห่วงใยมากเรื่องการกระทบกระทั่งให้เกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ยืนยันรัฐบาลไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงหรือใช้กำลังสลายการชุมนุม ขณะที่นายยุคลชี้แจงว่า นายกฯสั่งการว่า ให้ดูแลเรื่องการแก้ปัญหายางอย่างเสมอภาคทุกภาคส่วน ให้แก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ รอบคอบ ยั่งยืน แต่ไม่ให้เกิดปัญหาต่อภาวะการตลาด
นายยุทธพงศ์ถามต่อว่า เหตุใดรัฐบาลเจรจากับเกษตรกรภาคเหนือ ภาคอีสานได้ข้อยุติ แต่ภาคใต้จึงไม่ได้ข้อยุติ หรือมีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ซึ่งนายยุคลชี้แจงว่า เพิ่งมารับงานได้ 2 เดือนเศษ มีการใช้งบไป 2.2 หมื่นล้านบาท มียางค้างสต๊อกอยู่ 208,000 ตัน ขณะนี้มีภาวะเศรษฐกิจโลกเข้ามาด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเจรจากับชาวสวนยางภาคใต้ แต่ไม่มีแกนนำที่ชัดเจน ซึ่งเพิ่งมาตั้งแกนนำเมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้เชิญตัวแทนเกษตรกรมาให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า ปัญหาภาคใต้แตกต่างจากพื้นที่อื่นเพราะ ผู้รับจ้างกรีดยางไม่ได้เงินชดเชยที่รัฐบาลจ่ายให้ โดยไม่สามารถไปตกลงกับเจ้าของสวนยางได้ และยืนยันให้มีการตั้งราคานำตลาดที่ 100 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลจะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าที่ประชุม กยน.ในวันที่ 5ก.ย.โดยมีตัวแทนเกษตรกรทุกภาคเข้าร่วมประชุม
นายยุทธพงศ์ถามอีกว่า เหตุใดรัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงราคายางพารา นายยุคลชี้แจงว่า การเข้าไปแทรกแซงราคายางมีผลกระทบต่อตลาดโลก
สส.ท่านนี้คิดได้งัยหว่า???
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09ETTJOVGsxTlE9PQ==