ว่าด้วยยาง โดย ฐากูร บุนปาน
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 (มติชนรายวัน 4 ก.ย.2556)
ทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวแปลกๆ ทางการเมือง
ข้อหนึ่งที่ท่านผู้เคารพนับถือ หรือพี่น้องเพื่อนฝูงมักจะออกปากถามอยู่เสมอก็คือ
แล้วรัฐบาลจะอยู่รอดไหม อยู่ครบเทอมไหม
หมอเดาโดยอาชีพก็ตอบทันทีอย่างไม่ลังเลว่า
ไม่ทราบหรอกครับ
จะอยู่ยาวหรือสั้น นอกจากอยู่ที่วัตรปฏิบัติของรัฐบาล และ "ตัวแปร" ไม่สามารถระบุค่าได้อีกหลายประการด้วยกัน
อย่างกรณีล่าสุดก็คือม็อบชาวสวนยาง
ล่าสุดขณะที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้ออกมาชุมนุมกันแล้ว 6 จังหวัด มากที่สุดก็ที่สุราษฎร์ธานีประมาณ 7,000 คน ประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 2,000 ส่วนนครศรีธรรมราช กระบี่ ชุมพร ระยอง อยู่ในระดับหลักร้อย
และยังเจรจากันไม่รู้เรื่อง
เพราะผู้ออกมาชุมนุมบอกว่าต้องการ 101 บาท/กิโลกรัม ขณะที่รัฐบาลเสนอ 80 บาท
คำถามจากคนไม่ค่อยรู้เรื่องยางก็คือ แล้ว "ต้นทุนจริงๆ" ของการผลิตยางนั้นอยู่ที่เท่าไหร่
เพราะถ้าได้ต้นทุนจริง ก็มีหมุดปักไว้สำหรับการเริ่มเจรจา เพื่อหาส่วนชดเชยที่ทั้งสองฝ่ายต่างพอใจ
ในเอกสาร "ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพารา" ของกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี 2551 ที่แต่งโดยคุณพัชรินทร์ ศรีวารินทร์ และคุณจุมพฏ สุขเกื้อ ระบุว่า
ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบทั้งประเทศเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.57 บาท โดยค่าจ้างแรงงานกรีด เก็บและทำยางแผ่นดิบคิดเป็นร้อยละ 60.45 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
พอมาถึงปี 2555 นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ต้นทุนยางพาราแผ่นดิบอยู่ที่ประมาณ 64.19 บาท/กิโลกรัม
มีผู้รู้เรื่องยางให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยว่า ในกรณีสวนยางพารานั้นพิเศษกว่าพืชผลอื่นก็คือ เมื่อตอนลงกล้าจะมีเงินช่วยเหลือจากองค์การสงเคราะห์การทำสวนยาง ไร่ละหลายพันถึงหมื่นบาท
และเมื่อเลิกกรีด ยังขายต้นยางได้อีก
แต่ผู้ประท้วงไม่ได้หักเงินส่วนนี้จากต้นทุน
และในรายการ "การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน รายได้และผลตอบแทนจากการปลูกยางพารา" กรณีศึกษา : อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ช่วงปี 2536-2546
พบว่า
1.ต้นทุนระยะก่อนกรีดยาง อายุ 1-6 ปี เฉลี่ย 2,165.74 บาท/ไร่/ปี
ต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 15.21 บาท
2.ต้นทุนระยะกรีดเก็บน้ำยาง อายุ 7-19 ปี เฉลี่ย 5,960.67 บาท/ไร่/ปี
ต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 41.86 บาท
3.ต้นทุนการทำยางแผ่นดิบ อายุ 7-19 ปี เฉลี่ยเท่ากับ 2,456.63 บาท/ไร่/ปี
ต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 17.25 บาท
ต้นทุนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 9,500.17 บาท/ไร่/ปี หรือต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 66.72 บาท
ขณะที่รายได้จากการทำสวนยางเฉลี่ยเท่ากับ 17,940.28 บาท/ไร่/ปี
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 25
วันนี้ว่ากันด้วยข้อมูลล้วนๆ
อ่านแล้วแต่ละท่านจะเอาไปวิเคราะห์อะไรอย่างไร ก็เชิญตามอัธยาศัยครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378288017&grpid=03&catid=02&subcatid=0207
@@@ ว่าด้วยยาง จากสถานีคิดเลขที่12 มติชนรายวัน @@@
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 (มติชนรายวัน 4 ก.ย.2556)
ทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวแปลกๆ ทางการเมือง
ข้อหนึ่งที่ท่านผู้เคารพนับถือ หรือพี่น้องเพื่อนฝูงมักจะออกปากถามอยู่เสมอก็คือ
แล้วรัฐบาลจะอยู่รอดไหม อยู่ครบเทอมไหม
หมอเดาโดยอาชีพก็ตอบทันทีอย่างไม่ลังเลว่า
ไม่ทราบหรอกครับ
จะอยู่ยาวหรือสั้น นอกจากอยู่ที่วัตรปฏิบัติของรัฐบาล และ "ตัวแปร" ไม่สามารถระบุค่าได้อีกหลายประการด้วยกัน
อย่างกรณีล่าสุดก็คือม็อบชาวสวนยาง
ล่าสุดขณะที่เขียนต้นฉบับอยู่นี้ออกมาชุมนุมกันแล้ว 6 จังหวัด มากที่สุดก็ที่สุราษฎร์ธานีประมาณ 7,000 คน ประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 2,000 ส่วนนครศรีธรรมราช กระบี่ ชุมพร ระยอง อยู่ในระดับหลักร้อย
และยังเจรจากันไม่รู้เรื่อง
เพราะผู้ออกมาชุมนุมบอกว่าต้องการ 101 บาท/กิโลกรัม ขณะที่รัฐบาลเสนอ 80 บาท
คำถามจากคนไม่ค่อยรู้เรื่องยางก็คือ แล้ว "ต้นทุนจริงๆ" ของการผลิตยางนั้นอยู่ที่เท่าไหร่
เพราะถ้าได้ต้นทุนจริง ก็มีหมุดปักไว้สำหรับการเริ่มเจรจา เพื่อหาส่วนชดเชยที่ทั้งสองฝ่ายต่างพอใจ
ในเอกสาร "ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพารา" ของกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี 2551 ที่แต่งโดยคุณพัชรินทร์ ศรีวารินทร์ และคุณจุมพฏ สุขเกื้อ ระบุว่า
ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบทั้งประเทศเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.57 บาท โดยค่าจ้างแรงงานกรีด เก็บและทำยางแผ่นดิบคิดเป็นร้อยละ 60.45 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
พอมาถึงปี 2555 นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ต้นทุนยางพาราแผ่นดิบอยู่ที่ประมาณ 64.19 บาท/กิโลกรัม
มีผู้รู้เรื่องยางให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยว่า ในกรณีสวนยางพารานั้นพิเศษกว่าพืชผลอื่นก็คือ เมื่อตอนลงกล้าจะมีเงินช่วยเหลือจากองค์การสงเคราะห์การทำสวนยาง ไร่ละหลายพันถึงหมื่นบาท
และเมื่อเลิกกรีด ยังขายต้นยางได้อีก
แต่ผู้ประท้วงไม่ได้หักเงินส่วนนี้จากต้นทุน
และในรายการ "การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน รายได้และผลตอบแทนจากการปลูกยางพารา" กรณีศึกษา : อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ช่วงปี 2536-2546
พบว่า
1.ต้นทุนระยะก่อนกรีดยาง อายุ 1-6 ปี เฉลี่ย 2,165.74 บาท/ไร่/ปี
ต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 15.21 บาท
2.ต้นทุนระยะกรีดเก็บน้ำยาง อายุ 7-19 ปี เฉลี่ย 5,960.67 บาท/ไร่/ปี
ต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 41.86 บาท
3.ต้นทุนการทำยางแผ่นดิบ อายุ 7-19 ปี เฉลี่ยเท่ากับ 2,456.63 บาท/ไร่/ปี
ต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 17.25 บาท
ต้นทุนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 9,500.17 บาท/ไร่/ปี หรือต่อกิโลกรัมยางแผ่นดิบเท่ากับ 66.72 บาท
ขณะที่รายได้จากการทำสวนยางเฉลี่ยเท่ากับ 17,940.28 บาท/ไร่/ปี
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 25
วันนี้ว่ากันด้วยข้อมูลล้วนๆ
อ่านแล้วแต่ละท่านจะเอาไปวิเคราะห์อะไรอย่างไร ก็เชิญตามอัธยาศัยครับ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378288017&grpid=03&catid=02&subcatid=0207